Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤษภาคม 2546








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2546
หนี้ของอิรัก             
โดย ภัชราพร ช้างแก้ว
 





นอกจากขุมทรัพย์น้ำมันที่มีอยู่ในประเทศอิรักที่ปราชัยให้ฝ่ายสหรัฐฯ และพันธมิตรแล้ว ภาระหนี้ของอิรักก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ประเทศและสถาบันการเงินเจ้าของหนี้กำลังจับตาดูอย่างใกล้ชิดว่า ฝ่ายที่ขึ้นมาเป็นรัฐบาลใหม่ของอิรักจะเป็นใคร และพวกเขาจะมีนโยบายเรื่องการชดใช้ชำระหนี้ให้กลุ่มเจ้าหนี้อย่างไร หรือกลุ่มเจ้าหนี้เองจะได้มีส่วนร่วมในการจัดตั้งรัฐบาลและดูแลการชำระหนี้คืนด้วยหรือไม่

นิตยสารดิอีโคโนมิสต์รายงานไว้ว่าอิรักมีหนี้สินที่เป็นตัวเลขทางการรวม 116 พันล้านเหรียญสหรัฐ บวกกับอีก 200 พันล้านเหรียญสหรัฐ ที่ถูกอ้างว่าเกิดขึ้นสมัยสงครามอ่าวเปอร์เซียครั้งแรกในปี 1990 ขณะที่อิรักมีรายได้จากการค้าน้ำมันเพียงปีละ 25 พันล้านเหรียญสหรัฐเท่านั้น สัดส่วนรายได้กับภาระหนี้นั้นเทียบ กันไม่ติด

สถานการณ์ของการเป็นประเทศผู้แพ้สงครามก็ทำให้ภาระหนี้ของอิรักเพิ่มสูงขึ้นทุกวัน ราคาหนี้ก้อนใหญ่ของอิรักสองรายในตลาดรองเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวนับแต่เกิดสงคราม เทียบกับประเทศเซอร์เบียที่ประธานาธิบดีซึ่งประกาศล้างบางมาเฟีย แต่ก็ไม่พ้นสังเวยชีวิตให้มาเฟียแล้ว นักวิเคราะห์บอกว่าหนี้ของอิรักน่าจะมีภาษีดีกว่า เพราะอย่างไรเสียก็ยังมีน้ำมันเป็นทรัพย์สินที่ขุดมาขายใช้หนี้ได้ แต่เซอร์เบียยังมีเรื่องมาเฟียน่าปวดหัวมากกว่า

ล่าสุดศาลล้มละลายเซอร์เบียก็ประกาศขายโรงเหล็กในวงเงินเพียง 23 ล้านเหรียญโดยไม่สนใจกับ ภาระหนี้จำนวน 1.7 พันล้านเหรียญที่โรงเหล็กแห่งนี้ไปกู้ยืมเงินจากบริษัทและรัฐบาลตะวันตกบางแห่ง ซึ่งกำลังโกรธเป็นฟืนเป็นไฟอยู่ในตอนนี้

ย้อนกลับมาที่สถานการณ์ของอิรัก ตลาดมองว่า รัฐบาลใหม่ของอิรักจะต้องใช้วิธีเจรจาขอลดหนี้ (write-off) ประมาณ 70%-90% ของมูลหนี้ 116 พันล้าน เหรียญสหรัฐ ส่วนหนี้สินที่ติดค้างตั้งแต่สงครามอ่าว ครั้งก่อน ซึ่งคณะกรรมการของสหประชาชาติที่ชื่อ United Nations Compensation Commission (UNCC) เป็นผู้ดูแลการชดใช้หนี้นั้น คาดว่า UNCC จะลดภาระ หนี้ก้อนนี้ลงจาก 200 พันล้านเหรียญ เหลือแค่ 40 พัน ล้านเหรียญเท่านั้น

รวมความแล้วภาระหนี้ทั้งหมดของอิรักก็น่าจะเหลือเพียง 50-75 พันล้านเหรียญ ซึ่งอยู่ในวิสัยที่พอจะจ่ายได้ (ในภาวะเศรษฐกิจปกติ) แต่ในฐานะประเทศ ผู้แพ้สงคราม ก็ยังเป็นคำถามอยู่

ส่วนเจ้าหนี้รายใดจะเป็นผู้โชคดีได้รับการชำระหนี้ก่อนนั้น ว่ากันว่าย่อมหรือควรจะเป็นผู้ที่อำนวยประโยชน์แก่รัฐบาลใหม่ในการฟื้นฟูประเทศได้ เจ้าหนี้ของอิรักสามารถจัดแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มคือ ไอเอ็ม เอฟ และธนาคารโลก กลุ่มหนึ่ง, รัฐบาลที่ให้เครดิตทางการค้าและเงินกู้ในลักษณะทวิภาคีกับอิรัก และธนาคาร/บรรษัทข้ามชาติต่างๆ เป็นกลุ่มที่สาม

สิ่งที่น่าสนใจคือ กลุ่มประเทศในอ่าวเปอร์เซียเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ มีมูลหนี้ราว 55 พันล้านเหรียญ ส่วนประเทศโดดๆ ที่เป็นเจ้าหนี้รายใหญ่คือ ฝรั่งเศสและรัสเซีย ซึ่งแต่ละประเทศให้กู้แก่อิรักประเทศละ 8 พันล้านเหรียญ

สองประเทศหลังนี้น่าจะกระตือรือร้นเข้าร่วมปกป้องทรัพย์สินของตนในอิรัก แต่การณ์อาจจะกลายเป็นว่าฝรั่งเศสและรัสเซียอาจต้องตัดหนี้สูญในอิรักทิ้งเสียแต่บัดนี้ก็เป็นได้

หนี้สินของไอเอ็มเอฟและธนาคารโลกนั้นมี มูลค่า 1.1 พันล้านเหรียญ ซึ่งก็คงได้รับการชำระหนี้อย่างไม่ต้องสงสัย ส่วนเจ้าหนี้รายอื่นนั้นผู้ที่จะให้คำตอบคงหนีไม่พ้นสหรัฐฯ ซึ่งหากใช้วิธีที่เคยทำกับยุโรปตะวันตกในยุคหลังสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็คือตั้งโครงการแผนมาร์แชลขึ้นมา หรือมิเช่นนั้นอิรักก็ต้องพึ่งพิงการระดมทุนของเอกชน

หากเป็นในกรณีแรก ว่ากันว่าผู้ที่จะได้รับการชำระหนี้คืนก็คือหนี้สินที่กู้ยืมมาอย่างเป็นทางการ ซึ่งในที่นี้เรียกกันว่า Paris Club คือประเทศในยุโรปยกเว้น ฝรั่งเศสและรัสเซีย รวมกันปล่อยกู้ให้อิรักมีมูลค่าราว 9.5 พันล้านเหรียญ แต่หากเป็นกรณีหลัง Paris Club ก็จะไม่ได้รับการชำระหนี้ แต่รัฐบาลของประเทศรอบอ่าวฯ น่ามีโอกาสจะได้รับการชำระหนี้มากกว่า

นับแต่ที่สหรัฐฯ ประกาศทำสงครามกับอิรัก ตลาดรองซื้อขายหนี้ของอิรักก็คึกคักพอสมควร มีการสอบถามราคาหนี้จากอิรักกันมาก แต่ที่เสนอราคาซื้อขายจริงๆ มีเพียง 1-2 รายต่อสัปดาห์ โดยผู้ซื้อส่วนมากจะเป็นธนาคารหรือกองทุนที่เชี่ยวชาญหนี้ของประเทศอาหรับอยู่แล้ว

อาจจะเป็นที่แปลกใจว่าหนี้ของประเทศที่แพ้สงครามและต้องการการฟื้นฟูในทุกๆ ด้านนั้น ยังมีคนสนใจซื้อขายกันด้วยหรือ คนที่ซื้อขายเหล่านี้เขาคิดกันอย่างไร พวกเขาก็มองมันในลักษณะที่เป็นการเก็งกำไร ซื้อสินทรัพย์ที่มีราคาถูกแสนถูกในตอนนี้ เพื่อที่ว่าอีกไม่กี่ปีข้างหน้ามันจะมีมูลค่ามหาศาลขึ้นมาได้

คนที่มีสติสัมปชัญญะคงไม่คิดแบบนี้แน่

ในวงการตลาดรองซื้อขายหนี้บอกว่าหนี้อิรัก มีกับดัก สัญญากู้ยืมบางฉบับอาจหมดอายุในทุกๆ 2-3 ปีได้ มันขึ้นอยู่กับข้อจำกัดในกฎหมายหลายๆ ฉบับ การต่อสัญญาจำเป็นที่จะต้องสอบถามจากทางลูกหนี้ ซึ่งมันก็เป็นเรื่องยากสาหัสตั้งแต่ยังไม่มีสงคราม นั่นหมายความว่าตอนนี้ยิ่งเป็นเรื่องเป็นไปไม่ได้เข้าไปใหญ่ การโอนสิทธิจากผู้ขายไปยังผู้ซื้อต้องได้รับความยินยอมจากลูกหนี้ ซึ่งอิรักก็ไม่ได้ให้ความร่วมมือในเรื่องนี้มาตั้งแต่ปี 1988 แล้ว แต่คนก็ยังซื้อขายหนี้ของอิรักอยู่เรื่อยๆ มันก็มีวิธีเล่นเหมือนกัน

วิธีที่ว่าก็คือติดต่อไปยังอิรักในช่วงที่เป็นวันหยุด เพื่อให้เซ็นเอกสารโอนสิทธิ หรือในช่วงที่การติดต่อสื่อสารไม่ค่อยสะดวก เช่น ในช่วงที่เกิดสงครามสู้รบกัน เป็นต้น เพราะกฎก็คือว่าหากลูกหนี้ไม่ติดต่อกลับมาภายใน 10 วันทำการให้ถือว่าผู้ซื้อผู้ขายหนี้สามารถโอนสิทธิได้เลย สัญญามีผลบังคับใช้แล้ว นี่คือเหตุผลที่หนี้ของอิรักยังมีการซื้อขายเก็งกำไรกันอยู่

ส่วนอีกเหตุผลหนึ่งที่สนับสนุนความน่าสนใจเก็งกำไรหนี้อิรักก็คือสิ่งที่กล่าวไปแล้ว ประเทศนี้มีน้ำมัน ระบบเศรษฐกิจของอิรักก็ไม่มีความสลับซับซ้อนอะไรมากนัก ตราบใดที่บ่อน้ำมันไม่ถูกทำลายเสียหายหนัก และยังสามารถขุดน้ำมันมาขายได้ ตราบนั้นอิรักก็จะมีรายได้เป็นเงินตราต่างประเทศจากสินค้าส่งออกน้ำมัน เศรษฐกิจก็สามารถกลับมาเติบโตได้ใหม่อีก แม้จะเริ่มจากศูนย์ใหม่ก็ตาม

ว่ากันว่าเมื่อ 13 ปีก่อนมีกองทุนอาหรับแห่งหนึ่ง เข้ามาซื้อเก็งกำไรหนี้ของเวียดนาม ตอนนั้นราคาอยู่ที่ดอลลาร์ละ 4 เซ็นต์เท่านั้น กองทุนแห่งนี้ขายหนี้ไปหลังจากเข้าซื้อเพียง 6 ปี ในราคาดอลลาร์ละ 80 เซ็นต์!

นี่คือเรื่องเล่าที่ชี้ว่าผลตอบแทนดีๆ อาจมาจากสิ่งที่ไม่คิดว่าจะเกิดเป็นจริงขึ้นมาได้!!

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us