Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤษภาคม 2546








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2546
เส้นทาง 102 ปี ของหุ่นละครเล็ก             
โดย อรวรรณ บัณฑิตกุล
 

   
related stories

หุ่นละครไทยมีชีวิตที่โจ หลุยส์ เธียเตอร์

   
search resources

โจหลุยส์ เธียเตอร์
สาคร ยังเขียวสด




ผู้ให้กำเนิดหุ่นละครเล็ก เมื่อประมาณปี พ.ศ.2444 คือครูแกร ศัพทวณิช ซึ่งเป็นนาฏศิลป์โขน ละคร ในสมัยรัชกาลที่ 4 โดยในสมัยนั้นได้ตั้งชื่อคณะว่า "ละครเล็กครูแกร"

คนเชิดละครคณะนี้คนหนึ่งชื่อ นายคุ่ย ซึ่งเป็นบิดาของสาครยังเขียวสด ผู้สืบทอดศิลปะการเชิดหุ่นละครเล็กในปัจจุบัน สาครใช้ชีวิตอยู่กับคณะหุ่นละครเล็กของครูแกรตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 มีประสบการณ์ในการเชิดหุ่น ทำหุ่น ตั้งแต่เล็ก และยังมีความสามารถในการแสดงโขน ละคร และลิเก ซึ่งในการเล่นลิเกนั้นมักมีผู้เรียกเขาว่า "หลุยส์" ต่อมาถูกเพิ่มเป็น "โจหลุยส์"

การแสดงหุ่นละครเล็กเริ่มลดน้อยลงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อครูแกรอายุมากขึ้นก็ได้มอบหุ่นให้กับสะใภ้ของท่าน 30 ตัว ที่เหลือได้นำไปทิ้งที่แม่น้ำเจ้าพระยาที่ท่าพระจันทร์ทั้งหมด ต่อมาสะใภ้ครูแกรได้มอบหุ่นละครเล็กให้ครูสาคร เพราะเห็นว่ามีความสามารถที่จะถ่ายทอดได้ ต่อมาเมืองโบราณได้ติดต่อซื้อหุ่นไปเก็บไว้ที่เมืองโบราณ ซึ่งครูสาครก็ไม่ได้เก็บหุ่นของครูแกรไว้เลย เพราะครูแกรเป็นเจ้าของที่หวงวิชามากได้สาปแช่งไว้ว่า หากใครจำหุ่นไปสร้างให้มีอันเป็นไปต่างๆ นานา ครูสาครจึงได้เพียงแต่ยึดอาชีพแสดงโขน ละคร ลิเก และทำหัวโขนจำหน่ายเท่านั้น

หุ่นละครเล็กเริ่มมีชีวิตอีกครั้งหนึ่งในปี 2528 หลังจากที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้ขอร้องให้ครูสาครเปิดแสดงขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง ครูสาครเลยตัดสินใจทำพิธีบูชาครูแกร เพื่อขออนุญาตและจัดทำหุ่น พร้อมทั้งเริ่มฝึกหัดให้ลูกทั้ง 9 คน และหลาน 14 คนร่วมเล่นและเปิดแสดงขึ้นเป็นครั้งแรกในปีนั้น โดยตั้งชื่อคณะว่า "หุ่นละครเล็กคณะสาครนาฏศิลป์ ละครเล็กหลานครูแกร"

คณะหุ่นละครเล็กนี้ได้ไปแสดงตามสถาบันการศึกษา และงานเกี่ยวกับวัฒนธรรมต่างๆ ของชาติมากมาย รวมทั้งการเดินทางไปเผยแพร่ศิลปะการแสดงของไทยในต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง

ต่อมา ครูสาครได้รับการยกย่องให้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (หุ่นละครเล็ก) เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ.2539

และยังคงสืบทอดอยู่ในปัจจุบันที่โรงละคร "โจหลุยส์ เธียเตอร์"

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us