Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤษภาคม 2546








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2546
US Corporation             
โดย วิรัตน์ แสงทองคำ
 





จากนี้ไปบทเรียนพัฒนาการของบริษัทอเมริกัน ซึ่งถือเป็นแม่บทของการบริหารธุรกิจทั่วโลก จะถูกจับตามองในหลายมิติมากขึ้น

ระดับบริษัท เจ้าของ และผู้บริหารธุรกิจที่เคยศึกษาบทเรียนจากบริษัทอเมริกันในด้านดีอย่างเดียว คงต้องศึกษาด้านไม่ดีด้วย ขณะเดียวในการบริหารระดับชาติ ซึ่งอิทธิพลการบริหารแบบอเมริกันมีอิทธิพลต่อการบริหารลักษณะนี้มากขึ้น มิใช่เพียงอิทธิพลความคิดของ Peter Drucker ที่บอกว่าศาสตร์การบริหารใช้ได้ไม่จำกัดเฉพาะธุรกิจเท่านั้น หากเป็นพัฒนาการธุรกิจในระดับชาติในโลก เริ่มเข้าไปมีอิทธิพลระดับชาติมากขึ้นๆ จนทำให้ชาติกลายเป็นส่วนหนึ่งของระบบธุรกิจโลกไปแล้ว

กรณีบริษัทไอบีเอ็มประเทศไทย ในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา ชี้ให้เห็นพัฒนาการของบริษัทอเมริกัน ที่พยายามมีอิทธิพลในต่างประเทศอย่างน่าสนใจในบางมิติ

ในช่วงต้น ยาวนานประมาณ 30 ปี บริษัทไอบีเอ็มบริหารโดยคนอเมริกัน อันเป็นช่วงความรู้ด้านเทคโนโลยียังไม่กระจายสู่สังคมไทย รวมทั้งศาสตร์ของการบริหารยังไม่พัฒนาการควบคุมการบริหารข้ามพรมแดน โดยอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพเท่ากับในช่วง 10 กว่าปีมานี้

ที่สำคัญในช่วงนั้นกิจการในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นรัฐหรือเอกชน ที่สนใจใช้สินค้าไอบีเอ็ม ส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลมาจากเงินช่วยเหลือหรือเงินกู้จากองค์การระหว่างประเทศ ที่สหรัฐอเมริกามีอิทธิพล ไม่ว่าจะเป็นสำนักงานสถิติแห่งชาติ จุฬา ลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือแม้แต่ปูนซิเมนต์ไทย ที่เริ่มใช้ไอบีเอ็มอย่างเป็นล่ำเป็นสันก็หลังจากกู้เงินจากธนาคารโลก ที่มาพร้อมกับแรงกดดันให้ปรับปรุง มาตรฐานระบบบัญชีนั่นเอง

จากนั้นเมื่อตลาดเปิดกว้างมากขึ้น เริ่มต้นจากหน่วยงานรัฐ และองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีอิทธิพลในสังคมไทย อาทิ ธนาคาร ไอบีเอ็มจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงความคิดใช้คนไทยที่มีฐานะทางสังคม พวกเขามีสายสัมพันธ์ที่ดีกับชนชั้นนำในสังคม ไทยที่ว่านั้นคือ ยุคของสมภพ อมาตยกุล, ชาญชัย จารุวัสตร์ และช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อมาสู่ วนารักษ์ เอกชัย ก้าวขึ้นเป็นผู้จัดการใหญ่ ไอบีเอ็ม

พวกเขาจึงได้ชื่อว่าเป็นผู้บริหารมืออาชีพคนไทยที่ทำงานกับบริษัทระดับโลก เป็นยุคเติบโตช่วงสำคัญช่วงหนึ่งของลูกจ้างในสังคมไทย

จากนั้นมา เมื่อเข้าสู่การบริหารเพื่อเน้นประสิทธิภาพมากขึ้น เข้าสู่ตลาดฐานกว้างมากขึ้น ไอบีเอ็มปรับความคิดทางยุทธศาสตร์อีกครั้ง ในการ ใช้คนที่ถูกฝึกมาอย่างดีให้ทุ่มเททำงานให้ไอบีเอ็ม ซึ่งนับว่าเป็นศาสตร์ของการบริหารอย่างหนึ่งของบริษัทอเมริกัน ก็คือศาสตร์การใช้คน ฝึกคน และประเมินผลงาน (ด้วยเครื่องมือการบริหารที่ทรงประสิทธิภาพ) ให้ทำงานกับบริษัทอย่างมีเป้าหมาย มีกระบวนการทำงานที่เข้มข้นอย่างยิ่ง

ทรงธรรม เพียรพัฒนาวิทย์ และศุภจี สุธรรม พันธุ์ คือสองคนสุดท้ายที่มาจากกระบวนการพัฒนา ไอบีเอ็มในประเทศไทย

ส่วนภาพกว้างของไอบีเอ็มระดับโลกนั้น ในช่วง 2-3 ปีมานี้ ก็คือการปรับตัวตามยุทธศาสตร์ของ บริษัทอเมริกัน ภายใต้การสนับสนุนของยุทธศาสตร์ ของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาที่มีความชัดเจนอย่างยิ่ง มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับบริษัทอเมริกันที่มีอิทธิพลในระดับโลก

และดูเหมือนวงจรของบริษัทอเมริกันที่เติบโตตามแรงหวี่ยงของระบบเศรษฐกิจโลก ที่สัมพันธ์กับกิจการที่เป็นไปตามธรรมชาติของทุนนิยม เสรี จะเดินมาถึงจุดสำคัญ คล้ายๆ กับจุดเริ่มต้นของไอบีเอ็มที่เข้าเมืองไทยด้วยแรงขับดันทางยุทธศาสตร์ของอิทธิพลอเมริกัน

- วิกฤติเศรษฐกิจของภูมิภาคนี้ ได้รับผลกระทบจากการปรับสมดุลของเศรษฐกิจโลกที่มีระบบเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ใหญ่ที่สุดเป็นศูนย์กลาง จะด้วยสาเหตุใด ผมไม่ประสงค์จะอรรถาธิบายในบทความนี้ แต่ที่สำคัญผู้มีบทบาทและได้ประโยชน์ในกระบวนแก้ปัญหานั้น มีบริษัทอเมริกันเป็นแกนในการรุกของการลงทุนที่ต้นทุนถูกลง การได้เป็นที่ปรึกษาในรูปแบบต่างๆ ในการแก้ปัญหาตามวิธีคิดของพวกเขาที่ผ่านองค์การนานาชาติ ระบบธนาคารไทยและธุรกิจขนาดใหญ่ของไทยถูกแรงดันให้ปรับโครงสร้างครั้งใหญ่ ด้วยการลงทุนซื้อความรู้และเทคโนโลยีที่มีบริษัทอเมริกันเป็นศูนย์กลาง

- การกระพือวิกฤติการณ์ปี 2000 อันจะกระทบกับระบบคอมพิวเตอร์ทั่วโลกที่บริษัทอเมริกัน มีอิทธิพลมากที่สุดอยู่แล้ว ทำให้ทั่วทั้งโลกต้องลงทุนซื้อสินค้าและบริการอเมริกันครั้งใหญ่

- เช่นเดียวกับความพยายามในการปรับโครงสร้างต้นทุนพลังงานของศูนย์กลางทุนนิยม ที่ตะวันออกกลาง เชื่อกันว่าจะทำให้บริษัทอเมริกันได้ประโยชน์อย่างมากมายตามมา

วันนี้ศาสตร์การบริหารแบบอเมริกันกำลังกลายเป็นเพียง "จิ๊กซอว์" หนึ่งของยุทธศาสตร์ในการสร้างอิทธิพล และรักษาความเป็นผู้นำระบบเศรษฐกิจโลกไว้ ยุทธศาสตร์เหล่านี้จับต้องได้มากขึ้น มีความไม่เป็นไปตามกฎกติกาที่พวกเขาเองสร้างมากขึ้น

บริษัทอเมริกันกำลังสอนบทเรียนทางอ้อมให้ทั้งระดับบริษัทและประเทศ เรียนรู้ในการวางยุทธศาสตร์ของตนเองขึ้นมาเป็นฐานความคิดสำคัญ มิใช่เดินตามมาตรฐานแบบอเมริกัน อย่างไม่มีข้อกังขาเช่นช่วงที่ผ่านมาอีกแล้ว ซึ่งจะทำให้ระบบเศรษฐกิจโลก และการบริหารธุรกิจจากนี้มีความสลับซับซ้อนมากขึ้น การบริหารยุคใหม่จะต้องใช้ความคิดและบทเรียนมากกว่าตำราบริหารแบบอเมริกันมากมายนัก

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us