Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2535








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2535
"ขยายพื้นที่ทางเดียวของเนตรที่จะฟื้นไดอาน่า"             
 


   
search resources

พิธานพาณิชย์กรุ๊ป
เนตร จันทรัศมี
Shopping Centers and Department store




"กลุ่มพิธานพาณิชย์" เป็นที่รู้จักกันดีถึงความยิ่งใหญ่ในภาคใต้ เพราะมีเครือข่ายธุรกิจมากมาย ทั้งเป็นดีลเลอร์ "โตโยต้า" "ฮอนด้า" "วอลโว่" กระทั่งรถจักรยานยนต์ฮอนด้า

นอกจากนี้ กลุ่มพิธานพาณิชย์ยังมีธุรกิจโยงใยในภาคใต้ตอนล่างอีกมากมายทั้งที่เป็นอุตสาหกรรมอย่างแปซิฟิคแปรรูปสัตว์น้ำ หรือการค้าปลีกอย่าง "ห้างไดอาน่า" ซึ่งมีสาขาทั้งที่หาดใหญ่และปัตตานีอันเป็นถิ่นกำเนิดของพิธานพาณิชย์

สำหรับ "ไดอาน่า" นั้นได้รับการขนานนามให้เป็นห้างอันดับหนึ่งของภาคใต้มานานภายใต้การบริหารของ "เนตร จันทรัศมี" กรรมการผู้จัดการผู้เป็นทายาท "สายตรง" อีกคนของหลวงพิธานพาณิชย์ ต้นตระกูล "จันทรัศมี"

การที่เรียกเนตรว่าเป็นทายาทสายตรงเนื่องจากเขาเป็นลูกชายคนเดียวของ "บัณฑิต จันทรัศมี" ทายาทคนโตของหลวงพิธาน และเป็นคนคุมไดอาน่า ในขณะที่ทายาทอีกสาย คือ ตระกูล "โกวิทยา" หรือสายเขยของหลวงพิธานเป็นผู้ดูแลธุรกิจของบริษัท พิธานพาณิชย์

แต่แล้วความเป็นหนึ่งของห้างไดอาน่าเริ่มถูกแทรกแซงโดยระบบการค้าปลีกเมื่อมีกลุ่มใหม่ ๆ เข้ามา เช่นห้าง "โอเชียน" ของธีรชัย เซี่ยงเห็น อดีตพ่อค้าแผงบนห้างไดอาน่าที่เลือกเส้นทางเป็นเถ้าแก่ด้วยการเปิดห้างในหาดใหญ่ ก่อนขยายเข้าไปสู่ภูเก็ตและชุมพรจนเป็นกลุ่มห้างสรรพสินค้าที่มีเครือข่ายมากที่สุดในภาคใต้

ไม่รวมกรณีที่ "ไดอาน่า" ถูกท้าทายอย่างหนักที่สุดนั่นก็คือ เมื่อกลุ่มท้อปแลนด์จากพิษณุโลกได้ขยับฐานการลงทุนมายังภาคใต้ ด้วยการเปิดห้าง "หาดใหญ่ซิตี้" บนที่ดินที่เช่าจากการรถไฟแห่งประเทศไทย ใกล้ ๆ กับสถานีรถไฟหาดใหญ่ และกลายเป็นห้างที่มีพื้นที่ขายมากที่สุดในภาคใต้ และให้ความสะดวกในเรื่องที่จอดรถ อันเริ่มเป็นปัญหาใหญ่ของเมืองที่กำลังขยายตัวอย่างมากเฉกเช่นหาดใหญ่

ดูเหมือนว่า "ไดอาน่า" เริ่มถูกต้อนเข้าสู่มุมอับอย่างช่วยไม่ได้…!

ดังที่เนตรยอมรับกับ "ผู้จัดการ" ว่าปัญหาหนึ่งที่ทำให้ลูกค้าลดลง จากที่ยอดขายเคยขยายตัวปีละ 30% ลงมาเหลือเพียง 10% เนื่องจากไม่มีพื้นที่จอดรถนี่เอง

ที่จริง ห้างไดอาน่ามีแผนขยายงานบนถนนนิพัทธ์อุทิศ 3 อยู่ แต่ติดขัดตรงพื้นที่ซึ่งเป็นของกลุ่มพิธานพาณิชย์ แต่ให้คนอื่นเขาเช่าและยังไม่หมดสัญญา

"ถ้าพูดถึงที่ดินแล้วเป็นที่รู้กันดีว่ากลุ่มพิธานพาณิชย์มีมากกว่าใครในภาคใต้ เพราะสมัยที่หลวงพิธานยังมีชีวิตอยู่ได้เดินทางไปหลายจังหวัดและซื้อที่ดินตามพื้นที่ต่าง ๆ โดยเฉพาะในภาคใต้ตอนล่าง เช่นที่หาดใหญ่ ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส

แต่บังเอิญก่อนที่ท่านจะสิ้นบุญ หลวงพิธานเคยสั่งไว้ว่าห้ามไล่คนที่กำลังเช่าที่อยู่จนกว่าเขาจะออกไปเอง" นายธนาคารรายหนึ่งซึ่งรู้เรื่องดีเล่าถึงเกร็ดประวัติศาสตร์ที่กลายมาเป็นอุปสรรคของห้างไดอาน่า

อย่างไรก็ตามเนตรกล่าวว่า แผนการขยายห้างยังคงเดินหน้าต่อไป และกำลังอยู่ระหว่างการปรับตัว สำหรับขณะนี้มีอย่างน้อย 2 โครงการ

โครงการแรก ก็คือเมื่อเปิดประมูลโรงแรมถิ่นเอกซึ่งอยู่ด้านหลังของห้างไดอาน่าติดกับถนนนิพัทธ์อุทิศ 2 ถนนสายสำคัญอีกสายหนึ่งของหาดใหญ่และถูก บงล. นวธนกิจและธนาคารทหารไทยยึดไปนั้น "เราจะเข้าประมูลทันทีเพื่อขยายพื้นที่ห้าง" เนตรเล่าถึงการเตรียมความพร้อมที่จะหาพื้นที่ให้ได้มากขึ้น

อีกโครงการ ก็คือ เมื่อบรรดาผู้เช่าที่ดินรอบห้างของกลุ่มพิธานพาณิชย์หมดสัญญาลงในปลายปี 2536 แล้ว ก็จะไม่ต่อสัญญาเช่าให้อีก เพื่อเอาพื้นที่เหล่านี้มาขยายห้างตามแผนที่ได้วางไว้

ตามแผนนี้ จะทำให้ห้างไดอาน่ามีพื้นที่เพิ่มขึ้นจาก 3,000 ตารางเมตรเป็น 8,000 ตารางเมตร

แต่นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของเป้าหมายธุรกิจห้างสรรพสินค้าของกลุ่มเท่านั้น…!

เนตรมองว่าการขยายพื้นที่ข้างต้นยังไม่เพียงพอที่จะรองรับกลุ่มผู้บริโภคที่มีกำลังซื้ออย่างในหาดใหญ่ได้ ขณะเดียวกันก็จะทำให้ห้างไดอาน่าตกเป็นรองจากห้างอื่น

เขาจึงเตรียมเสนอไดอาน่าเข้าตลาดหลักทรัพย์เพื่อระดมทุน โดยมี บง. เอกสินเป็นผู้ศึกษาอยู่

ทั้งนี้ "เราเตรียมเสนอขอเข้าตลาดฯ ในวันที่ 13 สิงหาคมนี้" เนตรกล่าวด้วยความมั่นใจว่าจะผ่านการพิจารณาได้ด้วยดี เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายที่จะให้บริษัทในต่างจังหวัดเข้าไประดมทุนในตลาดฯ มากขึ้น

เมื่อเข้าตลาดฯ ได้แล้วจะทำให้การขยายงานง่ายขึ้น เพราะต้นทุนเงินลงทุนต่ำขณะที่ต้นทุนที่ดินของกลุ่มพิธานพาณิชย์นั้น ต่ำกว่านักลงทุนกลุ่มอื่นอยู่แล้ว

โครงการสำคัญที่จะดำเนินการเมื่อเข้าตลาดฯ คือการสร้างคอมเพล็กซ์ยักษ์เฟสสองขึ้นที่ถนนศรีภูวนารถ ช่วงติดกับธนาคารกรุงเทพ และในบริเวณเดียวกันนั้น กลุ่มพิธานพาณิชย์ยังมีโครงการร่วมกับชาญ อิสสระอีกด้วย

กลุ่มพิธานพาณิชย์ได้เปรียบเรื่องต้นทุนที่ดิน เนื่องจากพื้นที่ที่จะสร้างคอมเพล็กซ์ประมาณ 11 ไร่นี้ ซื้อมาในราคาเพียง 5 แสนบาทเท่านั้นเมื่อหลายปีที่ผ่านมา ซึ่งถ้ารายอื่นจะมาลงทุนในบริเวณเดียวกันนี้ประเมินราคาที่ว่าจะไม่ต่ำกว่า 200 ล้านบาท

เมื่อโครงการระยะแรกที่ถนนศรีภูวนารถเสร็จในวันที่ 1 ธันวาคม 2535 จะทำให้ห้างไดอาน่ากลายเป็นห้างยักษ์มีพื้นที่ขายถึง 15,000 ตารางเมตรและเพิ่มเป็น 35,000 ตารางเมตร เมื่อขยายงานครบตามแผนโดยจะเสร็จสมบูรณ์ในราวปลายปี 2537 หรือต้นปี 2538

เนตรฝันว่า ถึงวันนั้นห้างไดอาน่าจะกลายเป็นห้างที่มีความพร้อมอย่างครบวงจรในพื้นที่เดียวกันเป็นแห่งแรก ทั้งโรงภาพยนตร์มินิเธียเตอร์ สวนสนุก ศูนย์อาหาร ร้านหนังสือ ฟาสต์ฟู้ด ซึ่งห้างอื่นยังไม่มีแผนกเครื่องใช้ไฟฟ้าหรือร้านหนังสือ เป็นต้น

ขณะเดียวกัน จะทำให้ไดอาน่า "มีพื้นที่ขายมากกว่า "ห้างหาดใหญ่ซิตี้" ที่ใหญ่ที่สุดในตอนนี้ถึง 2 เท่า รวมทั้งมีที่จอดรถได้ประมาณ 300 คัน ตรงนี้จะทำให้ความสะดวกแก่ลูกค้ามากขึ้น เพราะเราจะมุ่งกลุ่มเป้าหมายที่เป็นตลาดระดับเอและบีเป็นหลัก"

โดยเน้นจุดเด่นที่ตัวสินค้าเป็นประเภทมีระดับและมีปริมาณมากกว่าห้างอื่นในหาดใหญ่ประมาณ 20% เฉพาะอย่างยิ่งประเภทเสื้อผ้าจะนำยี่ห้อใหม่ ๆ เข้ามา เช่น เอส. แฟร์ ลาร์ฟ ลอเรน นอกเหนือจากยี่ห้อกีลาโรส เอ็กเซ็นเรนซี่ อเลน เดอลอง แจ็คนิคลอส ที่ขายอยู่เพียงรายเดียว

เนตรจบรัฐศาสตร์จากจุฬารุ่นเดียวกับอัญชลี จงคดีกิจ และจบโทสาขาเดียวกันจากสหรัฐอเมริกา เตรียมจะเรียนต่อปริญญาเอก ก็มีอันต้องกลับมาช่วยธุรกิจของครอบครัวในช่วงปี 2528 ภาวะที่เศรษฐกิจกำลังซบเซาจากการลดค่าเงินบาทในปลายปี 2527

เมื่อห้างขาดทุน ผู้เช่าแผงในห้างต่างก็เป็นหนี้กันถ้วนหน้า รวมเบ็ดเสร็จกว่าล้านบาท ซึ่งจัดว่ามากสำหรับธุรกิจท้องถิ่นเมื่อ 7 ปีที่แล้ว สภาพเศรษฐกิจที่ยังคงเงียบเหงา และเขาก็แก้ปัญหาโดยให้คนเช่าออกจากพื้นที่แล้วกลับมาดำเนินการและบริหารเองในรูปแบบที่เป็นห้างสรรพสินค้ามีระดับมากขึ้น

แต่ครั้งนี้เนตรจะฟื้นบัลลังก์ความเป็นหนึ่งของห้างสรรพสินค้า "ไดอาน่า" ในภาคใต้ให้เป็นจริงได้หรือไม่ คงต้องคอยจับตาดูกันต่อไป

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us