|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
แบงก์ไทยพาณิชย์ยอมรับการปล่อยสินเชื่อปีนี้ต่ำกว่าเป้าหมาย แต่หากเทียบในตลาดยังถือว่าเติบโตกว่าคู่แข่งขัน ส่วนสถาบันเงินฝากน่าจะส่งผลดีต่อแบงก์ขนาดใหญ่เหตุช่วยให้ลูกค้ารู้สึกถึงความมั่นคง ด้านดอกเบี้ยบัตรเครดิตที่มีการขอปรับลดลงนั้น แนะควรปล่อยไปตามกลไกตลาด
นายหยกพร ตันติเศวตรัตน์ รองผู้จัดการใหญ่ กลุ่มบริหารความเสี่ยง ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB เปิดเผยว่า แนวโน้มการปล่อยสินเชื่อของธนาคารในปีนี้น่าจะไม่สามารถทำได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้จะมีการขยายตัวอยู่ที่ 20% โดยน่าจะทำได้อยู่ที่ประมาณ 13-15% ซึ่งแม้จะเป็นอัตราที่ต่ำกว่าเป้าหมาย แต่หากเทียบกับคู่แข่งขันถือว่ายังเป็นการขยายตัวที่สูงกว่า โดยครึ่งปีแรกที่ผ่านมาสามารถปล่อยสินเชื่อไปได้ประมาณ 30-40% ของเป้าหมายที่ตั้งไว้ ส่วนครึ่งปีหลังน่าจะปล่อยสินเชื่อได้มากกว่าช่วงครึ่งปีแรก
สำหรับสถาบันประกันเงินฝากซึ่งคาดว่าจะเกิดขึ้นในปีหน้านั้น เชื่อว่าจะส่งผลดีต่อธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ เนื่องจากผู้ฝากเงินจะรู้สึกมั่นใจกับธนาคารที่มีความมั่นคง นอกจากนี้ยังคาดหวังว่าการมีสถาบันประกันเงินฝากนี้จะทำให้ธนาคารพาณิชย์จ่ายเงินสมทบให้กับกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินลดลง จากปัจจุบันที่จ่ายเงินสมทบ 0.4 % แต่ละปีธนาคารจ่ายเงินสมทบให้กับกองทุนฟื้นฟู 2,000-3,000 ล้านบาท
"เราเชื่อว่าการมีสถาบันประกันเงินฝากจะเป็นประโยชน์กับเรา อย่างน้อยก็น่าจะมีเงินจากที่อื่นเข้ามา แต่ก็คงมีความไหลออกบ้าง และคาดหวังว่าเงินที่ต้องจ่ายสมทบ 0.4% นั้นคงจะลดลงมาบ้าง ก็จะดีขึ้นมาก ส่วน Basel 2 ซึ่งจะมีขึ้นปีหน้านั้นทุกคนก็เตรียมพร้อมกันหมดแล้วไม่น่าจะมีอะไร ส่วนการแข่งขันในปีหน้ายังคงรุนแรงเหมือนทุกปี ซึ่งเป็นเรื่องปกติ เรามีหน้าที่เพียงเตรียมตัวให้พร้อมกับการแข่งขันเท่านั้น"นายหยกพรกล่าว
นอกจากนี้ ผลจากธุรกิจชะลอตัว สิ่งที่เป็นห่วงคือเรื่องของคุณภาพสินทรัพย์ ซึ่งในจุดนี้ธนาคารมีนโยบายเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ สำหรับยอดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ยังเป็นตัวเลขที่ควบคุมได้ และยังไม่มีสัญญาณที่น่าเป็นห่วง ส่วนเรื่องของการสำรองหนี้จัดชั้นยังเป็นการสำรองปกติสำหรับธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาท จะเป็นกลุ่มที่ใช้วัตถุดิบในประเทศ เช่น สินค้าเกษตร และกุ้งแช่แข็ง เมื่อผู้ประกอบการได้รับผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยน ก็กดราคาสินค้าที่เป็นวัตถุดิบ หรือต่อรองกับคู่ค้าต่างประเทศ เพื่อหวังลดต้นทุน และให้ธุรกิจอยู่รอดได้
นายหยกพรกล่าวถึงกรณีที่ทางมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ได้ยื่นหนังสือต่อธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพื่อให้พิจารณาเกี่ยวกับการปรับลดเพดานอัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคล ว่า อัตราดอกเบี้ยของผลิตภัณฑ์ดังกล่าวควรจะปล่อยให้เป็นไปตามกลไกของตลาด ให้ตลาดเป็นตัวกำหนดอัตราดอกเบี้ย เพื่อให้ผู้ประกอบการแข่งขันให้ดอกเบี้ยต่ำในกลุ่มลูกหนี้ที่มีความเสี่ยงต่ำได้ และไม่ควรกำหนดเพดานขั้นสูง เพราะการกำหนดเพดานจะทำให้ผู้บริโภคที่ใช้สินเชื่อนอกระบบเข้ามาใช้สินเชื่อในระบบได้
|
|
|
|
|