Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2535








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2535
"MBA ฉบับย่นย่อ สำหรับผู้หญิงโดยเฉพาะ"             
 


   
search resources

อำนวย แสงโนรี
MBA




การประกอบอาชีพอิสระอาจจะยังไม่ใช่จุดมุ่งหมายของคนหนุ่มสาวส่วนใหญ่ โดยเฉพาะถ้าเทียบกับงานราชการหรืองานในภาคธุรกิจเอกชนที่มีสายวิชาชีพอันหลากหลายอย่างมากในปัจจุบัน

ผลการศึกษาเรื่องภาวะการหางานทำของบัณฑิตที่จัดทำโดยทบวงมหาวิทยาลัยบอกเล่าความจริงเอาไว้ในทำนองนั้น โดยตัวเลขจากการศึกษาก่อนปี 2530 แสดงให้เห็นว่า งานราชการยังคงมีสัดส่วนผู้เข้าทำงานสูงเป็นอันดับหนึ่งเช่นที่เคยเป็นมาแต่อดีต และรองลงมาก็คือทำกับบริษัทเอกชน

สำหรับในส่วนของการประกอบอาชีพอิสระ ผลของการศึกษาชิ้นเดียวกันได้ระบุว่าสัดส่วนยังเล็กน้อยมากเมื่อเทียบกับส่วนอื่น เพราะจำนวนของบัณฑิตที่ประกอบอาชีพอิสระนั้นมีเพียงไม่ถึง 10% อย่างไรก็ตามถ้าพิจารณาในเชิงของอัตราเพิ่มในแต่ละปีก็ปรากฏว่ามีบัณฑิตหันมาประกอบกิจการอิสระของตนเองเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ

ข้อมูลเหล่านี้สามารถบ่งบอกถึงแนวโน้มบางอย่างได้ แต่ย่อมไม่ใช่ตัวชี้วัดเด็ดขาดถึงความนิยมจริง ๆ ของผู้จบการศึกษาว่ามีใจให้อาชีพในภาพส่วนใดมากที่สุด เนื่องจากความต้องการกับความเป็นจริงนั้นไม่ได้ตรงกันเสมอไป

การจะประกอบกิจการอิสระเป็นของตนเองนับว่าไม่ใช่เรื่องง่ายที่ทุกคนเพียงนึกจะทำก็ทำได้ หากเป็นเรื่องที่ต้องการความพร้อมทั้งในด้านทุนและความสามารถทางการบริหารจัดการ ขาดด้านใดด้านหนึ่งก็ย่อมยากที่จะดำเนินการให้สำเร็จได้

ในทัศนะของ ผศ. อำนวย แสงโนรี อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังนั้นเห็นว่า ในปัจจุบันมีผู้จบการศึกษาระดับอุดมศึกษาจำนวนมากต้องการมีวิถีอิสระในทางการงาน มีกิจการเป็นของตนเอง โดยที่หนุ่มสาวจำนวนหนึ่งนั้นก็มีความพร้อมทางด้านปัจจัยพื้นฐานสำหรับการลงทุนอยู่แล้ว เพียงแต่อาจจะยังขาดความพร้อมในเชิงของความรู้ทางการบริหารจัดการธุรกิจ

กอบกับการตระหนักว่าในฐานะที่เป็นสถาบันการศึกษาย่อมสามารถเสริมสร้างความงาม พร้อมในด้านของความรู้ได้เป็นอย่างดี ผศ. อำนวยจึงได้ริเริ่มทำโครงการส่งเสริมการประกอบอาชีพอิสระ บัณฑิตสตรี (GRADUATE WOMAN SELF-EMPLOYMENT PROMOTION : GW-SEP) ขึ้นในนามของหน่วยงานที่สังกัดโครงการนี้ได้รับการสนับสนุนด้านการเงินจากโครงการพัฒนาเศรษฐกิจและความเป็นผู้นำสตรี (WOMEN'S ECONOMIC LEADERSHIP DEVELOPMENT : WELD) ซึ่งเป็นองค์กรที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลแคนาดาในนามองค์การซีด้า (CIDA - CANADIAN INTERNATIONAL DEVELOPMENT AGENCY) มีเป้าหมายการทำงานอยู่ที่การส่งเสริมกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทรัพยากรบุคคลทั้งในด้านเศรษฐกิจและสถานภาพทางสังคมอยู่แล้ว เฉพาะอย่างยิ่งทรัพยากรบุคคลที่เป็นเพศหญิง

ส่วนงานถนัดของ ผศ. อำนวยนั้นคืองานด้านการฝึกอบรมไม่จำกัดเนื้อหาว่าด้วยเรื่องใดเป็นการเฉพาะ

"ผมได้ไปอบรมที่อังกฤษเรื่องการฝึกอบรม พบเห็นวิธีการที่แตกต่างจากที่เมืองไทยทำกันอยู่ก็อยากจะทำโครงการสักโครงการหนึ่งตามแบบที่ไปศึกษามา พอดีผมเรียนปริญญาเอกที่นิด้า สาขาประชากรและการพัฒนา เห็นช่วงนี้มีการเน้นเรื่องสตรีเยอะ จึงคิดว่าน่าสนใจที่จะทำโครงการเกี่ยวกับการพัฒนาสตรี" ผู้ช่วยศาสตราจารย์หนุ่มว่าที่ Ph.D. ด้านประชากรและการพัฒนาอธิบายถึงที่มาของการหันมามุ่งกลุ่มเป้าหมายที่เป็นสตรี

จากข้อมูลดังกล่าวประกอบกับได้เห็นข้อมูลเกี่ยวกับการว่างงานของบัณฑิต ซึ่งมีความแตกต่างระหว่างบัณฑิตหญิงกับบัณฑิตชายอย่างน่าสนใจ ผศ. อำนวยจึงเห็นถึงช่องทางที่จะกำหนดเรื่องในการฝึกอบรม และเลือกกำหนดระดับกลุ่มเป้าหมายของเขาเอาไว้ที่สตรีที่มีการศึกษาระดับสูง

ปัญหาการว่างงานนั้นเป็นเรื่องที่มีอยู่จริง ตัวเลขของบัณฑิตว่างงานยังมีอัตราที่สูงมาก โดยบัณฑิตสตรีเป็นผู้ที่ต้องประสบกับปัญหานี้มากกว่าและอย่างต่อเนื่องกว่า!

ในช่วงหลายปีมานี้ แม้เศรษฐกิจของประเทศเติบโตค่อนข้างมาก มีการขยายตัวของภาคธุรกิจเอกชนที่สามารถรองรับแรงงานระดับปัญญาชนได้เป็นจำนวนไม่น้อย แต่ความต้องการของตลาดแรงงานระดับนี้ก็ยังคงน้อยกว่าการตอบสนองของคนที่ก้าวออกจากรั้วมหาวิทยาลัย

"ทางทบวงมห่วิทยาลัยเคยเสนอไว้ว่าให้แก้ปัญหาการว่างงานด้วยการเปลี่ยนแปลงทัศนคติของผู้จบปริญญาตรีให้มีทัศนคติที่ดีต่อการประกอบอาชีพอิสระ เพราะเมืองไทยเราต่อไปเศรษฐกิจพัฒนาขึ้น การไปทำอาชีพอิสระก็เท่ากับเป็นการไปสร้างให้เกิดสินค้าและการบริการมากขึ้น ไปสร้างให้เกิดกระแสหมุนเวียนได้ดีขึ้น การเติบโตทางเศรษฐกิจวัดกันตรงนี้ ในการที่มีการหมุนเวียนของสินค้าและบริการไม่ใช่เรื่องของการรับราชการไปเป็นลูกจ้างไป ซึ่งไม่มีผลผลิตในประเทศที่พัฒนาแล้วธุรกิจรายย่อยเขาต้องหลากหลาย" ผศ. อำนวย แสงโนรี ผู้ริเริ่มและรับผิดชอบโครงการเล่าถึงแนวความคิด

ความหมายของคำว่าอาชีพอิสระ ณ ที่นี้ก็คือ การทำธุรกิจนั่นเอง เพราะฉะนั้นสิ่งที่โครงการจะมอบให้กับผู้เข้าร่วม ก็เป็นเรื่องของความรู้ทางธุรกิจ เกี่ยวกับการจัดการ การบริหารงาน โดยจะไม่มีการเน้นวิชาการ จนเกินพอดี วิทยากรที่ใช้ก็มิใช่นักวิชาการหรืออาจารย์ของสถาบัน แต่เป็นบุคลากรจากภาคเอกชนที่ทำงานด้านการจัดการและบริหารธุรกิจอยู่จริง ๆ

สำหรับรูปแบบโครงการก็มีความชัดเจนเช่นกัน นั่นคือเป็นการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการที่ดัดแปลงจาก OVERSEAS TECHNICAL TRAINER'S AWARD (OTTA) ของสหราชอาณาจักร

ลักษณะการฝึกแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1) การฝึกด้านการจัดการอาชีพอิสระด้วยรูปแบบของการอภิปรายการดูงาน และปฏิบัติการ 2) การฝึกประสบการณ์จริง โดยผู้เข้าอบรมทดลองดำเนินการธุรกิจที่ตนสนใจร่วมกับผู้ประกอบธุรกิจนั้นอยู่แล้ว และ 3) การเสริมสร้างความเป็นผู้นำสตรี

"แทนที่จะต้องไปเรียนถึง 2-3 ปีให้ได้ MBA ซึ่งปัจจุบันนี้มีเยอะมากที่คนจบสาขาอื่นอยากทำธุรกิจ แต่ไม่รู้เรื่อง จะยืมเงินอย่างไร ค้าขายอย่างไร หาตลาดอย่างไร บางคนต้องลงทุนไปเรียนมินิ MBA เพื่อจะได้ความรู้เหล่านี้มาทำ แต่ผมว่าออกจะช้าและไม่ตรงในแง่ที่เป็นวิชาการมากเกินไป" ผศ. อำนวย แสงโนรีกล่าว

นอกจากนี้ ผศ. อำนวยก็เชื่อด้วยว่า "สตรีที่จบปริญญาตรีมีศักยภาพสูงอยู่แล้ว เขาอาจคิดที่จะทำธุรกิจอยู่ และสามารถทำได้ดี แต่บางทีไม่มีแบบอย่าง ไม่มีจุดเริ่มต้น โครงการนี้ก็อาจจะช่วยก่อร่างบางอย่างได้"

หลังระหว่างวันที่ 11 พฤษภาคม - 5 มิถุนายนนี้ ซึ่งเป็นการอบรมครั้งแรก ผู้เข้าอบรมหญิงล้วน ๆ เกือบ 20 คนคงจะเป็นผู้ตอบได้ว่า ความเชื่อดังกล่าวของ ผศ. อำนวยเป็นจริงได้เพียงใด

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us