Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2550








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2550
ลอนดอน VS นิวยอร์ก             
 


   
search resources

Financing




ลอนดอนท้าชนนิวยอร์ก ชิงเมืองหลวงการเงินโลก ใครจะคว้าชัยในศึกชิงเมืองหลวงการเงินโลก แชมป์หุ้น IPO และราชาตราสารอนุพันธ์อย่างลอนดอน หรือเจ้าแห่งวาณิชธนกิจอย่างนิวยอร์ก ท่ามกลางผู้ท้าชิงหน้าใหม่ๆ ที่จ้องจะลงสนาม

ลอนดอนคิดว่าตนกำลังกำชัยเหนือนิวยอร์ก ในศึกชิงนครหลวง แห่งการเงินโลก เงินทุนต่างประเทศจากตะวันออกกลาง รัสเซีย อินเดีย และแม้กระทั่งจากสหรัฐฯ เอง ที่หลั่งไหลเข้าสู่นครหลวงของอังกฤษแห่งนี้ เป็นจำนวนถึง 1 แสนล้านดอลลาร์ต่อปี คือที่มาของความมั่นใจ ในตัวเองอย่างเปี่ยมล้นของลอนดอน

Gordon Brown นายกรัฐมนตรีคนใหม่ของอังกฤษ ประกาศชัยชนะของลอนดอนเหนือนิวยอร์ก หลังรับตำแหน่งผู้นำอังกฤษเพียง ไม่กี่วันว่า ทุกวันนี้กว่า 40% ของหุ้นต่างประเทศจากทั่วโลกซื้อขายกันที่ลอนดอน มากกว่าที่นิวยอร์ก และกว่า 30% ของการแลกเปลี่ยน เงินตราทั่วโลกก็เกิดขึ้นที่ลอนดอน ซึ่งมากกว่านิวยอร์กกับโตเกียวรวมกัน ในขณะที่นิวยอร์กกับโตเกียวพึ่งพิงตลาดสหรัฐฯ และตลาดเอเชียเป็นหลัก แต่ 80% ของธุรกิจในลอนดอนมาจากทั่วโลก พร้อม ประกาศว่ายุคทองของลอนดอนได้มาถึงแล้ว

แต่นิวยอร์กก็มิได้กำลังเข้าสู่ยุคมืดแต่อย่างใด แม้ว่ารายงานของ McKinsey เมื่อต้นปีที่ผ่านมา จัดทำขึ้นตามคำสั่งของ Michael Bloomberg นายกเทศมนตรีนิวยอร์ก และ Charles Schumer วุฒิสมาชิกรัฐนิวยอร์ก จะพบจุดอ่อนสำคัญในฐานะศูนย์กลางการเงิน โลกของนิวยอร์ก คือคดีความฟ้องร้องธุรกิจ และกฎเกณฑ์ที่มากเกิน ไป รายงานนี้เตือนด้วยว่า นิวยอร์กจะสูญเสียฐานศูนย์กลางการเงินโลกภายในเวลาหนึ่งทศวรรษ หากไม่รีบกำจัดจุดอ่อนดังกล่าวจะทำให้ ทั้งทางการนิวยอร์ก และรัฐบาลกลางสหรัฐฯ ต่างตื่นตัวที่จะเพิ่มความ สามารถในการแข่งขันของตลาดทุนสหรัฐฯ และคิดว่าคณะกรรมการ กำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐฯ หรือ SEC อาจต้องทบทวนวิธีการทำงานใหม่

อย่างไรก็ตาม ลอนดอนดูเหมือนจะแซงหน้านิวยอร์กไปแล้วจริงๆ ในแง่ยอดรวมเงินทุนที่ระดมได้โดยบริษัทต่างชาติ ในปี 2001 หุ้น IPO ของบริษัทชั้นนำระดับโลก 12 ใน 20 แห่ง เลือกที่จะเข้าจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหุ้นสหรัฐฯ แต่ปีที่แล้ว หุ้น IPO ชั้นนำของโลกที่เข้าจดทะเบียนในนิวยอร์กมีเพียง 2 แห่ง ขณะที่ตลาดหุ้น AIM น้องใหม่มาแรงของลอนดอน กลับสามารถระดมหุ้น IPO ได้มากเท่ากับตลาด Nasdaq ของสหรัฐฯ ในปีที่แล้ว ส่วนรายงานของ MasterCard ในเดือน มิถุนายนปีนี้ก็ระบุว่า ลอนดอนนำหน้านิวยอร์ก ไปแล้วในฐานะศูนย์กลางการพาณิชย์ของโลก

ในขณะที่นิวยอร์กพึ่งพิงแต่เศรษฐกิจสหรัฐฯ ซึ่งกำลังซวดเซเป็นหลัก แต่ลอนดอน กลับขี่เสือตัวใหญ่กว่านั้น นั่นคือเศรษฐกิจโลก ที่กำลังรุ่งเรือง ในขณะที่นิวยอร์กถูกดึงรั้งด้วย กฎหมายเพิ่มความเข้มงวดด้านบรรษัทภิบาล Sarbanes-Oxley ปี 2002 และกฎเกณฑ์ทาง การเงินที่เพิ่มขึ้นยุคหลังบริษัทยักษ์ใหญ่ Enron ล่มสลาย ลอนดอนกลับเริ่มใช้กฎเกณฑ์ใหม่ที่เบากว่าเดิมและยืดหยุ่นมากกว่า ทั้งยังง่าย ต่อการทำธุรกิจ และโดยปราศจากอุปสรรคด้านเชื้อชาติ สกุลเงิน หรือแม้แต่ระบบบัญชี ในขณะที่สหรัฐฯ สร้างกำแพงหลังเหตุวินาศ กรรมช็อกโลก 9/11 ลอนดอนกลับเปิดกว้างและยินดีต้อนรับต่างชาติ ทั้งๆ ที่อังกฤษเองก็เผชิญภัยคุกคามจากการก่อการร้ายเช่นเดียว กับสหรัฐฯ

คดีความฟ้องร้องทางธุรกิจมากมายนับเป็นอุปสรรคอีกอย่างหนึ่งของสหรัฐฯ แต่อังกฤษกลับมีระบบการคลังที่ดึงดูดชาวต่างชาติ เช่น ชาวต่างชาติที่ไม่มีภูมิลำเนาอย่างเป็นทางการในอังกฤษ จะเสียภาษีเพียงรายได้ ที่เกิดขึ้นในอังกฤษ แต่ไม่รวมถึงรายได้ที่ได้จากทั่วโลก

ลอนดอนยังแซงหน้านิวยอร์กในด้านอื่นๆ แม้จะไม่ทั้งหมด ลอนดอนกลายเป็นแม่เหล็กดึงดูดบริษัทจากประเทศตลาดเกิดใหม่ ซึ่งกำลังต้องการระดมทุนในต่างประเทศ ลอนดอนยังเป็นศูนย์กลางการเงินที่สำคัญที่สุด ของยุโรป และเป็นผู้นำโลกในด้านตราสารอนุพันธ์ อัตราแลกเปลี่ยนและการค้าโลหะ ลอนดอนยังกำลังรุ่งเรืองในการลงทุนในหุ้นนอกตลาด (private equity) และกองทุนเก็งกำไร

อย่างไรก็ตาม นิวยอร์กยังคงเหนือกว่า ลอนดอน ในแง่ของยอดรวมเงินทุนที่บริหารโดยบริษัทจดทะเบียนในตลาดนิวยอร์ก และ เหนือกว่าในด้านขนาดของผลตอบแทน แต่ในขณะที่เงินทุนกำลังไหลอย่างอิสรเสรีมากขึ้นไปทั่วโลก และการแข่งขันชิงศูนย์กลางการเงินที่ร้อนแรงขึ้นเรื่อยๆ นิวยอร์กก็จำเป็น ต้องสู้แม้เพียงเพื่อจะรักษาตำแหน่งเดิมไว้เท่านั้น

ไม่ใช่ทุกอย่างที่จะเป็นใจให้ลอนดอน ในขณะที่ตลาดการเงินต่างๆ ในโลกต่างต้องปรับตัวรับกับโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว TNT บริษัทจัดส่งไปรษณีย์และพัสดุด่วนของเนเธอร์แลนด์ ถอนตัวออกจากตลาดหุ้นลอนดอน เมื่อ 1 ปีก่อน ตามด้วยการถอนตัว จากตลาดหุ้นนิวยอร์กเมื่อไม่นานมานี้ แม้ว่า TNT จะยังคงพึ่งพิงนักลงทุนระหว่างประเทศ โดยเฉพาะนักลงทุนสถาบันของสหรัฐฯ แต่โลกที่เปลี่ยนแปลงไปในทุกวันนี้ ซึ่งสามารถซื้อขายหุ้นทางอิเล็กทรอนิกส์และวิธีการที่ทันสมัยอื่นๆ ทำให้ TNT ของเนเธอร์แลนด์หมดความจำเป็นที่จะต้องไปจดทะเบียนในตลาดหุ้นนอกประเทศให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย

และนับตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นมา จำนวนบริษัทต่างชาติที่จดทะเบียนในตลาดหุ้นลอนดอน ลดลงเกือบ 200 แห่ง หรือคิดเป็น 40% และอีกหลายแห่งถอนการจดทะเบียนด้วยเหตุผลเดียวกับ TNT ซึ่งรวมถึงบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Nestle และ Nokia

ส่วนสาเหตุที่ลอนดอนเป็นแชมป์ออกหุ้น IPO แซงหน้านิวยอร์ก เป็นเพราะลอนดอนชำนาญในการดึงดูดบริษัทขนาดเล็กหลายร้อยแห่ง จากทั่วโลก แม้กระทั่งจากสหรัฐฯ โดยเฉพาะการดึงเข้ามาในตลาด AIM ตลาดทุนน้องใหม่ของลอนดอนที่กำลังมาแรง นอกจากนี้ลอนดอน ยังรุกไปถึงรัสเซียและชาติที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของอดีตโซเวียตประมาณ 17% ของหุ้น IPO ในตลาดลอนดอนเมื่อปีก่อน มาจากหุ้นน้องใหม่อย่าง Rosneft รัฐวิสาหกิจผูกขาดน้ำมันของรัสเซีย ซึ่งกลายเป็นบริษัท น้ำมันที่ใหญ่ที่สุดของรัสเซีย หลังจากรับซื้อสินทรัพย์ของ Yukos บริษัทน้ำมันคู่แข่งในภาคเอกชนของรัสเซีย ที่ถูกทางการรัสเซียอับเปหิออกนอกวงโคจรของธุรกิจ

แต่ศึกชิงเมืองหลวงการเงินโลกระหว่างลอนดอนกับนิวยอร์กเพิ่งเริ่มเครื่องร้อนเท่านั้น ตลาดหุ้นนิวยอร์กหรือ NYSE และตลาด Nasdaq กำลังรุกอย่างหนักโดยควบรวมกิจการกับตลาดทุนอื่นๆ ในยุโรปที่เป็นคู่แข่งโดยตรงของลอนดอน ด้วยความช่วยเหลือจากรัฐบาลสหรัฐฯ โดยล่าสุด SEC ยอมผ่อนคลายกฎหมาย Sarbanes-Oxley ในมาตรา 404 ที่กำหนดให้ใช้ผู้สอบบัญชีภายนอกตรวจสอบ การควบคุมภายใน ซึ่งเป็นมาตราที่สร้างความขัดแย้งและภาระค่าใช้จ่ายให้แก่ธุรกิจมากที่สุด

อันที่จริง การสรุปว่าลอนดอนกับนิวยอร์กกำลังทำสงครามชิงศูนย์กลางการเงินโลก อาจไม่ถูกต้องนัก เพราะความชำนาญและเม็ดเงินที่อยู่เบื้องหลังความรุ่งเรืองของลอนดอน แท้ที่จริงแล้วก็มาจากสหรัฐฯ วาณิชธนกิจชั้นนำ 4 ใน 5 แห่งของยุโรปในปีที่แล้ว เป็นวาณิชธนกิจของสหรัฐฯ และนักลงทุนสถาบันของสหรัฐฯ เป็นผู้ลงทุน รายใหญ่ในหุ้นที่ซื้อขายในตลาดลอนดอนและตลาดอื่นๆ ในยุโรป โดยผ่านการซื้อขายหลักทรัพย์โดยตรง (private placement) ซึ่งไม่อยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ของ SEC โดยในปีที่แล้ว ยอดรวมมูลค่าการซื้อ ขายหลักทรัพย์โดยตรงดังกล่าว สูงถึง 137,700 ล้านดอลลาร์ หรือสูงกว่าหุ้น IPO ในตลาดนิวยอร์กซึ่งระดมทุนได้เพียง 40,000 ล้าน ดอลลาร์ถึงกว่า 3 เท่า

ดังนั้น คำถามจึงไม่ได้อยู่ที่ใครจะชนะระหว่างนิวยอร์กกับลอนดอน แต่อยู่ที่ตลาดทั้งสองจะต้องรักษาตำแหน่งและหาทางเจริญ เติบโตต่อไปให้ได้ ในขณะที่ผู้ท้าชิงหน้าใหม่ๆ จากทั่วโลก ต่างก็จ้อง จะเป็นศูนย์กลางการเงินโลกเช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นมุมไบ เซี่ยงไฮ้ วอร์ซอ ดูไบ และเซาเปาโล และต่างก็กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วทั้งในด้านมูลค่าและความทันสมัย และกำลังเป็นที่จับตามองอย่างใกล้ชิด ของวาณิชธนกิจทั่วโลก

นักวิเคราะห์บางคนเห็นว่า ลอนดอนมีพลังสร้างสรรค์ แต่นิวยอร์กยังคงเป็นแหล่งรวมเงินทุนถึงครึ่งหนึ่งของเงินทุนทั่วโลก นักวิเคราะห์คนอื่นๆ เห็นว่านิวยอร์กติดลมบนไปแล้ว ส่วนลอนดอนกำลัง รุ่งเรือง ขณะที่เซี่ยงไฮ้และดูไบกำลังจะมาแรง นักวิเคราะห์บางคนก็ชี้ว่า ศูนย์กลางการเงินโลกไม่จำเป็นต้องมีแห่งเดียว แต่อาจจะมีได้ ถึง 4-5 แห่ง รวมทั้งสามารถมีศูนย์กลางระดับรองลงมาอีกหลายแห่งได้ แต่การจะไปถึงจุดนั้นต้องใช้เวลา และขึ้นอยู่กับสภาวะเศรษฐกิจโลก

จุดอันตรายสำคัญจุดหนึ่งของลอนดอน คือ พึ่งพิงเศรษฐกิจโลกมากเกินไป ทำให้หากเศรษฐกิจโลกอยู่ในภาวะขาลง หรือมีการปรับฐานครั้งใหญ่ในตลาดทุนต่างๆ ของโลก จะกระทบลอนดอนทันที ภายในเวลาเพียงไม่กี่วัน ส่วนจุดอ่อนสำคัญของนิวยอร์กคือกฎเกณฑ์ ที่มากเกินไป ซึ่งทำให้ความสามารถในการแข่งขันลดลง

ในปีนี้ตลาดหุ้นนิวยอร์กได้ควบรวมกับ Euronext บริษัทฝรั่งเศส ซึ่งรวมตลาดหุ้นปารีส อัมสเตอร์ดัม บรัสเซลส์ และลิสบอน เข้าด้วยกัน ซึ่งเป็นการเพิ่มทางเลือกให้แก่บริษัทที่ต้องการระดมทุนจากต่างประเทศ และทำให้มีจุดขายที่แข็งแกร่งที่เรียกว่า SOX-less listing หมายถึงโอกาสการเข้าสู่ตลาดหุ้นที่เชื่อมโยงกับตลาดหุ้นนิวยอร์ก แต่ไม่ต้องถูกตรวจสอบโดย SEC และไม่ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายบรรษัทภิบาล Sarbanes-Oxley ส่วน Nasdaq ก็กำลังพยายาม จะควบรวมกิจการกับตลาด OMX ในกรุงสตอกโฮล์ม ซึ่งเป็นตลาด ที่รวมตลาดหุ้น 7 แห่งในยุโรปเหนือ

อย่างไรก็ตาม สหรัฐฯ ยังคงพลาดการออกหุ้น IPO รายใหญ่ สุด 3 รายของปีนี้คือ หุ้นของ Rosneft ซึ่งเลือกตลาดลอนดอนและ ธนาคารจีนอีก 2 แห่ง ซึ่งขายหุ้น IPO ที่ตลาดหุ้นฮ่องกง

ด้านลอนดอนพยายามชูจุดขายสำคัญ คือ กฎเกณฑ์ด้านบรรษัทภิบาลของตนเป็นแบบอิงหลักการ ซึ่งยืดหยุ่นกว่าแบบอิงกฎหมาย หรือกฎเกณฑ์ที่เคร่งครัดตายตัว และผู้คุมกฎของลอนดอนไม่เหมือน SEC ของสหรัฐฯ ที่ใช้กฎเกณฑ์ชุดเดียวกับบริษัททุกแห่งที่ต้องการเข้าจดทะเบียนในตลาดโดยไม่มีการยืดหยุ่น

แต่จุดขายของลอนดอนหรือนิวยอร์กจะโดนใจบริษัทมากกว่า กัน ก็ขึ้นอยู่กับความต้องการของแต่ละบริษัท บริษัทจีนอย่างเช่น Suntech Power ดูเหมือนจะยังชอบนิวยอร์กมากกว่าลอนดอน ในฐานะแหล่งระดมทุนจากต่างประเทศและบางบริษัทก็เมินทั้ง NYSE และตลาดหุ้นลอนดอน แต่เลือกที่จะลงทุนในตลาดน้องใหม่มาแรงอย่าง AIM ของลอนดอน

AIM เป็นจุดขายใหญ่อีกจุดของลอนดอน โดยเน้นที่บริษัทขนาด กลางและขนาดย่อม ซึ่งยากที่จะเข้าระดมทุนในตลาดหุ้นได้ การระดม ทุนผ่าน AIM มีขั้นตอนที่ง่าย ไม่ต้องมีหนังสือชี้ชวน ไม่มีการกำหนด ขั้นต่ำของการออกหุ้น IPO และไม่ต้องแสดงประวัติทางการเงิน บริษัท ที่จดทะเบียนใน AIM ยังไม่ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของ Financial Services Authority ผู้คุมกฎของลอนดอน โดย AIM ใช้วิธีให้มีผู้ค้ำประกัน ซึ่งจะต้องเป็นบริษัทการเงินที่ได้รับอนุญาตที่เรียกว่า nomad หรือ nominated advisor หากบริษัทที่จดทะเบียนในตลาด AIM ทำสิ่งที่ผิดพลาด บริษัทที่ค้ำประกันก็จะต้องเสี่ยงกับการสูญเสียชื่อเสียง จุดขายที่สำคัญอีกอย่างของ AIM คือสภาพคล่อง บริษัทใน AIM สามารถระดมทุนตามที่ต้องการได้อย่าง รวดเร็ว

Nasdaq ซึ่งล้มเหลวในการพยายามเสนอซื้อตลาดหุ้นลอนดอน เมื่อปีกลายได้รับผลกระทบหนักสุดจาก AIM แต่ Nasdaq ก็ไม่ยี่หระ โดยอ้างว่า ไม่เคยสนใจบริษัทเล็กๆ ที่มีมูลค่าเพียง 5-10 ล้าน และหันไปให้ความ สำคัญกับการเสนอขายหุ้นโดยตรงแก่นักลงทุน รายใหญ่ที่เรียกว่า 144A private placement ซึ่งมีมูลค่าสูงกว่า โดย Nasdaq ได้สร้างรูปแบบการซื้อขายใหม่เพื่อรองรับธุรกิจนี้โดยเฉพาะ ในขณะที่ตลาดหุ้นนิวยอร์กกลับให้ความสำคัญกับหุ้นขนาดเล็กมากกว่า Nasdaq หลังจากที่ควบรวมกับ Euronext ทำให้ NYSE สามารถรับบริษัทขนาดเล็กของยุโรปเข้าตลาด ซึ่งเท่ากับเป็นการท้าทาย AIM โดยตรง แต่ลอนดอนก็หาได้อยู่นิ่งเฉย และได้ตกลงที่จะซื้อ ตลาดหุ้นอิตาลี รวมทั้งทำโรดโชว์ที่จีนและอินเดีย เป้าหมายต่อไปคือบราซิล

จากการล้มละลายของสถาบันการเงิน ยักษ์ใหญ่ของอังกฤษอย่าง BCCI และธนาคาร Barings ในช่วงทศวรรษ 1990 และความล้มเหลวของ Canary Wharf ที่ลอนดอนตั้งใจสร้างขึ้นเป็นทางเลือกใหม่นอกเหนือจาก the City อันเป็นเขตศูนย์กลางการเงินของลอนดอน มาถึงวันนี้ลอนดอนสามารถพลิกฟื้นโชคชะตา ได้สำเร็จด้วยการมีเป้าหมายที่ชัดเจนในการดึงดูดธุรกิจจากทั่วโลกให้เข้าไปยังลอนดอน ภายใต้กรอบคิดที่ชัดเจนว่า ธุรกิจระหว่างประเทศเป็นส่วนสำคัญของเศรษฐกิจของอังกฤษ ดูเหมือนว่าในที่สุด ลอนดอนก็ได้ค้นพบสูตรสำเร็จมหัศจรรย์ของตลาดทุน ซึ่งจำต้องเปลี่ยนแปลงตัวเองให้เปิดกว้างรับธุรกิจจากทั่วโลก คำถามคืออีกนานเท่าใด นิวยอร์ก กับเมืองอื่นๆ ที่ต่างก็ปรารถนาจะเป็นนครหลวง การเงินโลก จึงจะตามมาทันลอนดอน

เสาวนีย์ พิสิฐานุสรณ์ แปลและเรียบเรียง
ฟอร์จูน 6 สิงหาคม 2550   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us