Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2550








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2550
ระบบตำรวจในนิวซีแลนด์             
โดย ชาคริต เทียบเธียรรัตน์
 


   
search resources

Political and Government




ในหน่วยราชการทั้งหมดของประเทศใดก็ตาม ผมเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่ากรมตำรวจนั้นเป็นหน่วยงานที่น่าเห็นใจที่สุด เนื่องจากว่าเป็นหน่วยราชการที่ใกล้ชิดกับประชาชนที่สุดจึงโดนด่ามากที่สุด ตรงจุดนี้ไม่ได้จำกัดเฉพาะในเมืองไทยเท่านั้น แม้แต่ในประเทศที่มีการคอรัปชั่นต่ำที่สุดในโลกอย่างนิวซีแลนด์ ตำรวจกีวีก็ไม่แคล้วที่จะโดนหนังสือพิมพ์ หรือแม้แต่นิตยสารยานยนต์หลายฉบับด่าแทบทุกเดือน โดยเฉพาะตำรวจทางหลวง ซึ่งเปรียบเสมือนเป้าหมายอันดับหนึ่งของสื่อมวลชน เพราะว่าพวกเขามีหน้าที่ตั้งกล้องตรวจจับความเร็วและขับรถตำรวจไล่ตามรถที่ขับเร็วเกินกำหนดเพื่อไปแจกใบสั่งแบบที่เห็นกันตามภาพยนตร์ฝรั่งทั่วไป จึงทำให้มีประชาชนกีวีบางกลุ่มไม่พอใจ

แต่ในความเป็นจริงประเทศนิวซีแลนด์นั้นเป็นประเทศที่ตำรวจได้รับความน่าเชื่อถือสูงที่สุดแห่งหนึ่งในโลก เนื่องจากประเทศนิวซีแลนด์เป็นประเทศที่ปลอดภัยมาก ตำรวจนิวซีแลนด์โดยมากจะไม่พกปืน แต่จะพกเพียงกระบองและสเปรย์โอซีเท่านั้น ยกเว้นแต่ตำรวจหน่วยปราบปราม หรือหน่วย SWAT เท่านั้น ในเมืองกีวีนั้นพอหมดเวลาราชการทั้งทหารและตำรวจต้องเปลี่ยนเป็นชุดไปรเวตทันที โดยห้ามแม้แต่จะสวมครึ่งท่อน เพราะการสวมเครื่องแบบจะทำได้เพียงเวลาที่อยู่ในเวลาราชการเท่านั้น แม้ว่าเวลาพักเที่ยงตำรวจสามารถใส่เครื่องแบบมาทานอาหารได้แต่ต้องจ่ายเงินโดยใช้บัตร ATM ซึ่งธนาคารที่ดูแลบัญชีของตำรวจจะต้องเข้าบัญชีให้ร้านนั้นๆ โดยไม่ขาดแม้แต่เซ็นต์เดียว

กรมตำรวจของนิวซีแลนด์นั้นเกิดขึ้นในปี 1842 โดยในช่วงแรกตำรวจกีวีมีลักษณะเหมือนกับตำรวจไทยในปัจจุบันคือติดยศคล้ายกับทหาร และหน่วยงานทั้งหมดขึ้นต่อส่วนกลางที่กรุงเวลลิงตันตั้งแต่ปี 1886 ตาม พ.ร.บ.ตำรวจแห่งนิวซีแลนด์ อย่างไรก็ตาม กรมตำรวจนิวซีแลนด์ได้ปฏิรูปครั้งใหญ่ที่สุดในปี 1955 ภายหลังจากที่นายกฯ ซิดนีย์ ฮอลแลนด์ มีมติให้ตำรวจเป็นข้าราชการพลเรือนเต็มตัวและแต่งตั้งพลเรือนเป็นผู้บัญชาการตำรวจแทนที่ นายพลตำรวจ ครอมตัน ซึ่งเกษียณอายุราชการ การปฏิรูปนั้นเริ่มจากการเปลี่ยนชื่อจาก Police Force เป็น Police เฉยๆ และเปลี่ยนคำเรียกข้าราชการเป็น Civil Servant แทน นอกจากนี้รัฐบาลกีวีได้ทำการยกเลิกยศตำรวจในระดับสัญญาบัตรทิ้งหมด โดยให้นายตำรวจกลายสภาพเป็นนาย นาง และนางสาว และอนุญาตให้เรียกแค่ตำแหน่งเท่านั้น ข้อบังคับดังกล่าวยังมีผลถึงโครงสร้างของยศตำรวจเดิมอย่างชัดเจน โดยยศพลตำรวจเอกเดิมนั้นจะเหลือเพียงคนเดียว นั่นคือ ผู้บัญชาการตำรวจ ส่วนรองผู้บัญชาการจะมีแค่ 2 คน และใช้บั้งยศของพลตำรวจโทเดิม ส่วนผู้ช่วยผู้บัญชาการจะมีแค่ 3 คน ซึ่งจะสวมบั้งของพลตำรวจตรีเดิม ข้อบังคับดังกล่าว เท่ากับเป็นการลดยศนายพลตำรวจเดิมให้เหลือ 6 นายทันที

แต่ที่สำคัญที่สุดคือ การกระจายอำนาจตำรวจออกจากส่วนกลางโดยแบ่งมณฑลตำรวจออกเป็น 12 พื้นที่ คือ ตำรวจภูธรนอร์ธแลนด์ ตำรวจภูธรไวเทมาทา ตำรวจนครบาลโอ๊กแลนด์ ตำรวจภูธรมานูเกา ตำรวจภูธรไวกาโต ตำรวจภูธรเบย์ออฟเพลนตี้ ตำรวจภูธรภาคตะวันออก ตำรวจภูธรภาคกลาง ตำรวจภูธรเวลลิงตัน ตำรวจภูธรทัสมัน ตำรวจภูธรแคนเทอเบอรี่ และตำรวจภูธรภาคใต้ ทุกมณฑลจะสามารถประกาศรับตำรวจเข้าทำงานและปรับยศตำรวจจนถึงระดับสารวัตรเองได้ และทุกเขตจะอยู่ภายใต้ผู้กำกับการของแต่ละเขต ซึ่งมียศเทียบเท่าพันตำรวจเอกเดิม อย่างไรก็ตาม จำนวนผู้กำกับก็ถูกลดลงให้เหลือเพียง 15 คน คือ 12 คนจากแต่ละมณฑล และ 3 คนจากส่วนกลาง ส่วนตำแหน่งสัญญาบัตรที่ต่ำกว่าผู้กำกับจะเหลือเพียงสารวัตรตำรวจเท่านั้น ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ตำรวจสัญญาบัตรตั้งแต่ยศร้อยตำรวจตรีถึงพันตำรวจโทเดิมครองร่วมกัน ส่วนตำรวจชั้นประทวนยังคงถือยศตามเดิมคือ นายดาบ จ่าตำรวจ นายสิบตำรวจ และพลตำรวจ การปรับโครงสร้างดังกล่าวทำให้จำนวนตำรวจสัญญาบัตรลดลงอย่างรวดเร็ว ทุกวันนี้ประเทศนิวซีแลนด์มีตำรวจสัญญาบัตร คือระดับสารวัตรขึ้นไปเหลือเพียง 5% ของตำรวจทั้งหมด อีก 20% เป็นระดับนายดาบและจ่า ส่วนระดับนายสิบและพลตำรวจคิดเป็น 75% ซึ่งส่งผลให้ตำรวจนิวซีแลนด์แปรสภาพเป็นข้าราชการพลเรือนอย่างรวดเร็วเพราะในเมืองกีวีจะไม่มีการเรียกยศของข้าราชการที่ต่ำกว่าสัญญาบัตร ดังนั้นการยกเลิกยศของนายตำรวจสัญญาบัตรและเหลือตำรวจชั้นประทวนถึง 95% ส่งผลให้ตำรวจเมืองกีวีกลายเป็นพลเรือนไปโดยปริยาย

นอกจากนี้รัฐบาลกีวียังได้ปฏิรูปสถาบันตำรวจโดยเปลี่ยนโรงเรียนนายร้อยตำรวจเดิมให้เป็นโรงเรียนนักสืบตำรวจแทน โดยตำรวจที่จบจากสถาบันจะไม่ได้ยศนายร้อย แต่จะมีตำแหน่งนักสืบตำรวจแทน โดยนายตำรวจกลุ่มดังกล่าวจะได้รับเงินเดือนระดับสัญญาบัตรแต่จะคงยศชั้นประทวนตามเดิม ในเมืองกีวีประชาชนสามารถเป็นตำรวจได้ 2 วิธี หนึ่งคือเข้าศึกษาสถาบันตำรวจเมื่อจบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาภาคบังคับ จากนั้นจึงเข้าประจำมณฑลตำรวจในบรรดาหัวกะทิจากโรงเรียนตำรวจนั้นกรมตำรวจจะแบ่งตำรวจออกเป็นสองกลุ่มเพื่อไปศึกษาต่อ กลุ่มแรกคือเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนนักสืบตำรวจ กลุ่มที่สองจะถูกส่งไปศึกษาที่มหาวิทยาลัยของรัฐในแขนงต่างๆ นอกจากนี้ วิธีที่สองที่จะเข้าตำรวจเมืองกีวีคือ สมัครหลังจากที่ศึกษาจบมหาวิทยาลัยแล้ว โดยจะเข้าสังกัดในโควตาสัญญาบัตรเดิมแต่จะไม่มียศหรือตำแหน่งแบบตำรวจให้แต่อย่างใด โดยจะมีตำแหน่งแบบพลเรือนเช่นข้าราชการกองบัญชีกลางตำรวจ นอกจากนี้ยังมีกลุ่มที่เรียนจบมาตรงความต้องการของตำรวจ ซึ่งบางคนจะโดนส่งไปฝึกที่โรงเรียนตำรวจและโรงเรียนนักสืบและมักจะได้ตำแหน่งที่สูงพอสมควร ตำรวจหญิงจำนวนไม่น้อยจะมาจากกลุ่มนี้ บางคนสามารถก้าวไปเป็นระดับรองผู้บัญชาการ หรือผู้กำกับการมณฑลทีเดียว นอกจากนี้ยังมีการรับสมัครผู้เชี่ยวชาญกลุ่มต่างๆ เช่น ทนายที่มีประสบการณ์แล้ว กลุ่มนี้จะไม่ได้รับยศ แต่จะมีตำแหน่ง เช่น ผู้อำนวยการกอง ซึ่งอาจจะมีตำรวจระดับสารวัตรจำนวนมากเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของพลเรือนที่ได้รับเลือก

การกระจายอำนาจตำรวจออกจากส่วนกลางมีข้อดีที่ชัดเจนคือ การใช้คนในพื้นที่ต่างๆ เป็นตำรวจจะเข้าใจปัญหาและโครงสร้างของเขตนั้นๆ ได้ดี นอกจากนี้ยังมีการเลือกเอาพลเรือนในพื้นที่ซึ่งห่างไกลจากสถานีตำรวจมาเป็นหูเป็นตาให้ตำรวจอีกทีหนึ่ง เรียกว่าตำรวจเกณฑ์ ซึ่งถ้าต้องสวมเครื่องแบบเวลาปฏิบัติหน้าที่จะมีคำว่า Recruit อยู่บนอินทรธนู

สำหรับโรงพักในนิวซีแลนด์นั้นจะให้ความรู้สึกเหมือนกับไปติดต่องานตามบริษัทต่างๆ มากกว่าหน่วยราชการ เพราะมีทั้งพนักงานต้อนรับ มีที่นั่งพัก และตำรวจยังมีการแจกนามบัตรของตนเองต่อผู้มาแจ้งความพร้อมกำชับว่าสามารถโทรมาสอบถามความก้าวหน้าของการสืบสวนได้ตลอดเวลาทั้งเบอร์ที่สถานีและเบอร์โทรศัพท์มือถือ พวกเขาจะบริการประชาชนเหมือนกับเป็นลูกค้าบริษัทที่มาขอคำปรึกษามากกว่าที่จะให้ความรู้สึกว่าเป็นหน่วยราชการ ทุกวันนี้ในนิวซีแลนด์มีจุดที่น่าสังเกตว่า ทุกครั้งที่รถตำรวจเปิดไฟสัญญาณ ผู้ใช้รถใช้ถนนจะพร้อมใจกันหลบเข้าข้างทางเพื่อให้ตำรวจได้ปฏิบัติหน้าที่ แม้แต่การหาเสียงของฝ่ายค้าน ได้นำเรื่องการเพิ่มกำลังพลตำรวจขึ้นมา เช่น สโลแกนที่ว่า เลือกเราคุณได้ Cop เลือกรัฐบาลคุณได้ Cab ตรงจุดนี้เป็นข้อพิสูจน์ว่า ประชาชนกีวีได้มอบความไว้วางใจและความเชื่อถือให้กับสถาบันตำรวจอย่างแท้จริง   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us