|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
เหมือนเสี่ยงตายเมื่อ"ไอเอ็นจีกรุ๊ป"เดินเข้าพบ "รมว.คลัง"เอ่ยปากสนใจเข้าถือหุ้น"ทหารไทย"แบงก์ที่ถมเงินเท่าไรก็ไม่เต็ม แถมยังมีปัญหาการเมืองภายในองค์กรหลุดรอดให้กังวลเป็นระยะ แต่เรื่องนี้อาจไม่ใช่ประเด็นที่ "สิงโตส้ม"จากเนเธอร์แลนด์วิตก เมื่อเทียบผลและประโยชน์อันพึงได้กลับมาเมื่อลงทุนในแบงก์ทอปบูทแห่งนี้
อะไรที่ทำให้"ไอเอ็นจีกรุ๊ป"สนใจใน"ทหารไทย" ทั้ง ๆ ที่ภาพของแบงก์แห่งนี้ค่อนข้างเผชิญกับอุปสรรคและปัญหามากมาย ?
จะว่าไป "ทหารไทย"อาจไม่ใช่แบงก์เดียวที่บริษัทข้ามชาติจากแดนกังหันเฝ้าสังเกตการณ์และสนใจเข้าร่วมทุน แต่อาจด้วยจังหวะและภาวะที่เหมาะสมเป็นเหตุ จึงทำให้ทุกอย่างมาลงเอยตรงจุดนี้
วันที่ 17 สิงหาคม 2550 เป็นวันที่ผู้บริหารระดับสูงจากแบงก์ทหารไทยพา"ไอเอ็นจีกรุ๊ป"เข้าพบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง "ฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์"ซึ่งแท้จริงแล้วนั้นว่ากันว่า "ไอเอ็นจีกรุ๊ป" เดินเข้าออก "คลัง"เป็นว่าเล่น ประมาณ 2 เดือนแล้ว...เพื่อหารือในเรื่องแบงก์ทหารไทย
เสียงคนในเล่ากันปากต่อปากว่าการเจรจาหารือครั้งล่าสุดดูเหมือนจะได้ข้อยุติในทางที่ดี...ซึ่งนั่นหมายถึงว่า "ไอเอ็นจีกรุ๊ป" อาจเป็นผู้เพิ่มทุนให้แบงก์ทหารและเข้ามาถือหุ้นในสัดส่วน 24.9%
แม้จะยังไม่มีการคอนเฟิร์มอย่างเป็นทางการทั้งจากฝ่าย "คลัง"และ "ไอเอ็นจีกรุ๊ป"...แต่ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้ โดยเฉพาะเมื่อ"ไอเอ็นจีกรุ๊ป" สิงโตส้ม ให้สัญญาณชัดว่าอยากเข้ามาลงทุนในธุรกิจรีเทลแบงก์กิ้ง
"ราเจช เสรษฐี" รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ไอเอ็นจีประกันชีวิต ที่ยังมีกลิ่นอายจากเนเธอร์แลนด์ติดกายเพราะเพิ่งบินเข้ามานั่งทำงานที่ไทยได้ไม่เกิน 2 เดือนเล่าให้ฟังว่า "ไอเอ็นจีกรุ๊ป" สนใจที่จะเข้ามาลงทุนในธุรกิจรีเทลแบงกิ้ง เพื่อต่อยอดการดำเนินธุรกิจที่เข้ามาลงทุนในไทยแล้วก่อนหน้านี้ไม่ว่าจะธุรกิจ ประกันชีวิต บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และโฮลเซลแบงกิ้ง
"ราเจช"นั้นเพิ่งบินมาจาก อัมสเตอร์ดัม ประเทศเนอเธอร์แลนด์มาสดๆร้อนๆ อยู่ในวงการแบงก์มากว่า 15 ปี และวงการประกันชีวิตอีก 5 ปี จากนั้นบริษัทแม่ "ไอเอ็นจีกรุ๊ป" ก็ส่งมาไทย เพื่อสานต่องานในบริษัทประกันชีวิต ที่มี จิม บราวน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ซึ่งจะเกษียณอายุในเดือนตุลาคมนี้
การมาของ"ราเจช"จากสำนักงานใหญ่โดยตรงจึงรู้ความเคลื่อนไหวของ"ไอเอ็นจีกรุ๊ป"ในเอเชียว่าจะเดินไปในทิศทางไหน
"ราเจช" เล่าให้ฟังว่า เอเชียเป็นประเทศที่เหมาะสมยิ่งต่อการลงทุนในธุรกิจรีเทลแบงกิ้ง ณ ขณะนี้ ซึ่งนอกเหนือจากไทย ไอเอ็นจีกรุ๊ปได้เข้าไปคุยกับแบงก์แห่งอื่นในภูมิภาคเอเชียด้วย เช่นอินโดนีเซีย และเวียดนาม
"ไอเอ็นจีกรุ๊ป พร้อมที่จะเข้ามาดำเนินธุรกิจแบงก์ แน่นอนว่าไม่ใช่แค่เรื่องของการรับฝากถอนเงิน แต่เป็นการนำความชำนาญด้านรีเทลแบงกิ้งซึ่งที่ยุโรป เราประสบความสำเร็จอย่างมากในธุรกิจนี้ ดังนั้นความชำนาญของเราจะถูกนำมาปรับใช้กับไทย ดังนั้นถ้าเข้ามาธุรกิจปล่อยสินเชื่อ บัตรเครดิต จะเป็นสิ่งที่เราต้องลงไปเล่น "
"ราเจช" บอกว่าเหมือนมนตร์วิเศษ เอเชียเองก็จะต้องประสบความสำเร็จดั่งยุโรป เพราะจังหสะที่เข้ามาในช่วงนี้มีความเหมาะสมทั้งเรื่องของต้นทุนที่เข้ามาดำเนินการ รวมถึงประชากรในภูมิภาคนี้ที่สามารถรองรับต่อการลงทุนในธุรกิจรีเทลแบงก์กิ้ง
ถ้า "ไอเอ็นจีกรุ๊ป" สามารถลงทุนในธุรกิจแบงก์จะยิ่งเอื้อต่อการดำเนินธุรกิจประกันชีวิตในช่องทางแบงแอสชัวรันส์ ซึ่งเป็นช่วงทางที่ "ไอเอ็นจีประกันชีวิต" ยังเจาะเข้าไปไม่ได้
สำคัญคือการเปิดช่องทางแบงแอสชัวรันส์ หรือ การขายประกันผ่านแบงก์ต่างจากการขายผ่านตัวแทนในหลายๆด้าน แม้ว่าช่วงทางตัวแทนจะยังสำคัญและเป็นช่องทางหลักในธุรกิจประกันชีวิตก็ตาม
จุดเด่นของการขายผ่านแบงก์ ทำให้บริษัทลดต้นทุนจ่ายค่าคอมมิชชั่นให้ตัวแทนในอัตราที่สูงได้ เข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้ตรงเป้าหมาย มีอัตราการเติบโตที่รวดเร็ว ที่สำคัญมีความน่าเชื่อถือ ด้วยฐานะของความเป็น "แบงก์" ในขณะที่ตัวแทนเป็นจุดอ่อนด้านความน่าเชื่อถือ และบริษัทมีต้นทุนในการจ่ายค่าคอมมิชชั่น
แต่อย่างที่บอก แม้ตัวแทนจะเป็นต้นทุนที่สูงแต่ก็เป็นช่วงทางหลักที่สร้างเบี้ยประกันเป็นกอยเป็นกำให้บริษัท แม้แบงก์แอสชัวรันส์จะเกิด แต่ช่องทางตัวแทนก็ยังเป็นโครงสร้าง และเสาหลักของธุรกิจประกันชีวิตในไทย
สำหรับไอเอ็นจีประกันชีวิตนั้น ดำเนินธุรกิจในไทยมาแล้วประมาณ 7ปี มีนโยบายถึงจุดคุ้มทุนในปี 2010 แต่ด้วยการเร่งเติบโต ทำให้มีเบี้ยประกันภัยปีแรกเขจ้ามามากจนต้องตั้งสำรองสูงทำให้ บริษัทปรับนโยบายว่าจะถึงจุดคุ้มทุนในปี 2011 โดยปัจจุบันมีทุนจะทะเบียน 3,000 ล้านบาท และตั้งเป้าปี2550 จะผลิตเบี้ยประกันปีแรกได้ 1,800 ล้านบาท
"ไอเอ็นจีกรุ๊ป" จะลงเอยที่แบงก์ทหารไทยหรือไม่...เป็นคำตอบที่รอคอนเฟิร์มจากทาง "คลัง" เพราะข่าวว่าทุนนอกจากเนเธอร์แลนด์มากมายมหาศาลพร้อมถมใส่ให้...ซึ่งน่าจะช่วยปิดดีลแบงก์ทหารไทยที่ยืดเยื้อมานานให้จบลงเสียที ขณะที่ "สิงโตล้ม"ก็จะได้กระโจนเข้าสู่ธุรกิจรีเทลแบงกิ้งเต็มกำลังให้สมที่กล่าวอ้าง
|
|
|
|
|