|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
กรมส่งเสริมฯเดินหน้ายุทธศาสตร์โลจิสติกส์การค้าลดขั้นตอนส่งออก-น้ำเข้ารวดเร็วขึ้น พร้อมแนะภาคเอกชนต้องปรับตัวรับมือกับ FTA ต่างชาติ ด้าน “ศ.ดร.ฐาปนา บุญหล้า” ชี้งบฯ 5.5 แสนล้านต้องหนุน“ระบบราง-ทางน้ำ”มากกว่านี้ขณะที่ “จุดบอด”โลจิสติกส์ไทยเหตุทุกกระทรวงที่เกี่ยงข้องต่างคน-ต่างทำไม่ประสานงาน ส่วนส.ผู้รับจัดการขนส่งระหว่างประเทศยืนยัน “เอกชน-รัฐ” จับมือ
การดำเนินธุรกิจในปัจจุบันบริการ “โลจิสติกส์”กลายเป็นอีกภาคธุรกิจที่มีส่วนช่วยขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมอื่นๆ เพราะมีความเกี่ยวเนื่องกับการบริการ การขนส่ง การจัดเก็บ การกระจายสินค้า การจัดส่งพัสดุ การบรรจุหีบห่อ และจากการที่รัฐบาลกำหนดแผนพัฒนาระบบโลจิสติกส์ปี 2550- 2554 ด้วยงบประมาณถึง 5.5แสนล้านบาท ซึ่งโอกาสความเป็นไปได้ในการเปิดเสรีด้านโลจิสติกส์มีมากน้อยแค่ไหนและภาพรวมของรูปแบบพฤติกรรมการให้บริการโลจิสติกส์ / การลงทุนปัญหา/อุปสรรคของผู้ประกอบการไทยในการเตรียมความพร้อมต้องทำอะไรบ้างเพราะทุกสาขาธุรกิจล้วนเกี่ยวข้องกับการขนส่งแทบทั้งสิ้น
สำหรับหน่วยภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการขับเครื่องด้านโลจิสติกส์ของประเทศสามารถแบ่งออกได้เป็นแนวทางหลักๆคือ กระทรวงอุตสาหกรรมจะดูการขนส่งของภาคการผลิตและธุรกิจ SMEs , กระทรวงพาณิชย์จะดูด้านโลจิสติกส์การค้า/ขั้นตอนศุลกากร, กระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงแรงงานดูแลด้านพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ด้านโลจิสติกส์มากขึ้น และ กระทรวงคมนาคมดูแลโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งและสนับสนุนระบบโลจิสติกส์ของประเทศ
ปูทางโลจิสติกส์การค้า
ดร.จักรกฤษณ์ ดวงพัสตรา ผอ.กลุ่มงานพัฒนาและส่งเสริมระบบโลจิสติกส์ สำนักโลจิสติกส์การค้า กรมส่งเสริมการส่งออกเปิดเผยกับ “ผู้จัดการรายสัปดาห์”ว่าทางกรมฯได้จัดตั้งสำนักโลจิสติกส์การค้า (สลค.)ขึ้นมาเมื่อเดือนตุลาคม 2549 โดยสำนักดังกล่าวจะมีหน้าที่ส่งเสริมด้านการอำนวยการสะดวกทางการค้า คือช่วยลดขั้นตอนและจำนวนเอกสารโดยใช้ระยะเวลาในการติดต่อทั้งภาครัฐและเอกชนในการออกใบอนุญาตและใบรับรองการนำเข้า-ส่งออกสั้นที่สุดพร้อมกันนี้ยังส่งเสริมการพัฒนาธุรกิจการพัฒนาการบริหารการจัดการโลจิสติกส์ของผู้ส่งออกควบคู่กันไปด้วย
ขณะที่หน่วยงานภาครัฐจะต้องร่วมมือบริหารในลักษณะที่เป็นซัพพลายเชนและคลัสเตอร์ของสินค้า พร้อมกับพัฒนาระบบโลจิสติกส์และการอำนวยความสะดวกทางการค้าให้เป็นมาตรฐาน อีกทั้งพัฒนาระบบตรวจสอบสินค้าให้มีคุณภาพและมาตรฐานเป็นสากล มีความโปร่งใสด้านการบริหารจัดการและเผยแพร่ข้อมูลกฎระเบียบการค้า อีกทั้งการกำหนดกรอบกลยุทธ์การพัฒนาโลจิสติกส์ทางการค้าของไทย เพื่อให้สามารถอยู่รอดในยุคการเปิดเขตเสรีการค้า
เอกชนต้องปรับตัวรับมือ FTA
นอกจากนี้จากแนวนโยบายการจัดทำเขตการค้าเสรีของรัฐบาลชุดปัจุบันเช่น ความตกลงทางการค้าเสรีไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) เหล่านี้จะส่งผลให้นโยบายการค้า Free and Fair Trade มีแนวคุ้มกันและจะส่งผลกระทบต่อทั้งภาคเอกชนและรัฐรวมไปถึงการแสวงหาผลประโยชน์ที่ได้จากเอฟทีเอโดยศึกษารายละเอียดสินค้าส่งออก/นำเข้าอย่างลึกซึ้ง และการเร่งขยายเครือข่ายการกระจายสินค้าและพันธมิตรทางการค้าให้มากขึ้นทั้งยังต้องปฏิบัติตามกติกาที่กำหนดในเอฟทีเอโดยเคร่งครัดในส่วนที่เกี่ยวกับการจัดการโลจิสติกส์ ได้แก่ การปฏิบัติตามระบบข้อกำหนดด้านคุณภาพและมาตรฐานสินค้าที่กำหนด การใช้ประโยชน์จากกฎแหล่งกำเนิดสินค้า
“ดังนั้นเอกชนต้องปรับระบบโลจิสติกส์ของตัวเองให้พร้อมต่อเงื่อนไขปริมาณการค้าระหว่างไทยกับคู่ค้าในข้อตกลงเอฟทีเอที่ทำเพิ่มขึ้นเชื่อว่าการดำเนินงานของกรมฯจะช่วยให้ผู้ส่งออกและผู้ให้บริการโลจิสติกส์สามารถส่งสินค้าและบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ”ดร.จักรกฤษณ์ ระบุ
หนุนระบบ “ราง-ทางน้ำ” มากขึ้น..!
ด้าน ศ.ดร.ฐาปนา บุญหล้า ประธานกรรมการสถาบันโลจิสติกส์แห่งเอเชีย มองว่าตามแผนพัฒนาระบบโลจิสติกส์ 5 ปีด้วยงบลงทุนกว่า 5.5แสนล้านได้แบ่งหน้าที่ไปให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาทิ กระทรวงคมนาคม กระทรวงพาณิชย์ มีหน้าที่กำกับดูแลการกำหนดโครงสร้างทางธุรกิจ รวมถึงโครงสร้างทางการคมนาคมในการก่อสร้างเส้นทางการขนส่ง ทั้งทางบก ทางราง ทางน้ำ และทางอากาศ ให้มีความสะดวกที่สุด โดยเฉพาะทางน้ำและระบบรางซึ่งเป็นเส้นทางการขนส่งที่แตกต่างจากการขนส่งแบบอื่นๆ ที่สามารถขนส่งสินค้าได้จำนวนมากแต่ใช้ค่าใช้จ่ายน้อยมากเมื่อเทียบกับการขนส่งประเภทอื่นๆ เพราะไม่มีการเก็บค่าผ่านทางหรือการผ่านด่านเพิ่มเติมจากการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง
ทว่าตัวเลขปัจจุบันกลับมีการใช้การขนส่งทางถนนมากกว่า 88% ถือว่าเป็นการขนส่งสายหลักของประเทศแต่การขนส่งระบบราง หรือทางน้ำดูจะได้รับความสนใจน้อยที่สุด จึงเป็นหน้าที่ของรัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวจะเข้ามาให้การพัฒนาให้มีการลดต้นทุนมากที่สุดโดยวางแผนไปที่ 3 องค์กรหลักๆเช่น 1.พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน 2.พัฒนาระบบฐานข้อมูล และ 3.พัฒนาคนหรือบุคลากรให้มีความรู้ความเข้าใจระบบโลจิสติกส์มากว่าที่เป็นอยู่
ชี้ “จุดบอด” โลจิสติกส์ไทย แต่ละกระทรวงขาดบูรณาการ
“การขนส่งระบบราง และ ทางน้ำสามารถบรรทุกสินค้าได้อย่างน้อยๆ 1,000ตันต่อเที่ยวแต่หากเป็นรถบรรทุกที่ใช้ถนนมีกฎหมายกำหนดว่าบรรทุกได้ไม่เกิน 25 ตันคือต้องสิ่งถึง 40 เที่ยงกว่าจะได้สินค้าเท่ากับบรรทุกทางน้ำ และระบบราง นี่คือต้นทุนที่ต้องจ่ายเพิ่มแน่นอน” ประธานกรรมการสถาบันโลจิสติกส์แห่งเอเชีย กล่าวยืนยัน
อย่างไรก็ตามที่การพัฒนาระบบระบบโลจิสติกส์ไทยไปไม่ถึงไหนเพราะทุกกระทรวงที่เกี่ยวต่างยึดการทำงานของตัวเองเป็นหลักไม่มีการประสานงานกันต่างคนต่างทำจึงไม่เกิดการทำงานแบบูรณาการการพัฒนาระบบโล- จิสติกส์ให้ได้ตามแผนใน 5 ปีข้างหน้าคงเป็นไปได้ยากเต็มทีหากยังไม่สามารถแก้ปัญหาการทำงานระหว่างกระทรวงได้นี่คือจุดอ่อนหนึ่งในการเชื่อมโยงการทำงานของระบบข้าราชการไทย อีกทั้งศูนย์ข้อมูล ( IT ) ในด้านนี้ก็กระจัดกระจายไม่มีการรวมศูนย์ต่างคนต่างทำทั้งที่เป็นเรื่องที่สำคัญมากสำหรับผู้ส่งออกและผู้ให้บริการ
ขณะที่การเปิดเสรีโลจิสติกส์นั้นไม่ต้องพูดถึงประเทศไทยได้เปิดเรื่องนี้ตั้งแต่การทำ FTAในปี 2548 ที่ผ่านมาซึ่งภาคเอกชนมีความพร้อมในการแข่งขันสู้ต่างชาติอย่างประเทศญี่ปุ่น หรือ เกาหลีใต้ไม่ได้แน่นอนผู้ประกอบการได้ค่าจ้างแค่เป็นซัพคอนแทรค (Subcontract) จะไปหาทุนที่ไหนไปลงทุนสู้กับยักษ์ใหญ่ข้ามชาติได้ขณะที่ความสามารถในการแข่งขันก็ด้อยลงอย่างหลีกเหลี่ยงได้
“เอกชน-รัฐ”จับมือเป็นไปได้ยาก.!
ส่วนนโยบายของกระทรวงคมนาคมที่ต้องการให้รัฐและเอกชนร่วมมือกันนั้น “สุวิทย์ รัตนจินดา” นายกสมาคมผู้รับจัดการขนส่งระหว่างประเทศ มองว่าเป็นไปได้ยากมากเนื่องจากมีบทเรียนเป็นตัวอย่างให้เห็นอยู่แล้วอย่างศูนย์ขนส่งสินค้าลาดกระบังของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ที่ยังมีปัญหาอยู่เพราะมีการปรับค่าเช่าเพิ่มขึ้นทำให้ต้นทุนของเอกชนสูงขึ้นตามไปด้วยนอกจากนี้ตอนนี้ยังไม่มีความชัดเจนในการต่อสัญญากับเอกชนอีกด้วยทำให้ผู้ประกอบการวางแผนงานไม่ได้ และไม่รู้ชะตากรรมของตัวเองเช่นซื้อเครื่องมือไม่ได้ การส่งออกดีเลย์หมด เป็นปัญหาลูกโซ่ขณะนี้
ขณะที่นโยบายที่บอกว่าจะให้ต้นทุนต่ำแต่จะเอาค่าเช่าสูงๆ มันสวนทางกันต้องเข้าใจว่าระบบโลจิสติกส์ไม่ให้รัฐมีรายได้เป็นกอบเป็นกำแต่เป็นการเอื้ออำนวยความสะดวกให้กับเอกชนนำรายได้มาจ่ายภาษีคืนให้กับรัฐหน้าที่ของรัฐลงทุนโครงสร้างพื้นฐานอยู่แล้วแต่ไม่รู้ว่าในที่สุดจะได้การอุดหนุนงบประมาณมากน้อยแค่ไหน
“ผมเห็นด้วยกับแนวคิดที่จะให้เอกชนจับมือเดินไปพร้อมกับรัฐบาลแต่มันมีปัญหาต้องแฟร์กันด้วยทั้ง 2 ฝ่าย” นายกสมาคมผู้รับจัดการขนส่งระหว่างประเทศ ระบุ
|
|
 |
|
|