Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2550








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2550
"ผมชินกับการเปลี่ยนแปลงแล้วครับ"             
โดย น้ำค้าง ไชยพุฒ
 


   
www resources

โฮมเพจ DTAC

   
search resources

โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น, บมจ.
ธนา เธียรอัจฉริยะ
Mobile Phone




ธนา เธียรอัจฉริยะ ออกปากเองว่า "ผมชินแล้วครับ" เมื่อ "ผู้จัดการ" ตั้งคำถามกับเขาว่ารู้สึกอย่างไรกับการเปลี่ยนแปลงในหน้าที่การงานใหม่ในดีแทคที่เพิ่งได้รับมอบหมายเมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา

คำว่า "ชินแล้ว" สำหรับใครบางคนอาจบ่งบอกได้ถึงอารมณ์เบื่อหน่าย แต่สำหรับผู้บริหารวัยยังไม่ถึงสี่สิบปีคนนี้ "ชินแล้ว" คงหมายถึง ภาระงานและการเปลี่ยนแปลงที่ได้รับจนเป็นเรื่องที่เขายอมรับได้และไม่รู้สึกหนักใจกับงานใหม่ที่ได้รับ

ถ้าจะหาใครสักคนเป็นต้นแบบของการเปลี่ยนงานมาหลายหน้าที่ โดยอยู่ในบริษัทเดียวตลอดระยะเวลา 10 ปี เป็นบทเรียนหรือต้นแบบ เพื่อให้ใครๆ ได้เรียนรู้ว่า การเปลี่ยนแปลงไม่ได้เลวร้ายเสมอไป แต่ช่วยให้เขาได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆ หรือต่อให้ไม่ดี การโยกกลับก็เป็นเรื่องที่ไม่ได้เลวร้ายอะไรเลยเช่นกัน "ผู้จัดการ" เชื่อว่าหาได้จาก "ธนา" คนนี้นี่เอง

ปี 2539 เป็นปีแรกที่ "ผู้จัดการ" ลงบทสัมภาษณ์ ธนา เธียรอัจฉริยะ ในฐานะของผู้จัดการอาวุโสฝ่ายการเงิน ซึ่งถือเป็นตำแหน่งแรกของเขาในดีแทค หลังจากลาออกจากบริษัทหลักทรัพย์เอกธำรง ซึ่งทำมานานถึง 5 ปี เมื่อคิดทบทวนแล้วพบว่าเอาดีกับตลาดทุนไม่ได้แน่ๆ และหันเหตัวเองมาทำหน้าที่เป็นนักลงทุนสัมพันธ์ (Investor relationship) ที่ดีแทคแทน

หน้าที่ของธนาคือ ดูแลผู้บริหารระดับสูงของบริษัทอื่นๆ ที่สนใจจะเข้ามาลงทุนกับดีแทค ผู้บริหารมักยุ่งไปกับเรื่องอื่น งานพบผู้บริหารที่จะลงทุนกับบริษัท จึงถูกผลักภาระมาที่ IR ซึ่งรู้ข้อมูล inside เนื่องจากต้องฟังประชุมงบดุลและฟังภาวการณ์เป็นไปของบริษัทด้วยทุกครั้ง

ปี 2539-2540 เป็นช่วงสถานการณ์ "ต้มยำกุ้ง" วิกฤติค่าเงินบาท ทำให้ดีแทคเข้าตาจนเมื่อถูกลดค่าเงินบาท ทำให้บริษัทเป็นหนี้เพิ่มขึ้นเท่าตัว ธนาอยู่ในฐานะของผู้บริหารที่อายุยังไม่ถึง 30 แต่ดูแลดีลสำคัญในการเจรจาขอกู้เงินจากต่างประเทศ รวมถึงการเจรจาประนอมหนี้ ปรับโครงสร้างหนี้กับเจ้าหนี้อีกหลายรายในต่างประเทศ ชนิดที่เกิน 50 ราย

นิตยสาร "ผู้จัดการ" ธันวาคม 2539 เคยตีพิมพ์บทความเรื่อง "YANKEE BOND ของ TAC รุ่นบุกเบิกที่ไม่ธรรมดา" ในเนื้อหาพูดถึง การที่ TAC หรือบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือที่มาเปลี่ยนเป็น "DTAC" ในภายหลังประสบความสำเร็จในการออกหุ้นกู้แปลงสภาพสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ (ECD) อายุ 10 ปี จำนวน 200 ล้านเหรียญสหรัฐในปีนั้น ซึ่งถือเป็นเอกชนไทยรายแรกที่สามารถออกไประดมทุนในตลาดหุ้นกู้ของสหรัฐอเมริกาได้สำเร็จ ไม่นับธนาคารพาณิชย์หรือหน่วยงานรัฐวิสาหกิจของไทยในยุคเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง

ปี 2544 "ผู้จัดการ" นำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับโทรศัพท์แบบระบบเติมเงิน (prepaid) ดาวรุ่งของวงการโทรคมนาคมของเมืองไทย ซึ่งมีธนาในตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายการเงิน เป็นผู้ให้คำตอบในการสัมภาษณ์ชนกับค่ายยักษ์ใหญ่อย่างเอไอเอสอีกครั้ง ในเดือนมีนาคมปีเดียวกัน เป็นปีแรกที่แทคเปลี่ยนชื่อเป็นดีแทค

ตุลาคม 2544 ธนาให้ความเห็นกับ "ผู้จัดการ" ในเรื่อง "GPRS อินเทอร์เน็ตบนอากาศ" ในตำแหน่งผู้อำนวยการพัฒนาธุรกิจ Convergence Group นับเป็นปีแรกที่ดีแทคให้บริการจีพีอาร์เอสผ่านโครงข่ายของตน ขณะที่สมประสงค์ บุญยะชัย ยังเป็นเพียงแค่ประธานกรรมการบริหารสายธุรกิจสื่อสารของเอไอเอส

ปี 2545 ธนาวัย 33 ปี เริ่มงานในตำแหน่ง ผู้อำนวยการกลุ่มงาน Product & Service Group ก่อนจะทำการเปิดตัวแบรนด์ "Happy Dprompt" ซับแบรนด์ระบบโทรศัพท์แบบเติมเงินของดีแทคในยุคแรกในเดือนพฤษภาคม 2546 ปีถัดมาพร้อมรับตำแหน่ง ใหม่ในฐานะผู้อำนวยการ กลุ่ม Prepaid

ต้นปี 2548 ข่าวการลาออกของซิคเว่ เบรคเก้ จากตำแหน่งกรรมการ และประธานเจ้าหน้าที่บริหารร่วมกับวิชัย เบญจรงคกุล โดยการลาออกมีผลในวันที่ 13 มกราคม 2548 ทำให้หลายคนจับตามองอนาคตของดีแทค ทั้งๆ ที่ภายใต้การบริหารงานร่วมของซิคเว่ กับ วิชัย เบญจรงคกุล ส่งผลให้จำนวนผู้ใช้บริการของดีแทคเพิ่มสูงขึ้นถึง ร้อยละ 45 ในรอบระยะเวลา 2 ปี แต่ซิคเว่ก็กลับมาทำงานหน้าที่เดิมอีกครั้งในไม่กี่เดือนถัดมา ขณะที่ธนาได้รับการโปรโมตให้เป็นรองประธานเจ้าหน้าที่บริหารในเดือนพฤษภาคมปีเดียวกัน

เมษายน 2548 วิชัย เบญจรงคกุล กับซิคเว่ เบรกเก้ แถลงข่าวร่วมกันเพื่อบอกถึงการปรับโครงสร้างการบริหารในองค์กรโดยดีแทค ทำการยุบรวมหน่วยบริหารของตนเองให้เหลือเพียง 4 หัวเรือใหญ่ เพื่อคุมแผนกใหญ่ๆ จำนวน 4 แผนก คือ Technology, Commercial, Financial, Customer และจะทำการรายงานตรงต่อซีอีโอของบริษัท

"ธนา เธียรอัจฉริยะ ถือเป็นผู้บริหารที่มีบทบาทมากคนหนึ่งของดีแทคตลอดช่วงหลายปีที่ผ่านมา แต่เดิมเขาผู้นี้เป็นกำลังสำคัญในการดูแลบริการในกลุ่มพรีเพดในนาม "แฮปปี้" ทั้งหมดให้กับบริษัท ล่าสุดได้รับการปรับเปลี่ยนบทบาทเพิ่มเติมในการดูแลกลุ่มลูกค้าโพสต์เพด หรือลูกค้าในกลุ่มจดทะเบียนการใช้งานทั้งหมดด้วยในคราวเดียวกัน โดยกระบวนของการคิดสรรหาบริการใหม่ๆ เพื่อกระตุ้นให้คนเข้ามาใช้ระบบของดีแทคมากขึ้นเป็นงานหนักของธนานับจากนี้" นี่คือข้อความที่ระบุไว้ในข่าวของ "ผู้จัดการ" ซึ่งตีพิมพ์ในเดือนถัดมา

ข่าวคราวการปรับโครงสร้างองค์กรของดีแทค ภายใต้การบริหารของซีอีโอเดี่ยวอย่างซิคเว่ในปลายปี 2548 หลังจากวิชัย เบญจรงคกุล ซีอีโอร่วม ยื่นจดหมายลาออกพร้อมกับที่ตระกูลเบญจรงคกุลได้ถอนหุ้นและสายบริหารทั้งหมดกลบข่าวอื่นเสียมิดในช่วงสิ้นปี ขณะที่ธนากลับมาทำหน้าที่ดูแลระบบเติมเงินอีกครั้งในไม่กี่เดือนถัดมา

พฤษภาคม 2550 หนนี้ธนากลับมาดูภาพรวมธุรกิจทั้งแบบเติมเงินและแบบรายเดือนอีกครั้ง ต่างกันตรงที่ไม่ได้ลงรายละเอียดการดูแบรนด์ทั้งหมดด้วยตนเอง ดีแทคเริ่มสร้างผู้บริหารใหม่ด้วยการให้ลูกทีมของธนาขึ้นมารับตำแหน่งหน้าที่ในการดูแลแบรนด์แฮปปี้แทนเขา เช่นเดียวกันกับระบบรายเดือนหรือจดทะเบียนที่มีคนมารับตำแหน่งแทนสันติ เมธาวิกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารอีกคนหนึ่ง ซึ่งรับงานอื่นที่ใหญ่กว่าเช่นกัน

แม้ธนาจะยังคงรั้งตำแหน่งเดิมอย่างรองประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มงานพาณิชย์ แต่ซิกเว่ได้ให้เขาดูแลแผนกใหม่ที่ชื่อว่า "New Business" พร้อมกับภาระหน้าที่ในการมองหาธุรกิจใหม่ให้กับดีแทค ซึ่งเป็นบริษัทที่ไม่เคยมีบริษัทลูกอื่นๆ เลย ยกเว้นยูคอม ตลอดระยะเวลา 18 ปี ตั้งแต่ได้รับสัมปทานโทรศัพท์เคลื่อนที่และเริ่มดำเนิน ธุรกิจ

ตอนนี้ธนามีเพื่อนร่วมงานเพิ่มอีกคน เป็นเพื่อนร่วมรุ่นที่รู้จักกันมานานกว่า 15 ปี หลังจากชักชวนจากกสิกรไทย ด้วยดีกรีของการเป็นนักวิเคราะห์จากเมอร์ริล ลินช์ และบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ภัทรธนกิจ ที่ธนายังทำงานที่เอกธำรง

"จะว่าแปลกก็คงจะได้ ดีแทคเองไม่ค่อยซื้อบริษัทมาเป็นของเราเลย เราไม่เคยขยายไปทำธุรกิจอย่างอื่น อาจเป็นเพราะว่าตอนนี้ตลาดมันเริ่มเต็มขึ้นเรื่อยๆ เราเองก็เริ่มคิดเพื่อกระจายความเสี่ยงหารายได้ และรองรับการเติบโตในอนาคต ไม่งั้นเราจะเป็นบริษัทค่อนข้างเสี่ยงเกินไป เพราะทำแต่ธุรกิจเพียงอย่างเดียว ซึ่งคุณซิคเว่เองก็เปิดให้หมดว่าอยากจะรับอะไรก็ได้ แม้จะไม่เกี่ยวเนื่องกับ core business แต่ว่าตอนนี้ก็คงจะจำกัดอยู่ที่ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักของบริษัทก่อน ตอนนี้ก็เริ่มมองหาทีมเข้ามาร่วมทำงานในแผนกนี้อีก 4-5 คน วิธีการก็คล้ายๆ เดิม เหมือนกับการเริ่มทีมที่แบรนด์แฮปปี้ โดยผมจะหาทีมที่มาช่วยในเรื่องที่ผมไม่เชี่ยวชาญ

ผมเชื่อว่าอาจจะต้องล้มเหลวกับมันบ้าง ผมว่าทำได้บ้างล้มบ้าง ประสบความสำเร็จบ้าง ผมรู้สึกว่าเป็นมนุษย์มากกว่า เพราะว่าต่อไปในอนาคตคนเราจะชอบคนที่เป็นมนุษย์มากกว่าเป็นธรรมดา ก็ต้องมีล้มบ้าง ยิ่งธุรกิจใหม่อาจจะต้องมีล้มบ้าง เราจึงจะทำมันขึ้นมาใหม่ได้ง่ายๆ เมื่อเป็นเช่นนั้นผมจะเรียนรู้ก่อนว่า เมื่อเริ่มแรกจะเริ่มจากธุรกิจที่มีขนาดไม่ใหญ่มาก ลองผิดลองถูกกับมันเผื่อล้มเหลวจะได้เริ่มใหม่ได้ดียิ่งขึ้น ในระดับที่ใหญ่กว่าเดิม และจะได้ไม่ล้มเหลว"

และนี่คือหน้าที่และบทบาทใหม่อีกครั้งในดีแทค ในวันที่ทำงานเข้าปีที่ 11 ของธนา เธียรอัจฉริยะ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us