Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน22 สิงหาคม 2550
แนวโน้มคนกู้ซื้อบ้านฝืดเหตุแบงก์เข้มรับIAS39             
 


   
search resources

ขรรค์ ประจวบเหมาะ
Loan




นายขรรค์ ประจวบเหมาะ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เปิดเผยถึงแนวโน้มการแข่งขันของสถาบันการเงิน ในการปล่อยสินเชื่อตลาดอสังหาริมทรัพย์ในอนาคตว่า จะไม่เป็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ย เนื่องจากธนาคารต่างมีภาระตั้งสำรองตามเกณฑ์ ไอเอเอส 39 ในต้นปี 2551 โดยจะต้องตั้งสำรองสินเชื่อที่ผิดนัดชำระภายในเดือนที่ 3-4 ซึ่งจะทำให้การพิจารณาสินเชื่อของสถาบันการเงินละเอียดมากขึ้น แม้ว่าจะใช้หลักเกณฑ์ในการพิจารณาสินเชื่อตามเดิมก็ตาม

“ ต่อไปนี้ แบงก์ต้องเอ็กซเรย์ผู้กู้แบบละเอียดยิบ แม้ว่าจะใช้หลักเกณฑ์การพิจารณาเหมือนเดิมก็ตาม โดยเฉพาะในเรื่องรายได้ที่แจ้งมาถูกต้องหรือไม่ แหล่งที่มาของรายได้ จากที่เมื่อก่อนไม่ได้ดูละเอียดมากนัก เพื่อป้องกันปัญหาหนี้เอ็นพีแอลตามมาในภายหลัง เพื่อจะได้ไม่ต้องกันสำรองเพิ่ม ” นายขรรค์กล่าว

ทั้งนี้ ในส่วนของธอส. ปัจจุบันในช่วงครึ่งปีแรก ได้กันสำรองไปแล้ว 1,800 ล้านบาท โดยเป็นการกันสำรองระดับ 4 และระดับ 5 ซึ่งตัวเลขดังกล่าวยังไม่ได้กันสำรองในระดับ 3-4 ดังนั้น ธนาคารจะต้องมีความระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อเพิ่มมากขึ้น เพื่อจะได้ไม่ต้องกันสำรองเพิ่ม และพยายามรักษาระดับหนี้เอ็นพีแอลให้อยู่ในระดับปกติ โดยปัจจุบันธอส.มีเอ็นพีแอลประมาณ 300-400 ล้านบาทต่อเดือน

“ ธนาคารจะพยายามรักษาเอ็นพีแอลไม่ให้ไหลไปในระดับ 2- 3 โดยจะมีเจ้าหน้าที่ติดตามหนี้เป็นระดับขั้นไป เช่น หนี้ระดับ 1-3 ใช้เจ้าหนี้ที่ปกติ แต่หากเป็นหนี้ระดับ 4 ขึ้นไปจะต้องใช้เจ้าหนี้ที่ที่มีความเชี่ยวชาญในการติดตามหนี้” นายขรรค์กล่าว

อย่างไรก็ตาม จากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารชาติของสหรัฐอเมริกา (เฟด) ปล่อยกู้ให้แก่ธนาคารภายในประเทศ (ดิสเคาส์เรส) ลงมาเหลือ 0.5% นอกจากนี้ เฟดอาจปรับลดอัตราดอกเบี้ยทั่วไปลงมาอีก เพื่อแก้ปัญหาสินเชื่อซับไพรม์ และคาดการณ์ว่าอัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินโลกมีแนวโน้มปรับลดลง

ทั้งนี้ ปัญหาซับไพรม์ในสหรัฐอเมริกาปัจจุบัน ได้คลี่คลายลงไปบ้างแล้ว และไม่ได้ส่งผลกระทบมายังเมืองไทย และไม่ได้เกี่ยวข้องกับปัญหาดังกล่าวแต่อย่างใด อีกทั้งการปล่อยสินเชื่อของธนาคารไทยมีความรอบครอบ ลูกค้าส่วนใหญ่เป็นลูกค้าชั้นดี ส่วนที่กระทบมีเฉพาะในตลาดหลักทรัพย์ฯเท่านั้น ซึ่งในสัปดาห์นี้ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ได้ขยับขึ้นมามากพอสมควร

ส่วนสถานการณ์ทางการเมืองหลังจากที่ร่างรัฐธรรมนูญผ่านความเห็นชอบจากประชาชน จะมีความชัดเจนมากขึ้นว่า จะมีการเลือกตั้งในปลายปีนี้และจะมีรัฐบาลใหม่ในต้นปีหน้า ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะช่วยฟื้นความเชื่อมั่นจากประชาชนได้มากขึ้น ทำให้ประชาชนตัดสินใจซื้อบ้านได้ง่ายขึ้น

ในส่วนของ ธอส.จะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยด้วยหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับผลจากการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ที่จะมีขึ้นในวันที่ 29 สิงหาคมนี้ อย่างไรก็ตามอัตราดอกเบี้ย

สินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ของ ธอส.ที่มีอยู่ในขณะนี้อยู่ในระดับที่ไม่สูงมากนักคือ 5.5% คงที่ 3 ปีหลังจากนั้นเป็นอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ซึ่งเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาสามารถเปิดสินเชื่อได้เกือบ 8,000 ล้านบาท และคาดการณ์ว่าสินเดือนสิงหาคมนี้จะสามารถปล่อยสินเชื่อได้ประมาณ 9,000 ล้านบาท

ปริญสิริฯหวั่นปัญหาซับไพรม์ชะลอเพิ่มทุน

นายนำชัย วนาภานุเบศ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท ปริญสิริ จำกัด (มหาชน ) กล่าวว่า สำหรับความชัดเจนในการออกหุ้นเพิ่มทุนจำนวน 1,000 ล้านบาท ที่ก่อนหน้านั้นบริษัทได้มีแผนจะออกหุ้นเพิ่มทุนในเดือนส.ค.นี้ เพื่อเสริมสภาพคล่องในการลงทุนของบริษัท และเพื่อนำเงินมาใช้ในการซื้อที่ดินสะสมรอการพัฒนา(แลนด์แบงก์)โครงการใหม่นั้น ขณะนี้ต้องเลื่อนออกไปก่อน

เนื่องจากภาวะตลาดยังไม่เหมาะสม และเกรงว่าปัญหาซับไพรม์ในสหรัฐอเมริกา จะส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นในประเทศ ซึ่งหากจะมีการออกหุ้นเพิ่มทุน1,000 ล้านบาทจริง ก็คาดว่าน่าจะเป็นช่วงเดือนกันยายน แต่อย่างไรก็ตามการออกหุ้นเพิ่มทุนดังกล่าวขณะนี้ ยังไม่มีข้อสรุปจะสามารถดำเนินการที่แน่นชัดในช่วงใด เพราะต้องรอดูภาวะตลาดอีกครั้งหนึ่ง

ส่วนผลกระทบต่อสภาพคล่องทางการเงินของบริษัท ในกรณีที่ไม่ได้ออกหุ้นเพิ่มทุนนั้น ทางบริษัทมั่นใจจะไม่เกิดขึ้น เพราะขณะนี้ บริษัทยังมีสภาพคล่องที่ดี เนื่องจากมีการรับรู้รายได้เข้ามา

อย่างต่อเนื่อง โดยในต้นปี 2551 บริษัทจะเริ่มรับรู้รายได้จากโครงการคอนโดมิเนียมเข้ามาอีกส่วนหนึ่ง ทำให้ปัญเรื่องสภาพคล่องยังไม่เกิด อย่างไรก็ตาม แม้ว่าปัญหาเรื่องสภาพคล่องจะไม่มี แต่หากบริษัทยังไม่มีการออกหุ้นเพิ่มทุนในปี 2551 ก็อาจจะทำให้มีผลต่อสัดส่วนหนี้สินต่อทุน(D/E)เพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อราคาหุ้นได้ ดังนั้น ความจำเป็นในการออกหุ้นเพิ่มทุนจึงยังมีอยู่   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us