Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2550








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2550
ปักหมุดแล้วบิน             
โดย น้ำค้าง ไชยพุฒ
 


   
www resources

โฮมเพจ แอร์เอเชีย

   
search resources

ไทยแอร์เอเชีย, บจก.
ทัศพล แบเลเว็ลด์
Low Cost Airline




เมื่อกลางเดือนที่ผ่านมา เครื่องบินโบอิ้ง 737-300 ลำที่ 13 ของไทย แอร์เอเชีย ซึ่งมีลวดลายและข้อความ Amazing Thailand ติดไว้บนตัวเครื่อง พาบรรดาสื่อมวลชนหลายสิบชีวิตร่อนลงจอดที่พื้นรันเวย์ของสนามบินนครศรีธรรมราช เพื่อเป็นการโปรโมตเส้นทางบินใหม่ของสายการบินไทย แอร์เอเชีย

นอกเหนือจากที่บินไปแล้วหลายเส้นทางบิน ทั้งกรุงเทพฯ เชียงใหม่ เชียงราย อุบลราชธานี อุดรธานี หาดใหญ่ นราธิวาส กระบี่ ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี สิงคโปร์ มาเก๊า เซียะเหมิน ปีนัง โคตาคินาบาลู กัวลาลัมเปอร์ ฮานอย พนมเปญ ลังกาวี เซินเจิ้น โดยนครศรีธรรมราชเป็นทางบินเส้นทางล่าสุดที่ไทย แอร์เอเชีย เพิ่งเปิดบิน ไม่นับ รวมกับขอนแก่น ที่เคยบินเมื่อปีกลายและปิดตัวลงเพราะขาดทุน แต่เปิดให้บริการอีกครั้งในเดือน เดียวกันนี้

ปัจจุบันไทย แอร์เอเชีย มีฝูงบินเป็นของตนเอง 14 ลำ บินจริง 13 ลำ ที่เหลือเป็นเครื่องบินสำรอง มีไฟล์ตหรือจำนวนเที่ยวบินรวมกันทุกเส้นทางบินทั้งสิ้น 98 ไฟลต์ต่อวัน (หรือ 686 ไฟลต์ต่อสัปดาห์ 2,940 ไฟลต์ต่อเดือน) ขณะที่ทัศพล ซีอีโอของไทย แอร์เอเชีย ยังตระเวนเดินทางปักหมุด เพื่อส่งเครื่องบินลงรันเวย์ ในสถานที่ต่างๆ ในละแวกใกล้เคียงกับประเทศไทยไม่หยุดหย่อน

หลังจากประสบความสำเร็จในการส่งเครื่องบินไทย แอร์เอเชีย ไปลงจอดที่รันเวย์ของเซียะเหมิน ประเทศจีน ได้เป็นผลสำเร็จ โดยใช้เวลาในการติดต่อและยื่นเอกสารให้กับหน่วยงานที่ดูแลและกำกับการบินของจีนยาวนานถึง 8 เดือน ในเวลาต่อมาไม่นานทัศพลก็ส่งไทย แอร์เอเชีย ร่อนลงจอดที่เสิ่นเจิ้น เมืองเกิดใหม่ของจีน ที่ใครๆ ก็บอกว่า เศรษฐกิจกำลังเฟื่องฟูจนน่าหลงใหล

"เศรษฐกิจเมืองจีนตอนนี้ เงินมันดิ้น เคยเห็นคนดิ้นอยากจะใช้เงินหรือเปล่า ที่นี่แหละ จีน เกาหลี เวียดนาม มีเศรษฐีใหม่เกิดขึ้นมากมาย" ทัศพลบรรยายจนเห็นภาพและบอกได้ว่าเขากำลังใช้หมุดหลายอันปักไว้ที่แผ่นดินใหญ่แห่งนี้

ทัศพลบอกว่า หลังจากได้เรียนรู้การเจรจากับหน่วยงานการบิน ของจีน ศึกษารายละเอียดเอกสารและกฎระเบียบต่างๆ ซึ่งหนาเป็น ร้อยๆ หน้า อาศัยล่ามทุกครั้งในการเข้าพบและเจรจาขอเปิดเส้นทาง การบิน มีกฎหลายอย่างที่แม้จะทำงานสายการบินมาสองปีกว่าๆ ก็ยังไม่เคยได้สัมผัสแม้แต่น้อย จนถึงตอนนี้เขาก็ได้เส้นทางการบินใหม่มาแล้วสองเส้นทาง และเชื่อว่าจะเปิดเส้นทางใหม่ในจีนได้อีกหลายเส้นทางภายในปีหน้าและปีถัดๆ ไป ไม่ว่าจะเป็นกวางเจา เฉินตู ชงชิง ซัวเถา ไหหลำ คุนหมิง กุ้ยหลิน และเมืองทางใต้ของจีน ซึ่งกำลังจะทยอยเฟื่องฟูทางเศรษฐกิจอยู่เรื่อยๆ

ทัศพลมั่นใจถึงการขยายเส้นทางบินใหม่ของเขาว่าจะบินได้ไกล ยิ่งขึ้น เมื่อสั่งเช่าซื้อแอร์บัส A320 ใหม่เอี่ยมป้ายแดงจากโรงงานที่มีราคาหน้าตั๋วที่ 50 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยผ่านบริษัทไฟแนนซ์ในยุโรป สัญญาเช่า 20 ปี ผ่อนจ่ายรายเดือน จนกว่าจะครบ โดยไทย แอร์เอเชีย ทยอยสั่งซื้อให้ครบ 40 ลำ ภายในปี 2556 ซึ่งจะเป็นเงิน 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ไม่รวมถึงส่วนลดที่จะได้จากการเช่าซื้อจำนวนลำที่มากขึ้น หากคิดอัตราแลกเปลี่ยนที่ 1 เหรียญเท่ากับ 40 บาทแล้วจะมีมูลค่าในการเช่าซื้อเครื่องทั้งสิ้น 80,000 ล้านบาท

หากไม่เอ่ยถึงภาระหนี้สินตลอดระยะเวลา 20 ปีที่จะกลายเป็นสินทรัพย์ของบริษัทหากหมดสัญญาเช่าซื้อ การมีฝูงบินที่มากขึ้น ย่อมหมายถึงประสิทธิภาพในการแข่งขันที่สูงขึ้น

แอร์บัสลำใหม่มาพร้อมที่นั่งที่มากกว่า น้ำหนักตัวที่เบาทำให้ประหยัดน้ำมันกว่าในระยะทางที่เท่ากันเมื่อเทียบกับเครื่องบินลำเก่า ที่จะส่งคืนกลับไปและแทนที่ด้วยเครื่องบินใหม่ นอกจากนั้นยังบินได้ไกลกว่า

การบินได้ไกลกว่าทำให้ทัศพลสามารถปักหมุดเส้นทางบนแผนที่ได้ไกลกว่าเดิม โดยเกาหลี ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย บรูไน อินเดีย มัลดีฟส์ และประเทศอื่นๆ ในรัศมีการบินไม่เกิน 4 ชั่วโมงบินไป และ ชั่วโมงบินกลับ คือเป้าหมายที่เขาคาดหวังเอาไว้ เพราะกัปตันและพนักงานบริการบนเครื่องทั้งหมดไม่ต้องเป็นภาระกับบริษัทในแง่ของ ต้นทุนเรื่องที่พัก เบี้ยเลี้ยง และการบริหารจัดการอื่นๆ

เมื่อเครื่องลงจอดในชั่วโมงบินและระยะทางที่กำหนดบนแผนที่ คือ 4 ชั่วโมง 30 นาที คือการจัดการเครื่องเพื่อรอการบินในไฟลต์ขากลับ ข้อดีของสายการบินต้นทุนต่ำคือ การไม่เสิร์ฟอาหารฟรีให้กับลูกค้า นอกจากลูกค้าจะเสียเงินจ่ายค่าอาหารและขนมขบเคี้ยวเอง ไม่มีเครื่องบันเทิงเริงรมย์ทั้งวิทยุ และโทรทัศน์บนเครื่อง แถมยังใช้เครื่องบินลำเล็ก การขนกระเป๋าเข้าออกไม่ได้มากเท่ากับเครื่องบินลำใหญ่ ทำให้ไม่เป็นภาระในการบินไปในประเทศเป้าหมาย

"ตอนนี้ผมมีฮานอย 5 ไฟลต์ต่อวัน สิงคโปร์ 4 ไฟลต์ต่อวัน และจะเพิ่มอีก 1 ไฟลต์เป็น 5 เราไม่ได้แข่งขันกับสายการบินในนี้ แต่จะแข่งขันกับการเปิดเสรีทางการบินที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เราต้อง ทำตัวเองให้พร้อม เมืองไหนดีก็เปิดอย่างน้อยเมืองละไฟลต์ เมืองไหนดีค่อยเพิ่มจำนวนเที่ยวบิน เพราะหากเปิดเสรีทางการบินทั่วเอเชีย แล้ว สายการบินอื่นๆ ในภูมิภาคอื่นเข้ามาอาจจะทำให้ลำบากได้ ซึ่งไม่รู้เขาจะมาเมื่อไหร่ เราก็มองภาพให้เลวร้ายไว้ก่อน บินกันเป็นยุง มาตั้งในเมืองไทยเพิ่มอีก

แต่หากวันนั้นเราขนอยู่แล้ว 8-10 ล้านคน มีไฟลต์อย่างน้อย 200 ไฟลต์ต่อวัน ผมหวังว่าในอีก 5 ปี ผมจะมีเส้นทางเพิ่มขึ้นอีก 20 เส้นทาง ครอบคลุมทุกเมืองที่มีรันเวย์บินไปลงหมด ก็ถือว่าแข็งแรง คนที่ได้ประโยชน์สุดคือ คนไทย นี่คือเป้าหมาย เราก็จะเดินต่อไปอาจจะขลุกขลักบ้างช้าบ้าง แต่ก็พยายามที่จะเดินไปตามทางเดินที่วางไว้"

ทัศพลและฝ่ายการตลาดจะเดินทางไปยังประเทศและเส้นทาง ที่เขาสนใจ ใช้เวลาเดินดูตลาด ดูว่ามีคนจับจ่ายใช้สอยมากแค่ไหน เมืองน่าสนใจเพียงใด บวกกับข้อมูลตัวเลขที่หาได้ เมื่อตัดสินใจว่าจะปักหมุด ก็จะยื่นเอกสาร เมื่อผ่านก็จะทำการเปิดสำนักงานประจำ ประเทศ เลือกสถานที่ของสำนักงานประจำประเทศนั้นๆ ด้วยตัวเอง สัมภาษณ์พนักงานที่จะมาทำงานด้วยตนเอง ทั้งนายสถานี และพนักงานขายตั๋วประจำสำนักงานและที่สนามบิน

นี่คือภาระที่เขาบอกว่าไม่ได้เปลี่ยนไปจากเดิมเลยแม้แต่น้อย ต่อให้เป็นซีอีโอที่ถือหุ้นเพียง 1 เปอร์เซ็นต์ก่อนหน้านี้ หรือว่าซีอีโอที่ถือหุ้นของไทย แอร์เอเชีย ถึง 28.5 เปอร์เซ็นต์อย่างทุกวันนี้ก็ตามที

หมุดในมือของทัศพลคงมีอีกหลายสิบอัน รอคอยที่จะใช้ปักบนแผนที่แล้วสั่งเครื่องบินลำใหม่บินร่อนลงรันเวย์   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us