|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ กันยายน 2550
|
 |

ภาพในฐานกิจกรรม 16 ฐาน ที่กระจายไปทั่วแคมป์ Art for All คนพิการเหล่านี้เบิกบานสำราญใจกับกิจกรรมที่สอนศิลปะที่สร้างสำนึกการอยู่ร่วมกันอย่างให้เกียรติและรู้คุณค่า ท่ามกลางกระแสหลักของสังคมที่ยังตีตราว่าคนพิการคือคนไร้ความสามารถ ไร้คุณค่าประดุจขอทาน
แต่ที่นี่ความร่วมมือร่วมใจกันสร้างสรรค์ศิลปะของคนตาบอด หูหนวกเป็นใบ้ แขนขาขาด ปัญญาอ่อน โดยมีคนใจดีที่เป็นศิลปินนักแสดงนักเขียนระดับชาติไม่ต่ำกว่า 80 คน เป็นครูผู้สอนศิลปะให้ เช่น เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์, ประหยัด พงษ์ดำ, ทนง โคตรชมภู ศิลปินที่ใช้ปากเขียนรูป, ศิลปินเกาหลีที่ใช้ทรายสีเขียนรูป, อาจารย์โกวิท ขันธศิริ กับดนตรี ฯลฯ คือปาฏิหาริย์ของการใช้ศิลปะเป็นสื่อกลางเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ซึ่งบ่อยครั้งที่คนพิการได้สอนคุณธรรมที่ว่าด้วยศีล สมาธิและสติ ที่คนปกติคาดไม่ถึงทีเดียว
"ผมว่าคนพิการร่างกายสอนให้เราได้รู้จักการนิ่ง การที่มาอยู่ร่วมแคมป์กันทั้งหมด คนพิการร่างกายจะไปถึงที่หมายก่อนใคร ผมนั่งมองว่าคนกลุ่มนี้รู้คุณค่าของเวลา นี่เป็นความจริงตลอด 11 ปีที่เห็นว่า คนพิการร่างกายจะมาถึงก่อนเวลา แล้วตามด้วยคนอื่นๆ และกลุ่มสุดท้ายเป็นคนที่ไม่พิการที่ไม่เรียนรู้เลย" ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ ประธานมูลนิธิ Art for All ให้ข้อสังเกต ขณะที่เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มวิทยากรที่ร่วมสอนเด็กพิการเหล่านี้ได้แสดงความเห็นเสริมว่า
"ใช่...อย่างคนปัญญาอ่อนก็อะไรที่น่าสนใจ เพราะถ้าถามคนปัญญาอ่อนว่าอะไรคือจุดเด่นของตัวเอง ก็ได้คำตอบคือเบิกบาน บางทีเราก็ต้องละวางเหมือนกันเป็นการให้อภัยมนุษย์ เพราะเราจะไม่ถือสาคนปัญญาอ่อน เราก็เอาวิธีนั้นมาปฏิบัติกับคนอื่นๆ ผมว่าเป็นมงคลและเป็นทิพย์อีกทิพย์หนึ่ง"
ส่วนวิกรม กรมดิษฐ์ ที่รวบผม แต่งตัวด้วยเสื้อขาว แขนยาว นุ่งโสร่ง ที่ดูเหมือนจะติสท์มากกว่าศิลปิน ก็ได้มาเยี่ยมชมค่าย Art for All ด้วยและได้กล่าวว่า
"คนพิการเนี่ยมีพลังแฝงอยู่เยอะมาก เพราะว่าวันทั้งวัน เขาไม่ได้ทำอะไรนะ ถ้าเขามีสมาธิแล้ว สมาธิมันก็จะไปเรื่อยๆ แล้วสร้างจินตนาการ ผมเชื่อเหลือเกินว่าถ้ามันมีเครื่องวัดคลื่นสมองของคนพิการนี่ มันจะละเอียดและไปไกลมากมหาศาลเลย เพราะฉะนั้นจะเอามาใช้ได้อย่างไร คลื่นนั้นมันเป็นศิลปะที่ต้องไปจัดการนำเข้ามา"
ห้าวันห้าคืนที่วังรี นครนายก เป็นวันเวลาที่ฐานกิจกรรมทั้ง 16 ฐานต่างครึกครื้นเครง ใบหน้าของผู้พิการที่เปลี่ยนจากหมองเศร้าก็สดชื่นขึ้นดุจดอกไม้บาน เมื่อได้รับแสงตะวัน มือของน้องตาบอดที่ทาบทับใบไม้แล้วอีกมือก็ปาดสีแดงจากพู่กันตามคำสอนของครูสังคม ขณะเดียวกัน เท้าของผู้พิการบนรถเข็นกำลังเกร็งหยิบพู่กันที่ครูสุชาติยื่นส่งให้เพื่อวาดระบายรูป ช่างบีบคั้นอารมณ์ยิ่งนัก นั่นเสียงเพลงรำวงดังมาจากอีกฐานหนึ่ง เสียงโห่ฮิ้วจากคนตาบอดดังกังวานก้อง นำขบวนกลองยาวที่คนหูหนวกน้องพิการตัวเล็กนั่งตีฉิ่งฉาบให้จังหวะบนรถเข็น ผ่านฐานศิลปกรรม น้องคิมเด็กปัญญาอ่อนยืนเอียงคอฟังศิลปินยอดเยี่ยมอย่าง อาจารย์ประหยัด พงษ์ดำ อธิบายการทำงานศิลปะภาพพิมพ์ เป็นเมตตาจิตของอาจารย์ประหยัดที่ร่วมงาน Art for All มาเป็นเวลานานนับสิบปี แม้ปัจจุบันท่านอายุ 73 แล้วก็ตาม เดินระเรื่อยมาถึงฐานเกษตรกรรม นาข้าวจำลองที่สาธิตการปลูกข้าวให้เด็กพิการและผู้เยี่ยมชมได้เรียนรู้ชีวิตและวิถีชาวนา ถัดมาเป็นฐานสวนสัตว์ ภาพเด็กตาบอดกำลังคลำช้าง น่าจะเป็นจินตนาการที่ตื่นเต้น พอๆ กับงูเหลือมยักษ์พาดคอ ขณะที่เสียงหมูสี่ตัวในเล้าและแพะคู่ในคอกส่งเสียงร้องให้ได้ยิน แต่ฐานที่เย็นฉ่ำน่าสบาย คงไม่พ้นสระว่ายน้ำ ที่กำลังแข่งขันกันสองทีมที่มีผู้เล่นเกมแถวละสิบคน แพ้ชนะดูไม่สำคัญเพราะใบหน้าของทุกคนเบิกบานสดชื่น แม้บางคนจะได้แผลไปบ้างก็ตาม
สำหรับ Art for All ภายใต้การบริหารมูลนิธิของดร.ชาญณรงค์ยังต้องพยายามหาทุนและที่ดินเพื่อจัดกิจกรรมเพื่อคนพิการต่อไป ถือเป็นภารกิจที่มีเบญจปาฏิหาริย์อยู่ในตัวอยู่แล้ว
|
|
 |
|
|