Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2543
"ซอมเมอร์ส ยูเค" กองทุนวิกฤติ             
โดย ไพเราะ เลิศวิราม
 

   
related stories

บุญชัย เบญจรงคกุล Last Chance
ภูษณ ปรีย์มาโนช มืออาชีพที่รวยที่สุดในประเทศไทย

   
search resources

ยูไนเต็ด คอมมูนิเกชั่น อินดัสตรีส์, บมจ.
Somers (U.K.) Limited
บุญชัย เบญจรงคกุล




หนี้สินของยูคอมกลายเป็นที่มาของเรื่องราว ที่เกิดขึ้นในแทค รวมถึงกรณีของการมาของบริษัท Sommers UK ที่ก็มาจากหนี้สินของยูคอม ที่กลายเป็นบริษัทปริศนามาหลายปี

ก่อนหน้านี้ไม่มีใครรู้ว่า Sommers UK เป็นใครมาจากไหน มีเพียงการร่ำลือว่าเป็นบริษัท ที่บุญชัย และภูษณตั้งขึ้นมา เพื่อเข้ามาซื้อหุ้นใน ยู คอม เพื่อต้องการรักษาสัดส่วนหุ้นไว้ นอกจากนี้ก็จะรู้แต่เพียงว่าเป็น กองทุนการเงินจดทะเบียนในประเทศอังกฤษ ที่เข้ามาแปลงหนี้ของยูคอมเป็นทุน และกลายเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ที่ถือครองหุ้นไว้ 36% มากกว่าตระกูล เบญจรงคกุล ที่ต้องกลายเป็นผู้ถือหุ้นอันดับ 2

แต่จากการเปิดเผยของ บุญชัย เบญจรงคกุล ที่บอกกับ "ผู้จัดการ" ว่า อันที่จริงแล้ว Sommers UK เป็นบริษัท ที่ตั้งขึ้นโดย ซีเอส เฟิสท์ บอสตัน หรือ เครดิตสวิส เฟิสท์ บอสตัน บริษัทการเงินข้ามชาติ ซึ่งถือว่าเป็นธุรกิจประเภทหนึ่งของ ซีเอส เฟิสท์ บอสตัน ที่ถูกจัดทำขึ้น และเขาเรียกว่า "กองทุนวิกฤติ"

"กองทุนวิกฤติ จะทำการซื้อหนี้จากบริษัท ที่ประสบภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ ซึ่งมีราคาถูกกว่าปกติ จากนั้น จะขายไปในภายหลังเมื่อหุ้นมีราคาดีขึ้น แต่เขาจะไม่เข้าไปมีส่วนร่วมในการบริหาร ซึ่งในการซื้อหุ้นแต่ละครั้ง จะมีการจัดตั้งบริษัทใหม่ๆ ขึ้นมา เพื่อเข้าไปซื้อหุ้นอีกครั้งหนึ่ง จะไม่ซื้อโดยตรงจาก ซี เอส" บุญชัยอธิบาย

บริษัทซอมเมอร์ส ยูเค ก็ถูกตั้งขึ้นมา เพื่อการนี้โดยเฉพาะ โดยได้เข้ามาลงทุนซื้อหนี้ยูคอม ซึ่งเป็นการซื้อหุ้นกู้แปลงสภาพ (ECD) ของยูคอม จากนั้น ก็แปลงมาเป็นหุ้น แต่การจะทำเช่นนี้ได้จะต้องได้รับการอนุมัติจากเจ้าของกิจการก่อน

ข้อตกลงของการมาซื้อหุ้นของยูคอมในครั้งนี้ก็คือ ซอมเมอร์ส ยูเคจะต้องไม่เข้าไปมีส่วนในการบริหารในยูคอม และจะถือหุ้นแค่ 2 ปี

"ในยามหน้า สิ่วหน้าขวาน ผมว่าเงื่อนไขดีที่สุดแล้ว ดีกว่าถูกบังคับ ให้เอาเจ้าหนี้มาเป็น และเขาก็ขอมาอยู่แค่ 2 ปี จากนั้น ก็ให้หาคนมาซื้อหุ้น ของเขาไป เพราะยังไงยูคอมก็ต้องมีพันธมิตรร่วมทุนอยู่แล้ว" บุญชัยเล่า

เป็นทางเลือกที่ดีกว่าสำหรับบุญชัย ถ้าแลกกับการที่ต้องขายหุ้นแทค ออกไป ซึ่งเขามองว่าจะทำให้ความแข็งแรงของหุ้นมันหดลง เพราะทรัพย์สินหายไป แต่หุ้นเท่าเดิมมันก็มีค่าเท่ากัน สู้ให้คนมาซื้อหุ้น ลดสัดส่วนการถือหุ้นลง

"ทำไมผมจะต้องมาซื้อหุ้นยูคอมของตัวเอง การที่ผมไปซื้อหนี้ในตลาด เพื่อรักษาหุ้นตัวเอง ผมไปซื้อหนี้ของแทคไม่ดีกว่าหรือ ชัวร์กว่าตั้งเยอะ และ ถ้าผมลงซัมเมอร์ส ผมก็เหงือกแห้งพอดี"

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us