Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์3 กันยายน 2550
กระแสเกาหลีฟีเวอร์อ่อนแรง โรส มีเดีย ถอยกลับจัดทัพหันลุยการ์ตูน             
 


   
search resources

Entertainment and Leisure
โรส มีเดีย แอนด์ เอนเตอร์เทนเม้นท์, บจก.




ย้อนกลับไปเมื่อราว 2-3 ปีก่อน กระแสความนิยมในโคเรียน สไตล์ หรือแฟชั่นเกาหลี หลั่งไหลผ่านช่องทางด้านวงการบันเทิงเข้ามา สร้างความตื่นตะลึงให้กับคนไทยถึงรสชาติใหม่ ๆ ที่แปลกไปแต่ถูกใจ ทั้งละครโทรทัศน์ ภาพยนตร์ นักแสดง นักร้อง บทเพลง ดึงดูดให้ผู้ประกอบการธุรกิจบันเทิงแห่ตามมาเกาะกระแส นำคอนเทนต์เกาหลีสารพัดรูปแบบเข้าสร้างตลาดในประเทศไทย หนึ่งในนั้นคือ โรส มีเดีย แอนด์ เอนเทอร์เทนเมนต์ ยักษ์ใหญ่ธุรกิจโฮมเอนเตอร์เทนเมนต์ ที่ประกาศบุกตลาดภาพยนตร์เกาหลี ซื้อภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์ทุนสูง อย่าง Typhoon ภาพยนตร์ที่ได้รับความนิยมจากผู้ชมเกาหลี อย่าง Daisy ของสาวฮอต จวน จี ฮุน รวมถึงหนังในระดับบ๊อกซ์ ออฟฟิศ ของแดนกิมจิ หลายต่อหลายเรื่อง เข้ามาฉายในประเทศไทย

แต่มาถึงวันนี้ จิรัฐ บวรวัฒนะ รองประธานกรรมการ สายงานการตลาด บริษัท โรส มีเดีย แอนด์ เอนเทอร์เทนเมนต์ จำกัด มองเห็นแล้วว่า กระแสเกาหลีเพียงแค่ไหลผ่านมา และกำลังไหลผ่านไป เหลือเพียงร่องรอยอารยธรรมเอาไว้ แต่ไม่อาจสร้างโอกาสทางธุรกิจที่จะแปลงเป็นรายได้อันเป็นกอบเป็นกำได้เลย

"ที่ผ่านมาเรามองว่ากระแสเกาหลีจะเข้ามา แต่พอโรสฯ ซื้อหนังดี ๆ เข้ามาฉาย รายได้เกือบทุกเรื่องแทบติดดิน ไม่สามารถสร้างความฮือฮาให้กับผู้ชมชาวไทยได้เลย ทั้งที่บางเรื่องทำรายได้ในเกาหลีสูงกว่าหนังฟอร์มยักษ์จากฮอลลีวู้ด แต่ในเมืองไทยกลับไม่ประสบความสำเร็จ ทำให้เราต้องมาปรับทิศทางในการทำธุรกิจหนังเสียใหม่"

จิรัฐกล่าวว่า ไม่เพียงแต่หนังจากเกาหลีเท่านั้นที่ผู้ชมชาวไทยไม่สนใจ หากแต่ภาพยนตร์ที่โรสฯ เห็นว่าเป็นภาพยนตร์คุณภาพที่คนไทยควรชม เช่น ภาพยนตร์รางวัลลูกโลกทองคำ อย่าง Babel ก็ได้รับความสนใจอยู่ในกลุ่มแคบ ๆ ที่ทำได้ดีที่สุดคือไม่ขาดทุนเท่านั้น จึงจำเป็นต้องปรับแนวทางในการทำธุรกิจของโรสฯ อีกครั้ง โดยในส่วนของธุรกิจภาพยนตร์ที่ในช่วงที่ผ่านมาเป็นตัวสร้างภาระให้กับบริษัท ก็จะเปลี่ยนนโยบายซื้อเฉพาะภาพยนตร์ที่เป็นที่ต้องการของตลาด เช่น ตลก แอ็คชั่น โดยจะไม่เข้าแข่งขันประมูลที่อาจทำให้ราคาภาพยนตร์สูงขึ้น ส่วนภาพยนตร์คุณภาพที่ซื้อลิขสิทธิ์มาได้ก็อาจเปลี่ยนไปทำเป็นดีวีดี หรือวีซีดี แทน

"นอกจากหนังฟอร์มใหญ่จากฮอลลีวูดแล้ว คนไทยชอบดูหนังที่เข้าใจง่าย ๆ ขำ ๆ หนังตลก หนังแอกชั่น อย่าง เฉินหลง เจ็ทลี จะเป็นที่นิยม เราเห็นอย่างไรก็ต้องทำอย่างนั้น เพื่อเป้าหมายของบริษัทฯ ที่ชัดเจน คือ ทำให้บริษัทแข็งแรง เป็นโปรเฟสชันนัล คอมปะนี"

การปรับโครงสร้างของโรส มีเดียฯ รอบใหม่ จะปิดบริษัทย่อยที่กระจายอยู่ในชื่อต่าง ๆ เช่น ดับเบิลยูพีเอ็ม บริษัทจัดจำหน่ายภาพยนตร์ เชอรี่ ร้านค้าปลีกของโรส คัลเลอร์โซน บริษัทรับตัดต่องาน นำกลับเข้ามาตั้งเป็นบิสซิเนสยูนิต ภายในโรส มีเดียฯ รวมศูนย์การทำงานเข้าด้วยกัน เพื่อให้การทำงานมีความคล่องตัว และสามารถตัดสินใจได้เร็วขึ้น

ในส่วนของธุรกิจหลักที่โรส มีเดียฯ จะมุ่งไป คือการสร้างบริษัทฯ ให้เป็นผู้นำในคอนเทนต์การ์ตูนครบวงจร โดยปัจจุบัน โรส มีเดียฯ มีคอนเทนต์การ์ตูนครบวงจร ที่สามารถนำเข้าสู่ทุกช่องทางทั้งฉายในโรงภาพยนตร์ ฉายทางโทรทัศน์ เคเบิลทีวี วางจำหน่ายในรูปแบบหนังแผ่น รวมถึงการขายสิทธิ์เมอร์เชนไดซ์ ประกอบไปด้วยการ์ตูนที่เจาะ 3 กลุ่มหลัก คือ Pre-School เด็กก่อนวัยเรียน 3-6 ปี มีเนื้อหาในแนว Edutainment การให้ความรู้ การเรียนรู้ สร้างทักษะให้เด็ก Kid เด็กเล็ก 6-8 ปี เป็นการ์ตูนญี่ปุ่น และกลุ่ม Pre Teen และ Teen อายุตั้งแต่ 8 ปีจนถึง 25 ปี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการ์ตูนจากฝั่งตะวันตก เช่น Fantastic 4 หรือ Hell Boy

ด้านการกระจายคอนเทนต์ จิรัฐ กล่าวว่า นอกเหนือจากแนวทางการวางจำหน่ายในรูปแบบดีวีดี และวีซีดี แล้ว ในปีนี้โรส มีเดียฯ เริ่มนำรายการการ์ตูนเข้าสู่ฟรีทีวี ทาง ททบ.5 ทำให้ภาพของโรส มีเดียฯ เข้าสู่กลุ่มเป้าหมายที่เป็นเด็กมากขึ้น ขั้นตอนต่อไปในปีหน้าจะขยายเวลาเพิ่มจากครึ่งชั่วโมง เป็น 1 ชั่วโมงครึ่ง รวมทั้งจะขยายคอนเทนต์สู่ช่องอื่น ๆ โดยเฉพาะคอนเทนต์สำหรับเด็กก่อนวัยเรียน ที่เป็นเหมือนสื่อการเรียนการสอน สอดคล้องกับแนวทางของสถานีโทรทัศน์ในปัจจุบันที่ต้องการมากกว่าความบันเทิงเพียงอย่างเดียว

นอกจากนั้น ในปีหน้าโครงการทีวีผ่านดาวเทียมช่องการ์ตูนที่ได้เตรียมการมาเป็นเวลานาน ก็คาดว่าจะสามารถออกอากาศได้ ซึ่งจะทำให้โรส มีเดียฯ สามารถต่อภาพผู้นำในคอนเทนต์การ์ตูนได้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยบริษัทฯ จะมีการเชื่อต่อระหว่างฟรีทีวี กับแซทเทิลไลท์ทีวีเข้าด้วยกัน เพื่อสร้างโอกาสในการหารายได้จากการโฆษณาอย่างเต็มตัว เช่น การซื้อโฆษณาทางฟรีทีวี แถมโฆษณาทางแซทเทิลไลท์ทีวี ซึ่งเชื่อว่าในอนาคตโรส มีเดียฯ สามารถขายโฆษณารายการโทรทัศน์ได้ในราคาเท่ากับสปอตวิทยุ

จิรัฐ กล่าวว่า วันนี้กลุ่มเด็กเล็กเริ่มรู้จักโรส มีเดียฯ มากขึ้น ต่อไปนอกเหนือจากการนำเสนอคอนเทนต์สู่กลุ่มเป้าหมายแล้ว ยังจะมีแนวคิดในการจัดกิจกรรมเพื่อสื่อสารระหว่างโรส มีเดียฯ กับกลุ่มเป้าหมาย ทั้งการจัดอีเวนต์ การแสดงโชว์ การจัดประกวด

"ผมมั่นใจว่าคนดูการ์ตูนวันนี้รู้จักเราดีมาก และจะรู้จักกันมากยิ่งขึ้น เป็นกลุ่มที่เติบโตไปพร้อมกับเรา ถ้าวันนี้ประชาชนยกให้ จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ คือผู้เชี่ยวชาญคอนเทนต์เพลง สยามสปอร์ต คือผู้เชี่ยวชาญคอนเทนต์กีฬา อีกไม่นาน โรส มีเดียฯ จะได้รับการยอมรับเป็นผู้เชี่ยวชาญคอนเทนต์การ์ตูน แน่นอน"   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us