Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2535








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2535
"หลัง BIS แบงก์แหลมทองยังลำบากอยู่"             
โดย ธัชมน หงส์จรรยา
 

 
Charts & Figures

ตารางที่ 1 เปรียบเทียบส่วนประกอบเงินกองทุนและอัตราที่ใช้เป็นเงินกองทุน
ตารางที่ 2 เปรียบเทียบสินทรัพย์เสี่ยงระหว่าง BIS สากลกับ BIS ไทย
ตารางที่ 3 เปรียบเทียบสินทรัพย์เสี่ยงนอกงบดุลระหว่าง BIS สากลกับ BIS ไทย
ตารางที่ 4 เปรียบเทียบสินทรัพย์เสี่ยงของธนาคารแหลมทองปัจจุบันและหลังใช้ BIS
ตารางที่ 5 โครงสร้างรายได้ธ.แหลมทองปี 2531-2534
ตารางที่ 6 แสดงการเติบโตของสินเชื่อ ปี 2531-2534


   
search resources

ธนาคารแหลมทอง
กุรดิษฐ์ จันทร์ศรีชวาลา
Banking and Finance




แบงก์แหลมทองเป็นแบงก์เล็กที่สุด แต่ด้วยภาพที่แยกไม่ออกจากราชาที่ดินอย่าง สุระ จันทร์ศรีชวาลา ทำให้หลาย ๆ คนมองว่าแบงก์เล็กแห่งนี้ จะพลิกฐานะขยับอันดับขึ้นเพราะส้มหล่นจากกฎ BIS ที่นับการตีราคาที่ดินเข้าเป็นเงินกองทุน หากแท้จริงแล้วหาใช่เป็นเช่นนั้น เมื่อระฆัง BIS ดังขึ้น แหลมทองกลับต้องปรับปรุงหลายอย่างไม่ว่าจะเป็นคุณภาพคน โครงสร้างสินเชื่อ เงินกองทุนที่อีกไม่เกิน 2 ปีจะต้องขาดแน่นอน ตลอดจนลดวิธีการหาเงินทำกำไรแบบเก่าที่อยู่ในลักษณะง่าย ๆ ยึดหลักค้ำประกันอาวัลและขายสินทรัพย์เป็นสำคัญ

แหลมทองเป็นแบงก์อันดับสุดท้ายของธนาคารพาณิชย์ไทย จากรายงานของฝ่ายวิชาการธนาคารกสิกรไทยระบุว่า ณ สิ้นไตรมาส 1 ของปี 2535 แบงก์แหลมทองมีสินทรัพย์ 11,162 ล้านบาท ส่วนแบ่งตลาด 0.48% เงินฝาก 9,569 ล้านบาท ส่วนแบ่งตลาด 0.52% สินเชื่อ 8,257 ล้านบาท ส่วนแบ่งตลาด 0.44%

ส่วนแบ่งตลาดดังกล่าวยังห่างไกลจากแบงก์นครธนซึ่งเป็นแบงก์อันดับที่ 14 ถัดขึ้นไปจากแหลมทองถึงกว่า 100% ในระยะเวลาเดียวกัน ธนาคารนครธนมีสินทรัพย์ 24,634 ล้านบาท ส่วนแบ่งตลาด 1.06% เงินฝาก 21,001 ล้านบาท ส่วนแบ่งตลาด 1.14% สินเชื่อ 18,945 ล้านบาท ส่วนแบ่งตลาด 1.01%

เพ็ญวรรณ ทองดีแท้ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายกำกับและตรวจสอบธนาคารพาณิชย์ ธนาคารแห่งประเทศไทย (แบงก์ชาติ) กล่าวว่า เมื่อแบงก์ชาติประกาศใช้กฎมาตรฐานเงินกองทุนเดียวกับ BANK FOR INTERNATIONAL SETTLE MENTS (BIS) แบงก์เล็ก ๆ คงลำบากต้องปรับตัวอีกมากถ้าต้องแข่งขันในตลาด

ข้อกำหนดเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงของ BIS มีความเข้มแข็งกว่ามาตรา 10 พ.ร.บ. ธนาคารพาณิชย์ที่แบงก์ไทยใช้อยู่ในปัจจุบัน

BIS กำหนดเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง 8% โดยแบ่งเงินกองทุนเป็น 2 ชั้น คือ เงินกองทุนชั้นที่ 1 (TIER 1) จะมีส่วนประกอบเหมือนเงินกองทุนตาม ม. 10 พ.ร.บ. ธนาคารพาณิชย์ ส่วนองค์ประกอบของกองทุนชั้นที่ 2 (TIER 2) นั้นไม่มีข้อกำหนดให้ปฏิบัติสำหรับธนาคารพาณิชย์ไทย (ดูตารางที่ 1) ทำให้เงินกองทุนที่ธนาคารพาณิชย์ไทยดำรงอยู่ในอัตรา 8% นั้นจึงเป็นเพียงกองทุนชั้นที่ 1 เท่านั้น ยังขาดกองทุนชั้นที่ 2 เมื่อเข้ากฎ BIS ก็เท่ากับขาดเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง ก่อให้เกิดปัญหาไม่สามารถปล่อยสินเชื่อได้ตามที่ต้องการและมีผลต่อการหยุดความเติบโตของแบงก์ไทย

อีกประเด็นหนึ่งที่ BIS กำหนดต่างไปจากแบงก์ชาติไทยก็คือรายการสินทรัพย์เสี่ยงและอัตราความเสี่ยงของสินทรัพย์ อาทิ เงินให้สินเชื่อที่อยู่อาศัย ปัจจุบันแบงก์ชาติกำหนดอัตราความเสี่ยงที่ 100% แต่ BIS กำหนดที่ 50% (ดูตารางที่ 2) รวมทั้งรายการนอกงบดุลที่ปัจจุบันไม่ได้นำมาคำนวณอัตราความเสี่ยง แต่ BIS มีการนำมาคำนวณความเสี่ยงรวมในสินทรัพย์เสี่ยงด้วย (ดูตารางที่ 3) ทำให้ส่งผลกระทบต่อโครงสร้างสินเชื่อที่แบงก์อนุมัติไปแล้ว เพราะในส่วนที่มีความเสี่ยงมากขึ้นก็ต้องตั้งเงินกองทุนเพิ่มขึ้น อันอาจก่อให้เกิดปัญหาต้องเพิ่มทุนบ่อยครั้งและมีกำไรต่อหุ้นถดถอยลงได้

การเพิ่มทุนก็ใช่ว่าจะทำได้ง่ายดังใจคิด โดยเฉพาะกับแบงก์ที่มีภาพพจน์ติดลบหุ้นที่นำออกจำหน่ายก็จะขายประชาชนได้ไม่คล่องนัก ซึ่งถือเป็นการสร้างภาระให้กับผู้ถือหุ้นอีกทางหนึ่ง ในอดีตแบงก์แหลมทองเองนับจากมีมติเพิ่มทุนเมื่อปี 2528 ก็ยังไม่เคยเพิ่มทุนอีกเลย เพราะหุ้นเพิ่งขายหมดไปเมื่อปี 2532 นี้เอง

ภาพพจน์การบริหารงานไม่โปร่งใสและไม่เป็นมืออาชีพ นับแต่กลุ่ม สุระ จันทร์ศรีชวาลา เข้าบริหารถือเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ราคาและปริมาณการซื้อขายหุ้นของแบงก์แหลมทองในตลาดหลักทรัพย์เกือบไม่เคลื่อนไหวเลย นอกจากนี้ยังเคยถูกนักลงทุนร้องเรียนว่าหน่วงเหนี่ยวการโอนหุ้นจนตลาดหลักทรัพย์ฯ ต้องออกมาใช้ไม้แข็งคือยื่นคำขาดจะขับออกจากตลาดฯ แต่เรื่องก็จบตรงที่แบงก์แหลมทองยอมให้ตลาดฯ เป็นนายทะเบียนแทน

พฤติกรรมของสุระ นักสะสมที่ดินตัวยง เข้ามาเกี่ยวข้องกับแหลมทองอย่างแนบแน่น ตั้งแต่ครั้งยังไม่ได้จู่โจมยึดแบงก์จากตระกูลนันทาภิวัฒน์ ก็ได้พยายามใช้ความสัมพันธ์กับระดับผู้บริหารให้เป็นประโยชน์กับตนเองโดยไม่เป็นไปตามระเบียบแบงก์นัก อาทิ ขอให้ผ่านตั๋วเงินที่ครบกำหนดเวลา แต่ตนเองไม่สามารถรับภาระได้ แต่เมื่อถูกผู้บริหารบางคนปฏิเสธจึงก่อให้เกิดความหมางใจกันระหว่างเขากับผู้บริหารเดิมคนนั้น

เมื่อสมัยเขาเข้าบริหารแบงก์ก็เป็นข่าวอื้อฉาวตามหน้าหนังสือพิมพ์ตลอดเวลา เช่น ปล่อยสินเชื่อในเครือหรือปล่อยให้กับบริษัทที่ตนถือหุ้นอยู่โดยมีหลักประกันไม่เพียงพอ (ในช่วงที่ปล่อยสินเชื่อ) และพยายามจัดชั้นสินทรัพย์ไม่ตรงตามความเป็นจริง ทำให้แบงก์ชาติต้องสั่งการตั้งสำรองหนี้สงสัยจะสูญเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะรายการกู้ของสยามวิทยา

นอกจากนี้ยังมีกรณีที่แบงก์ชาติไม่อาจทนได้จนต้องขอความช่วยเหลือกรมตำรวจบีบให้สุระลาออกจากผู้บริหารแบงก์ เพราะมีการเบียดบังเงินสดแบงก์ไปจ่ายเช็คเดินทางให้ลูกสาว และยังมีอีกหลายคดีที่เป็นความถึงตำรวจไม่ว่าจะเป็นคดีบริษัททรานส์ โอเชียนส์ เทรดดิ้งที่ได้รับเงินสดจากการเบียดบังของสุระอีกประมาณ 128 ล้าน มีรายการพิสดารหมุนเงินระหว่างกิจการในเครือโดยใช้วิธีรับฝากเงินนอกเวลา รวมทั้งอาวัลตั๋วเงินให้บริษัทไทยประสิทธิประกันภัย โดยไม่ลงภาระผูกพันในบัญชี พฤติกรรมดังกล่าวข้างต้นมีความผิดทั้งทางอาญาและตาม พ.ร.บ. ธนาคารพาณิชย์ สุระชายผู้นี้ยังตกเป็นผู้ถูกกล่าวหาในวงการการเงินว่าพฤติกรรมอีกหลายอย่างที่คนในวงการแบงก์สามารถเก็บความเล่าขานกันได้อีกนาน

การกระทำของเขาทำให้ผู้บริหารยุคนั้นหลายต่อหลายคนขอถอนตัวจากแบงก์ ไม่ว่าจะเป็น ชนัตถ์ ปิยะอุย วานิช ไชยวรรณ ม.ร.ว. จัตุมงคล โสภณกุล หรือแม้แต่มืออาชีพอย่างเรวัตร์ ชาตรีวิศิษฐ์ อดีตผู้ช่วยกรรมการจัดการ

แม้เขาจะพ้นจากตำแหน่งกรรมการและผู้บริหารแบงก์ไปแล้วก็ตาม แต่ในความเป็นจริงผู้บริหารชุดปัจจุบันยังมีความเกี่ยวพันแนบแน่นดูจากกรณีที่แบงก์แหลมทองลงบัญชีแสดงฐานะของธนาคารส่งให้ตลาดหลักทรัพย์ฯ เมื่อปี 2531 สองครั้งสองหนไม่ตรงกันอันสืบเนื่องมาจากเอารายได้จากดอกเบี้ยของกลุ่มสยามวิทยาที่เพิ่งทำการประนอมหนี้มาลงบันทึกโดยไม่ตั้งสำรองหนี้ สงสัยจะสูญตามที่ผู้ตรวจสอบบัญชีให้ความเห็น

หากใช้บรรทัดฐานอดีตย้อนมองอดีตเช่นนี้ ภาพแหลมทองคงใช้ไม่ได้กับ BIS เลย แต่ปัจจุบันมีเลือดใหม่ของสุระเข้าบริหารงาน กูรดิสถ์ จันทร์ศรีชวาลา กรรมการจัดการ ที่มาจากยูนิเวอร์ซิตี้, ลอนดอน ประเทศอังกฤษ สถาบันที่นายแบงก์ทั้งหลายนิยมเรียนกัน ประสบการณ์ทำงานในต่างประเทศบวกกับความไฟแรง และอุปนิสัยที่แสดงความคิดเห็นไม่อ้อมค้อมตรงข้ามกับอาของเขานั้น ซึ่งบางครั้งความคิดเห็นของคนทั้งสองก็แตกต่างกัน แต่ในปัจจุบันก็ยังไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าอาของกูรดิสถ์คนนี้ยังมีฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ที่จะทำให้ผู้บริหารที่นี่คล้อยตามได้เช่นกัน

บางที BIS อาจจะเป็นตัวช่วยให้แบงก์แหลมทองโปร่งใสกว่าที่เป็นมาและที่แน่ ๆ คงต้องปรับกลยุทธ์ในการทำมาหากินกันสุด ๆ ทีเดียว

กูรดิสถ์ เคยให้สัมภาษณ์ "ผู้จัดการ" ถึงสัดส่วนโครงสร้างสินเชื่อของแบงก์แหลมทองว่าประกอบด้วยสินเชื่ออุตสาหกรรมการผลิตประมาณ 12% ด้านสถาบันการเงินประมาณ 10% ด้านการเกษตรประมาณ 3% ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ (เกี่ยวกับการพัฒนาที่ดิน) ประมาณ 20% ด้านก่อสร้างประมาณ 7% ด้านการพาณิชย์ประมาณ 12% ที่เหลือเป็นสินเชื่อประเภทอื่น ๆ

แบงก์แหลมทองมียอดเงินให้สินเชื่อในปี 2534 จำนวน 7,850,088,936.94 บาท ส่วนรายการนอกงบดุลนั้นมียอดการรับอาวัลตั๋วเงิน 1,875,244,507.12 บาท เล็ตเตอร์ออฟเครดิต 140,793,941.95 บาท การค้ำประกันการกู้ยืมเงิน 291,108,275.00 บาท การค้ำประกันอื่น ๆ ซึ่งมีอัตราความเสี่ยง 100% มีจำนวนมากถึง 662,979,790.24 บาท รวมรายการนอกงบดุลทั้งหมดเท่ากับ 2,970,126,514.3 บาท เป็นสัดส่วน 37.83% ของสินเชื่อทั้งหมด

สิ่งที่เห็นได้ชัดคือแบงก์แหลมทองให้ความสำคัญต่อสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์และธุรกิจนอกงบดุล หากไม่มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างช่องทางการหารายได้จะทำให้จำนวนสินทรัพย์เสี่ยงเพิ่มขึ้นทันที และนั่นหมายถึงการสร้างภาระแก่แบงก์เรื่องเงินกองทุนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

จากการคำนวณคร่าว ๆ เท่าที่แบงก์แหลมทองจะยอมเปิดเผยตัวเลข (ปกติมักจะไม่เปิดเผย ซึ่งปัญหานี้แม้แต่นิตยสารชื่อดังอย่าง แบงเกอร์ ยังว่าเป็นปัญหาใหญ่ที่แบงก์ชาติ กับ ก.ล.ต. ควรสนใจเป็นพิเศษเพื่อความยุติธรรมต่อนักลงทุน) ปรากฏว่าโครงสร้างดังกล่าวสร้างภาระให้เกิดสินทรัพย์เสี่ยงเพิ่มขึ้น จากปัจจุบันที่มีสินทรัพย์เสี่ยงประมาณ 8,810.09 ล้านบาท หลังใช้ BIS จะมีจำนวนสินทรัพย์เสี่ยงเป็น 10,981.83 ล้านบาท เพิ่มขึ้นประมาณ 2,171.74 ล้านบาท เพิ่ม 24.64% ซึ่งนั่นหมายถึงต้องมีเงินกองทุนเพิ่มตามจำนวนสินทรัพย์เสี่ยงอีก 8% ทีเดียว และในส่วนที่เพิ่มขึ้นก็มาจากรายการนอกงบดุลเป็นส่วนใหญ่ (ดูตารางที่ 4)

ในบรรดาแบงก์ที่ศึกษา BIS กล่าวได้ว่าแบงก์ทหารไทยเป็นอีกแบงก์หนึ่งที่ทั้งศึกษาและเตรียมพร้อมสำหรับเรื่องนี้มาก อนุชาต ชัยประภา กรรมการผู้จัดการทั่วไป ธนาคารทหารไทยเปิดเผยกับ "ผู้จัดการ" ว่าแบงก์เองได้เตรียมพร้อมโดยการพยายามสร้างฐานลูกค้ารายย่อยมากขึ้น โดยเฉพาะสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ซึ่งเดิมมีน้อยมาก แต่ปัจจุบันมีจำนวน 12-13% ของสินเชื่ออุปโภคบริโภค (เงินสินเชื่อในไตรมาส 1 ปี 2535 มียอดเท่ากับ 18.5%) แม้ว่าลูกค้ารายย่อยทำให้แบงก์มีค่าใช้จ่ายมากแต่ก็คุ้มเนื่องจากมีกำไรมากกว่าลูกค้ารายใหญ่ นอกจากนี้ยังปลอดภัยกว่าอีกด้วยเพราะสินเชื่อที่อยู่อาศัยมีบ้านเป็นหลักประกัน และเมื่อใช้ BIS สินเชื่อประเภทนี้ยังมีอัตราความเสี่ยงลดลงจากเดิม 100% เหลือเพียง 50% มีผลทำให้แบงก์ตั้งเงินกองทุนลดลงจากประเภทดังกล่าวถึง 50%

เทียบกับแบงก์แหลมทอง หาญ เชี่ยวชาญ ผู้ช่วยกรรมการจัดการ ธนาคารแหลมทอง กล่าวว่าแบงก์ปล่อยสินเชื่อประเภทที่อยู่อาศัยน้อยมาก ส่วนใหญ่ก็จะเป็นสินเชื่อประเภทโครงการมากกว่าเป็นรายบุคคล แต่มีนโยบายจะปล่อยสินเชื่อประเภทรายย่อยเพื่อที่อยู่อาศัยให้มากขึ้น

สัดส่วนลูกค้าสินเชื่อแบงก์แหลมทองเป็นรายใหญ่ตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไปประมาณ 75% รายย่อย 25% สินเชื่อประเภทที่อยู่อาศัยรายบุคคลอย่างมากที่สุดไม่เกิน 4% ต่ำกว่าสินเชื่ออื่น ๆ เพราะดอกเบี้ยของแบงก์นี้แพงกว่าทุกแบงก์ อัตราดอกเบี้ยที่คิดจากคนซื้อบ้านรายย่อยสูงถึง 18-19% แม้จะเป็นรายย่อยที่ซื้อบ้านจากโครงการพัฒนาที่ดินที่แบงก์แหลมทองให้สินเชื่อก็ต้องกู้ในอัตราเดียวกัน

บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ร่วมเสริมกิจได้วิเคราะห์ถึงโครงสร้างรายได้เฉลี่ยที่ผ่านมาของแบงก์แหลมทอง ดังนี้ รายได้ดอกเบี้ยสุทธิหลังหักค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ 13.22% รายได้ค่าธรรมเนียม 36.31% รายได้อื่น ๆ 50.47% (รวมกำไรจากการขายสินทรัพย์)

ส่วนแบงก์นครธนมีโครงสร้างรายได้ดอกเบี้ยสุทธิหลังหักค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ 58.77% รายได้ค่าธรรมเนียม 39.22% รายได้อื่น ๆ 2.01%

แบงก์สหธนาคารมีโครงสร้างรายได้จากดอกเบี้ยสุทธิหลังหักค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ 63.80% รายได้ค่าธรรมเนียม 18.98% รายได้อื่น ๆ 17.22%

เมื่อเทียบกับแบงก์แหลมทองแล้วจะเห็นว่าแบงก์อื่น ๆ มีรายได้หลักมาจากดอกเบี้ย ซึ่งแสดงถึงประสิทธิภาพในการปล่อยสินเชื่อที่มีมากกว่าแบงก์แหลมทอง ในขณะที่แบงก์แหลมทองมีรายได้หลักจากการค้ำประกันอาวัลและการขายสินทรัพย์ ซึ่งแหล่งข่าวในวงการธนาคารเผยว่าการค้ำประกันอาวัลของแบงก์แห่งนี้ก็คงวนเวียนอยู่ในเครือ "จันทร์ศรีชวาลา" อาทิ บริษัทไทยประสิทธิ์ประกันภัย เป็นต้น

ในปี 2534 ก็ไม่แตกต่างอะไรจากปีที่ผ่าน ๆ มา รายได้ส่วนใหญ่ของแบงก์เล็กแห่งนี้ยังคงมาจากรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยถึง 70.26% โดยแบ่งสัดส่วนดังนี้ รายได้จากการขายสินทรัพย์ 110.18 ล้านบาทคิดเป็น 37.7% รายได้จากค่าธรรมเนียม 80.30 ล้านบาท คิดเป็น 27.54% รายได้จากการปริวรรตเงินตรา 11.36 ล้านบาท คิดเป็น 3.89% รายได้อื่น ๆ (รวมกำไรจากการขายหรือตีราคาหลักทรัพย์) 3.31 ล้านบาท คิดเป็น 1.13% ส่วนรายได้ที่มาจากดอกเบี้ยและเงินปันผลสุทธิมีจำนวน 86.39 ล้านบาท คิดเป็น 29.63% โดยมีรายได้รวมทั้งหมด 291.56 ล้านบาท (ดูตารางที่ 5)

แหล่งข่าวในวงการเงินให้ความเห็นว่า ก่อนหน้านี้มีหลายแบงก์ที่หันมาหารายได้จากการค้ำประกันอาวัล ทำให้ตลาดอยู่ในภาวะแข่งขันกันสูงมาก ยกตัวอย่างเช่น ปกติค่าธรรมเนียมรับอาวัลจะคิดอัตราตั้งแต่ 1.5%-2% แต่มีการตัดราคากันขนาดหนัก เหลือเพียง 0.25% ก็ยังรับอาวัล คาดว่าหลังจากใช้ BIS ทำให้ธุรกิจค้ำประกันอาวัลมีอัตราความเสี่ยงสูงขึ้นเทียบเท่ากับการปล่อยสินเชื่อ ซึ่งแต่ละแบงก์ต้องปรับค่าธรรมเนียมขึ้นอย่างแน่นอน ฉะนั้นแบงก์แหลมทองเองคงจะอยู่ในภาวะสงครามราคาเช่นนี้ไม่ได้อีกแล้ว

กิตติ จากนครธน กล่าวเสริมว่า ค่าธรรมเนียมอาวัลอาจจะขึ้นไปถึง 3-4% ก็เป็นได้ เพราะภาระนอกงบดุลถูกกำหนดความเสี่ยงให้มากกว่าเดิม จึงจำเป็นต้องทำกำไรให้สูงเพื่อจะได้ผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ (ROA) ในอัตราที่สูงด้วย ซึ่งจะส่งผลให้ผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) สูงตามด้วย

ปี 2534 แบงก์แหลมทองมี ROA เพียง 7.15% และ ROE 1.70% ยังต่ำกว่าแบงก์ไทยทนุ ซึ่งมี ROA 9.55% และ ROE ถึง 2.87% หมายความว่าความสามารถในการทำกำไรของแบงก์แหลมทองยังมีน้อยกว่าบรรดาแบงก์เล็กด้วยกัน

นอกจากนี้ความสามารถในการบริหารกำไรจากสินเชื่อก็ยังมีปัญหาเพราะรายได้จากดอกเบี้ยมีน้อยมากเกือบเท่ารายจ่าย ในปีที่แล้วรายจ่ายดอกเบี้ยมีสูงถึง 1,004.09 ล้านบาท

อีกประการหนึ่งที่สะท้อนถึงความด้อยประสิทธิภาพในการทำกำไรก็คืออัตราการเติบโตของรายจ่ายสูงกว่ารายได้ ปี 2534 แบงก์แหลมทองมีอัตราเพิ่มขึ้นของรายจ่ายดอกเบี้ยจากปี 2533 จำนวน 80% ค่าธรรมเนียมและบริการเพิ่ม 71.56% และในขณะที่รายได้จากดอกเบี้ยเพิ่มเพียง 65% ค่าธรรมเนียมและบริการเพิ่มเพียง 61.55%

กูรดิสถ์กรรมการจัดการของแหลมทองได้ออกมาป่าวประกาศถึงความภูมิใจที่สิ้นปี 2534 สามารถทำกำไรได้มากถึง 63.90 ล้านบาท เพิ่มจากปี 2533 ถึง 56.20% แต่ทั้งนี้กำไรก็มาจากการขายสินทรัพย์เป็นส่วนใหญ่ ซ้ำกำไรดังกล่าวก็ไม่บรรลุเป้าหมายหรือประมาณการที่เคยส่งให้ตลาดหลักทรัพย์แต่อย่างใด

เนื่องจากตามแผนงาน 5 ปี ที่แบงก์แหลมทองทำส่งแบงก์ชาติและตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ประมาณการไว้ว่าปี 2534 จะมีกำไร 104.50 ล้านบาท แต่แท้จริงแล้วต่ำกว่าประมาณการถึง 40.6 ล้านบาท คิดเป็น 38.85% นับย้อนถัดไปปี 2533 แหลมทองก็ยังกำไรต่ำกว่าประมาณการเช่นกันคือประมาณการไว้ 58.90 ล้านบาท แต่ทำได้จริงแค่ 40.91 ล้านบาทเท่านั้น

แม้ว่าไตรมาส 1 ปี 2535 จะมีกำไรสุทธิ 12.37 ล้านบาท แต่ก็ยังต่ำกว่าประมาณการอีก 6 ล้านบาทเช่นกัน

สิ้นปี 2535 แบงก์แหลมทองตั้งเป้าหมายเงินฝากไว้ที่ยอด 10,623 ล้านบาท เพิ่ม 1,907 ล้านบาท เท่ากับ 21.9% เงินให้สินเชื่อ 9,517 ล้านบาท เพิ่ม 2,058 ล้านบาท เท่ากับ 27.6% สินทรัพย์รวม 12,337 ล้านบาท เพิ่ม 2,063 ล้านบาท เท่ากับ 20.1% รายได้ดอกเบี้ยและเงินปันผล 1,438.0 ล้านบาท รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย 176.7 ล้านบาท กำไร 70 ล้านบาท แต่กูรดิสถ์เองก็ยอมรับว่าอาจจะไม่สามารถบรรลุเป้าหมายได้เพราะไตรมาสแรกก็กำไรต่ำกว่าประมาณการเสียแล้วและยังมีขาดทุนสะสมอีกกว่า 300 ล้านบาท

แม้กูรดิสถ์จะกล่าวยืนยันว่าหลังจากใช้ BIS แบงก์ที่เขาบริหารอยู่จะไม่ขาดเงินกองทุนเพียงพออย่างแน่นอน เพราะเขายังปล่อยสินเชื่อไม่ถึง 12.5 เท่าของเงินกองทุนเพียงพอ ตามที่แบงก์ชาติกำหนดเพดาน ทำให้เงินกองทุนมีอัตราส่วนต่อสินทรัพย์เสี่ยงเกิน 8% สิ้นปี 2534 มีประมาณ 11%

แต่ถ้าเขาพิจารณาถึงอัตราการเติบโตของสินเชื่อที่ก้าวกระโดดในระยะ 3 ปีหลังนี้คือ (ดูตารางที่ 6) ปี 2534 เพิ่ม 53.53% ปี 2533 เพิ่ม 29.96% ปี 2532 เพิ่ม 21.66% (บริษัทบริการข้อมูลผู้จัดการวิเคราะห์ว่าปี 2531 เพิ่มเพียง 2.98%)

ในทางกลับกันอัตราการเติบโตของเงินกองทุนเพิ่มแบบถดถอยคือปี 2532 เพิ่ม 8.36% ปี 2533 เพิ่ม 8.63% ปี 2534 เพิ่ม 7.71 และคาดว่าปี 2535 จะเพิ่มเพียง 3.57% ซึ่งอัตราการเพิ่มที่ผกผันกันเช่นนี้ ถึงจุดหนึ่งแบงก์แหลมทองก็จะขาดเงินกองทุน หากยังจะดำเนินการปล่อยสินเชื่อและหากินนอกงบดุลอย่างเดิม ไม่ปรับเปลี่ยนภาระความเสี่ยงให้น้อยลง แรงกดดันจากการดำเนินธุรกิจที่ต้องพึ่งเงินกองทุนทำให้การหาลู่ทางใหม่เป็นสิ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้

ลู่ทางหาเงินใหม่ ๆ นั้นกูรดิสถ์ได้บอกว่าเตรียมแผนไว้ทุกด้าน โดยใช้ที่ปรึกษาจากออสเตรเลียเข้ามาช่วยวางกลยุทธ์ให้ธนาคารสารมารถรุกไปข้างหน้าและจัดตั้งระบบคอมพิวเตอร์ วางจังหวะก้าวซึ่งเริ่มตั้งแต่ปรับสายงานใหม่เพื่อเตรียมความพร้อมจากเดิมที่มี 13 ฝ่ายเพิ่มเป็น 18 ฝ่าย โดยได้แยกงานด้านสินเชื่อสำนักงานใหญ่ออกเป็น 2 ฝ่าย คือฝ่ายพัฒนาธุรกิจ และฝ่ายปฏิบัติการสินเชื่อ เพิ่มฝ่ายบริหารสินทรัพย์ ฝ่ายบริหารเงินและการติดต่อธนาคารระหว่างประเทศ ศูนย์ส่งเสริมบริการและศูนย์ส่งเสริมข้อมูล สำหรับพนักงานก็มีการให้กำลังใจโดยการเพิ่มโบนัสให้จากเดิมเคยได้ 4 เดือนเป็น 4.5 เดือน และปรับฐานเงินเดือนอีก 1,200 บาท ทั้งนี้เพื่อป้องกันการหมุนเวียนเข้าออกของพนักงาน

เขากล่าวว่าอีก 5 ปีข้างหน้าจะขยายลูกค้ารายย่อยกับรายใหญ่เพิ่มให้เป็นสัดส่วน 50:50 โดยเฉพาะสินเชื่อด้านอุปโภค บริโภค ที่อยู่อาศัยเตรียมลดตั๋วอาวัลค้ำประกันลง และจะพยายามให้สินเชื่อธุรกิจส่งออกมีสัดส่วนมากขึ้น

อย่างไรก็ตามแบงก์แหลมทองสิ้นปี 2534 มีสาขาเพียง 15 สาขา แบ่งเป็นสาขาในจังหวัดกรุงเทพฯ 11 สาขา ต่างจังหวัด 4 สาขา ปีนี้ได้ขออนุมัติแบงก์ชาติเปิดอีก 8 สาขา กรุงเทพฯ 6 สาขา ต่างจังหวัด 2 สาขา ซึ่งได้ลงทุนไปแล้วตั้งแต่ปีที่แล้ว 4-5 สาขา คาดว่าอีก 14 ปีข้างหน้าจะเปิดแต่ในกรุงเทพฯ อย่างเดียว เพราะธุรกิจแบงก์ต้องการทำเลที่มีธุรกิจชุกชม

อย่างไรก็ตามการเปิดสาขาต้องใช้เงินลงทุนมาก เนื่องจากจะใช้ระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วย ซึ่งลงทุนไปแล้วประมาณ 125 ล้านบาท ทั้งนี้จะให้มีการออนไลน์ให้ครบทุกสาขาภายในปี 2536 เพราะหากไม่มีคอมพิวเตอร์จะไม่สามารถขยายลูกค้ารายย่อยได้เลย

การขยายลูกค้ารายย่อยไม่ได้นอกจากแบงก์แหลมทองจะขยายสินทรัพย์เสี่ยงที่มีอัตราความเสี่ยงต่ำได้น้อยแล้ว ยังทำให้โครงสร้างต้นทุนสูงอีกด้วย เพราะลูกค้ารายใหญ่มักจะต่อรองอัตราดอกเบี้ยให้ได้สูงกว่าลูกค้ารายย่อย

ปัจจุบันลูกค้าเงินฝากมาจากสำนักงานใหญ่ 35% ล้วนเป็นรายใหญ่ อีก 65% เป็นรายย่อยมาจากสาขา โครงสร้างเงินฝากแบ่งดังนี้ 80-85% เป็นเงินฝากประจำ 10-12% เป็นออมทรัพย์ 3-4% เป็นกระแสรายวัน

แหลมทองฝันถึงการขยายลูกค้ารายย่อยทั้ง ๆ ที่กูรดิสถ์เองก็บอกว่าที่ผ่านมาคุณภาพของสาขายังไม่สามรถตอบสนองธุรกิจของแบงก์ได้เพราะคนในสาขาทำได้เพียงระดมเงินฝากเท่านั้น ส่งผลให้สินเชื่อโตน้อยกว่าเงินฝาก โดยมีสัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากทั้งปีเพียง 95%

สำหรับเรื่องการทำธุรกิจใหม่ ๆ เช่น เปิดบริการรับฝากเงินตราต่างประเทศ เขาบอกว่ายังเป็นไปค่อนข้างลำบาก และยังไม่อยากทำ แต่ในอนาคตต้องทำแน่

ส่วนธุรกิจการจัดจำหน่ายและรับประกันการจัดจำหน่ายตราสารประเภทหนี้รัฐบาลและรัฐวิสาหกิจที่แบงก์ชาติเปิดทางให้นี้ กรรมการจัดการแบงก์เล็กแห่งนี้ เคยกล่าวอย่างแบ่งรับแบ่งสู้ว่าไม่แน่ใจจะทำได้หรือไม่ เมื่อระบบและบุคลากรยังไม่พร้อม แต่ทางที่คิดว่าที่น่าจะทำได้ก็คือเป็นตัวเชื่อมให้นักลงทุน ตั้งแต่จัดเตรียมข้อมูลหาผู้ร่วมทุนและจัดหาแหล่งเงินทุนให้

จากสิ่งที่กูรดิสถ์เคยให้สัมภาษณ์ดูเหมือนว่าแบงก์แหลมทองมีทางเลือกในการปรับเปลี่ยนโครงสร้างสินเชื่อ และลดอัตราความเสี่ยงของสินทรัพย์โดยการเพิ่มธุรกิจก้าวเข้าสู่ตลาดทุนได้น้อยเหลือเกิน

เขาเองก็รู้ว่าขณะนี้แหลมทองยังไม่พร้อมรบในแนวใหม่ ๆ เพราะขาดมืออาชีพและหากโครงสร้างสินเชื่อยังเป็นไปตามแบบเดิม คือขยายตัวในอัตราสูงหรืออัตราที่เขาหวังให้เป็นคือ ประมาณ 20-21% นั้นอีกไม่เกิน 2 ปีนับจากปี 2536 ปัญหาขาดเงินกองทุนเกิดแน่ ๆ

กูรดิสถ์ก็ได้เลือกทางออกของแบงก์ที่เหลืออยู่น้อยคือ การเพิ่มทุนจดทะเบียนอีก 500 ล้านบาทเป็น 1,000 ล้านบาทด้วยการพยายามเร่งตัดขาดทุนสะสมอีกกว่า 300 ล้านบาทให้หมดภายในปีนี้ โดยขอมติจากคณะกรรมการให้นำส่วนล้ำมูลค่าหุ้นมาจ่าย มีผลให้แบงก์จะสามารถจ่ายเงินปันผลผู้ถือหุ้นได้ในปีถัดไป แต่การเพิ่มทุนก็จะทำให้กำไรต่อหุ้นลดลง จากปัจจุบันที่มีกำไรต่อหุ้น 1.61 บาทเท่านั้น วิธีนี้แม้จะง่ายเพราะผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่คงไม่พ้นแวดวงคนกันเองของ "จันทร์ศรีชวาลา" แต่ก็แสดงให้เห็นถึงการปรับตัวในการทำธุรกิจที่จำกัด

ถ้าเป็นแบงก์อื่นคงมีทางเลือกมากกว่านี้เพราะเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงที่แบงก์ชาติจะประกาศขั้นแรกนั้นยังใช้ไม่ถึง 8% จากรายงานของฝ่ายกำกับฯ อาจจะใช้เพียง 7% เท่านั้นและยังสามารถออกตราสารประเภทหนี้ด้อยสิทธิ์หรือ HYBRID CAPITAL เป็นเงินกองทุนขั้นที่สองได้ แต่แบงก์ที่จะใช้วิธีนี้ต้องมีภาพพจน์ดี เครดิตเรตติ้งดีและมีความมั่นคง จึงจะมีคนกล้าเสี่ยงซื้อ

ส่วนแบงก์แหลมทองนั้นเป็นที่รู้กันว่ามีภาพพจน์เป็นแหล่งเงินเกื้อกูลพวกพ้อง เช่น กลุ่มสยามวิทยา บงล. มิดแลนด์ โรงแรมฮอลิเดย์ อินน์ คราวน์ พลาซ่า ฯลฯ ตราสารที่จะออกขายสู่ประชาชนจึงอาจจะขายยากกว่าหุ้นเพิ่มทุน!

ถ้าแบงก์แหลมทองประกาศเพิ่มทุนจริง ๆ คงต้องใช้อภินิหารช่วยให้ราคาหุ้นวิ่งและมีการซื้อขายคล่องเพราะปัจจุบัน (สิ้นไตรมาส 1 ของปีนี้) ราคาหุ้นของแบงก์นี้ไม่ค่อยจะเคลื่อนไหวเท่าไรนัก ซ้ำยังมีอัตราผลตอบแทนรวมและกำไรจากมูลค่าเพิ่มติดลบ 10.43% เป็นที่สองรองจากสหธนาคารที่ติดลบสูงสุด

ทางเลือกอีกทางหนึ่งก็คือที่ดูเหมือนเป็นประโยชน์ต่อแบงก์แหลมทองการตีราคาที่ดิน ซึ่งฝ่ายกำกับฯ ของแบงก์ชาติกำหนดไว้ว่า จะอนุญาตก็ต่อเมื่อเป็นที่ดินของแบงก์ที่ใช้เป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่หรือสาขาเท่านั้น โดยตีราคายึดหลักประเมินราคากลางของกรมที่ดินเป็นหลัก และให้นับเฉพาะส่วนที่เพิ่มจากราคาทุน 70% เพราะไม่ต้องการส่งเสริมให้แบงก์สะสมที่ดินหรือสินทรัพย์ไม่มีสภาพคล่องมากเกินไป ฉะนั้นไม่ว่าจะเป็นที่ดินว่างเปล่า หรือที่ดินรกร้าง หรือที่ดินยึดคนอื่นมารอการขายจึงไม่ได้รับสิทธิข้อนี้ด้วย

แต่เป็นที่น่าเสียดายที่ราชาที่ดินอย่างสุระ อดีตผู้บริหารของที่นี่ และยังเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ที่ทรงอิทธิพลในปัจจุบันไม่ได้คิดจะเอาที่ดินมาสร้างสาขาบ้าง ทำให้สาขาส่วนใหญ่หรือแม้แต่สำนักงานใหญ่ปัจจุบันก็ยังเป็นเพียงสิทธิการเช่าระยะยาวมีตั้งแต่หมดอายุสัญญาปี 2534-2545 ทำให้แบงก์แห่งนี้ด้อยสิทธิ์ลงไปทันที

แม้นว่ากูรดิสถ์เองมีท่าทีพยายามจะโอนสำนักงานใหญ่มาเป็นของแบงก์ แต่ภาพของแบงก์ที่หลายคนเอาไปผูกติดกับสุระ แท้จริงก็ช่วยอะไรไม่ได้มากนักสำหรับเรื่องนี้

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us