Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน4 กันยายน 2550
สศช.-ธปท.ตีปี๊บจีดีพีปีนี้โต 4.5 เปอร์เซ็นต์             
 


   
search resources

Economics




“เสือคล้อย” สภาพัฒน์คงประมาณการณ์เศรษฐกิจปี 50 ขยายตัว 4.0-4.5 เปอร์เซ็นต์ จากภาคส่งออก และการใช้จ่ายภาครัฐ แต่ยอมรับกังวลปัญหาหนี้เสียในระบบสถาบันการเงิน เผยวันนี้ชง ครม.เดินหน้าโครงการรถไฟฟ้ากระตุ้นเศรษฐกิจ ด้านแบงก์ชาติเชื่อครึ่งปีหลังจีดีพีขยายตัว 4.5 เปอร์เซ็นต์ กระทรวงพาณิชย์เผยเงินเฟ้อเดือน ส.ค.ขยายตัว 1.1 เปอร์เซ็นต์ ต่ำสุดรอบ 5 ปี

วานนี้ (3 ก.ย.) ที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ฯ นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการ สศช. แถลงแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจในปี 2550 คาดว่าราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยทั้งปี 2550 จะอยู่ในช่วงบาร์เรลละ62-64 ดอลลาร์สหรัฐฯ โดยสูงกว่าที่คาดการณ์ในเดือนมิถุนายน ที่บาร์เรลละ 60-64 ดอลลาร์ อย่างไรก็ตาม สภาพัฒน์ฯ คาดว่าเศรษฐกิจทั้งปี 2550 จะขยายตัว ร้อยละ 4.0-4.5 เท่ากับประมาณการเมื่อเดือน มิ.ย.

“การส่งออกในช่วงครึ่งปีแรกของปีที่ดีกว่าที่คาดไว้ได้ช่วยชดเชยการชะลอตัวการใช้จ่าย และการลงทุนภาคเอกชนได้ อัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะเท่ากับร้อยละ 2.0-2.5 และมีการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดประมาณร้อยละ 4.2 ของGDP”นายอำพน กล่าวและยอมรับว่า อุปสงค์ภายในประเทศ โดยเฉพาะการใช้จ่ายและการลงทุนในภาคเอกชน และการเบิกจ่ายการลงทุนรัฐวิสาหกิจจะฟื้นตัวช้ากว่าที่คาดการณ์ไว้

ด้าน ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ของไตรมาสที่ 2 ปี 2550 ขยายตัวที่ร้อยละ 4.4 สูงกว่าไตรมาสแรกเล็กน้อย และรวมครึ่งปีแรกของปีเศรษฐกิจขยายตัวร้อยละ 4.3 ด้านการใช้จ่ายมีแรงการสนับสนุนจาก 2 ด้านคือ 1.การส่งออกหรือภาคการค้าต่างประเทศ 2.งบประมาณและแรงสนับสนุนจากการเร่งรัดการใช้จ่ายของภาครัฐ

ขณะที่สาขาการผลิตที่ขยายตัวได้ดีขึ้นกว่าในไตรมาสแรกได้แก่ภาคเกษตร ขยายตัวร้อยละ 9.7 (ผลผลิตจากอ้อย มันสำปะหลัง และข้าวมีปริมาณที่เพิ่มขึ้น) การก่อสร้างขยายตัวร้อยละ 3.7 และภาคการเงินขยายตัวดีขึ้นร้อยละ 4.8 ทั้งนี้ เนื่องจากสินเชื่อรวมของระบบสถาบันเร่งตัวขึ้นและรายได้ดอกเบี้ยและเงินปันผลสุทธิ สูงขึ้น

ชง ครม.เดินหน้ารถไฟฟ้า-ห่วง NPL

นายอำพน เปิดเผยว่า วันนี้ (4 ก.ย.) สศช.จะเสนอให้รัฐบาลพิจารณาเร่งรัดก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้า ในระหว่างการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพราะจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้มาก เนื่องจากรถไฟรางคู่ได้เปิดประมูลแล้ว ส่วนรถไฟฟ้าสายสีแดง รังสิต-บางซื่อ มีกำหนดเปิดประมูลเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน และสายสีม่วง ได้เตรียมเสนอให้ สศช.พิจารณา ซึ่งจะใช้เวลา 1 เดือน ดังนั้น หากรัฐบาลเร่งรัด 2 โครงการดังกล่าวน่าจะเปิดประมูลทันปี 2550 ซึ่งจะเป็นแรงส่งให้เกิดการลงทุนในช่วงไตรมาสแรกปี 2551

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ต้องระวัง คือ ปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะเอ็นพีแอลในสถาบันการเงินไตรมาส 2 ที่สูงถึง 249,500 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 4.4 ของสินเชื่อรวม เพิ่มขึ้นจากไตรมาสแรกซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 4.18 หากเป็นมูลหนี้เพิ่มขึ้นถึง 14,600 ล้านบาท

ธปท.ชี้จีดีพีครึ่งปีหลังโต 4.5 เปอร์เซ็นต์

นางสุชาดา กิระกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เชื่อว่าเศรษฐกิจปี 50 จะขยายตัวได้ตามคาดการณ์ที่ 4-5 เปอร์เซ็นต์ หลังจากตัวเลขช่วงไตรมาส 1 และ 2 ของปีนี้ออกมาในเกณฑ์ที่ดี ซึ่งหากจะให้ได้ตามเป้าหมาย ครึ่งปีหลังจีดีพีจะต้องเติบโตราว 4.5 เปอร์เซ็นต์ ซึ่ง ธปท.เชื่อว่าเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลังเติบโตได้ดีกว่าครึ่งปีแรก เนื่องจากมีปัจจัยบวกมากขึ้น โดยเฉพาะสถานการณ์การเมืองเริ่มนิ่ง อัตราดอกเบี้ยได้ผ่อนคลายมามากแล้ว รัฐบาลเร่งใช้จ่ายงบประมาณเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ รวมทั้งการเลือกตั้งที่จะมีในช่วงครึ่งปีหลังจะช่วยให้มีการใช้จ่ายเพิ่มขึ้น

“การเมือง และเศรษฐกิจชัดเจนขึ้น ขณะเดียวกันนโยบายการเงินและการคลังก็สามารถประสานกันได้และขับเคลื่อนเศรษฐกิจไปได้ดี”นางสุชาดา กล่าว และว่า ปัจจัยลบเรื่องปัญหาซับไพรม์ก็เป็นสิ่งที่ ธปท.คาดการณ์ไว้แล้ว การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก แนวโน้มการชะลอตัวของการท่องเที่ยว โดยในช่วงไตรมาส 3 เป็นช่วงที่เป็นโลว์ ซีซั่นอยู่แล้ว แต่ก็เชื่อว่าการท่องเที่ยวจะกลับมาฟื้นตัวในไตรมาส 4ส่วนการส่งออกในปีนี้ก็ยังเชื่อว่าจะเติบโตได้ในช่วง 12-15 เปอร์เซ็นต์ ตามที่คาดไว้

เงินเฟ้อ ส.ค.ขยายตัวต่ำสุดรอบ 5 ปี

นายการุณ กิตติสถาพร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (เงินเฟ้อ) เดือนส.ค.2550 เท่ากับ 116.7 เทียบกับเดือนก.ค. 2550 ลดลง 0.5 เปอร์เซ็นต์ ปรับตัวลดลงเป็นครั้งแรกหลังจากที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงมา 2 เดือนนับตั้งแต่เดือนมิ.ย. และเดือนก.ค.2550 ส่วนเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนขยายตัว 1.1 เปอร์เซ็นต์ เป็นการขยายตัวที่ต่ำสุดในรอบ 5 ปีนับจากเดือนก.ย.2545 ที่ขยายตัวเพียง 0.4 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ช่วง 8 เดือนแรกปีนี้ (ม.ค.-ส.ค.) เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน สูงขึ้น 1.9 เปอร์เซ็นต์

สาเหตุที่เงินเฟ้อสูงขึ้น 1.1 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งชะลอลงนับจากต้นปี เป็นเพราะดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้น 4.3 เปอร์เซ็นต์ โดยสินค้าสำคัญคือ ข้าวสารเหนียวสูงขึ้น 38.4 เปอร์เซ็นต์ ผักสดสูงขึ้น 23.5 เปอร์เซ็นต์ ผลไม้สด 6.1 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ดัชนีไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มลดลง 0.7 เปอร์เซ็นต์ โดยสินค้าสำคัญที่ราคาลดลงคือ น้ำมันเชื้อเพลิง 5.2 เปอร์เซ็นต์ หมวดเคหะสาน 0.3 เปอร์เซ็นต์ หมวดพาหนะการขนส่งและการสื่อสาร 0.2 เปอร์เซ็นต์ อย่างไรก็ตาม การที่เงินเฟ้อไม่สูงมากไม่ใช่ปัจจัยเรื่องการชะลอใช้จ่ายของประชาชนอันเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว แต่เป็นเพราะราคาผักสด ผลไม้ และน้ำมันเชื้อเพลิง ลดลง

“แม้เงินเฟ้อจะขยายตัวไม่สูงมาก แต่ยังไม่มีสัญญาณเงินฝืด ส่วนเดือนหน้าเงินเฟ้อจะขยับสูงขึ้นเล็กน้อย เพราะผลจากการปรับขึ้นภาษีสรรพสามิตเหล้า และบุหรี่ โดยอาจทำให้เงินเฟ้อปรับขึ้นไปประมาณ 0.13 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งไม่สูงมากนัก ขณะที่การขึ้นเงินเดือนข้าราชการจะไม่มีผลกระทบอะไร เพราะรับรู้ข่าวไปนานแล้ว สำหรับช่วงปลายปี ที่มีการเลือกตั้ง เงินเฟ้อจะขยับสูงขึ้นอีก เพราะคาดว่าจะมีเงินสะพัดจำนวนมาก แต่ทั้งปีมั่นใจว่าจะขยายตัวที่ 1.5-2.5 เปอร์เซ็นต์ ตามเป้าหมาย”นายการุณ กล่าว

สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศ ที่หักรายการสินค้ากลุ่มอาหารสดและกลุ่มพลังงาน 107 รายการ คิดเป็น 24 เปอร์เซ็นต์ ของสัดส่วนค่าใช้จ่ายทั้งหมด ในเดือนส.ค.2550ว่า เท่ากับ 105.6 เทียบกับเดือน ก.ค. ไม่เปลี่ยนแปลง แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนสูงขึ้น 0.7 เปอร์เซ็นต์ และเฉลี่ย 8 เดือนแรกของปีนี้เทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนสูงขึ้น 1.1 เปอร์เซ็นต์   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us