Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2550








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2550
แพรนด้าจิวเวลรี่กับจตุคามรุ่นเบญจปาฏิหาริย์ ให้คนพิการ Art for All             
 


   
www resources

โฮมเพจบริษัท แพรนด้า จิวเวลรี่ จำกัด (มหาชน)
โฮมเพจ มูลนิธิศิลปะเพื่อมวลมนุษย์

   
search resources

แพรนด้า จิวเวลรี่, บจก.
Jewelry and Gold
มูลนิธิศิลปะเพื่อมวลมนุษย์
ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์
ปราโมทย์ เตียสุวรรณ์




สิบปีเต็มที่บริษัทแพรนด้า จิวเวลรี่ ช่วยเหลือสนับสนุนโครงการของมูลนิธิศิลปะเพื่อมวลมนุษย์ Art for All อย่างต่อเนื่อง และเห็นผลได้อย่างน่าติดตาม

แพรนด้า กรุ๊ป เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติว่าเป็นผู้ผลิตและผู้จำหน่ายเครื่องประดับอัญมณีที่โดดเด่นในเรื่องของคุณภาพ ทั้งด้านโรงงานผลิตระดับนานาชาติ และเครือข่ายในการจำหน่าย 30 ปีแล้ว มีโรงงานผลิตที่ตั้งอยู่ในหลายประเทศของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ไทย เวียดนาม อินโดนีเซีย และจีน ที่สามารถสร้างรายได้จากการขายได้ทั้งหมดมากกว่า 75 ล้านเหรียญสหรัฐ และ มีกำลังการผลิตมากกว่า 4 ล้านชิ้นต่อปี โดยลูกค้าเป็นแบรนด์ดังๆ ระดับโลก เช่น Dinh Van, Movado, Judith Ripka, Mont Blanc, Thomas Sabo, Otazu ฯลฯ

ศูนย์ออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ของแพรนด้า กรุ๊ป ซึ่งมีดีไซเนอร์รวมถึงช่างฝีมือผลิตงานต้นแบบ และช่างผลิตแม่พิมพ์มากกว่า 200 คน

ในฐานะที่ปราโมทย์ เตียสุวรรณ์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบสายการผลิตเพื่อส่งออก เขาได้พาชมกระบวนการผลิตในโรงงานที่ซอยลาซาลบนเนื้อที่ 40 ไร่ เขาเล่าให้ฟังว่า

ทักษะฝีมือของช่างแพรนด้า กรุงเทพ ได้พัฒนาสู่ระดับดีไซน์ออกแบบระดับต้นแบบที่เป็นงานที่เพิ่มคุณค่าแรงงานไทยให้สามารถผลิตงานที่มีมูลค่าสูงกว่าประเทศคู่แข่งได้

งานของแพรนด้าจิวเวลรี่ที่เป็นทองคำ ส่วนใหญ่นำเข้าทองจากสวิส ออสเตรเลีย และเยอรมนี โดยทองคำเป็น lease gold มาวางกองไว้ในเซฟของแพรนด้าฯ ครั้งหนึ่ง 200-300 กิโลกรัม ถึงเวลาก็เบิกใช้แล้วจ่ายโดยโอนเงินและมีตั๋วค้ำ

"ในภาวะวิกฤติอย่างนี้ ออเดอร์ทำเครื่องประดับทองจะน้อยลง แต่ประเภทเครื่องเงินจะมากขึ้น ทำให้เราต้องทำงานปริมาณมากขึ้นเพื่อให้มูลค่ารายได้เท่ากับทอง ด้วยหลักการที่เราจะทำธุรกิจบนพื้นฐานระยะยาว เรากระจายความเสี่ยง เราจึงไม่มีกลุ่มลูกค้าที่มีส่วนแบ่งเกิน 25% โดยลูกค้าคนสำคัญคือ อเมริกา เยอรมนี และญี่ปุ่น ซึ่งเป็นตลาดคนมีเงิน"

ปราโมทย์อยู่ในวงการค้าเพชรพลอยมานาน 35 ปี เคยทำเหมืองเมืองกาญจน์ได้ 5-6 ปี และล่าสุดเขายังเข้าไปลงทุนทำเหมืองที่ประเทศแทนซาเนีย ประสบการณ์ที่ชำนาญด้านอัญมณี และเครื่องประดับของไทยในระดับโลก ที่คนไทยได้ชื่อว่าเก่งเรื่องเผาพลอยที่เมืองจันท์และเมืองกาญจน์ ถือเป็นโนว์ฮาวที่สุดยอดของไทย ซึ่งเป็นพื้นที่ศูนย์กลางอัญมณีและเจียระไนของโลก เป็นต้นทุนที่รัฐบาลไม่รู้จักใช้และไม่ช่วยนักค้าพลอยไทยที่มีพระคุณต่ออุตสาหกรรมนี้ สร้างมูลค่าส่งออกประมาณแสนล้านบาท โดยแพรนด้าฯ มีรายได้ระดับ 4,000-5,000 ล้านบาท "เราต้องเลือกอุตสาหกรรมที่เหมาะกับเรา เรามีศักยภาพทำพลอย เราต้องส่งเสริม แต่ รัฐบาลไม่มีใครช่วยคนทำพลอยไทยในต่างประเทศ ชีวิตมันลำบาก ไม่เหมือนประมงที่รัฐรู้จักเจรจานอกน่านน้ำให้" นี่คือเสียงสะท้อนของนักอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับคนหนึ่ง สำหรับแพรนด้าฯ สำนักงานใหญ่ที่กรุงเทพฯ สามารถผลิตเครื่องประดับทอง เครื่องประดับเงิน 2.4 ล้านชิ้นต่อปี ขณะที่ส่วนของผลิตภัณฑ์ทองรูปพรรณ 99.99% ภายใต้แบรนด์หรู Prima Gold เป็นพรีเมียมแบรนด์ที่จับตลาดระดับบนและส่วนของวัตถุมงคลและแผ่นภาพทองคำ

จตุคามรุ่นเบญจปาฏิหาริย์ที่แพรนด้าฯ ออกแบบและผลิตเพื่อ Art for All นี้ถือเป็นหนึ่ง ในส่วนของวัตถุมงคลล่าสุดที่สร้างสรรค์ออกมา นับตั้งแต่งานแรกเมื่อ 18 ปีที่แล้ว ซึ่งปราโมทย์ ได้เล่าให้ฟังว่า

"เดิมแรกเริ่มทางแพรนด้าฯ ทำพระพุทธรูปด้วยทองคำบริสุทธิ์ 99.9% เมื่อ 18 ปีที่แล้ว ท่านศุภชัยเป็นอธิบดีกรมศุลกากร ท่านคิดจะทำพระ ก็คิดไปคิดมา ลูกน้องก็คิดเสนอทำหลวงพ่อโสธร เพราะท่านศุภชัยเกิดที่แปดริ้ว ฉะเชิงเทรา ก็มีการติดต่อโรงงานทำพระ ตอนแรกจะหล่อเอาทองอย่างเดียวมาจำหน่าย ทองคำบริสุทธิ์หนัก 350 กก. ซึ่งเป็นทองเถื่อนที่จับได้ ซึ่งต้องนำส่งให้กรมธนารักษ์เพื่อผลิตเหรียญกษาปณ์ แทนที่จะส่งแก่กรมธนารักษ์ ก็ทำพระเพื่อนำรายได้ส่งกรมธนารักษ์แทน เขาก็ติดต่อโรงงานทำพระ แต่พอถึงวันทำสัญญา ทางโรงงานบอกว่าจะต้องเจือเปอร์เซ็นต์ทองให้ต่ำลงเพื่อให้เหมาะกับการผลิต แต่มีความไม่เห็นด้วย พอเกิดความไม่เข้าใจ ตรงนี้ เขาก็โทรมาถามแพรนด้า เราเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ คุณปรีดาก็ส่งเรื่องมาให้ผม คำถามแรกที่ถามผมคือ พระจะหล่อด้วยทอง 99.9 ได้หรือไม่ ผมก็บอกว่าน่าจะได้ เพราะไม่เคยหล่อพระ แต่เท่าที่เคยหล่อทำเครื่องประดับ พรีม่าโกลด์ ก็ 99.99 เขาก็บอกว่าโรงงานทำพระเขาบอกว่าทำไม่ได้ ผมก็เพิ่ง รู้ว่าเขามีปัญหากัน ผมก็เลยบอกกลางๆ ว่า อาจจะเป็นโรงงานเขามีเทคโนโลยี ไม่ถึง เขาก็ถามผมว่าเขาจะคุมอย่างไร ผมก็บอกว่าให้ส่งคนไปคุมและ random check เราควบคุมสเป็ก ผมยินดีช่วย ผมเสนอตัวช่วยงานกรมศุลฯ เขาคุยไปมาก็เลยคิดว่าจะยุ่ง เขาเลยถามว่า คุณปราโมทย์ช่วยทำได้ไหม.. เรื่องก็เลยเริ่มเกิดขึ้นครั้งแรกของแพรนด้าฯ ในการทำวัตถุมงคลของกรมศุลกากร และเป็นครั้งแรกที่มีการออกใบรับรองทองบริสุทธิ์ 99.99% แต่ละหมายเลของค์พระซึ่งทำได้ 20,000 องค์"

ความงดงามประณีตของผลงานพระพุทธรูปทองคำนี้ได้สร้างโอกาสใหม่ทางธุรกิจออกแบบและผลิตวัตถุมงคล โดยมีหน่วยงานราชการและบริษัท เอกชนทยอยเป็นลูกค้าสำคัญๆ เช่น กรมตำรวจ กรมสรรพสามิต กรมสรรพากร วัดบวรฯ เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซี.พี.) กระทรวงแรงงานและสำนัก งบประมาณ

"กรณีจตุคามรามเทพ เราได้ช่วยเหลือโครงการ Art for All โดยเราเป็นสปอนเซอร์หลักมาตลอด" ปราโมทย์กล่าว

เหนือสิ่งอื่นใด งานวัตถุมงคลที่ปราโมทย์ภูมิใจที่สุดคือ เหรียญพระมหาชนก ซึ่งเป็นหนึ่งในสามสิ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงงานเอง คือ พระนวราชบพิธและพระผงจิตรลดา รวมทั้งเหรียญ พระมหาชนก เหรียญนี้มีทั้งทอง เงิน และนาก ชุดละ 50,000 บาท ที่จำหน่ายพร้อมหนังสือพระมหาชนกในกล่องใหญ่อย่างดี ซึ่งน่าเสียดายที่ส่วนใหญ่ 30% ตกอยู่ ในมือชาวเยอรมนี เพราะสำนักพิมพ์อมรินทร์ได้นำไปออกบูธงานหนังสือแฟรงเฟิร์ตบุ๊กแฟร์ ส่วนเหรียญเงินเล็กที่มีต้นทุน 400 กว่าบาท ซึ่งแนบไปกับหนังสือพระมหาชนกเล่มเล็กปกแข็งที่ราคาขายรวม 500 บาทนั้น ทำให้กำไรตกอยู่กับผู้อ่าน แต่ผู้จัดทำขาดทุนไปสิบกว่า ล้านบาท

ความรักในศิลปวัตถุมงคลที่ปราโมทย์แสดงออก อย่างเห็นชัดเจน ทำให้เขากลายเป็นนักสะสมที่เชี่ยวชาญ คนหนึ่งและเมื่อโครงการ "Art for All" ซึ่งเป็นโครงการ ที่ดำเนินการด้วยอาสาสมัครทั้งหมดต้องทำกิจกรรมสร้างเสริมศักยภาพและความคิดสร้างสรรค์ศิลปะเพื่อคนพิการ ได้เสนอโครงการจตุคามรามเทพ รุ่นเบญจปาฏิหาริย์ ที่ทำด้วยทอง เงิน นาก สี่กษัตริย์ เซรามิกสีขาว-สีเขียว-สีดำ รวมทั้งเนื้อว่าน ว่านขาว ว่านดำ และว่านแดง

"ที่มาของเบญจปาฏิหาริย์ คือ ตาทิพย์ หูทิพย์ กายทิพย์ ปัญญา ทิพย์ และจิตทิพย์ ซึ่งเกิดจากความร่วมมือร่วมใจของคนพิเศษห้าคนคือ ตาบอด หูหนวก แขนขาขาด ปัญญาอ่อน และคนดี โดยเราเอาคนหูหนวกมาเป็น "ตา" ให้กับคนตาบอด ขณะที่คนปัญญาอ่อนก็มาเป็นแรงกายช่วยเข็นรถให้กับคนแขนขาขาด โดยคนที่จิตใจงดงามเป็น ผู้ประสาน ทำให้เกิดคอนเซ็ปต์ "ห้าคนรวมเป็นหนึ่งอัจฉริยะ" เราใช้ชีวิตร่วมกันในแคมป์ Art for All ซึ่งเราดำเนินการมาสิบปีเต็ม ก็เห็นผลเป็นแนวคิดของ Art for All" ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ ประธานมูลนิธิฯ และคณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ เล่าที่มาให้ฟัง และ กล่าวถึงวัตถุประสงค์ที่สร้างจตุคามรามเทพด้วยว่า

"แพรนด้าเป็นบริษัทหนึ่งที่มีส่วนสนับสนุนโครงการตลอดมา และในท้ายที่สุดก็มีหลาย องค์กร คุณปราโมทย์เห็นว่าเรากำลังขยับขยายโครงการ ตอนนี้เราขาดงบ ถ้าเรามีงบจะสามารถ ดำเนินการทั้งปีตลอดไป จะมีอานิสงส์สำหรับผู้ด้อยโอกาส และตอนนี้องค์จตุคามกลุ่มผู้ด้อยโอกาสสักกลุ่ม จึงเป็นที่มาทางแพรนด้าจะช่วย ทางนี้จะคิดว่าอย่างไร เราก็คิดว่าเราก็ยินดีจึงเกิดเป็นโครงการสร้างจตุคามรามเทพรุ่นเบญจปาฏิหาริย์ขึ้น โดยมีพิธีบวงสรวงและเททองไปแล้วเมื่อมิถุนายน ที่วัดพระศรีมหาธาตุ จ.นครศรีธรรมราช โดยมีท่านชวน หลีกภัย เป็นประธานฝ่ายฆราวาส และเจ้าอาวาสวัดพระศรีมหาธาตุเป็นประธานทางสงฆ์" งบประมาณที่ใช้ทำค่ายกิจกรรม Art for All ปีหนึ่งๆ ไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาท เนื่องจาก มีจำนวนผู้พิการที่ต้องการเข้าร่วมมากขึ้นเป็นลำดับ จนกระทั่งปัจจุบันมีถึง 600 คนที่ได้รับโอกาสร่วมสร้างสรรค์งานศิลปะ "ปีนี้เราควรจะได้งบ 53 ล้านเพื่อจัดตั้งสถาบัน Art for All และปีหน้าจะได้ 63 ล้าน แต่พอเปลี่ยนรัฐบาลก็ต้องชะงัก แต่เดิมเราก็อยู่อย่างพอเพียง หางบทำกิจกรรมปีต่อปี ปี 48-49 เราได้งบประมาณมาก เราก็ทำกิจกรรมถึง 50 กิจกรรมทั้งปี แต่ปีนี้ เรากระทบจากปีที่แล้ว เราก็ไปขอที่อื่นก็ไม่ได้เพราะเขาจะบอกว่ารัฐบาลก็เตรียมให้อยู่แล้ว" ดร.ชาญณรงค์เล่าให้ฟัง

Art for all เป็นโครงการที่ ดร.ชาญณรงค์ซึ่งเป็นคณบดี คณะศิลปกรรมของจุฬาฯ คิดขึ้นมาเมื่อสิบปีที่แล้ว จนกระทั่ง เป็นที่ยอมรับว่ามีคนช่วยบริจาคก็เลยจดเป็นมูลนิธิศิลปะเพื่อมวลมนุษย์ (Art for All) ขึ้นมาที่จุฬาซอย 31

"นี่เป็นครั้งแรกที่ทำวัตถุมงคลที่แพรนด้าฯ กรุณาทั้งออกแบบและผลิตให้ ถ้าเราสามารถได้สัก 10-20 ล้านก็จะทำให้กิจกรรมดำเนินไปได้ระยะหนึ่ง" ดร.ชาญณรงค์เล่าให้ฟัง สำหรับการออกแบบและผลิตจตุคามรามเทพของแพรนด้าฯ นอกจากรุ่นเบญจปาฏิหาริย์แล้ว ก่อนหน้านั้นยังมีผู้ว่าจ้างให้ผลิตจตุคามฯ รุ่นรวยตลอดชาติ รุ่นอัครมหาเศรษฐี และล่าสุด รุ่นอภิปัญญามหาเศรษฐีอีกด้วย

"ทีวีมาสัมภาษณ์ผมว่า รู้สึกอย่างไรที่จตุคามฯ ส่งออก ผมบอกว่ารู้สึกดี และถามกลับไปว่า กวนอิมก็มาจากเมืองจีน พระพิฆเนศมาจากอินเดีย หรือไม้กางเขนก็มาจากยุโรป คนไทยยังนำมานับถือเคารพ แล้วทำไมเทพของไทยจะออกไปให้คนต่างชาติเขานับถือบ้างไม่ได้ล่ะ?" ปราโมทย์ตั้งข้อสังเกต ว่าไปแล้วรายได้การผลิตวัตถุมงคลของแพรนด้าฯ ไม่ใช่รายได้หลักไม่เกิน 5% และไม่คิดว่าคุ้มหรือไม่คุ้มในเชิงธุรกิจเต็มร้อย เพราะการออกแบบปฏิมากรรมแต่ละชิ้นงาน ต้องใช้เวลาสร้างแม่พิมพ์นาน เช่น พระพุทธรูปปางรำพึง ที่คุณสมใจนึก เอ็งตระกูล ถวายพระพี่นางฯ เป็นผลงานออกแบบที่ต้องใช้เวลาถึงสองปีจึงจะสร้างพิมพ์สำเร็จ

ศิลปินผู้ออกแบบจตุคามรุ่นเบญจปาฏิหาริย์มีสองคนทำงานคนละมิติ คนแรกคือโชคชัย ธีรศรีสมบัติ หนุ่มดีไซน์ออกแบบร่างแบบจตุคามรามเทพในรูปสองมิติบนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เมื่อออกแบบเสร็จก็นำส่งมายังประติมากรนักออกแบบ สายัน วงษ์รักษ์ ที่แกะสลักภาพเขียนนั้นให้เป็นผลงานต้นแบบสามมิติ

"ในรุ่นเบญจปาฏิหาริย์ เราเน้นในเรื่องรูปแบบ จะมีความหมายพวกน้ำ ปรกของนาคที่มีเจ็ดเศียร และมีลายน้ำประกอบ มีเมฆ พอออกแบบผมก็ภูมิใจ จิตใต้สำนึกผมคิดว่า ผมทำงานออกแบบปฏิมากรรมไว้ให้เคารพบูชา ก็เป็นสมาธิและความสบายใจอย่างหนึ่งที่ทำมาแล้ว เป็นที่ยอมรับ ทำให้เรามีกำลังใจสร้างงานต่อไป" สายันเป็นศิลปินวัย 50 ซึ่งใช้ชีวิตทำงานกับ แพรนด้าฯ 20 ปี เล่าให้ฟังขณะพักสายตาและละสมาธิจากกล้องจุลทรรศน์ที่ใช้ส่องยามแกะสลัก รายละเอียดงานให้ลึกและประณีต

เหรียญทองคำหนักสิบบาทกว่าที่แกะสลักเป็นเหรียญจตุคามรามเทพ รุ่นเบญจปาฏิหาริย์ ที่วิจิตรประณีต มีค่าสูงสุด 200,000 บาท ขณะที่เหรียญชุดกรรมการมูลค่ารวม 23,000 บาทบรรจุทุกเนื้อไว้ครบครันสำหรับคนที่พร้อมทั้งทุนทรัพย์จะบริจาคช่วย Art for All

งานนี้ไม่ว่าปาฏิหาริย์จะมีจริงหรือไม่ก็ตาม แต่สิ่งมหัศจรรย์ที่เห็นและเป็นอยู่ คือของทิพย์ อันเป็นมงคลที่ว่าด้วยสมาธิ สติ และความเบิกบานนั้นมีอยู่ในจิตวิญญาณของคนพิการ Art for All ?!   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us