กระบวนการผลิตน้ำปลา ที่สำคัญของโรงงานน้ำปลาทั่งซังฮะ จะเริ่มตั้งแต่กรรมวิธีการหมักบ่มน้ำปลาจากปลากระตักหัวแหลม
และปลากระตักหัวอ่อน ที่ผ่านการคัดล้าง แล้วนำไปคลุกเคล้ากับเกลือในอัตรา
2:1 จากนั้น จึง นำไปบรรจุในบ่อหมักขนาดใหญ่ทำด้วยคอนกรีตกันซึม ขนาด 15-20
ตัน รวมกว่า 5 พันบ่อ และในช่วงรอการหมักบ่มจนได้ ที่จะมีเจ้าหน้าที่จากห้องแล็บคอยควบคุม และตรวจสอบ
คุณภาพน้ำปลาทุกสัปดาห์ เมื่อน้ำปลาหมักบ่อได้ ที่นานประมาณ 1 ปี - 1 ปี 6
เดือน และผ่านการตรวจสอบคุณภาพ เจ้าหน้าที่จะสูบน้ำปลาจากบ่อหมักไปยังอีกบ่อหนึ่ง
เพื่อปั๊มถ่ายให้ตกตะกอน และตากแดดสักระยะเวลาหนึ่ง
จากนั้น กรองให้สะอาดด้วยเครื่องกรอง ที่ผ่านขบวนการฆ่าเชื้อ แล้วจึงนำไปบรรจุขวดด้วยเครื่องจักรอัตโนมัติ
ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์โดย การผลิตในแต่ละโรงงานจะสามารถบรรจุน้ำปลาได้
35,000 ขวดต่อชั่วโมง โดยที่ขวดแต่ละใบจะผ่านการล้างขวดด้วยเครื่องอัตโนมัติ
2 เครื่อง สามารถล้างขวดได้ 23,000 ขวดต่อชั่วโมง และฆ่าเชื้อโรคด้วยความร้อนสูง
สำหรับผลิตภัณฑ์ในเครือทั่งซังฮะปัจจุบัน ประกอบด้วยน้ำปลาตราทิพ รส ตราอวยพร
ตราดีเลิศ ตราแตรทอง ตราโบแดง ตราเด็กอ้วน ตรารักชาติ ตราสายทิพย์ ตราลูกข่าง
ตราเอมโอช และตราเบอร์หนึ่ง
ส่วนตลาดต่างประเทศนั้น ทิพรสเริ่มเปิดตลาด ในประเทศสหรัฐ อเมริกามาตั้งแต่ปี
2511 หลังจากนั้น ได้ขยายตลาดในประเทศแถบยุโรป ออสเตรเลีย ฮ่องกง แคนาดา บรูไน
ประเทศในแถบตะวันออกกลาง ญี่ปุ่น ไต้หวัน และเกาหลี โดยปัจจุบันโรงงานน้ำปลาทั่งซังฮะ
มีสัดส่วนการตลาดทั้งใน และต่างประเทศประมาณ 50% ของตลาดน้ำปลาทั้งหมด
เจ้าหน้าที่บริษัททั่งซังฮะเปิดเผยว่า การทำตลาดในต่างประเทศ บริษัท ทั่งซังฮะเป็นผู้ดำเนินการเองทั้งหมด
การทำตลาดในครั้งแรกใช้วิธีตั้งเอเยนต์ เพื่อให้เป็นตัวแทนจำหน่ายในต่างประเทศ
โดยคัดเลือกตัวแทนจำหน่าย ที่มีระบบงานที่ดี และเลือกเปิดตลาดในประเทศ ที่มีแนวโน้มการเติบโตของตลาดสูง
คือ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ไต้หวัน และกลุ่มประเทศแถบยุโรป
"การทำตลาดในช่วงแรกตั้งแต่ปี 2511 เราใช้ระบบ
Small Importer โดยจะเลือกเอเยนต์จำหน่ายรายเล็กๆ ซึ่งในครั้งแรกต้องช่วยเราวิเคราะห์ตลาด
เนื่องจากการทำตลาดต่างประเทศยากกว่าตลาดในประเทศ เพราะในต่างประเทศเรา ไม่สามารถใช้สื่อโฆษณาเผยแพร่สินค้าได้
เนื่องจากค่าใช้จ่าย สูงขณะที่กลุ่มผู้บริโภคมีเพียงกลุ่มเล็ก ที่เป็นชาวเอเชีย
ที่เข้าไปทำมาหากิน หรืออาศัยอยู่ในประเทศนั้น เราใช้เวลานานกว่า 10 ปี กว่าจะเปิดตลาดในต่างประเทศได้สำเร็จ"
เจ้าหน้าที่คนเดิมยังเผยว่าการทำตลาดต่างประเทศของทั่งซังฮะ จากอดีตถึงปัจจุบันมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบอยู่ตลอดเวลาไม่ว่าจะเป็นการหาเอเย่นต์
ใหม่ๆ เพื่อขยายตลาดออกไป และพบว่าการใช้นโยบายลดราคาสินค้า เพื่อสร้างความสนใจไม่ค่อยได้ผล
เพราะคนต่างชาติไม่รู้จักอาหารไทย และ ที่สำคัญกลุ่มผู้บริโภคยังไม่กว้างขวาง
อย่างไรก็ตามในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา หลังรัฐบาลมีนโยบายโปรโมตอาหารไทยในต่างประเทศ
ทำให้ยอดขายน้ำปลาของบริษัทเพิ่มขึ้นรวมทั้งอัตราเติบโตของตลาดน้ำปลาในต่างประเทศก็สูงขึ้น
20% เพราะความต้องการบริโภค อาหารไทยในต่างแดนมีมากขึ้น
สำหรับการทำตลาดในประเทศนั้น ทั่งซังฮะใช้วิธีตั้งเอเยนต์จำหน่าย สำหรับลูกค้าในตลาดล่าง
และลูกค้าในกลุ่มร้านยี่ปั๊วต่างๆ ส่วนลูกค้าระดับ บน หรือลูกค้า ที่มีช่องทางการจำหน่ายมากๆ
เช่น ศูนย์ค้าส่งแม็คโคร หรือ ห้างสรรพสินค้าต่างๆ บริษัทจะเข้าไปดูแลเองทั้งหมด
สาเหตุที่ทั่งซังฮะไม่จ้างบริษัทอื่นเข้ามาทำการตลาดให้ มีเหตุผล 2 ประการคือ
เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย และบริษัทสามารถควบคุมตลาดสินค้าให้ เป็นไปในทิศทางเดียวกันได้
ซึ่งหากอาศัยผู้จัดจำหน่ายหลายบริษัทจะทำให้ ราคาสินค้าแตกต่างกันออกไป และจะมีผลต่อยี่ปั๊ว และผู้ค้ารายย่อยของน้ำ
ปลาตราทิพรส