Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2550








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2550
Haier ชื่อที่ทำให้คู่แข่งหนาว             
 


   
www resources

โฮมเพจ ไฮเออร์ อีเลคทริคอล แอพพลายแอนซ์

   
search resources

Electric
ไฮเออร์ อีเลคทริคอล แอพพลายแอนซ์ (ประเทศไทย), บจก.
ไฮเออร์ อิเล็กทริก (ประเทศไทย), บจก.




สินค้าจีนไม่ใช่จะมองข้ามกันได้ง่ายๆ แล้วในขณะนี้ ลองหลับตานึกดูว่าเครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่างๆ รอบตัว มีกี่ชิ้นที่ไม่ได้ตีตรา Made in China ถึงจะมีชื่อเป็นแบรนด์จากยุโรปหรืออเมริกาก็ตาม

หลายคนนึกไกลไปถึงว่า โลกนี้ไม่มีประเทศไหนผลิตสินค้าต่างๆ ได้นอกจากประเทศจีนแล้วก็มี

แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า สินค้าจากจีนทำให้เรามีสินค้าใช้หลากหลายขึ้น และที่สำคัญราคาถูกลง

สินค้าจากจีนได้เดินตามรอยสินค้าญี่ปุ่นและเกาหลี ในการก้าวออกไปเติบโตนอกบ้าน หลายๆ บริษัทเลือกไปทำตลาดในอเมริกา ยุโรป ก่อนที่จะกลับมาเอเชีย หรือแอฟริกา บริษัท ไฮเออร์ (Haier) ก็เป็นหนึ่งในบริษัทเหล่านั้น

การเข้ามาในไทยของไฮเออร์ ช่วงแรกคือการเข้ามาทำตลาดโทรทัศน์ โดยขายผ่านช่องทางของกลุ่มเซ็นทรัล เช่น พาวเวอร์บาย บิ๊กซี โดยราคาโทรทัศน์จอแบบ 21 นิ้ว ราคาไม่ถึง 4,000 บาท ในขณะที่คู่แข่งอยู่ที่ 4,500 บาท แต่หลังจากนั้นก็เงียบหายไป แล้วค่อย ตามมาด้วยตู้เย็น ซึ่งเป็นสินค้าสร้างชื่อของไฮเออร์ในต่างประเทศ แต่เข้ามาบ้านเราก็เหมือนกับโทรทัศน์คือเงียบๆ แม้แต่โทรศัพท์มือถือ ไฮเออร์ก็มีเข้ามาจำหน่ายเฉพาะระบบ CDMA ของฮัทช์ ซึ่งเข้ามาเพียงรุ่นเดียวก็เงียบหายไปอีก

ชวี จื้อหลาง กรรมการผู้จัดการ บริษัทไฮเออร์ อีเล็คทริค (ประเทศไทย) บอกในงานแถลงข่าวครั้งล่าสุดว่า ปีนี้บริษัทจะเปิดตัวแบรนด์ไฮเออร์ให้เป็นที่รู้จัก และยอมรับในตลาดเอเชียแปซิฟิก และตะวันออกกลาง ซึ่งได้เลือกไทยให้เป็นฐานในการผลิตสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าสำหรับตลาดใหม่นี้

"บริษัทได้เข้าไปซื้อกิจการบริษัท ซันโย ยูนิเวอร์แซล อิเลคทริค ซึ่งเป็นโรงงานผลิตตู้เย็นที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อวันที่ 1 เมษายน ที่ผ่านมา และไฮเออร์ได้ถือหุ้นใหญ่ 90% พร้อมกับเปลี่ยน ชื่อเป็น ไฮเออร์ อีเล็คทริค ประเทศไทย"

โรงงานแห่งนี้มีกำลังการผลิตตู้เย็นปีละ 2,400,000 ใบ และเครื่องซักผ้าปีละ 200,000 เครื่อง และมีแผนที่จะผลิตเครื่องทำความ เย็นประเภทอื่น เช่น ตู้แช่ เครื่องปรับอากาศ เพิ่มด้วย โดยบริษัทได้ใช้เงินไป 10 ล้านบาท เพื่อทำการพัฒนาตู้เย็นรุ่นใหม่ที่จะเริ่มจำหน่ายได้ในปี 2551

เขาบอกแค่ว่า ตู้เย็นรุ่นใหม่ของไฮเออร์ นอกจากเย็นและประหยัดแล้ว จะมีกลิ่นหอมด้วย ซึ่งต้องรอดูปีหน้า

นอกจากนี้ยังตั้งบริษัท ไฮเออร์ อีเลคทริคอล แอพพลายแอนซ์ (ประเทศไทย) เพื่อดูแลรับผิดชอบด้านการตลาดและการขายให้เป็น ระบบมากขึ้น ซึ่งส่วนนี้มีทวีศักดิ์ เกรียงไกรเกียรติ เป็นกรรมการผู้จัดการและคอยดูแลอยู่

ไฮเออร์มีเรื่องเล่าขานการสร้างแบรนด์ของตัวเองที่ถ่ายทอด ต่อกันมาอย่างภาคภูมิใจก็คือ การที่ผู้ก่อตั้งบริษัท จาง ลุ่ย หมิ่น ทำการทุบตู้เย็นจากสายการผลิตจำนวน 76 ใบ เพียงเพราะว่าผลิตได้ต่ำกว่ามาตรฐาน

ถ้าไฮเออร์ทุบตู้เย็นไม่ถึง 100 ใบก็สามารถปรับปรุงคุณภาพ ได้มากมายขนาดนี้ แต่ก็คงมีบริษัทอื่นๆ ในจีนอีกหลายแห่งที่แม้ว่า จะทุบโรงงานทิ้ง คุณภาพสินค้าที่ผลิตออกมาก็ไม่ดีขึ้น   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us