Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2550








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2550
An Oak by the window...วิดีโอออนไลน์ : จุดเปลี่ยนวงการบันเทิงโลก             
โดย ธวัชชัย อนุพงศ์อนันต์
 


   
search resources

Entertainment and Leisure
Networking and Internet




วงการวิดีโอออนไลน์กำลังขับเคี่ยวกันอย่างสนุกสนานมากขึ้น เมื่อขาใหญ่วงการบันเทิงและอินเทอร์เน็ตขอเข้าร่วมวงไพบูลย์ด้วยอย่างเต็มตัว ซึ่งจะทำให้ปีนี้เป็นปีที่วงการอินเทอร์เน็ตและวงการบันเทิงกำลังก้าวขาเข้าเกี่ยวกันมากอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน และเป็นสัญญาณว่าสองวงการนี้จะกลายเป็นวงการเดียวกันในไม่ช้า

เมื่อผ่านพ้นไตรมาสแรกของปีนี้ กูเกิ้ล YouTube และบริษัทบริวารทั้งหลายต่างก็ต้องเผชิญกับการท้าทายอำนาจครั้งสำคัญในหลายๆ ด้านรวมถึงการรวมตัวของ กลุ่มบริษัท สื่อยุคเก่าทั้งหลายเพื่อฟ้องร้อง รุกคืบเข้าสู่ศูนย์กลางของธุรกิจของกูเกิ้ล และแสดงอาการต่อต้านกูเกิ้ลอย่างชัดเจน ซึ่งแม้แต่ไมโครซอฟท์ซึ่งเคยเป็นที่รังเกียจของ บริษัทอื่นก็กลับเข้าร่วมวงต่อต้านกูเกิ้ลอย่างแนบเนียน ด้วยสาเหตุสำคัญที่กูเกิ้ลและ YouTube เป็นอยู่ในฐานะกลุ่มบริษัทสื่อยุคใหม่

การประกาศจัดตั้งบริษัทวิดีโอออนไลน์ ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่าง NBC Universal ซึ่งเป็นยักษ์ใหญ่วงการสื่อของ General Electric กับ News Corporation ของรูเพิร์ต เมอร์ดอค ขาใหญ่ตัวจริงของวงการสื่อโลกถือเป็นยุทธศาสตร์ร่วมกันตีของยักษ์ใหญ่เหล่านี้

เช่นเดียวกับ Viacom ที่ได้จับมือแท็กทีมกับบริษัทโทรทัศน์ออนไลน์อย่าง Joost เพื่อจัดหาไฟล์วิดีโอที่ถูกกฎหมายเพื่อให้บริการ ในขณะที่วอลต์ ดิสนีย์ได้ร่วมมือกับ แอปเปิลโดยเฉพาะห้องเพลง iTunes ของแอปเปิลที่กำลังค่อยๆ เพิ่มบทบาทในฐานะเป็นศูนย์กลางไฟล์วิดีโอที่ถูกกฎหมายนอกเหนือจากการเป็นร้านขายเพลงขนาดใหญ่อยู่แล้ว

สำหรับบริษัทร่วมทุนระหว่าง NBC และ News Corporation ซึ่งในอนาคตอาจมีบริษัทยักษ์ใหญ่อย่างโซนี่และบริษัทอื่นๆ มาร่วมจะทำให้บริษัทนี้นอกจากจะสามารถให้บริการฐานข้อมูลไฟล์วิดีโอขนาดใหญ่แล้ว ยังมีบทบาทในฐานะเป็นหน้าร้านและแหล่งกระจายสินค้าชั้นยอดอีกด้วย และจะทำให้สินค้าที่จะนำเสนอผ่านเว็บไซต์ใหม่ของบริษัท ที่จะจัดตั้งขึ้นมามีช่องทางกระจายสินค้าอีกหลายๆ ทาง ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์ของ Yahoo!, AOL ของ Times Warner และ MSN ของไมโครซอฟท์ ซึ่งถือเป็นเว็บ พอร์ทัล (Portal) ที่ใหญ่ที่สุดสามอันดับแรกที่สำคัญจะทำให้บริษัทร่วมทุนแห่งใหม่นี้สามารถเข้าถึงผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเกือบทุกคนในตลาดประเทศสหรัฐอเมริกา

ด้วยยุทธศาสตร์ที่บริษัทร่วมทุนแห่งใหม่นี้จะต้องต่อกรกับ YouTube ทำให้พวกเขามองว่าพวกเขาจะต้องไม่เพียงแต่จับลูกค้า ให้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ใดเว็บไซต์หนึ่งเป็นการเฉพาะเท่านั้น แต่ลูกค้าควรจะสามารถดูไฟล์วิดีโอได้จากที่ใดๆ ก็ตาม หรือในเว็บไซต์ที่ลูกค้าใช้อยู่เป็นประจำ เหล่าเด็กๆ วัยรุ่นควรจะสามารถโพสต์คลิปวิดีโอในหน้า MySpace ของพวกเขาเอง แม้แต่เหล่าบล็อกเกอร์ที่ใช้บล็อกทั่วๆ ไปก็ควรจะใส่ไฟล์ วิดีโอลงในไดอารี่ของตัวเองได้ พวกเขาควรจะสามารถเอาไฟล์วิดีโอเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการพูดคุย สนทนา ซุบซิบนินทา ในลักษณ์เดียวกับที่ YouTube ให้ทำได้ โดยการให้คะแนนไฟล์วิดีโอและการช่วยกระจาย ไฟล์วิดีโอเหล่านั้นจะเป็นตัวกระตุ้นที่สำคัญ

ความแตกต่างเพียงอย่างเดียวที่ยังเหลืออยู่ก็คือ เนื้อหาทั้งหลายที่นำเอาไปใช้ในที่ต่างๆ จะยังคงเป็นสิ่งที่ถูกกฎหมายเสมอ และรายได้จากโฆษณาจะยังคงอยู่ภายใต้การควบคุมอย่างสมบูรณ์ของเจ้าของเนื้อหานั้นๆ

ในขณะที่วงการวิดีโอออนไลน์เองก็กำลังถึงจุดเปลี่ยนที่สำคัญโดย BitTorrent ซึ่งเป็นบริการแลกเปลี่ยนไฟล์ (File Sharing) แบบ peer-to-peer ซึ่งก่อนหน้านี้เป็นที่นิยมมากในหมู่ผู้ใช้ที่แลกเปลี่ยนไฟล์ ภาพยนตร์ หรือซอฟต์แวร์แบบผิดกฎหมาย และมีส่วนในการใช้แทรฟฟิค ในอินเทอร์เน็ตค่อนข้างมากนั้น ปัจจุบันนี้ใน BitTorrent ได้เปลี่ยนบทบาท ของตัวเองใหม่ โดยพวกเขาได้ซื้อลิขสิทธิ์ภาพยนตร์จากฮอลลีวูดอย่างถูกกฎหมาย และเปิดให้เช่าและซื้อขายโดยที่ได้แบ่งปันรายได้กับสตูดิโอ เจ้าของลิขสิทธิ์อย่างถูกต้อง

ส่วน Joost เองซึ่งก่อตั้งขึ้นโดยผู้ก่อตั้ง Skype และ KaZaa โดย KaZaa เป็นบริการเครือข่ายไฟล์แชริ่ง หรือการแลกเปลี่ยนไฟล์ซึ่งเป็นที่นิยมมากในการซื้อขายเพลง ในขณะที่ Skype เป็นบริการโทรศัพท์ฟรีผ่านอินเทอร์เน็ตที่ให้คุณภาพของเสียงสูงกว่าบริการอื่นๆ ซึ่งทั้งสองพันธมิตรในช่วงที่ผ่านมาได้สร้างแรงกระเพื่อมครั้งสำคัญให้กับอุตสาหกรรมเพลงและโทรคมนาคม ดังนั้นเมื่อโครงการร่วมกันที่เรียกว่า Joost ซึ่งเป็นบริการโทรทัศน์ผ่านอินเทอร์เน็ต (Television-over-Internet) ได้ถือกำเนิดขึ้นมา ก็กำลังจะทำให้อุตสาหกรรมโทรทัศน์ ของโลกกำลังจะต้องสั่นสะเทือนครั้งใหญ่ ดังนั้น เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงการใช้ปฏิกิริยาในลักษณ์เดียวกับที่บรรดาสื่อยุคเก่าๆ ทำมาตลอดเมื่อมีเทคโนโลยีใหม่ถือกำเนิดขึ้นมา หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่าเป็นการปรับตัว เพื่อให้สามารถเอาตัวรอดได้ของสื่อยักษ์ใหญ่อย่าง Sony, Viacom และ Turner Broadcasting ก็คือการร่วมเซ็นสัญญากับ Joost เพื่อร่วมให้บริการคอนเทนท์ของตนผ่านบริการใหม่นี้ด้วย

อย่างไรก็ตาม การเติบโตของ Joost ยังต้องอาศัยปัจจัยที่สำคัญ อีกอย่างหนึ่ง คือ ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต หรือไอเอสพีที่เหล่าบริษัทซอฟต์แวร์ทั้งหลายล้วนรอคอยให้โครงสร้างพื้นฐานทางอินเทอร์เน็ตสามารถเติบโตไปถึงระดับที่มากพอที่จะรับส่งข้อมูลขนาดใหญ่ได้ เช่นเดียวกับการจะสามารถถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์แบบฟูลสกรีนหรือเต็มหน้าจอบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไปยังคนใช้ตามบ้านได้ โดย Joost ใช้โปรโตคอลแบบ peer-to-peer เพื่อทำ การส่งข้อมูลด้วยอัตราการส่ง 350 เมกะไบต์ ต่อชั่วโมง อย่างไรก็ตาม สำหรับคุณภาพ ของอินเทอร์เน็ตหรือเครือข่ายในปัจจุบันนั้นจะขึ้นกับงานที่ใช้ ณ เวลานั้นๆ โดย Joost มีเป้าหมายที่จะให้มีผู้ใช้บริการของพวกเขาในหลักล้านคนในปีแรกนี้ นั่นหมายความว่า บริการที่ต้องอาศัยแบนด์วิดธ์ของเครือข่ายจำนวนมากอย่าง Joost นี้จะต้องเตรียมการเป็นอย่างดีและต้องอาศัยเหล่าผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตทั้งหลายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

อย่างไรก็ตาม หลายๆ บริษัทที่เป็นเจ้าของโครงสร้างพื้นฐานของเครือข่ายและอินเทอร์เน็ต ซึ่ง Joost และบริการอื่นๆ ต้อง อาศัยแบนด์วิดธ์มหาศาลนั้นล้วนยังไม่แน่ใจว่าโครงสร้างพื้นฐานทางอินเทอร์เน็ตของพวกเขาจะสามารถรองรับความต้องการเหล่านั้นได้จริงหรือไม่

แต่เมื่อพิจารณาถึงการที่อินเทอร์เน็ต จะต้องมีศักยภาพเพียงพอที่จะรองรับการส่งผ่านไฟล์วิดีโอขนาดใหญ่ ก็ทำให้เป็นการเปิดช่องว่างทางธุรกิจให้กับบริษัทที่ให้บริการ เครือข่ายที่จะสามารถรับประกันแบนด์วิดธ์และศักยภาพของเครือข่ายนั้น โดยจะเป็นเครือข่ายที่แยกตัวเองออกจากอินเทอร์เน็ต ยกตัวอย่าง เช่น PacketExchange

อย่างไรก็ตาม ความจำเป็นที่จะต้องใช้แบนด์วิดธ์จำนวนมหาศาลสำหรับเว็บไซต์ เกี่ยวกับไฟล์วิดีโอทั้งหลายก็ทำให้หลายๆ หน่วยงานได้เริ่มที่จะบล็อกการเข้าถึงบริการ วิดีโอออนไลน์เหล่านี้ อย่าง YouTube หรือ MySpace บ้างแล้ว เนื่องจากข้อจำกัดของแบนด์วิดธ์ที่พวกเขามีอยู่

ยิ่งเหล่าไอเอสพียิ่งกังวลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้ เนื่องจากแอพพลิเคชั่น ประเภท peer-to-peer อย่าง Joost ซึ่งมีผู้ที่ใช้บริการของไอเอสพีเหล่านี้ใช้กันอยู่น้อยกว่า 5 เปอร์เซ็นต์จากสมาชิกของไอเอสพีทั้งหมด แต่กลับใช้แบนด์วิดธ์เกินครึ่งของแบนด์วิดธ์ทั้งหมดที่มีอยู่

ไอเอสพีหลายๆ เจ้าก็พยายามกำหนด ช่วงเวลาที่มีการใช้แบนด์วิดธ์สูงๆ หรือช่วงพีค เพื่อไม่ให้มีการใช้แบนด์วิดธ์ต่อคนมากเกินไป หรือการกำหนดระดับความเร็วในการดาวน์โหลดสูงสุดในช่วงเวลานั้นๆ ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่เป็นเวลาไพร์มไทม์ของสถานีโทรทัศน์ต่างๆ

อย่างไรก็ตาม ถ้า Joost รวมถึงบริการวิดีโอออนไลน์แบบ peer-to-peer ทั้งหลายประสบความสำเร็จจนเป็นที่นิยมในหมู่ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ ก็จะส่งผลให้เหล่า ไอเอสพีทั้งหลายจะต้องปรับเปลี่ยนโมเดลโครงสร้างธุรกิจของพวกเขาเสียใหม่เพื่อมารองรับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่เปลี่ยนไป ยกตัวอย่างเช่น พวก เขาอาจจะต้องกำหนดบริการใหม่สำหรับผู้ใช้ ที่ต้องการแบนด์วิดธ์สูงๆ สำหรับบริการพิเศษ เหล่านี้ ซึ่งแน่นอนว่า ราคาที่จะต้องจ่ายก็จะต้องสูงขึ้นไปด้วย

คำถามต่อมาก็คือ การบล็อกไม่ให้ผู้ใช้บริการเข้าถึงบริการเหล่านี้เป็นเรื่องถูกกฎหมายหรือไม่ ซึ่งรวมถึงบริษัทโทรคมนาคม บางบริษัทที่บล็อกไม่ให้ลูกค้าสามารถใช้โทรศัพท์ผ่านอินเทอร์เน็ตได้ เนื่องจากพวกเขา เกรงว่ารายได้ที่พวกเขาจะได้รับจากโทรศัพท์พื้นฐานแต่เดิมจะลดลงได้

ในอนาคตอันใกล้นี้ดูเหมือนว่าเนื้อหาจากกลุ่มผู้ผลิตคอนเทนต์แบบเก่า แบบมืออาชีพในแบบที่บริษัทสื่อแบบดั้งเดิมเคยทำมา ได้ตลอดจะกลับมาเป็นที่นิยมอีกครั้ง หลังจาก ที่ YouTube ได้สร้างปรากฏการณ์ใหม่ในวงการวิดีโอออนไลน์ด้วยการให้กำเนิดยุคของ สื่อสมัยใหม่ที่อาศัยเนื้อหาที่มือสมัครเล่นสามารถสร้างขึ้นมาได้เอง

นักวิเคราะห์มองว่า สิ่งที่ YouTube หรือการเติบโตของกระแส Web 2.0 ได้ทำไว้นั้นไม่ได้เป็นการสร้างปรากฏการณ์ที่เป็นผลสะท้อนของภาวะฟองสบู่ของยุคดอตคอมในช่วงทศวรรษ 1990 แต่อย่างใด แม้ You-Tube ได้เข้ามาเปลี่ยนแปลงสังคมและรูปแบบ ประชาธิปไตยในหมู่ประชาชนในลักษณะที่คงทนยืนยาว โดยการทลายกำแพงที่กั้นขวาง ระหว่างความเป็นมืออาชีพกับมือสมัครเล่นออกไปเสีย และทำให้มือสมัครเล่นสามารถเข้าถึงผู้ดูผู้ชมได้มากขึ้น นอกจากนี้ยังนำเสนอ หน้าร้านสำหรับการแสดงผลงานเหล่านี้ไปยังผู้ชมหลายล้านคนทั่วโลกด้วย แต่สิ่งที่จะไม่สามารถมองข้ามไปได้เลยก็คือ YouTube ไม่สามารถทำให้เนื้อหาของเหล่ามืออาชีพทั้งหลายมีความสนใจและน่าดึงดูดใจน้อยลงไปได้ งานของมือสมัครเล่นจึงเป็นเพียงการมาเติมเต็มสิ่งที่หายไปเท่านั้น

YouTube อาจจะสามารถเขียนชื่อของ ตนไว้ในประวัติศาสตร์หน้าหนึ่งได้ แต่ไม่ใช่ในฐานะของการสร้างผลกำไรหรือขาดทุนให้กับวงการได้

นับแต่นี้ไปเราคงไม่สามารถกะพริบตา ให้กับการขับเคี่ยวในวงการบันเทิงและอินเทอร์เน็ตที่กำลังดำเนินไปได้ สิ่งที่เราอาจจะพอทำได้ในตอนนี้ก็คือ รอรับสิ่งใหม่ๆ ที่พวกเขาคิดค้นเพื่อแข่งขันและหลุดจากกรอบการควบคุมของอุตสาหกรรมโดยรวม

ที่สำคัญ ไม่ว่าเราจะชอบหรือไม่ก็ตาม เราก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของพลังขับเคลื่อนให้เกิดความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญนี้ด้วยเช่นกัน

อ่ า น เ พิ่ ม เ ติ ม

1. 'Down the YouTube?,' The Economist, 23 March 2007.
2. 'Overdoing it?,' Technology Quarterly, The Economist, 7 June 2007.
3. Levin, J. (2007), 'What Are We Searching For?,' Slate.com, 3 Aug 2007.
4. Joost, http://en.wikipedia.org/wiki/Joost
5. O'Hear, S. (2007), 'Joost opens to the public-full review,' 20 May 2007, http://www.last100.com/2007/05/20/joost-opens-to-the-public-full-review/
6. Marriott, M. (2007), 'Nothing to Watch on TV? Streaming Video Appeals to Niche Audiences,' The New York Times, 6 August 2007, http:/www.nytimes.com/2007/08/06/business/media/06stream.html?ex=1187755200&en=8ed302abb992b8e9&ei=5070   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us