|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
ตลาดหุ้นไทยคลายกังวลข่าวลือปฏิวัติ-กองทุนซื้อสุทธิ หนุนดัชนีรีบาวด์ 20 จุด บล.ทิสโก้ ชี้แรงเทขายจากกองทุนเฮจฟันด์เริ่มอ่อนแรง หลังทิ้งของมานานแล้ว พร้อมแนะนักลงทุนเข้าทยอยซื้อหุ้น จากทิศทางตลาดหุ้นปรับเพิ่มขึ้น ด้านนครหลวงไทย เชื่อ เดือนกันยายนตลาดหุ้นไทยขึ้นแน่นอน แนะลงทุนหุ้นกลุ่มปตท.-ปิโตรเคมี ด้านบลจ. เอสซีบี ควอนท์ ย้ำตลาดหุ้นไทยน่าลงทุนมากที่สุด
ภาวะการลงทุนในตลาดหุ้นไทยวานนี้ (22 ส.ค.) ดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นแรงในช่วงบ่าย โดยปรับตัวขึ้นไปทำจุดสูงสุดที่ 785 จุด ก่อนจะลดลงเล็กน้อยและปิดตลาดที่ 784.43 จุด เพิ่มขึ้น 2.62% มูลค่าการซื้อขาย 14,178.90 ล้านบาท นักลงทุนสถาบันซื้อสุทธิ 307.21 ล้านบาท นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 406.28 ล้านบาท นักลงทุนรายย่อยซื้อสุทธิ 99.06 ล้านบาท
นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา ประธานกรรมการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า ความผันผวนของตลาดหุ้นในช่วงที่ผ่านมาเป็นไปตามสถานการณ์ตลาดทุนโลก เนื่องจากช่วงที่ตลาดหุ้นปรับตัวเพิ่มข้นอย่างรุนแรงเกิดจากการไหลเข้าของเงินทุนต่างประเทศ ขณะที่หุ้นปรับตัวลดลงไปค่อนข้างมากเป็นเพราะปัญหาสินเชื่อด้อยคุณภาพในภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ (ซับไพรม์) ที่ส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นทั่วโลก
ทั้งนี้ 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา ราคาหุ้นในตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลง 15-20% แต่เชื่อว่าปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจและพื้นฐานของบริษัทยังไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลง การไหลออกของเม็ดเงินเป็นเพียงสิ่งที่เกิดจากปัญหาในต่างประเทศเท่านั้น ขณะที่การแก้ปัญหาของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ที่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่ให้ธนาคารพาณิชย์ในระดับ 0.50% ถื่อเป็นเรื่องที่ดี เพราะเฟดจะต้องคำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในระยะยาวมากกว่าผลกระทบในระยะสั้น
"เราต้องสร้างระบบในการซื้อขายให้มีความพร้อมมากที่สุด เพื่อเตรียมพร้อมเงินทุนที่จะไหลกลับเข้ามา เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ได้เป็นเพราะพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ขณะเดียวกันยังเชื่อว่าภาคเอกชนยังมีความต้องการระดมทุนมากขึ้นในอนาคต เพราะปัจจุบันกำลังการผลิตให้หลายอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 80% ของกำลังการผลิตทั้งหมด ทำให้จะต้องใช้เงินลงทุนขยายกำลังการผลิตเพิ่มในอนาคต บวกกับสภาพคล่องส่วนต่างของธนาคารที่มีอยู่ถึง 4-5 แสนล้านบาทก็พร้อมจะเข้ามาลงทุน" นายปกรณ์ กล่าว
นางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์ฯ กล่าวว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทยที่ผันผวนในขณะนี้ เนื่องจากปัญหาซับไพรม์ยังไม่คลี่คลาย ดังนั้นคงต้องใช้เวลาอีกสักระยะหนึ่งเพื่อให้นักลงทุนได้รับทราบข้อมูลที่ชัดเจน
นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ รมว.คลัง กล่าวว่า การที่ตลาดหุ้นไทยที่ปรับลงแรงเมื่อวันอังคารที่ 22 สิงหาคมนั้น เรื่องนี้ก็ไม่ถึงกับสวนทางตลาดต่างประเทศเสียทีเดียว เพราะมีบางประเทศที่ติดลบเหมือนกัน มองว่าสาเหตุปัจจัยภายในของประเทศนั้น ๆ
"ประเทศอื่นก็มีติดลบเหมือนกัน ส่วนใหญ่หุ้นก็มีขึ้นมีลงคล้ายๆ กันทั้งโลกเมื่อกระแสของโลกเปลี่ยนแปลงไป แต่บางทีก็มีความแตกต่างกันได้" รมว.คลังกล่าว
นายไพบูลย์ นลินทรางกูร กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ทิสโก้ จำกัด กล่าวว่า นับจากนี้ไปแรงขายของกองทุนเก็งกำไร (เฮจฟันด์) จะเริ่มลดลง หลังจากช่วง 2 เดือนที่ผ่านมามีแรงขายออกมาแล้วกว่า 40,000 ล้านบาทจากเม็ดเงินของต่างชาติที่เข้ามาซื้อสุทธิในตลาดหุ้นไทยตั้งแต่ต้นปีที่ 60,000 ล้านบาท
ทั้งนี้ ตลาดหุ้นไทยยังเติบโตที่ดี แต่จะไม่ปรับตัวเพิ่มขึ้นแรงนัก เพราะการไหลเข้าของเม็ดเงินต่างชาติจะต้องใช้เวลา ดังนั้นจึงได้ปรับลดเป้าดัชนีปีนี้เหลือ 800-850 จุด จากเดิมที่ 900 จุด ขณะที่การเลือกตั้งที่เกิดขึ้นจะส่งผลดีต่ออัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจและกำไรของบริษัทจดทะเบียน โดยคาดว่าปี 51 กำไรบจ.จะเติบโตถึง 15% จากครึ่งแรกของปีนี้ติดลบ 17% และคาดว่าดัชนีตลาดหุ้นปีหน้าจะอยู่ที่ 1,000 จุดได้ ดังนั้นนักลงทุนควรถือโอกาเข้ามาทยอยซื้อหุ้น
นายสุกิจ อุดดมศิริกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายวิเคราะห์ บล. นครหลวงไทย กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยในช่วงเดือนกันยนยนนี้จะเริ่มเห็นสัญญาณที่จะปรับตัวเพิ่มขึ้นที่ชัดเจนมากขึ้น เพราะปกติแล้วตลาดหุ้นไทยจะรับรู้และตอบรับกับปัจจัยที่เกิดขึ้นเพียง 1 เดือนเท่านั้น และจากการที่ตลาดหุ้นไทยได้มีการปรับตัวลดลงมา 15% นั้นถือเป็นโอกาสที่ดีที่จะเข้าไปลงทุนในระยะยาว
สำหรับปัญหาซับไพร์มที่เกิดขึ้นจะส่งผลกระทบต่อธุรกิจด้านพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ทำให้ธนาคารพาณิชย์ไทยมีความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่ออสังหาฯ ทำให้มีผลกระทบต่อราคาหุ้นและผลประกอบการของหุ้นกลุ่มอสังหาฯ ด้วย ขณะที่กลุ่มธนาคารพาณิชย์ จะได้รับจากยอดสินเชื่อที่ชะลอตัว สวนทางกับหนี้สินที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) กลับเพิ่มขึ้น ดังนั้นจึงแนะนำให้ลงทุนในหุ้นกลุ่มปตท. และปิโตรเคมีแทน
"ขณะนี้ผมมีความกังวลในเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนจากที่ค่าเงินมีความผันผวนมาก และกังวลว่าธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะสามารถรับมือกับค่าเงินบาทที่มีการอ่อนตัวลงมาได้และทำให้มีเสถียรภาพได้หรือไม่" นายสุกิจ กล่าว
นายปริทรรศน์ เหลืองอุทัย กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เอสซีบี ควอนท์ จำกัด กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยยังมีปัจจัยพื้นฐานที่ดี แต่ที่ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงนั้นได้รับผลกระทบทางจิตวิทยาจากการไหลออกของเม็ดเงินต่างชาติ ซึ่งเป็นจังหวะดีที่จะเข้าไปลงทุน โดยเลือกลงทุนในหุ้นที่มีฐานการเงินที่ดีมีเงินสดสูง และควรมีสัดส่วนการกู้เงินที่ต่ำ
ทั้งนี้ จากปัญหาซับไพร์มจะส่งผลกระทบทำให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ ซบเซาไปอีก 2 ปี โดยขณะนี้ประชาชนของสหรัฐฯ ที่มีการกู้เงินเพื่อซื้อบ้านมีจำนวน 6 แสนคดี และปีหน้าเพิ่มเป็นหลักล้าน ขณะที่บ้านกำลังจะถูกยึดบ้านจำนวน 2 ล้านหลังคาเรือน
"ผู้ที่มีรายได้ในสหรัฐฯ ต้องแบกรับภาระดอกเบี้ยสินเชื่อที่สูงถึง 10% และบ้านที่โดนยึดไปแล้วกว่า1 ล้านครัวเรือนแล้ว เพราะไม่สามารถผ่อนส่งได้ ทำให้ส่งผลต่อยอดขายอสังหาริมทรัพย์ และอนาคตคาดว่าราคาอสังหาริมทรัพย์ในอเมริกาจะถูกลงต่อเนื่อง ปริมาณบ้านค้างสต็อคสูงถึง 7 เดือนสังคมอเมริกาเป็นสังคมที่นิยมหนี้"
นายวีระชัย ครองสามสี ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน บล.ฟาร์อีสท์ กล่าวว่า วานนี้ได้มีแรงซื้อกลับเข้ามาในตลาดหุ้น หลังจากผู้ที่เกี่ยวข้องออกมาชี้แจงกระแสการปฏิวัติรัฐประหาร โดยเฉพาะหุ้นกลุ่มพลังงาน และธนาคารพาณิชย์ ขณะที่ปัจจัยต่างประเทศนั้น เฟดและกระทรวงการคลังสหรัฐฯ กำลังหามาตรการแก้ปัญหาซับไพรม์ ทำให้หลายฝ่ายคลายความกังวลและส่งผลให้ตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวดีขึ้น
"ตอนนี้ตลาดหุ้นค่อนข้างจะอ่อนไหว แต่ถ้ายังไม่มีปัจจัยในเชิงลบหรือมีความคืบหน้าเรื่องมาตรการของต่างประเทศที่จะมาหยุดยั้งเรื่องปัญหาซับไพร์มได้ตลาดน่าจะเป็นบวกมากกว่า" นายวีระชัย กล่าว
นายเทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม ผู้อำนวยการ ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.เอเชียพลัส จำกัด กล่าวว่า ตลาดหุ้นเอเชียยังมีโอกาสผันผวนต่อเนื่อง เพราะปัญหาซับไพรม์ยังไม่นิ่งและยังไม่สามารถประเมินกรอบความเสียหายที่เกิดขึ้น ทำให้เกิดปัญหาการสะดุดของสภาพคล่องของนักลงทุน และเกิดการปรับพอร์ตอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งเม็ดเงินต่างชาติจะไม่กลับมาอยู่ในระดับเดิมหากปัญหานี้ยังไม่มีข้อยุติที่ชัดเจน
|
|
 |
|
|