Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน28 สิงหาคม 2550
หนี้สาธารณะมิ.ย.ลด4.3หมื่นล้าน เร่งคืน"หนี้นอก"สนองนโยบายรัฐ             
 


   
search resources

Economics
สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ




สบน.เผยยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ 30 มิ.ย.มีจำนวนกว่า 3.17 ล้านล้านบาท คิดเป็น 37.72%ของจีดีพี ลดลงจากเดือนก่อน 4.3 หมื่นล้าน เหตุมีการไถ่ถอนตั๋วเงินคลังที่ครบกำหนด 5 หมื่นล้านบาท พร้อมสนองนโยบายรัฐเร่งคืนหนี้เงินกู้ต่างประเทศก่อนครบกำหนดเกือบ 3 หมื่นล้านบาท และรีไฟแนนซ์เงินกู้ต่างประเทศด้วยเงินบาท 17,200 ล้านบาท ระบุช่วยลดยอดหนี้คงค้างได้ 28,890 ล้านบาท และลดภาระดอกเบี้ยได้ 2,370 ล้านบาท

นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยถึงการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐประจำเดือนกรกฎาคม 2550 ที่ผ่านมา ว่า ในส่วนของหนี้ในประเทศ กระทรวงการคลังได้ดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้โดยการแปลงตั๋วเงินคลังเป็นพันธบัตร 10,000 ล้านบาท โดยการแปลงตั๋วเงินคลังเป็นพันธบัตรระยะยาวนี้เป็นความพยายามของภาครัฐในการสร้างอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง (Benchmark Bond) ตามแผนพัฒนาตลาด ตราสารหนี้ฉบับที่ 2 นอกจากนี้ การแปลงตั๋วเงินคลังเป็นพันธบัตรรัฐบาล ยังช่วยลดความไม่สอดคล้องกัน (Mismatch) ระหว่างวิธีการกู้เงินโดยการออกตั๋วเงินคลังซึ่งเป็นตราสารหนี้ระยะสั้น (Short-term Borrowing) และวัตถุประสงค์ในการกู้เงินเพื่อชดเชย การขาดดุลงบประมาณซึ่งเป็นการกู้เงินระยะยาว (Long-term Financing) สำหรับหนี้ของรัฐวิสาหกิจนั้น การรถไฟแห่งประเทศไทยได้ทำการ Roll over หนี้เดิมจำนวน 1,000 ล้านบาท

และในรอบ 10 เดือนที่ผ่านมาของปีงบประมาณ 2550 กระทรวงการคลังได้ปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศโดยการแปลงตั๋วเงินคลังที่ออกเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ 83,000 ล้านบาทเป็นพันธบัตร และดำเนินการออกพันธบัตรและตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้เพื่อชดใช้ความเสียหายให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินในส่วนของ FIDF1 วงเงิน 45,000 ล้านบาท ส่วนรัฐวิสาหกิจในภาพรวมได้มีการ Roll over หนี้เดิม 19,601 ล้านบาท รวมเป็นจำนวนเงิน 147,601 ล้านบาท

ด้านหนี้ต่างประเทศกระทรวงการคลังได้ปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้ต่างประเทศโดยการชำระคืนก่อนครบกำหนด 28,890 ล้านบาท และ Refinance เงินกู้ต่างประเทศด้วยเงินบาท 17,200 ล้านบาท ผลจากการดำเนินการดังกล่าวทำให้สามารถลดยอดหนี้คงค้างได้รวม 28,890 ล้านบาท และลดภาระดอกเบี้ยได้รวม 2,370 ล้านบาท พร้อมทั้งได้บริหารความเสี่ยงหนี้เงินกู้ Floating Rate Notes (FRNs) และหนี้เงินกู้ Samurai Bond โดยการซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าวงเงิน 300 ล้านเหรียญสหรัฐ และ 48,000 ล้านเยน ตามลำดับ และในส่วนของรัฐวิสาหกิจ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้ปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้ต่างประเทศวงเงินรวม 14,920 ล้านบาท

ขณะที่การกู้เงินของภาครัฐในเดือนกรกฎาคม 2550 กระทรวงการคลังได้กู้เงินในประเทศโดยออกพันธบัตรออมทรัพย์อายุ 3 ปี วงเงิน 500 ล้านบาท อัตราผลตอบแทนร้อยละ 3.75 ต่อปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อชดใช้ความเสียหายให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ในส่วนของ FIDF3

สำหรับรัฐวิสาหกิจ ได้มีการกู้เงินในประเทศรวม 4,000 ล้านบาท โดยการเคหะแห่งชาติได้กู้เพื่อลงทุน 3,000 ล้านบาท และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคกู้เพื่อลงทุน 900 ล้านบาท และกู้เพื่อทดแทนเงินกู้ต่างประเทศ 100 ล้านบาท และในรอบ 10 เดือนที่ผ่านมาของปีงบประมาณ 2550 ภาครัฐได้กู้เงินในประเทศรวม 198,734 ล้านบาท โดยเป็นการกู้ของกระทรวงการคลัง 162,660 ล้านบาท และ รัฐวิสาหกิจ 36,074 ล้านบาท นอกจากนี้ รัฐวิสาหกิจได้กู้เงินจากต่างประเทศ 31,803 ล้านบาท ซึ่งเป็นการกู้นอกแผนการก่อหนี้ต่างประเทศ

และการชำระหนี้ของภาครัฐในเดือนกรกฎาคม 2550 กระทรวงการคลังได้ดำเนินการชำระหนี้จากงบประมาณ 22,431 ล้านบาท เป็นการชำระคืนเงินต้น 10,158 ล้านบาท ดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมรวม 12,273 ล้านบาท โดยในรอบ 10 เดือนที่ผ่านมาของปีงบประมาณ 2550 กระทรวงการคลังได้ชำระคืนต้นเงินกู้ ดอกเบี้ยและ ค่าธรรมเนียมจากงบประมาณรวม 131,450 ล้านบาท

ส่วนยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2550 มีจำนวน 3,168,426 ล้านบาท หรือร้อยละ 37.72 ของผลิตภัณฑ์มวลของประเทศ(GDP) แบ่งเป็นหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง 2,031,575 ล้านบาท หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน 891,015 ล้านบาท หนี้สินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน 200,120 ล้านบาท และหนี้องค์กรของรัฐอื่น 45,716 ล้านบาท

ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนแล้วหนี้สาธารณะมีจำนวนลดลง 43,166 ล้านบาท โดยหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรงลดลง 34,081 ล้านบาท หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงินเพิ่มขึ้น 7,401 ล้านบาท และหนี้สินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯลดลง 16,486 ล้านบาท ส่วนหนี้องค์กรของรัฐอื่นไม่มีการเปลี่ยนแปลง

สำหรับการลดลงของหนี้สาธารณะเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้านั้น สาเหตุที่สำคัญเนื่องจากมีการไถ่ถอนตั๋วเงินคลังที่ครบกำหนดจำนวน 50,000 ล้านบาท และกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ชำระคืนเงินกู้จากตลาดซื้อคืนสุทธิ 16,491 ล้านบาท ส่วนหนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงินเพิ่มขึ้นหลักๆ เนื่องจากองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพและการทางพิเศษแห่งประเทศไทยได้ออกพันธบัตรวงเงินรวม 12,556 ล้านบาท

นายพงษ์ภาณุกล่าวอีกว่า หนี้สาธารณะจำนวน 3,168,426 ล้านบาทนั้น แยกออกเป็นหนี้ต่างประเทศ 399,961 ล้านบาท หรือร้อยละ 12.62 และหนี้ในประเทศ 2,768,465 ล้านบาท หรือร้อยละ 87.38 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้างตามลำดับ และเป็นหนี้ระยะยาว 2,801,719 ล้านบาท หรือร้อยละ 88.43 และหนี้ระยะสั้น 366,707 ล้านบาท หรือร้อยละ 11.57 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้างตามลำดับ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us