|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
ภาวะการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์วานนี้(28 ส.ค.) ตลอดทั้งวันดัชนีเคลื่อนไหวอยู่ในแดนลบ ขณะที่มูลค่าการซื้อขายปรับตัวลดลงต่ำที่สุดในรอบ 4 เดือนในระดับไม่ถึง 1 หมื่นล้านบาท เนื่องจากนักลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศชะลอการลงทุน เพื่อรอปัจจัยบวกเข้ามาสนับสนุน ส่งผลทำให้ดัชนีปรับตัวลดลงมาปิดที่ 788.21 จุด ลดลง 2.96 จุด หรือ 0.37% โดยจุดสูงสุดของวันอยู่ที่ 791.23 จุด และจุดต่ำสุดอยู่ที่ 784.18 จุด มูลค่าการซื้อขายเพียง 9,002.41 ล้านบาท
นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 654.87 ล้านบาท นักลงทุนสถาบันขายสุทธิ 664.71 ล้านบาท นักลงทุนรายย่อยซื้อสุทธิ 9.84 ล้านบาท
นางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า ภาวะตลาดหุ้นไทยในขณะนี่ถือว่ามีความผันผวนลดลงทำให้มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น-ลงเพียงเล็กน้อย ไม่เคลื่อนไหวรุนแรงเหมือนช่วงที่ผ่านมา ประกอบกับมูลค่าการซื้อขายที่ลดลงนั้น เนื่องจากนักลงทุนรอดูทิศทางของตลาดหุ้นว่าจะเป็นทิศทางใด ซึ่งนักวิเคราะห์ต่างๆขณะนี้มีความเห็นที่แตกต่างกัน บางรายก็มองว่าปัญหาเรื่องสินเชื่ออสังหาริมทรัยพ์คุณภาพต่ำ (ซับไพร์ม)ไม่น่ากังวลแล้ว แต่นักวิเคราะห์อีกคนมองว่าขอรอดูความชัดเจนอีกสักระยะ
ทั้งนี้ จากปัจจัยในประเทศที่มีทิศทางที่ดีขึ้น จากการกำหนดวันเลือกตั้งแล้ว ก็ยังไม่ได้เป็นปัจจัยสนับสนุนการลงทุน เพราะปัจจัยต่างประเทศถือว่ามีน้ำหนักมากว่าปัจจัยในประเทศซึ่งเห็นได้จากนักลงทุนต่างประเทศมีมูลค่าซื้อสุทธิเพียง 200-300 ล้านบาท เท่านั้น
ใกล้ถึงรอบหุ้นเก็งกำไร
แหล่งข่าวนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ กล่าวว่า ในอดีตที่ผ่านมา เมื่อตลาดหุ้นอยู่ในภาวะซึม ดัชนีเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบแคบๆ ขณะที่มูลค่าการซื้อขายอยู่ในระดับต่ำเหมือนในปัจจุบันเป็นสัญญาณว่า อาจจะมีการปรับฐานก่อนจะมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นอีกครั้ง โดยทุกครั้งที่ดัชนีมีการปรับฐานหุ้นขนาดเล็ก รวมถึงหุ้นในกลุ่มเก็งกำไรจะกลับมาได้รับความสนใจจากนักลงทุนในประเทศอีกครั้ง
ทั้งนี้ เชื่อหากมีข่าวในเชิงบวกเข้ามาสนับสนุนให้นักลงทุนเข้าลงทุนในตลาดหุ้นน่าจะเป็นช่วงที่ได้เห็นหุ้นขนาดเล็กกลับมาได้รับความสนใจมากขึ้นอีกครั้ง
ลุ้นเงินทุนนอกไหลเข้า
นางสาวมยุรี โชวิกานต์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ นครหลวงไทย จำกัด กล่าวว่า ถ้าพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)ประกันเงินฝาก สามารถประกาศใช้ได้เป็นผลสำเร็จ ก็น่าจะส่งผลทำให้มีกระแสเงินทุน (ฟันด์โฟว์) เข้ามาลงทุนในประเทศมากขึ้น แต่คงมีเพียงบางส่วนเท่านั้นที่เข้ามาลงทุนในตลาดหุ้น โดยที่น่าจะได้รับผลดีมากว่า คือ ธุรกิจกองทุนรวม ซึ่งเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงน้อยกว่าการลงทุนในตลาดหุ้น
ในส่วนมูลค่าการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ที่หายไปในช่วงนี้นั้น เนื่องมาจากมีปัจจัยจากต่างประเทศเรื่องความกังวลเกี่ยวกับปัญหาสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพ หรือ ซับไพรม์ ที่ยังไม่แน่ชัด และความวิตกเกี่ยวกับปัญหาเศรษฐกิจของประเทศสหรัฐ ประกอบกับตอนนี้ภายในประเทศมีการออกพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งดูดซับสภาพคล่องในประเทศไปส่วนหนึ่งแล้ว
"ตอนนี้ปัจจัยภายในประเทศจบไปแล้ว แต่จบลงในช่วงที่ไม่ดีนัก เพราะยังมีปัจจัยต่างประเทศเข้ามากดดันแทน" นางสาวมยุรีกล่าว
นายพงศ์พันธุ์ อภิญญากุล ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.กิมเอ็ง (ประเทศไทย) กล่าวว่า มูลค่าการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ในช่วงนี้ลดลงนั้น เนื่องมาจากยังไม่มีปัจจัยใหม่มากระตุ้นตลาด ประกอบกับนักลงทุนยังคงมีความกังวลเกี่ยวกับปัญหาสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพของสหรัฐ ที่เป็นปัจจัยที่ยังคงกดดันตลาดหุ้นทั่วโลก โดยคาดว่าสถานการณ์การลงทุนน่าจะยังคงชะลอตัวต่อเนื่องอีกระยะหนึ่งประมาณ 1-2 สัปดาห์
เชื่อตลาดสารหนี้โต
นายภูวดล ลาภอุดมสุข ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกลยุทธการลงทุนสายงานวิจัย บล.เอเชีย พลัส กล่าวว่า เรื่องพระราชบัญญัติประกันเงินฝากในระยะสั้นคงทำให้ผู้ฝากเงินมีความกังวลเกี่ยวกับการนำเงินเข้าไปฝากธนาคารพาณิชย์ โดยเรื่องดังกล่างหากเกิดขึ้นจริงอาจจะส่งผลกระทบต่อธนาคารขนาดเล็กที่เงินฝากของธนาคารอาจจะลดลง
ทั้งนี้ การปรับตัวของธนาคารเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือถือว่าเป็นเรื่องที่จำเป็น โดยธนาคารขนาดใหญ่อาจจะได้รับผลดีมากขึ้นเพราะความเชื่อมั่นของนักลงทุนและของผู้ฝากเงินที่มีอยู่แล้ว
อย่างไรก็ตาม ในระยะยาวอาจจะส่งผลให้ผู้ฝากเงินในธนาคารมีการหาแนวทางเพื่อลดความเสี่ยงนอกเหนือจากการฝากเงินในธนาคารพาณิชย์ โดยอาจจะเปลี่ยนเป็นมาซื้อพันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ และกองทุนรวมโดยเฉพาะกองทุนรวมในพันธบัตรรัฐบาลตลอดจนการเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นไทยด้วย
"คงมีการเข้ามาลงทุนในตราสารหนี้มากขึ้น โดยเฉพาะตราสารหนี้ของบริษัทขนาดใหญ่ที่ออกมาโดยเฉพาะ เช่น กลุ่มบมจ.ปตท.เนื่องจากปัจจุบันเป็นหุ้นที่มีขนาดใหญ่และเป็นหุ้นกลุ่มที่นำตลาดซึ่งอาจจะเป็นาหุ้นที่มีความน่าเชื่อถือสูงมากกว่าหุ้นในกลุ่มอื่นๆ"นายภูวดล กล่าว
กำไรบจ.โตแค่1.5%
นายกวี ชูกิจเกษม ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายงานวิจัย บล.กสิกรไทย กล่าวว่า เป้าดัชนีไทยปีนี้ไว้ที่ 860 จุด โดยคาดว่ากำไรของบริษัทจดทะเบียนจะเติบโตราว 1.5% เท่านั้น เนื่องจากภาพรวมเศรษฐกิจในปีนี้ชะลอการเติบโตลง ประกอบกับกลุ่มธนาคารพาณิชย์ก็มีการตั้งสำรองค่อนข้างมากตามมาตรฐาน IAS39
ส่วนปี 2551 นั้น ในช่วงครึ่งปีแรกมองเป้าดัชนีไว้ที่ระดับ 940 จุด โดยกำไรของบริษัทจดทะเบียนน่าจะขยายตัวประมาณ 10% ซึ่งประเมินว่ากำไรน่าจะเติบโตจากกลุ่มธนาคารพาณิชย์เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งคาดว่ากลุ่มธนาคารพาณิชย์จะมีกำไรเติบโตในปีหน้าประมาณ 30%
ทั้งนี้กลุ่มที่แนะนำให้ลงทุน คือกลุ่มธนาคารพาณิชย์ , บันเทิง, โรงพยาบาล และกลุ่มพาณิชย์ ส่วนกลุ่มที่ควรหลีกเลี่ยงคือ กลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี เนื่องจากเกรงจะได้รับผลกระทบจากปัญหาซับไพรม์ในสหรัฐ ซึ่งปัจจุบันยังไม่ชัดเจนว่าผลกระทบขยายออกไปมาก/น้อยแค่ไหน
"ทางบล.ได้ตั้งเป้าสายงานวิจัย โดยคาดว่าจะขยายผลงานวิเคราะห์หลักทรัพย์ให้เป็น 120-130 หลักทรัพย์ภายในปีหน้า ซึ่งหากทำได้ตามที่วางแผนไว้ก็น่าจะทำให้บริษัทฯติด Top rank ของโบรกเกอร์ไทยที่ครอบคลุมจำนวนหุ้นที่ทำการวิเคราะห์ได้มากสุด"
|
|
 |
|
|