Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์27 สิงหาคม 2550
ส่อง 4 ปัจจัย ก่อนเก็บหุ้น ลงทุนสวนกระแสซับไพร์มสยองขวัญ             
 


   
search resources

Investment




พิษซับไพร์มสะเทือนโลก ตลาดหุ้นทุกภูมิภาคกอดคอกันดิ่งเหว บล.กสิกรไทย แนะก่อนลงทุนให้ปลอดภัยควรดู 4 ปัจจัยหลัก VIX- ค่าเงินบาท- ฝรั่งซื้อสุทธิ-เยนอ่อน ด้าน บล.ซิกโก้มอง SET เสี่ยงน้อย มีโอกาสกลับไปยืน 800จุดได้ คาดซับไพร์มอาจไม่เลวร้ายเท่าที่คิด

เป็นที่รู้กันดีว่าความเสียหายขั้นรุนแรงจากการลงทุนซับไพร์ม(Subprime)ในสหรัฐอเมริกาคือจุดเริ่มต้นที่ทำให้ "เฮดจ์ฟันด์" ทั้งหลาย ต้องเทขายสินทรัพย์ทางการเงินอื่นๆที่มีอยู่ทั่วโลกซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในรูปของ "หุ้น"เพื่อนำมาไถ่ถอนคืนให้กับผู้ถือหน่วย รวมถึงคืนให้กับเจ้าหนี้เงินกู้

ด้วยการเทขายจำนวนมหาศาลอย่างพร้อมเพรียงกัน เป็นภาวะที่มี "ซัพพลาย"ที่มากกว่า "ดีมานด์" ทำให้ดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์ในทุกประเทศดิ่งลงพร้อมๆกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ผสานกับความวิตกของนักลงทุนกลุ่มอื่นๆเข้าไปอีกจึงทำให้เกิดมีแรงเทขายมากขึ้น ยิ่งแข่งกันขายก็ยิ่งต้องลดราคา และนี่เองก็คือปฐมเหตุแห่งความปั่นป่วนในตลาดหุ้นทั่วโลกที่เกิดขึ้น

สำหรับในมุมมองของบางคนแล้วกลับคิดว่านี่คือช่วงที่มีโอกาสได้ซื้อของถูก ตามหลักคิดที่ว่า "เมื่อมีวันลงก็ย่อมมีวันขึ้น" แต่คำถามที่ตามมาก็คือ มีตัวแปรอะไรบ้างที่จะเป็นจุดสังเกตให้ได้ว่าถึงจุดที่น่าซื้อแล้ว?

ทวี ชูกิจเกษม ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการสายงานวิจัย บริษัทหลักทรัพย์(บล.)กสิกรไทย มองการปรับตัวลงของดัชนีรอบนี้ว่าไม่มีใครยืนยันได้ว่าจะลงไปถึงระดับใด เพราะนักลงทุนยังคงมีความกังวลกับปัญหาซับไพรม์อยู่ โดยเฉพาะตลาดหุ้นเอเชียเป็นตลาดที่มีสภาพคล่องมากที่สุดทำให้มีแรงเทขายออกมาทั้งภูมิภาคนี้อย่างต่อเนื่อง

"ภาวะแบบนี้เรื่องของ Fundamantal เขาไม่สนใจกันแล้ว สภาพคล่องธนาคารกลางสหรัฐ(FED)อัดฉีดเข้าไปเท่าไหร่ก็ไม่พอ ฉะนั้นกองทุนจึงต้องทำทุกวิถีทางเพื่อขายหุ้นทั้งหมดและนำเงินไปคืน ขายให้หมด ขายทุกราคา ดังนั้นจึงมีโอกาสที่จะเห็นดัชนีปรับตัวลงไปได้อีก"

เห็นได้ว่า FED ค่อยๆออกมายอมรับการลุกลามของปัญหานี้ทีละนิด แต่ก็คงไม่นำมาตรการลดดอกเบี้ยมาใช้ เพราะการลดดอกเบี้ยในช่วงที่มีเงินเฟ้อสูงคงไม่ใช่เรื่องที่ถูกต้องมากนัก

ทุกคนมองว่านี่คือสัญญาณการเริ่มต้นถดถอยของเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา แต่บางคนอาจมองไปถึงขนาดว่านี่คือสัญญาณของ Gobal Crash แล้ว

นักลงทุนจึงไม่จำเป็นต้องรีบเข้าไปซื้อหุ้น wait on the side line ไปก่อน หรืออาจจะเริ่มสะสมหุ้นติดไว้ราว 10-20%ของพอร์ตก่อนก็ได้

สำหรับการลงทุนระยะสั้นควรพิจารณา 4 ปัจจัยหลักก่อนตัดสินใจ อันดับแรกคือ ดูว่าดัชนีความผันผวน (VIX Index)เมื่อใดจะเริ่มนิ่งเพราะปัจจุบันมีค่านี้สูงกว่าปกติมาก อันดับที่2 แนวโน้มค่าเงินบาทที่อ่อนลง ถ้ายิ่งอ่อนมากก็หมายความว่ามีการเทขายมากแล้วเอาเงินออกไปเต็มๆ อันดับ 3 ดูการกลับมาซื้อสุทธิของต่างชาติ ถ้าเป็นบวกเมื่อไหร่ก็หมายความว่าเริ่มซื้อได้แล้ว และสุดท้ายคือ ค่าเงินเยนที่อ่อนลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินดอลลาร์และยูโร เพราะปัจจุบันมีการซื้อคืนเยนจำนวนมากเพื่อปิดสถานะทำให้เงินเยนแข็งมาก

ด้าน เกียรติก้อง เดโช ผู้ช่วยผู้อำนวยการ บล. ซิกโก้ กล่าวว่า หากดูจากวามผันผวนของดัชนี VIX ผ่านเหตุการณ์ต่างๆ ในอดีต จะพบว่าความผันผวนที่รุนแรงและนำไปสู่วิกฤติจะอยู่ที่เกิน 30 ส่วน ตอนนี้อยู่ที่ประมาณเกือบ 30 แล้ว แม้ว่าค่าความผันผวนจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและมีความเสี่ยงอยู่ แต่สถานการณ์ที่คลี่คลายลงและดัชนีลงไปมากพอ ก็น่าจะทำให้ความผันผวนลดลงได้

"ดัชนีหุ้นไทยปรับตัวลงมากกว่าค่าเฉลี่ยทุกดัชนี ซึ่งกำลังแสดงถึงความเสี่ยงที่น้อยมาก หากเข้าไปลงทุน โดยมองว่าหลังจากที่ตลาดหุ้นสหรัฐเริ่มยืนได้ในปลายสัปดาห์นี้ ก็คงมีโอกาสที่ดัชนี SET จะกลับไปยืนที่ 800 จุดได้"

ส่วนปัญหาเรื่อง Subprime มองว่าจะเริ่มหยุดการขยายวง แต่ก็อาจจะมีบางกองทุนที่ขาดทุนเพิ่มเติม ซึ่งไม่น่าจะส่งผลต่อตลาดหุ้นทั่วโลก นอกจากนี้ยังน่าสังเกตว่าช่วงที่เกิดปัญหา Subprime เป็นช่วงที่เศรษฐกิจสหรัฐเริ่มชะลอตัวพอดี ดังนั้นมันจึงเกิดแรงบวก 2 แรงกระหน่ำตลาดหุ้นสหรัฐและขยายวงไปทั่วโลก โดยปัญหาเรื่อง Subprime ในรอบนี้แทบจะไม่ส่งผลต่อพื้นฐานของเศรษฐกิจในเอเชียเลย จะมีอยู่บ้างก็คือ การขายหุ้นของต่างชาติ เพื่อเตรียมเม็ดเงินไว้เผื่อการไถ่ถอน ซึ่งตรงนี้ในไม่ช้าก็คงจะหยุด เพราะตอนนี้ไม่ว่ากองทุนหรือนักลงทุนต่างประเทศจะขายสินทรัพย์จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งนั้น แทบจะได้รับผลกระทบเหมือนกันแทบทั้งสิ้น รวมถึงราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดล่วงหน้า เช่น ทองคำ น้ำมัน

อย่างไรก็ตาม หากมองไปในระยะยาวอีกนิดหนึ่ง เหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น ในไม่ช้าน่าจะเริ่มส่งผลดีต่อกลุ่มธนาคารพาณิชย์ในเอเชีย เพราะแทบจะไม่ได้รับผลกระทบเหมือนกับสถาบันการเงินในสหรัฐและยุโรป ที่ตอนนี้กำลังเผชิญกับการขาดความเชื่อมั่นและศรัทธาของนักลงทุน อันเนื่องมาจากการเข้าไปลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง การปล่อยสินเชื่อที่แทบจะไม่ดูสินทรัพย์ค้ำประกันและการขาดการกำกับดูแล   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us