Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน31 สิงหาคม 2550
พิษ“ซับไพรม์”ลามเกินสิ้นปี ปธ.เฟดส่ออุ้มดันหุ้นนอกคึก             
 


   
search resources

ศุภวุฒิ สายเชื้อ
Investment




“ศุภวุฒิ” ฟันธงพิษ “ซับไพรม์” ลุกลามกินเวลานานเกินสิ้นปีนี้ แนะจับตาผลการดำเนินงานสถาบันการเงินในสหรัฐฯ ที่จะเริ่มทยอยประกาศกลางเดือน ก.ย. น่าเป็นห่วง ขณะที่นักลงทุนต่างชาติรอความชัดเจนนโยบายรัฐบาลชุดใหม่ ด้านตลาดหุ้นต่างประเทศวานนี้ดีดขึ้นจากการตีความจดหมายประธานเฟด ที่ส่งสัญญาณอุ้มซับไพรม์ด้วยการลดอัตราดอกเบี้ยเฟดฟันด์เรต

นายศุภวุฒิ สายเชื้อ กรรมการผู้จัดการ สายงานวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ภัทร จำกัด (มหาชน) หรือ PHATRA กล่าวว่า ปัญหาความกังวลเกี่ยวกับสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพ (ซับไพรม์) จะยังไม่ยุติในเร็วๆ นี้ แม้ว่าหน่วยงานต่างๆ จะเข้ามาแก้ปัญหามาอย่างต่อเนื่อง เพราะปัญหาค่อนข้างฝังรากลึกเข้าสู่ระบบของสถาบันการเงินค่อนข้างมากแล้ว

“ผมมั่นใจว่าปัญหาซับไพรม์จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ และเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ทั่วโลก ไปอีกนาน ซึ่งคาดว่าจะกินระยะยาวนานเกินปีนี้อย่างแน่นอน”

ทั้งนี้ ในช่วงกลายเดือนกันยายนนี้นักลงทุนจะต้องติดตามการประกาศผลการดำเนินงานไตรมาส 3/50 ของบริษัทในกลุ่มสถาบันการเงินของสหรัฐฯ ซึ่งบางแห่งจะมีการประกาศออกมาก่อนสิ้นไตรมาส โดยผลการดำเนินการดังกล่าวจะสะท้อนถึงผลกระทบที่เกิดจากปัญหาซับไพรม์ได้ในระดับหนึ่ง โดยส่วนตัวเชื่อว่าตัวเลขที่จะประกาศออกมาจะต้องมีเรื่องที่น่าเป็นห่วงแน่นอน

“ปัญหาเรื่องบ้านในสหรัฐฯ ยอดการสร้างบ้านมีสูงกว่า 5 ล้านหลัง แต่มีกำลังซื้อจริงแค่ 2 ล้านกว่าหลัง ทำให้ปัญหาบ้านที่เหลืออีกประมาณ 3 ล้านหลัง กลายเป็นปัญหาเพราะหากจะต้องมีการปรับลดราคาผู้ประกอบก็ต้องขาดทุนอยู่ดี ดังนั้นปัญหานี้จึงจำเป็นต้องใช้เวลาในการแก้ไข”นายศุภวุฒิ กล่าว

นอกจากนี้ สิ่งที่นักลงทุนต่างประเทศให้น้ำหนักค่อนข้างมากในการตัดสินใจเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นไทย นอกเหนือจากราคาหุ้นที่อยู่ในระดับต่ำแล้ว นโยบายของรัฐบาลใหม่ที่จะจัดตั้งขึ้นในช่วงปลายปีถือเป็นสิ่งที่หลายฝ่ายจับตา หากนโยบายของรัฐบาลใหม่เป็นเรื่องที่นักลงทุนมีมุมมองในเชิงบวกจะส่งผลดีต่อตลาดทุนแน่นอน

“นักลงทุนต่างชาติมีทางเลือกในการลงทุนเยอะ ไม่เป็นจำเป็นที่ต้องมาลงทุนในประเทศ แม้ว่าราคาหุ้นถูก การสร้างความน่าสนใจเพื่อดึงดูดให้เข้ามาลงทุนเป็นสิ่งที่จะต้องเร่งดำเนินการ นโยบายของรัฐบาลใหม่ถือว่ามีน้ำหนักมากต่อการตัดสินใจเพราะตอนนี้การเลือกตั้งจะต้องเกิดขึ้นอยู่แล้ว”นายศุภวุฒิ กล่าว

อย่างไรก็ตาม ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อตลาดหุ้นทั่วโลกปัญหามาจากด้านตลาดตราสารหนี้ ทำให้นักลงทุนต้องมีการปรับลดความเสี่ยงจากการลงทุน ซึ่งเมื่อไหร่ที่มีความชัดเจนมากขึ้นจนสร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนได้การกลับเข้ามาซื้อของนักลงทุนต่างชาติจะเกิดขึ้นตาม แต่ตอนนี้ยังประเมินได้ยากว่าการกลับเข้ามาซื้อจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ และปริมาณการเข้ามาลงทุนจะสูงเท่าใด

จม.ประธานเฟดทำหุ้นดีดขึ้น

ทางด้านตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ พากันดีดกลับขึ้นมาอย่างระมัดระวัง โดยปัจจัยสำคัญมาจากจดหมายของประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) เบน เบอร์นันกี ซึ่งถูกนักลงทุนและนักวิเคราะห์ตีความว่า เป็นการส่งสัญญาณที่จะลดอัตราดอกเบี้ยลง

ในจดหมายของเบอร์นันกี ซึ่งเป็นการตอบจดหมาย 2 ฉบับของ ชัค ชูเมอร์ วุฒิสมาชิกคนสำคัญของพรรคเดโมแครต เขาระบุว่าเฟดได้ร่วมมือกับหน่วยงานอื่นๆ ในการเฝ้าติดตามพัฒนาการในตลาดการเงินอย่างใกล้ชิด โดยที่เฟด “เตรียมพร้อมที่จะกระทำการเมื่อมีความจำเป็น เพื่อบรรเทาผลด้านกลับต่อเศรษฐกิจ ที่อาจจะเกิดขึ้นจากความยุ่งเหยิงในตลาดการเงิน”

จดหมายประธานเฟดซึ่งลงวันที่วันจันทร์(27) แต่ถูกนำออกเผยแพร่วันพุธ(29) ถูกนักลงทุนและนักวิเคราะห์จำนวนมากตีความว่า หมายถึงเฟดพร้อมที่จะลดอัตราดอกเบี้ยเฟดฟันด์เรต ในการประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน(เอฟโอเอ็มซี) ครั้งต่อไป วันที่ 18 กันยายนนี้

“เมื่อใดก็ตามที่คุณได้ยินอะไรออกมาจากเฟดที่บอกว่า เขากำลังเฝ้าติดตามสถานการณ์ มันก็ทำให้เกิดความแน่ใจขึ้นอีก ต่อความคิดที่ว่า พวกเขากำลังโน้มเอียงไปในทางลดดอกเบี้ย”เป็นความเห็นของ เบนเนตต์ เกเกอร์ กรรมการผู้จัดการแห่งสติเฟล นิโคลัส ในเมืองบัลติมอร์

เช่นเดียวกับ นิก พาร์สันส์ ผู้อำนวยการฝ่ายยุทธศาสตร์ตลาดแห่งค่าย แน็บแคปิตอล ที่กล่าวว่า การที่ทรัพย์สินต่างๆ มีความเสี่ยงสูงในเวลานี้ คือตัวที่จะทำให้เฟดต้องเข้ามาทำให้มีความมั่นคงขึ้น ดังนั้น “เฟดจะลดดอกเบี้ยลง 25 จุด (0.25%) ในวันที่ 18 กันยายน เพราะความคาดหมายของตลาดที่ว่าจะมีการลด ดูจะเป็นตัวทำให้ราคาทรัพย์สินต่างๆ มีเสถียรภาพขึ้นมา”

กระนั้นก็ตาม นักวิเคราะห์บางคนก็กังขาว่า เฟดจะลดดอกเบี้ยจริงหรือ เพราะแม้การทำเช่นนั้นจะช่วยขจัดความเครียดซึ่งมีอยู่ในระบบ ทว่าก็จะทำให้นักลงทุนได้ใจคาดคิดว่าอย่างไรเสียเฟดก็ต้องเข้ามาช่วยในที่สุด ในอนาคตย่อมกระหายที่จะเสี่ยงเพิ่มขึ้นกว่าเดิมอีก

เกร็ก อิป คอลัมนิสต์นักเฝ้าติดตามเฟดของหนังสือพิมพ์วอลล์สตรีทเจอร์นัล ถึงกับเขียนโดยไม่อ้างอิงแหล่งข่าวใดๆ ว่า เฟดจะไม่รีบลดดอกเบี้ยหรอก เพราะต้องการให้นักลงทุนเลิกทัศนะที่ว่า ธนาคารกลางมีหน้าที่ช่วยเหลือไม่ให้พวกเขาเจ๊ง

อย่างไรก็ตาม อารมณ์คาดหมายเรื่องเฟดจะลดดอกเบี้ย บวกกับแรงไล่ซื้อของถูก ก็ทำให้ตลาดหุ้นทั่วโลกพากันดีดขึ้น แม้ไม่สู้สูงนัก

ที่วอลล์สตรีทวันพุธ (29) ดัชนีหุ้นอุตสาหกรรมดาวโจนส์ +247.44 จุด หรือ 1.90 เปอร์เซ็นต์, ดัชนีเอสแอนด์พี 500 +31.40 จุด หรือ 2.19% และดัชนีคอมโพสิตของตลาดแนสแดค +62.52 จุด หรือ 2.50 เปอร์เซ็นต์

ข้ามมาทางเอเชียวานนี้ โตเกียว + 0.88 เปอร์เซ็นต์, ฮ่องกง + 2.0 เปอร์เซ็นต์, กัวลาลัมเปอร์ + 0.80 เปอร์เซ็นต์, โซล + 0.9 เปอร์เซ็นต์, ซิดนีย์ + 0.6 เปอร์เซ็นต์ มีสิงคโปร์ที่สวนกระแส - 0.41 เปอร์เซ็นต์

ทว่า เมื่อวอลล์สตรีทเริ่มเปิดซื้อขายวานนี้ ปรากฏว่าความห่วงกังวลเรื่องสินเชื่อตึงตัวและวิกฤตซับไพรม์ดูจะฟื้นขึ้นมาอีก ดัชนีดาวโจนส์จึง - 94.21 จุด (0.71 เปอร์เซ็นต์), ดัชนีเอสแอนด์พี - 11.81 จุด (0.81 เปอร์เซ็นต์) และดัชนีของแนสแดค -17.44 จุด (0.68 เปอร์เซ็นต์)   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us