Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2535








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2535
"ยิบ&แย๊คส์ จากธุรกิจครอบครัวสู่ตลาดหุ้น"             
 


   
search resources

ยิบอินซอย, บจก.
ธวัช ยิบอินซอย
Chemicals and Plastics
ยิบอินซอยและแย๊คส์ (ยิบ&แย๊คส์)




หลังจากถูกตลาดหลักทรัพย์ปฏิเสธที่จะรับเข้าเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนด้วยเหตุผลที่ว่าบริษัทยิบอินซอยและแย๊คส์ (ยิบ&แย๊คส์) เป็นกิจการพาณิชย์ประเภทนำเข้าและส่งออกเท่านั้น มีลักษณะคล้ายตัวแทนการค้าซึ่งไม่จำเป็นที่จะต้องใช้ทุนในการขยายกิจการมากนัก

การปรับขบวนของยิบ&แย๊คส์จึงเกิดขึ้น บริษัทมีความพยายามเปลี่ยนจากสถานภาพผู้นำเข้าส่งออกและจัดจำหน่ายอย่างเดียวมาเป็นผู้ผลิตด้วย นับเป็นจุดหักเหที่สำคัญในประวัติศาสตร์ยาวนานของบริษัทเองเพราะย้อนหลังไปกว่าหกทศวรรษ ยิบ&แย๊คส์เป็นเพียงฝ่ายตลาดของบริษัทยิบอินซอยจำกัดเท่านั้น

ปี 2510 บริษัทยิบอินซอย จำกัด ได้ร่วมทุนกับบริษัทวิลเลี่ยมแย๊คส์ (มาเลเซีย) ด้วยอัตราส่วน 50/50 จัดตั้งบริษัทยิบอินซอยและแย๊คส์ขึ้นเพื่อเป็นบริษัทจัดจำหน่ายสินค้าต่าง ๆ เช่น อุปกรณ์ก่อสร้างป้องกันภัย กันไฟ เคมีภัณฑ์ วิศวกรรมไฟฟ้า บริการส่งออกปลาทูน่ากระป๋องเป็นต้น โดยโอนฝ่ายการตลาดทั้งหมดของบริษัทยิบอินซอยเข้าทำงานในยิบ&แย๊คส์

เดือนกรกฎาคม 2515 บริษัทยิบอินซอยจำกัด เข้าควบคุมการบริหารงานทั้งหมดของยิบ&แย๊คส์ ทำให้ยิบ&แย๊คส์เป็นบริษัทในเครือยิบอินซอยสมบูรณ์แบบ ธวัช ยิบอินซอย ประธานกรรมการบริษัทยิบอินซอยและแย๊คส์เปิดเผยกับ "ผู้จัดการ" ว่าบริษัทได้ปรับแผนมาเป็นผู้ผลิตโดยการตั้งโรงงานผสมปุ๋ยและยากำจัดศัตรูพืชขึ้นที่นิคมอุตสาหกรรมบางปู สมุทรปราการเนื้อที่ 7.5 ไร่ เงินลงทุนเบื้องต้นประมาณ 100 ล้านบาท

ประสิทธิ์ศักดิ์ พันธุ์เพ็ง กรรมการและผู้จัดการแผนกเคมีเกษตร กล่าวเสริมว่าโครงการดังกล่าวจะแบ่งเป็นสองระยะ ต้นปี 2535 จะจัดตั้งโรงงานผสมยาปราบศัตรูพืชก่อน ส่วนปลายปีจะทำโรงงานผสมปุ๋ย คาดว่าจะแล้วเสร็จต้นปี 2536 แผนการผลิตยาปราบศัตรูพืชแบ่งเป็น 3 ขั้นตอนคือจะเริ่มจากการผลิตยาชนิดน้ำก่อนประมาณ 1 ปี ขั้นที่สองทำการผลิตชนิดเม็ดหลังจากนั้นใช้เวลาอีก 2 ปี จึงจะผลิตชนิดผง

ยาปราบศัตรูพืชมีมูลค่าตลาดประมาณ 7 พันล้านบาท บริษัทมีส่วนแบ่งประมาณ 2% ประมาณ 147 ล้านบาทคาดว่าส่วนแบ่งตลาดจะเพิ่มเป็น 4% เมื่อโรงงานดำเนินการผลิตเต็มกำลัง

"ตลาดนี้มีผู้เข้าแชร์ส่วนแบ่งถึง 50 รายด้วยกัน รายใหญ่จะมีส่วนแบ่งตลาดประมาณ 8% และเป็นต่างชาติเพราะเทคโนโลยีดีกว่าเรา อาทิ อีสต์เอเชียติ๊ก ซีทรีไกกี้ของสวิตเซอร์แลนด์ เป็นต้น"

โรงงานยาปราบศัตรูพืชมีพื้นที่ 4.5 ไร่กำลังมีการผลิต 10 ล้านลิตรต่อปี แต่ในปีแรกจะทำการผลิต 2 ล้านลิตรในปีที่ 2 ซึ่งก็ยังไม่สามารถรองรับตลาดส่วนใหญ่ได้เพราะความต้องการของตลาดมีถึง 26 ล้านลิตรต่อปี เฉลี่ยมีการใช้ยาปราบศัตรูพืชไร่ละ 30 บาท อัตราการเติบโตปีละ 15% แต่อัตราการเติบโตนี้ยังถือว่าน้อยมากถ้าเทียบกับต่างประเทศ เช่น อเมริกา ญี่ปุ่น ไต้หวัน

เดิมบริษัทนำเข้ายาปราบศัตรูพืชสำเร็จรูป 100% ของยอดจำหน่าย มูลค่าต้นทุนนำเข้าประมาณ 20 ล้านบาท ต่อไปจะพยายามลดการนำเข้าแบบสำเร็จรูปลงเหลือ 20% ส่วนที่ยังคงการนำเข้าอยู่คือหัวเชื้อน้ำยาเคมีและยาปราบศัตรูพืชสำเร็จรูปสูตรผสมใหม่ ๆ เนื่องจากบริษัทยังไม่สามารถคิดสูตรผสมทางเคมีเองได้ ซึ่งสูตรผสมใหม่ ๆ ต้องใช้ระยะเวลาช่วงหนึ่งให้ผลิตภัณฑ์ติดตลาดก่อน บริษัทจึงจะขอซื้อสิทธิ์ในการผสมเอง ปีแรกที่โรงงานเปิดดำเนินการคาดว่าคงจะสามารถทำยอดขายได้ 120 ล้านบาทต่อปี มาจากการขายในช่วงฤดูฝนถึง 70-80 ล้านบาท เพราะในช่วงฤดูฝนจะขายดี แต่ในช่วงฤดูร้อนนั้นยอขายจะต่ำลง

ส่วนโรงงานปุ๋ยจะใช้พื้นที่ประมาณ 3 ไร่ เพื่อต้องการขยายส่วนแบ่งตลาดให้เพิ่มขึ้นถึงปีละ 20% จากที่ขายได้อยู่แล้วประมาณ 4-5 หมื่นตันต่อปี ทั้งนี้ยอดจำหน่ายในท้องตลาดปี 2534 ทั้งสิ้นประมาณ 2.03 ล้านตัน นิยม พงศ์ทรง ผู้จัดการแผนกปุ๋ย เผยว่า ปุ๋ยของบริษัทผสมสูตรไม่เหมือนบริษัทอื่น เพราะจะใช้สูตรเฉพาะกับพืชแต่ละพันธุ์ ในขณะที่บริษัทปุ๋ยแห่งอื่น ๆ จะใช้สูตรรวมคือมีไนโตรเจน ฟอสเฟต โปรแตสเซียม อย่างละ 15% โดยนำเข้าจากยุโรป อเมริกา เกาหลี ซึ่งไม่ตรงตามความต้องการของพืชเมืองไทยนัก อาทิยาสูบ ไม่ต้องการไนโตรเจนมากถึง 15% สูตรที่ขายยาสูบควรเป็นเพียง 6, 18, 24 หรือ 4, 16, 24

บริษัทนำเข้าปุ๋ยสำเร็จรูปประมาณ 60% และนำเข้าวัตถุดิบประมาณ 40% ต่อไปการนำเข้าสำเร็จรูปจะน้อยลง อาจจะเพิ่มในส่วนของวัตถุดิบเท่านั้นเพื่อลดต้นทุนการผลิต

ประสิทธิศักดิ์ ยังกล่าวต่ออีกว่าการที่ผสมปุ๋ยหรือยาฆ่าแมลงเองนั้น ทำให้ต้นทุนลดลงถึง 18-20% จากการนำเข้าสำเร็จรูป ผลดีที่ตามมาคือทำให้บริษัทมีเงินทุนหมุนเวียนด้านอื่นมากขึ้นโดยเฉพาะด้านการตลาดที่ได้วางเป้าหมายจะขยายไปในกลุ่มประเทศอินโดจีน เพราะรัฐบาลอานันท์ ปันยารชุน ยกเลิกมาตรการควบคุมปุ๋ยและยาปราบศัตรูพืชแล้วหลังจากที่รัฐบาลไทยเคยประกาศควบคุมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสินค้ายุทธปัจจัยห้ามส่งออก ให้แก่ประเทศอินโดจีน เมื่อสมัยสงครามค่ายโลกคอมมิวนิสต์กับค่ายโลกเสรีระเบิด การยกเลิกดังกล่าว คาดว่าจะทำให้ตลาดปุ๋ยเคมีและยาปราบศัตรูพืชโตประมาณ 30% ต่อปี

บริษัทได้เข้าทำการศึกษาและหาลู่ทางจำหน่ายสินค้าในเวียดนาม เขมร ลาวเมื่อไม่นานมานี้พบว่าประเทศเหล่านี้ต้องการปุ๋ยและยาปราบศัตรูพืชในอัตราสูง แต่ปัญหาก็คือไม่มีกำลังเงินซื้อ ประเทศเหล่านี้แสดงความจำนงต้องการปุ๋ยและยาปราบศัตรูพืช โดยใช้ระบบแลกเปลี่ยนสินค้า ซึ่งทำให้บริษัทต้องกลับมาทบทวนอีกที คืออาจจะรอเวลาระยะหนึ่ง ที่จะผลิตสินค้าราคาถูกเพื่อป้อนประเทศอินโดจีนโดยเฉพาะ

แผนการขยายตัวของบริษัทไม่จำกัดอยู่เฉพาะแถบอินโดจีนเท่านั้น บริษัทยังสนใจที่จะส่งออกไปยังแอฟริกาด้วย แต่ขณะนี้ยังติดปัญหาอยู่ 2 ประการคือประการแรกคือเรื่องเรือบรรทุกสินค้าไม่ยอมรับสินค้าประเภทยาเคมีเช่นยาปราบศัตรูพืชเป็นต้น เนื่องจากยาดังกล่าวถือเป็นวัตถุอันตรายมีพิษชนิดหนึ่ง ประการที่ 2 คือเรื่องกำลังการผลิตซึ่งไม่น่าหนักใจนักเพราะกำลังจะแก้ไขได้ในเร็ววัน

นอกจากนี้บริษัทจะขยายสินค้าตัวใหม่เพิ่มขึ้นคือหินลับมีด หินเจียระไน เครื่องเขียน คาร์บอนเปเปอร์ หมึกพิมพ์ อีกด้วย เดิมหินเจียรไนนี้บริษัทนำเข้าสำเร็จรูปจากอังกฤษ บราซิล อเมริกา จะต้องเสียภาษีนำเข้า 45% ต่อไปจะลงทุนผลิตเองโดยใช้เงินเบื้องต้นประมาณอีก 50 ล้านบาทในปี 2536 รวมทั้งขยายที่ดินเพิ่มเป็น 10 ไร่

สุวิทย์ เจียรประเสริฐกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัทยิบอินซอยและแย๊คส์ กล่าวเสริมว่าการปรับตัวของบริษัทครั้งนี้จะถือว่าเป็นความพยายามเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ ก็ว่าได้ แต่จุดประสงค์ในการเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ ก็คือเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของบริษัท

ธวัช บอกกับ "ผู้จัดการ" ว่ามีเงินทุนมากจะทำให้ความสามารถในการแข่งขันสูงขึ้น แม้ว่าบริษัทสามารถขอใช้สินเชื่อจากธนาคารได้ก็ตาม แต่การใช้สินเชื่อเท่ากับการเพิ่มหนี้ให้กับบริษัท ซึ่งมีผลกำไรน้อยลงและปันผลต่อหุ้นก็จะน้อยลงตามด้วย ปี 2534 บริษัทมีสินทรัพย์ 212 ล้านบาท ทุนจดทะเบียน 60 ล้านบาท กำไร 448 ล้านบาท และจำนวนพนักงาน 168 คน มีสัดส่วนหนี้สินต่อทุน 0.7 ต่อ 1 การขยายกิจการครั้งนี้ทำให้สัดส่วนหนี้สินต่อทุนเพิ่มขึ้นอีก 3 เท่าตัว ในขณะที่กำไรของบริษัทจะมีเพียง 5-8% ของมูลค่าสินค้าที่ขายได้ และในจำนวนนี้ปุ๋ยจะกำไรน้อยที่สุด

บริษัทต้องการใช้เงินลงทุนทั้งสิ้นประมาณ 300-400 ล้านบาทซึ่งก็ได้พยายามเพิ่มทุนไปแล้ว 1 ครั้งจำนวน 20 ล้านหุ้น พาร์ 10 บาทขายให้ผู้ถือหุ้นเดิม 20 บาทต่อหุ้น การเสนอเข้าตลาดครั้งนี้จะเพิ่มทุนและกระจายหุ้นให้ประชาชนประมาณ 1 ล้านหุ้น เสนอขายหุ้นละ 50 บาท อย่างไรก็ตามถ้าสถานการณ์ตลาดหลักทรัพย์ฯ ไม่ดีราคาเสนอขายอาจจะลดลงเหลือหุ้นละ 40-43 บาท คาดว่าบริษัทจะสามารถยื่นเข้าตลาด อีกรอบภายในเดือนกรกฎาคมปีนี้

จากการที่บริษัทต้องการเงินในการลงทุนมาก ฉะนั้นจึงต้องทำทุกอย่างเพื่อเข้าตลาด นอกจากปรับเปลี่ยนลักษณะการดำเนินธุรกิจแล้ว ยังจะมีการปรับเปลี่ยนรอบบัญชีจากสิ้นสุดรอบบัญชีเดือนมิถุนายนของทุกปีที่เป็นประเพณีปฏิบัติของบริษัทแม่มาเป็นสิ้นเดือนธันวาคมของทุกปีเช่นเดียวกับบริษัทอื่น ๆ เพื่อความสะดวกในการดูงบดุลและงบกำไรขาดทุนของนักลงทุน หลังจากเข้าตลาดฯ และขายหุ้นให้ประชาชนได้แล้วอาจจะต้องเพิ่มทุนอีกครั้ง โดยบริษัทเลือกบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ศรีมิตรเป็นที่ปรึกษาและเป็นแกนนำในการจัดจำหน่ายและรับประกันการจัดจำหน่ายเนื่องจากบริษัทเป็นผู้ถือหุ้นของศรีมิตร

อย่างไรก็ตามการเข้าตลาดฯ ของบริษัทยังคงต้องรอกฎระเบียบใหม่เกี่ยวกับการรับหลักทรัพย์ที่คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์จะกำหนดขึ้นใหม่ เพื่อพิจารณาว่ามีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ รวมทั้งรอกฎหมายมหาชนประกาศหลักปฏิบัติอย่างแน่ชัดอีกทีเพราะไม่ต้องการพบกับปัญหายุ่งยากภายหลัง

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us