Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2535








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2535
"พฤติกรรมบริโภคข้อมูลของนักธุรกิจ"             
โดย รัชนี วีระวัฒนยิ่งยง
 


   
search resources

News & Media
Research




นักธุรกิจ 65% มีความต้องการบริโภคข้อมูลและข่าวสารที่รวดเร็ว เพื่อชิงความได้เปรียบในสงครามการค้า และ 60% ต้องการข้อมูลข่าวสารที่ส่งผ่านทาง FAX"

การดำเนินธุรกิจต่าง ๆ ในประเทศไทยปัจจุบันนี้ นักธุรกิจและผู้บริโภคต้องเสียต้นทุนในการสืบหาข้อมูลเพื่อการตัดสินใจค่อนข้างสูง โดยเฉพาะต้นทุนด้านเวลา เนื่องจากข้อมูลต่าง ๆ อยู่กระจัดกระจายและไม่เป็นระบบ

ผู้ที่มีความต้องการข่าวสารข้อมูลส่วนใหญ่ยังขาดทักษะในการสืบค้นข้อมูลที่ตนต้องการ โดยเฉพาะผู้ประกอบธุรกิจในอุตสาหกรรมต่าง ๆ และผู้ที่กำลังจะเริ่มต้นธุรกิจของตนเอง ผู้ที่จะให้บริการข่าวสารข้อมูลที่ดีจะต้องสามารถนำเสนอแก่ผู้รับบริการในรูปของข้อมูลสำเร็จรูปโดยที่ผู้รับบริการไม่จำเป็นต้องนำข้อมูลไปประมวลผลอีก

การนำเสนอข้อมูลต่าง ๆ สามารถกระทำได้ 2 รูปแบบ คือ หนึ่ง สิ่งตีพิมพ์ และสอง ข้อมูลตามสาย

เมื่อธุรกิจต่าง ๆ ซึ่งเป็นผู้รับบริการข่าวสารข้อมูลได้รับการตอบสนองในรูปแบบของความต้องการของตนแล้ว ผู้รับบริการจะสามารถพัฒนาองค์กรของตนได้ดังนี้

- เพิ่มความสามารถทางการตลาดในสินค้าของตนเช่น ครองส่วนแบ่งตลาดมากขึ้น

- สามารถกำหนดกลยุทธ์ทางด้านราคาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

- สามารถประมาณกำไรของตนได้ค่อนข้างแม่นยำ

ความต้องการ

จากการสำรวจพบว่า โดยรวมแล้วข้อมูลที่มีการใช้มากที่สุดคือ ข้อมูลทางด้านเศรษฐกิจ, การเงินการธนาคาร, การตลาด และข้อมูลทางด้านการเมือง ซึ่งสามารถตั้งข้อสังเกตได้ว่าการใช้ข้อมูลของกิจการแต่ละประเภทยังไม่ค่อยมากหรืออยู่ในระดับปานกลางเท่านั้น

นอกจากนี้ยังพบอีกว่าผู้ประกอบการธุรกิจในปัจจุบันมีการใช้ข้อมูลจากทั้งภายในองค์กรและนอกองค์กรในอัตราส่วนที่ใกล้เคียงกัน คือ 46% และ 54% แต่ค่อนไปทางการใช้ข้อมูลจากภายนอกองค์กรมากกว่า

ในส่วนของแหล่งข้อมูลจากภายนอกองค์กรนั้นพบว่า ข้อมูลส่วนใหญ่มาจากหน่วยงานรัฐบาล วิธีการได้ข้อมูลของแต่ละบริษัทที่ได้รับจากภายนอกองค์กรโดยมากจะได้จากการขอข้อมูลจากหน่วยงานต่าง ๆ (48.4%), ซื้อจากบริษัทที่จัดทำให้เรียบร้อยแล้ว (20%) และการแลกเปลี่ยนจากหน่วยงานอื่น (14.2%)

ปัจจุบันมีศูนย์บริการข้อมูลต่างประเทศอยู่หลายแห่งเช่น JETRO, JICA, US & FCS, KOTRA ซึ่งผลปรากฏว่าบริษัทส่วนใหญ่ประมาณ 89.2% ยังไม่เคยใช้ศูนย์ข้อมูลประเภทนี้เลย ในส่วนของผู้ที่เคยใช้มักจะใช้ข้อมูลจาก JETRO และ JICA

บริษัทส่วนใหญ่จะมีความพอใจกับข้อมูลเดิมที่ใช้กันอยู่แล้วประมาณ 60.8% แต่ถ้าแยกตามประเภทกิจการแล้วจะพบว่าในส่วนของกลุ่มก่อสร้างและที่ดิน และกลุ่มโฆษณาและบริการอื่น ๆ ยังไม่พอใจข้อมูลเดิมที่มีอยู่ (66.7%) ส่วนกลุ่มอุปกรณ์สำนักงานนั้นความพอใจต่อข้อมูลเดิมมีถึง 100%

สำหรับสาเหตุที่ไม่พอใจต่อข้อมูลเดิมที่ใช้อยู่ก็เนื่องจากข้อมูลไม่ทันสมัย ล่าช้า, ไม่มีรายละเอียดครบถ้วน, ไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ที่ต้องการ ในขณะที่ค่าใช้จ่ายสูงไม่ได้เป็นสาเหตุหลักของความไม่พอใจต่อข้อมูลที่ใช้อยู่

ด้วยเหตุนี้จึงเป็นโอกาสให้บริษัทที่ดำเนินธุรกิจให้บริการด้านข่าวสารสามารถเข้ามารองรับความต้องการในด้านนี้ เพื่อเสริมให้ข้อมูลที่บริษัทได้รับมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้นในภาวการณ์แข่งขันของธุรกิจ ในปัจจุบันข้อมูลข่าวสารเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง ผู้ที่ได้ข้อมูลในมือที่สมบูรณ์และถูกต้องมากเพียงใดก็ยิ่งมีความได้เปรียบคู่แข่งมากยิ่งขึ้น

ผลการสำรวจพบว่าบริษัทธุรกิจต่าง ๆ มีความสนใจที่จะให้หน่วยงานเอกชนช่วยในการรวบรวมหรือจัดเตรียมข้อมูลให้โดยเฉลี่ย 66% ของทั้งหมด โดยข้อมูลที่ต้องการให้หน่วยงานเอกชนเก็บรวบรวมให้ได้แก่ข้อมูลอุตสาหกรรมเฉพาะเรื่อง (24.3%), ข้อมูลด้านการตลาด (20.8%), ข้อมูลภาวะเศรษฐกิจและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลง (18.8%) และข้อมูลการเงินการธนาคาร (12.5%) เป็นต้น

สำหรับบริษัทธุรกิจที่ไม่ต้องการให้หน่วยงานเอกชนจัดเตรียมและรวบรวมข้อมูลให้เพราะพอใจในแหล่งข้อมูลเดิมที่องค์กรมีอยู่แล้ว สำหรับหลักเกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณาซื้อข้อมูลจากหน่วยงานเอกชน ความถูกต้องเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดรองลงมาคือความทันสมัยและครบถ้วนของข้อมูล อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการในธุรกิจก็ยังไม่มีความมั่นใจต่อหน่วยงานที่จัดทำข้อมูลให้เพราะยังไม่แน่ใจว่าจะได้ข้อมูลที่ตรงกับความต้องการจริง ๆ

ซัพพลายเออร์

ในปัจจุบันบริษัทที่ให้บริการข่าวสารข้อมูลมีการให้บริการในลักษณะต่าง ๆ ดังนี้ คือ

ลักษณะของบริการ จำนวนราย

NEWS CLIPPING 1

สรุปข่าว 6

ข่าวเศรษฐกิจของหนังสือพิมพ์ธุรกิจมี messenger ส่งให้และทำเป็นภาษาอังกฤษ 1

ส่งเป็นรายสัปดาห์ 3

บริการส่งข่าว เอกสารเกี่ยวกับราชการ 1

TELETEX 1

ให้บริการผ่าน COMPUTER ONLINE 2

ติดต่อขาย 1

รวม 16

การให้บริการข้อมูลข่าวสารในที่นี้จะพิจารณาเฉพาะการให้บริการในลักษณะของบริการตัดข่าว (CLIPPING) และบริการข่าวด่วน (HOT NEWS) ต่อกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย บริการตัดข่าว บริการนี้จะมีลักษณะเป็นการรวบรวมข่าวตัดเฉพาะเรื่องจากหนังสือพิมพ์และนิตยสารทั้งภาษาไทยและต่างประเทศกว่า 20 ฉบับ จัดส่งไปให้ลูกค้าโดยคัดเลือกเฉพาะกลุ่มประเภทสินค้า (CATEGORIES) ที่ลูกค้าต้องการ รูปแบบการส่งจะแบ่งเป็น 2 ช่วง ช่วงแรกก่อน 9.00 น. จะเป็นการส่งสรุปข่าวและข่าวที่สำคัญของเรื่องที่ตัดให้ทางแฟกซ์ ช่วงที่ 2 เวลา 12.00-14.00 น. จะส่งรายละเอียด (FULL TEXT) ของข่าวที่สรุป ในช่วงเช้าจัดส่งโดยใช้ MESSENGER (BY HAND)

บริการข่าวด่วน บริการนี้จัดเป็นบริการสรุปข่าวประจำวันจากหนังสือพิมพ์และนิตยสารทั้งของไทยและต่างประเทศโดยจะส่งผ่านทางแฟกซ์, COMPUTER ONLINE ซึ่งมีช่วงเวลาส่งเป็น 3 ช่วง แต่ละช่วงจะมีข่าวซึ่งสรุปให้จากแหล่งที่ต่าง ๆ กัน

ภายในบริษัทต่าง ๆ ส่วนใหญ่จะมีการตัดข่าวเก็บไว้เพื่อใช้เป้นข้อมูลในการดำเนินกิจการถึง 83.3% กิจการที่มีการตัดข่าวเพื่อเก็บเป็นข้อมูลมากที่สุดคือ เกษตรกรรม, บริการขนส่ง, อุปกรณ์สำนักงาน, โรงแรม ภัตตาคาร ทัวร์, โฆษณาและบริการอื่น ๆ ซึ่งพนักงานตัดข่าวแต่ละบริษัทจะมีพนักงานตัดข่าวจำนวนตั้งแต่ 1-7 คนขึ้นไป ส่วนใหญ่จะมีการศึกษาระดับปริญญาตรี, ปวช,-ปวส. และสูงกว่าปริญญาตรีตามลำดับ

สำหรับหนังสือพิมพ์ที่ใช้ในการตัดข่าวประกอบด้วย นสพ. ธุรกิจ 55.7% และ นสพ. ทั่วไป 44.3% นิตยสารที่ใช้ค่อนข้างมากได้แก่ ASIA WEEK, ASEAN WALLSTREET, ดอกเบี้ยและการเงินธนาคาร เรื่องที่ตัดเก็บส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องทางเศรษฐกิจ การตลาด การเงินธนาคาร อุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่แต่ละบริษัทนั้น ๆ ทำอยู่

ความสนใจของบริษัทธุรกิจต่าง ๆ ที่จะให้หน่วยงานเอกชนภายนอกจัดเตรียมรวบรวมในลักษณะของ CLIPPING ปรากฏว่ามีผู้สนใจใช้บริการนี้ 41.2% ไม่สนใจ 58.8% ผู้ที่ใช้ประโยชน์จากบริการ CLIPPING คือ ผู้บริหารระดับต้นและเจ้าหน้าที่พนักงานเป็นส่วนใหญ่ ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายของบริการนี้ประกอบด้วยกลุ่มธุรกิจก่อสร้างและที่ดิน, เกษตรกรรม

สำหรับการให้บริการแบบ HOT NEWS จากการสำรวจพบว่า มีผู้สนใจบริการนี้ 64.7% และไม่สนใจ 35.3% ซึ่งจะเห็นได้ว่าหน่วยงานธุรกิจมีความสนใจต่อบริการ HOT NEWS มากกว่าโดยรวมแล้วข่าวที่สนใจเป็นพิเศษคือข่าวในประเทศ, ข่าวต่างประเทศ, ข่าวหลักทรัพย์ สำหรับเหตุผลของกลุ่มที่ไม่สนใจบริการนี้คือเห็นว่าไม่จำเป็นต่อกิจการที่ทำอยู่, มีข้อมูลพร้อมอยู่แล้วทั้งจากบริษัทเองและของบริษัทในเครือ

รูปแบบของความต้องการส่งข้อมูลแบบ HOT NEWS

(จากการสำรวจ)

FAX 60.4%

เอกสาร 18.8%

COMPUTER ONLINE 13.5%

DISKETTE 3.1%

อื่น ๆ (วิทยุ MESSENGER) 4.2%

รวม 100.0%

ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการส่งข่าวแบ่งออกเป็น 3 ช่วงคือ 8.00 น., 12.00 น. และ 16.30 น. เท่ากับ 52.9%, 49.0% และ 37.3% ตามลำดับ บริการ HOT NEWS เป็นประโยชน์สำหรับผู้บริหารระดับกลางและผู้บริหารระดับสูงมากกว่าเจ้าหน้าที่ในระดับปฏิบัติการ

กลุ่มลูกค้าเป้าหมายของบริการประเภทนี้ได้แก่ธุรกิจการเกษตรกรรม, อุตสาหกรรม, สถาบันการเงิน, ตัวแทนจำหน่าย, โฆษณาและบริการ ความพร้อมในการรับเทคโนโลยีการสื่อสารของบริษัทต่าง ๆ จึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่แสดงถึงความสามารถในการรับบริการ CLIPPING และ HOT NEWS พบว่ากิจการเกือบทั้งหมดมีความพร้อมค่อนข้างมาก ถึงขนาดที่สามารถรับบริการทางด้าน COMPUTER โดยมีอุปกรณ์เครื่องโทรสาร (FAX) 95.1% อุปกรณ์เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 94.1% โดยเฉพาะ PERSONAL COMPUTER มีใช้สูงถึง 89.2% ทำให้เห็นถึงความพร้อมในการพัฒนาส่งข้อมูลข่าวสารโดยใช้ COMPUTER ONLINE

จากที่กล่าวมาข้างต้นเห็นได้ว่าผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมต่างก็ตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของข้อมูลและข่าวสาร ดังจะเห็นได้จากภายในองค์กรธุรกิจเหล่านี้ก็มีการเก็บรวบรวมข้อมูลในระดับหนึ่ง ด้วยโอกาสนี้เองจึงทำให้ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมสารสนเทศ (INFORMATION INDUSTRY) เข้ามาดำเนินธุรกิจในด้านจัดหาหรือจัดทำผลิตภัณฑ์ข้อมูลข่าวสาร หรือบริการข้อมูลเพื่อช่วยให้ลูกค้าหาแหล่งข้อมูลหรือนำข้อมูลไปสู่มือลูกค้าได้สมบูรณ์และถูกต้องมากยิ่งขึ้น แม้ว่าบริการที่เสนอออกมาในรูปของบริการตัดข่าวจะยังไม่เป็นที่น่าสนใจสำหรับผู้ใช้บริการเนื่องจากมีการเก็บข้อมูลในลักษณะเดียวกันอยู่แล้ว อย่างไรก็ตามการเสนอบริการข่าวด่วนก็เป็นที่สนใจพอสมควรและในแง่ของลูกค้าก็มีความพร้อมในการรับบริการในด้านเทคโนโลยีค่อนข้างมาก ดังนั้นผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมสารสนเทศจึงควรที่จะปรับปรุงรูปแบบการให้บริการให้เหมาะสม และตรงกับความต้องการของลูกค้าให้มากยิ่งขึ้น

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us