Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2550








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2550
"เวลา" สินทรัพย์มีค่าของวิชา             
โดย สุภัทธา สุขชู
 


   
www resources

โฮมเพจ เมเจอร์ซินีเพล็กซ์

   
search resources

เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป, บมจ.
วิชา พูลวรลักษณ์
Theatre




คงไม่ผิดนักที่จะเรียก "วิชา พูลวรลักษณ์" ว่าเป็นนักบริหารชั้นเซียน เพราะไม่ว่าสินทรัพย์ใดๆ เขาสามารถบริหารจัดการให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้นได้ ไม่เว้นแม้แต่ "สินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตน (intangible asset)" อย่างฐานลูกค้าที่เขายังสามารถเอาไปขายสร้างรายได้ให้กับกลุ่มเมเจอร์ฯ ได้อย่างเป็นชิ้นเป็นอัน

ความสามารถในการบริหารสินทรัพย์ของเขา พิสูจน์ได้จาก Market Cap. ของ MAJOR ณ วันที่ 21 สิงหาคม 2550 ที่มีสูงถึง 14,812.70 ล้านบาท รายได้และกำไรสุทธิครึ่งปีแรกกว่า 3.8 พันล้าน บาท และเกือบพันล้านบาท ตามลำดับ

จะมีก็แต่ "เวลา" สินทรัพย์ที่ทุกชีวิตมีมากหรือน้อยเท่ากัน ที่ต่อให้ "ผู้บริหารชั้นเทพ" ก็ยังไม่สามารถจะเพิ่มสินทรัพย์ตัวนี้ให้มากกว่า 24 ชม./วัน ได้

วิชาเข้าใจข้อจำกัดข้อนี้ของสินทรัพย์ที่ชื่อว่า "เวลา" เป็นอย่างดี นี่จึงกลายเป็นที่มาของคอนเซ็ปต์บริการของเครือเมเจอร์ฯ ที่มี keyword อยู่ที่คำว่า "สะดวกรวดเร็ว"

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจน ได้แก่ การจองตั๋วผ่าน Call Center ผ่านเว็บไซต์ หรือเครื่องออกตั๋วอัตโนมัติ ฯลฯ เหล่านี้ ล้วนเป็นนวัตกรรมที่วิชาสรรหามาช่วยประหยัดเวลาของลูกค้าในการรอคิวซื้อตั๋ว

การขยายสาขาและเลือกทำเลที่เดินทางสะดวกก็เป็นอีกกลวิธี ในการประหยัดเวลาให้ลูกค้า

หากเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องมีการเสียเวลารอรอบฉายหนัง วิชาก็มี กิจกรรมบันเทิงในอาณาจักรโรงหนังให้ลูกค้าได้ "ฆ่า" เวลา ทั้งโบว์ลิ่ง ร้องคาราโอเกะ เล่นสเกตน้ำแข็ง (สาขาเอสพลานาด) ทานอาหารที่ McDonald's หรือออกกำลังกายในแคลิฟอร์เนีย ฟิตเนส เป็นต้น

ทว่า สำหรับวิชา เขามีวิธีในการบริหาร "เวลา" ของตัวเอง ให้ตัวเองได้อย่างไร...

หลังจาก "ผู้จัดการ" ติดต่อนัดหมายสัมภาษณ์ผู้ก่อตั้งอาณาจักรเมเจอร์ฯ อาทิตย์แรก เจ้าหน้าที่อาวุโส ฝ่ายประชาสัมพันธ์ ที่วิชายกให้เป็น "ผู้จัดการส่วนตัว" ก็รีบติดต่อกลับมาว่า "บอสไปประชุมกับผู้บริหาร McDonald จากทั่วโลก ที่ออสเตรเลีย"

อาทิตย์ถัดมา เธอคนเดิมติดต่อมาอีกครั้ง พร้อมกับข่าวร้ายของทีม "ผู้จัดการ" ว่า วิชาไปสัมมนาผู้บริหารระดับสูงของกลุ่มเมเจอร์ฯ ประจำปีที่ต่างจังหวัด

เข้าอาทิตย์ที่ 3 แห่งการรอคอย จู่ๆ เจ้าหน้าที่สาวแจ้งว่า "พรุ่งนี้บอสมีเวลาว่างให้ชั่วโมงครึ่งในการสัมภาษณ์และถ่ายรูป จากนั้นบอสมีนัดหมายธุรกิจนอกออฟฟิศ"

ห้องทำงานห้องเดิมที่ "ผู้จัดการ" เคยเข้าไปสัมภาษณ์เมื่อ ครั้งก่อน ทันทีที่ผู้บริหารระดับรองคุยปรึกษากับวิชาเสร็จสรรพ ก็ได้เวลานัดสัมภาษณ์พอดี

"พรุ่งนี้ (9 สิงหาคม 2550) ก็เปิดสาขาพัทยา (เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์) ตอนแรก นัดว่าจะไปตรวจ site ที่พัทยาวันอาทิตย์นี้ ทีมงานบอก บอส วันอาทิตย์นี้วันแม่ ผมก็เลื่อนไปวันจันทร์ ทีมงานก็บอกวันหยุดนะ ผมบอกไปเถอะวันหยุด รถว่างๆ" วิชาเล่าพลางหัวเราะพลาง

ตารางที่อัดแน่นด้วยนัดหมายการประชุมบอร์ดของบริษัทในเครือที่มีมากกว่า 20 บริษัท และบริษัทที่วิชาถือในนามส่วนตัว อย่าง "แมคไทย" ซึ่งเกือบทุกบริษัทจะมีการประชุมอย่างน้อยเดือนละครั้ง อีกทั้งยังมีนัดหมายพบปะกับนักลงทุนที่จัดขึ้นเป็นครั้งคราว

นอกจากนี้ยังมีตารางการประชุมที่เกี่ยวกับตลาดหุ้น MAI ในฐานะที่ปรึกษา และนัดหมายเจรจาทางธุรกิจกับเหล่านักธุรกิจที่อาจกลายเป็นพันธมิตรในที่สุด หรือพบปะสังสรรค์กับเพื่อนฝูงในแวดวงธุรกิจ

เทียบกับเมื่อ 2-3 ปีก่อน ตารางนัดหมายของวิชาก็แน่นเอียด ไม่ต่างกัน ทั้งที่วิชาก้าวลงจากตำแหน่ง CEO มาแล้วร่วมปีครึ่ง รั้งเพียงตำแหน่งประธานกรรมการบริหาร แต่ดูเหมือนว่า เขาก็ยังคงยุ่งอยู่กับงานเหมือนเดิม

การลงจากตำแหน่ง CEO แห่งเครือเมเจอร์ ที่ตนเองคลุกคลี ปลุกปั้นมากับมือ วิชาให้เหตุผลว่าเป็นเพื่อความยั่งยืนขององค์กร

"เวลาคนมองเข้ามาในเมเจอร์ฯ ก็จะเห็นแต่หน้าผมใหญ่เต็มเลย แต่มันไม่ใช่สถาบัน สิ่งที่ผมกำลังทำคือ เปลี่ยน people มาเป็น system เราไม่ต้องการให้ยึดติดกับคน ไม่อยากให้คนมองเมเจอร์เป็น Mr.วิชา หรือวิชาคัมพะนี มันเป็นการบอกทีมงานด้วยว่า เราจะมองตัวเองเป็นสถาบัน เราควรจะเตรียมพร้อมไว้ แต่ก็คงต้องใช้เวลา ผมมองไว้ที่ 5 ปี" วิชาหวังเช่นนั้น

กฤษณัน งามผาติพงศ์ อดีตรองกรรมการผู้อำนวยการสายงาน การตลาด บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส ถูกแปะมือให้เข้ามารับตำแหน่ง CEO แทนวิชาเป็นคนแรก

หลังเข้ามาเติมเต็มระบบไอทีให้กับอาณาจักรของเมเจอร์ได้เพียง 1 ปีกับอีก 2 เดือน กฤษณันก็ลาออก หลีกทางให้วิชาดันปณิธาน เศรษฐบุตร อดีตผู้บริหารจากยัม เรสเทอรองตส์ อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) เข้ามาแทนที่ หลังจากที่ปณิธานเองก็ได้ชิมลางโลกแห่งธุรกิจเอ็นเตอร์เทนเมนต์ของเมเจอร์ฯ อยู่ใน "เมเจอร์ ซีนีแอด" มาก่อนแล้ว

การสรรหามืออาชีพมาจากสายงานธุรกิจที่แตกต่าง แต่ไม่หลุดกรอบไอเดียแห่งธุรกิจไลฟ์สไตล์ ไม่ได้มีแค่ตำแหน่ง CEO แต่ยังเห็นได้ในตำแหน่งบริหารระดับสูงอื่นๆ

การสร้างคนใหม่ๆ ขึ้นมาแทนที่ตัวเอง เป็นรากฐานในการสร้างความเป็นสถาบันให้กับเมเจอร์ฯ แต่ทั้งนี้ วิชายังต้องมีกลยุทธ์สำคัญอีกประการ ก็คือการสร้าง Team Leadership เพราะเมื่อลูกทีมมีความเป็นผู้นำสูง ทีมก็จะมีความเข้มแข็ง เมื่อทีมเข้มแข็ง วิชาก็เชื่อว่า เขาอาจจะผ่อนแรงลงได้

"ถ้าผมยังนั่งอยู่ในที่ประชุม 20 คน เราก็หน้าใหญ่เบ้อเร่อ ลูกน้องก็ไม่กล้าพูด แทนที่ลูกน้องจะพูด 50% ก็เหลือ 20% หรือพูดแค่ 50% แทนที่จะพูดได้ 80% ฉะนั้น ผมจะเข้าประชุมแค่ครึ่งเดียว เข้าแค่เดือนละครั้งเฉพาะที่สำคัญก็ยังได้ เพียงแต่เราต้องมี format เพื่อที่จะแน่ใจว่าคุยเรื่องเดียวกัน"

ตัวเลขเป้าหมายในรูปแบบระดับความพอใจของลูกค้า อัตรา การเติบโต อัตราผลตอบแทน และมาตรวัดผลการทำงานอื่นๆ ถูกยกมาเป็น "format"

ในการเข้าร่วมประชุมบอร์ดทุกครั้ง วิชาบอกให้ที่ประชุมควบคุมประเด็นที่จะพูดให้มีแต่ประเด็นสำคัญที่เป็น key-points โดยผู้เข้าร่วมประชุมกับวิชาในแต่ละนัดจะต้องเป็น key-persons ในเรื่องที่ประชุม ด้วยกลวิธีเช่นนี้จะช่วยประหยัดเวลาอันมีค่าและมีจำกัดของเขาได้มาก

"ถ้าคุยไปแล้วไม่ได้ประเด็นสำคัญ หรือคุยยังไงก็ไม่เห็นภาพ ผมจะบอกไปเลยว่า ดูแล้วคงใช้เวลาเยอะ ช่วยย่อยมาใหม่ แล้วมาสรุปให้ผมฟังว่าเป็นยังไง ไม่อย่างนั้นมันเสียเวลาผม และเขาก็จะได้กลับไปทำการบ้านมาใหม่อีกที"

เมื่อลดชั่วโมงการประชุมลงได้ โอกาสที่จะเอาเวลาที่เหลือไปคิดไอเดียใหม่ๆ ก็จะมีมากขึ้น เมื่อวิชามีเวลาคิดต่อยอดธุรกิจมากขึ้น ก็เชื่อได้ว่า โปรเจ็กต์ใหม่ๆ ของเมเจอร์ฯ จะทยอยออกมาเป็นดอกเห็ด ยามหน้าฝน

แม้วิชาจะพอใจกับการเป็น Think-tank มากกว่า แต่ในการประชุมนัดสำคัญอย่างการประชุม Financial Committee ก็เป็นเรื่องจำเป็นที่วิชาเข้าทุกครั้งโดยไม่ยอมพลาด

"มันเหมือนกับการเช็กความดัน วัดคอเลสเตอรอล ไตรกรีเซอไรด์ ฯลฯ ที่ต้องทำอย่างสม่ำเสมอจะได้มีสุขภาพที่ดี หรืออย่างน้อยก็จะได้รู้ว่า เราป่วยตรงไหน"

นอกจากนี้ยังมีการประชุมสำคัญๆ อย่าง Location Committee, Marketing Committee หรือ Construction Committee ในบาง session ที่สำคัญหรือถูกร้องขอให้เข้าร่วมประชุมเป็นที่ปรึกษา

"ไม่ใช่ว่าผมไปลงทุนหลายบริษัทแล้วจะต้องทำเอง 100% มันทำไม่ได้หรอก เพราะจะใช้เวลาเยอะและผมก็ไม่ได้เก่งไปหมดสู้ปล่อยมืออาชีพที่มีอยู่แล้วบริหารไป เราแค่มองคอนเซ็ปต์ แล้วไปไกด์เขา เสริมเขาในแต่ละ committee แทนที่จะเป็น daily operation แค่นี้ก็มีเวลาไปคิดต่อยอดทำอย่างอื่นแล้ว"

เวลาเป็นทรัพยากรที่ทุกคนมีเท่ากัน แต่ทว่า แต่ละคนอาจจะเห็นคุณค่าของเวลาไม่เท่ากัน บางคนอาจเห็นเวลาเป็นเพียงจังหวะ ของเข็มนาฬิกาที่มีหน้าที่ต้องเดินไปเรื่อยๆ ขณะที่เวลาแต่ละนาทีของบางคนอาจสร้างรายได้หลักล้านเลยทีเดียว


"ผมก็มีแค่ 24 ชั่วโมงเหมือนคนอื่น แต่ผมเชื่อว่า เวลาจะเหลือ อยู่ที่เราทำ คุณอาจจะคิดว่าผมทำงานเยอะ แต่ถ้าชั่วโมงการประชุม ลดลงได้อีก ผมก็มีเวลาเดินสายไปต่างประเทศ มีเวลาไปตรวจโรงหนัง ดูธุรกิจ ดูลูกค้า เห็นไหมว่าจริงๆ ผมก็ยังทำได้อีก" เขายิ้มอย่างไม่เห็นความเหน็ดเหนื่อยในแววตา

วิชาเล่าว่า หากได้ไปดูหนังกับลูก เขาก็จะปล่อยให้ลูกเลือกหนังที่อยากดู ส่วนตัวเขาเองจะเดินเข้าไปดูทุกโรง โรงละ 15-20 นาที ไม่ใช่การไปดูหนังแต่เป็นการไปดูความเรียบร้อยของโรงหนังมากกว่า

"ชีวิตผมช่วงนี้ลำบากเหมือนกัน เพราะไปสัมมนาต่างประเทศ ก็บ่อย ไปดู site ต่างจังหวัดบ้าง ผมคงไม่มีเวลาเยอะมากสำหรับลูกๆ แต่ก็เชื่อว่าเยอะพอที่จะทำให้ผมกับลูกใกล้ชิดกันมาก"

วิชาถือว่าการจัดสรรเวลาให้กับครอบครัวก็เป็นอีก "job" ที่ต้องบริหารเวลาให้เกิดคุณค่าสูงที่สุด เหมือนๆ กับการบริหารเวลา สำหรับธุรกิจ

ก็น่าสงสัยอยู่ว่า... ทุกวันนี้ จะมีสักชั่วขณะไหมที่วิชาจะยอมปล่อย "เวลา" ให้ผ่านไปอย่างไร้ค่า หรือมี "เวลาว่าง" ให้ตัวเองอย่าง แท้จริง!?!   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us