|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
เป็นระยะเวลากว่า 20 ปีที่ธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศไทยมีการเติบโตและพัฒนารูปแบบธุรกิจให้สอดคล้องและเหมาะสมกับสภาพการงทุนในแต่ละช่วงเวลา ที่ต้องสัมพันธ์กับเศรษฐกิจที่มีขึ้นมาลง ซึ่งจะทำให้ได้เห็นพัฒนาการต่างๆของธุรกิจแฟรนไชส์
บริษัท แฟรนไชส์โฟกัส จำกัด ได้ทำการรวบข้อมูลสถานการณ์ธุรกิจแฟรนไชส์ พบว่าปัจจัยเศรษฐกิจที่ชะลอตัวส่งผลต่อรูปแบบธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้แฟรนไชซอร์มีการปรับตัว เพื่อให้ธุรกิจสอดคล้องกับความต้องการของผู้ลงทุน
แห่ปรับลดเงินลงทุนเซเว่นฯ นำทีมเหลือ 5 แสน
อันดับแรกพบว่ามีการปรับราคาการลงทุน ซึ่งเป็นแนวโน้มใหม่ของธุรกิจแฟรนไชส์ โดยได้มีการเปรียบเทียบการลงทุนในธุรกิจแฟรนไชส์เมื่อ 5 ปีก่อน การลงทุนเฉลี่ยประมาณ 3 ล้านบาท แต่ปัจจุบันได้มีการปรับราคาการลงทุน ควบคุมต้นทุนต่างๆ เพื่อให้เม็ดเงินการลงทุนอยู่ในระดับล้านบาท รวมถึงรายใหม่ที่ต้องการขยายธุรกิจด้วยระบบแฟรนไชส์นั้นจะตั้งราคาการลงทุนที่ประมาณหนึ่งล้านบาทเช่นกัน
ยกตัวอย่างเช่น เซเว่นอีเลฟเว่น เดิมการลงทุนที่ที่ 3 ล้านบาท ที่ผ่านมาได้ปรับระดับการลงทุนลงมาที่ 1.5 ล้านบาท และล่าสุดที่ 9 แสนบาท แบ่งเป็นเงินลงทุน 5 แสนบาทและอีก 4 แสนบาทเป็นค่าประกันสินค้าเท่ากับลงทุนเพียง 5 แสนบาทเท่านั้น ทั้งนี้การปรับเม็ดเงินการลงทุนสอดคล้องกับขนาดพื้นที่ ทำเลด้วย
ต่อมาคือรูปแบบของการเทิร์นคีย์ คือการที่บริษัทหรือแฟรนไชซอร์ได้เปิดร้านสาขาปูพรมในพื้นที่ที่ศักยภาพและดำเนินการไประยะหนึ่งก่อนที่จะขายร้านสาขาดังกล่าวให้กับผู้ที่สนใจหรือผู้ที่จะเข้ามาเป็นแฟรนไชซี ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการตัดสินใจเร็วขึ้นและมั่นใจต่อธุรกิจเพราะสามารถเห็นยอดขายของสาขา ซึ่งรายที่ทำการเทิร์นคีย์ เช่น เซเว่นอีเลฟเว่น แฟมิลี่มาร์ท และซึทาญ่า ซึ่งแนวโน้มของรูปแบบนี้จะเพิ่มมากขึ้นในอนาคต เพราะเป็นรูปแบบที่จะสร้างความมั่นใจในการตัดสินใจลงทุนของผู้ประกอบการได้มากกว่า
เสนอเงื่อนไขจูงใจ พันธมิตรแบงก์-ผ่อนส่ง
นอกจากนี้คือการลงทุนที่สนับสนุนด้วยสถาบันการเงิน พบว่าแฟรนไชซอร์หลายรายได้นำการลงทุนรูปแบบนี้มาเป็นจุดขาย นอกจากจะทำให้ผู้สนใจลงทุนได้ง่ายเงินแล้วแฟรนไชซอร์รายนั้นยังสร้างความน่าเชื่อถือที่มีสถาบันการเงินของรัฐให้การสนันสนุนกิจการอีกด้วย และสถาบันการเงินที่ให้การสนับสนุนเป็นที่แรกๆ คือ เอสเอ็มอีแบงก์ และได้ขยายสู่สถาบันการเงินเอกชนต่างๆ ร่วมถึงเงินด่วนอิออนอีกด้วย
ขณะเดียวกันแฟรนไชซอร์หลายรายยังมีการเสนอเงื่อนไขการลงทุนที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็นการผ่อนชำระ ซึ่งพบมากในธุรกิจที่มีเงินลงทุนระดับหมื่นบาท เพราะทำให้สามารถเริ่มต้นกิจการได้จากหลักพันบาทเท่านั้น เช่น กิจการตู้หยอดเหรียญต่างๆ หรือมีเงื่อนไขในการเช่าใช้สถานที่และแบ่งผลกำไรกันเป็นต้น ด้วยรูปแบบดังกล่าวนี้ช่วยให้ผู้ประกอบการเปิดกิจการได้ง่ายขึ้น
และจากการรวบรวมข้อมูล ยังพบว่าจากสถานการณ์เศรษฐกิจปัจจุบันพบพฤติกรรมผู้บริโภคแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ชะลอการลงทุนไปจนกว่าหลังการเลือกตั้ง และกลุ่มผู้ที่ลงทุนเพื่อกระจายความเสี่ยง หาทางเลือกใหม่ๆ ทางธุรกิจซึ่งเป็นผู้ที่มีกิจการอยู่แล้ว
หากมองถึงการขยายของธุรกิจแฟรนไชส์ ส่วนใหญ่จะเติบโตในทำเลใหม่ที่เกิดจากการขยายชุมชนใหม่ เช่น โรงงานอุตสาหกรรม หมู่บ้านจัดสรร หอพัก สำนักงานใหม่ หรือห้างสรรพสินค้าที่เปิดใหม่หรือที่มีการปรับพื้นที่ขายเพิ่มขึ้นและการขยายธุรกิจไปยังต่างจังหวัดเพื่อจับจองพื้นที่และเป็นธุรกิจใหม่ของแหล่งทำลนั้นๆ
เปิดเครสอาหารญี่ปุ่น "ชิบูย่า" ขยาย "คีออส" สนองตลาด
บริษัท เนเจอร์ เบสท์ฟู้ดส์ จำกัด เป็นบริษัทอาหารญี่ปุ่นให้กับโรงแรม ร้านอาหารมานานกว่า 10 ปี ที่เล็งเห็นโอกาสการเติบโตของธุรกิจรีเทล จึงได้ตั้ง บริษัท ชิบูย่า ฟู้ด จำกัดขึ้นเพื่อดูแลธุรกิจแฟรนไชส์ร้านอาหารญี่ปุ่น "ชิบูย่า" ปัจจุบันมีร้านต้นแบบที่บริษัทลงทุนเอง 3 สาขา ได้แก่ เอสพลานาด ซีคอนสแควร์ ศรีนครินทร์และฟิวเจอร์พาร์ครังสิต
ปริชาติ อัศวเศรณี ผู้บริหาร บริษัท เนเจอร์ เบสท์ฟู้ดส์ จำกัด ให้ข้อมูลว่า ชิบูย่า เป็นร้านอาหารญี่ปุ่นที่มีการลงทุนสูงหรือประมาณ 3-5 ล้านบาท ซึ่งยอมรับว่าเป็นระดับการลงทุนที่สูงในสถานการณ์ปัจจุบันแม้จะเป็นธุรกิจที่มีโอกาสและการนำเสนอสินค้าในตลาดที่แตกต่างจากแบรนด์อื่นก็ตาม ทั้งนี้จากการเซอร์เวย์กลุ่มนักลงทุนพบว่าความต้องการลงทุน ระดับ 1 แสนบาทมีฐานที่กว้างมาก
ทำให้บริษัทเล็งเห็นโอกาสในกลุ่มนักลงทุนที่มีกำลังซื้อที่ไม่สูงมากนักจึงได้พัฒนารูปแบบธุรกิจเป็นคีออส ที่เงินลงทุน 1 แสนบาท สินค้าที่จำหน่ายคือราเมนและซูชิหรือข้าวปั้นซึ่งยังไม่มีแบรนด์ใดที่ทำเป็นรูปแบบแฟรนไชส์ สิ่งที่จะสร้างความมั่นใจนักลงทุนคือบริษัทเป็นโรงงานผลิตวัตถุดิบเองและมีระบบการจัดส่งที่ดี ระยะสัญญาแฟรนไชส์ 3 ปีและประมาณการคืนทุนที่ไม่เกิน 1 ปี
ปริชาติ กล่าวต่อไปว่า คาดสถานการณ์การเมือง เศรษฐกิจจะคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น ความมั่นใจของนักลงทุนจะเพิ่มขึ้น รวมถึงกลุ่มนักลงทุนที่มีกำลังซื้อสูงที่พร้อมลงทุนระดับล้านนั้นจะกล้าตัดสินใจลงทุนมากขึ้นในปี 2551 จึงจะเริ่มรุกตลาดชิบูย่าที่เป็นอาหารมากขึ้น
สำหรับคอนเซ็ปต์ของชิบูย่าในรูปแบบร้านคือการนำเสนอบะหมี่ญี่ปุ่นสดๆ ให้เห็นที่หน้าร้านและการครีเอทเมนูอาหารญี่ปุ่นที่เป็นฟิวชั่นฟู้ดส์โดยมีทีมพัฒนาโปรดักส์เฉพาะ เช่น ไก่ทอดที่หมักเหล้าสาเกคลุกด้วยสาหร่ายแล้วจึงนำไปทอด เป็นการประยุกต์หน้าตา รสชาติอาหารใหม่ๆ ให้กับผู้บริโภคซึ่งได้รับการตอบรับที่ดี และในฐานะที่เป็นบริษัทผู้ผลิตวัตถุดิบอาหารญี่ปุ่นมานานเห็นเทรนด์การบริโภคอาหารญี่ปุ่น ที่ต้องนำเสนอความแตกต่างซึ่งพิสูจน์ได้จากสาขาเอสพลานาดที่มีร้านอาหารญี่ปุ่นแบรนด์อื่นอยู่แต่ชิบูย่ายังได้รับการตอบรับจากลูกค้าเป็นอย่างดี
"นีโอสุกี้" บุกฟู้ดส์พลาซ่า ลดพื้นที่-ลงทุน 3 แสน
สกนธ์ กัปปิยะจรรยา จรรยา ผู้บริหาร บริษัท นีโอสุกี้ เรสเทอรองส์ จำกัด ให้บริการแฟรนไชส์ “นีโอสุกี้” กล่าวว่า หลังจากที่เปิดตัวคอนเซ็ปต์นีโอสุกี้เอ็กซ์เพรส หรือสุกี้บาร์ เมื่อปีที่ผ่านมาและได้เปิดสาขาต้นแบบที่พันธุ์ทิพย์ พลาซ่า สาขางามวงศ์วานไปแล้วนั้น พบว่าความสนใจของผู้ลงทุนหรือที่จะเข้ามาเป็นแฟรนไชซีนั้นตอบรับค่อนข้างดี เพราะด้วยคอนเซ็ปต์สามารถตอบสนองไลฟ์สไตล์ของคนเมืองหรือในจังหวัดใหญ่ได้เป็นอย่างดีที่ต้องการบริการที่รวดเร็วและสุกี้เป็นอาหารสุขภาพเพราะมีผักสดเป็นองค์ประกอบหลัก
แต่ต้องประสบกับปัญหาคือทำเล เพราะคอนเซ็ปต์ดังกล่าวเป็นรูปแบบสะแตนอะโลน ส่งผลต่อเม็ดเงินการลงทุนที่ต้องสูงขึ้น และในสถานการณ์เศรษฐกิจปัจจุบันการลงทุนด้วยรูปแบบดังกล่าวที่มีเม็ดเงินการลงทุนที่ 1.6 ล้านบาท พื้นที่ 80-150 ตร.ม. นั้นไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ทางบริษัทจึงได้ปรับรูปแบบการลงทุนใหม่เพื่อลดต้นทุนการลงทุนลง จึงได้ประสานไปกับห้างสรรพสินค้าในพื้นที่ ฟู้ดส์ พลาซ่า โดยได้มีการปรับลดพื้นที่เหลือ 80 ตร.ม. จำนวน 50 ที่นั่ง ทำให้การลงทุนลดลงเหลือประมาณ 3 แสนบาทเท่านั้น แม้จะต้องหักเปอร์เซ็นต์ให้กับห้างก็ตาม
"สมาร์ทอิมเมจ" โตสวนกระแส แนะสร้างธุรกิจโดนใจตลาด
ด้าน บริษัท เอ็น เอช แอล เทคโนโลยี จำกัด ผู้ให้บริการแฟรนไชส์ “สมาร์ทอิมเมจ แฮปปี้ช็อป” ซึ่งเป็นหนึ่งในธุรกิจแฟรนไชส์ที่ผู้บริหารบอกว่าไม่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ ด้วยธุรกิจร้านค้าปลีกที่ประยุกต์ภาพถ่ายออกมาเป็นชิ้นงานด้วยการพิมพ์ลงวัสดุต่างๆ นั้นได้สอดคล้องกับการลงทุนและพฤติกรรมผู้บริโภคทุกกลุ่ม ทั้งที่เป็นองค์กรหรือบุคคล ทำให้นักลงทุนเห็นโอกาสการลงทุนนี้
กฤษณะ เลิศชัยไพศาลกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็น เอช แอล เทคโนโลยี จำกัด ผู้ให้บริการแฟรนไชส์ "สมาร์ทอิมเมจ แฮปปี้ช็อป" กล่าวว่า นอกจากเทรนด์ธุรกิจแล้ว บริษัทยังมีระดับการลงทุนตั้งแต่ 20,000 บาทถึง 2.5 ล้านบาท ด้วยความความหลากหลายของระดับการลงทุนจึงทำให้ครอบคลุมนักลงทุนทีมีกำลังลงทุนในทุกระดับ ปัจจุบันการติดต่อเข้ามาลงทุนของระดับเงินลงทุนที่ 1 แสนบาทประมาณ 20 รายต่อเดือน ถ้าลงทุนหลักล้านขึ้นไปเฉลี่ยมีลงทุน 4-5 ราย
"ถ้ามองในภาพรวมการลงทุนในแฟรนไชส์อาจชะลอตัว แต่ทั้งนี้ควรจะแยกเป็นประเภทธุรกิจมากกว่า สำหรับสมาร์ทอิมเมจยังมีการลงทุนต่อเนื่อง ทั้งนี้ดูได้จากการตอบรับของนักลงทุนที่บริษัทได้ออกงาน ไทยแลนด์แฟรนไชส์หรือ TFBO 2007 ระหว่างวันที่ 26-29 ก.ค.ที่ผ่านมา มีนักลงทุนสนใจลงทุนระดับล้านขึ้นไปที่ 90 ราย ส่วนเงินลงทุนไม่เกิน 3 แสนที่ 400 ราย ซึ่งแต่รายมีโอกาสที่จะร่วมธุรกิจกันสูงมาก รวมถึงนักลงทุนจากต่างประเทศอย่างพม่า เวียดนาม สเปน"
กฤษณะ กล่าวต่อไปอีกว่า การสร้างธุรกิจเพื่อขยายเครือข่ายนั้นนักธุรกิจต้องศึกษาธูรกิจที่มีโนว์ฮาวสามารถถ่ายทอดได้อย่างง่าย มีคู่มือเปรียบเหมือนเส้นทางลัดที่พิสูจน์ความสำเร็จแล้วจากแฟรนไชซอร์ และยิ่งเป็นธุรกิจที่มีการฝึกอบรม ให้แฟรนไชซีจะเกิดความั่นใจมากขึ้น รวมถึงเป็นธุรกิจที่มีฐานลูกค้าที่กว้างทุกกลุ่มอายุ เพศ วัย
จะเห็นว่าของสมาร์ทอิมเมจ จะมีสินค้าตั้งแต่เครื่องจักรซึ่งมีกลุ่มลูกค้าเป็นองค์กรที่ซื้อเครื่องจักรสำหรับทำบัตรพนักงาน หรือสินค้าพรีเมี่ยมสำหรับลูกค้า หรือเป็นร้านสมาร์ทอิมเมจ แฮปปี้ช้อป บริการกับผู้บริโภคโดยตรง เป็นสินค้าบริการที่ตอบโจทย์ด้วยคอนเซ็ปต์ที่ว่า "เปลี่ยนลวดลายขายได้อีก" ประกอบกับเป็นธุรกิจที่มีผลกำไรต่อชิ้นสูงถึง 200-500% ทำให้ความสนใจเข้ามาลงทุนสูง
ระดับเงินลงทุนในธุรกิจแฟรนไชส์จาก 488 กิจการ
ระดับเงินลงทุน จำนวนเทียบเป็น %
ต่ำกว่า 10,000 บาท 20%
10,000-100,000 บาท 36%
1- 5 แสนบาท 22%
5 แสน- 1 ล้านบาท 10%
1-3 ล้านบาท 7%
3 ล้านบาทขึ้นบาท 5%
รวมทั้งหมด 100%
|
|
|
|
|