Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤษภาคม 2546








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2546
P&G ซื้อ Wella             
 


   
www resources

P&G Homepage
Wella Homepage

   
search resources

P&G
Wella




2 ปีหลังจาก P&G รุกคืบเข้าสู่ตลาดยุโรปด้วยการซื้อ Clairol ล่าสุดต้องจ่ายเกือบ 6 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อซื้อ Wella และกลายเป็นบริษัทอันดับสองด้านผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผม

ในที่สุดยักษ์ใหญ่ผู้ผลิตสินค้าอุปโภค สัญชาติอเมริกัน Procter & Gamble (P&G) ประสบความสำเร็จในการค้นหา เพื่อรวมกิจการกับธุรกิจเครื่องสำอางในทวีปยุโรป หลังจากใช้เวลาตัดสินใจหลายเดือน ด้วยการเข้าซื้อ Wella ผู้นำผลิตภัณฑ์บำรุง เส้นผมและน้ำหอมแห่งเยอรมนี

การดำเนินการครั้งนี้ของ P&G ทำให้สามารถก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งผู้นำธุรกิจความงาม และยกระดับเป็นคู่แข่งสำคัญของ L'Oreal ด้านธุรกิจความงามอันดับหนึ่งของโลก โดยปัจจุบัน P&G มีแบรนด์ชั้นนำอย่าง Cover Girl, Max Factor และ Pantene เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค และในปี 2001 ซื้อกิจการ Clairol ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นในการขยายกิจการเข้าสู่ตลาดยุโรปอย่างเต็มตัว

ความพยายามของ P&G ก็ต้องแข่งขันกับ Henkel อย่างหนัก เนื่องจากได้ยื่นข้อเสนอเพื่อซื้อ Wella เช่นเดียวกัน ในราคา 80 ยูโรต่อหุ้น ตั้งแต่เดือนตุลาคมปีที่ผ่านมา แต่ได้รับการปฏิเสธกลับไปด้วยเหตุผลให้ราคาต่ำเกินไป

อย่างไรก็ตาม Henkel ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมาสามารถซื้อหุ้น Wella ได้ในสัดส่วน 6.86% แต่ก็ถูกขัดขวางจากผู้ถือหุ้นเดิมของ Wella อย่างเต็มที่เช่นเดียวกัน

ดีลนี้ P&G ซื้อหุ้นทั้งหมดจำนวน 77.6% จากตระกูล Stroeher ผู้ก่อตั้ง Wella โดยจ่ายเป็นเงินสดในราคา 92.25 ยูโรต่อหุ้น จำนวน 44.1 ล้านหุ้น และ 61.50 ยูโร สำหรับหุ้นบุริมสิทธิจำนวน 23.38 ล้านหุ้น รวมมูลค่าทั้งสิ้น 5.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ (5.54 พันล้านยูโร) และหากรวมกับมูลหนี้แล้ว P&G ต้องจ่ายถึง 6.5 พันล้านยูโร

"การรวมกิจการเป็นกลยุทธ์สำคัญของพวกเรา ที่ทำให้เกิดความแข็งแกร่งและกลายเป็นผู้นำในธุรกิจด้านผลิตภัณฑ์บำรุงเส้นผม" A.G. Laflay ประธานกรรมการ ประธานและเจ้าหน้าที่บริหาร P&G เล่า

ขณะที่การบริหารงานของทีมงาน Wella ยังคงควบคุมบริษัทต่อไปไม่มีการเปลี่ยนแปลง "พวกเราจะนั่งทำงานต่อไปภายใต้กลยุทธ์การเติบโตจนถึงปี 2005 และหลังจากนั้นจึงดำเนินการตามเงื่อนไขในการรวมกิจการ" Heiner Guertler กรรมการบริหาร Wella กล่าว

นักวิเคราะห์ให้ความเห็นว่า Wella จะผลักดันให้ P&G ดำเนินธุรกิจในตลาดยุโรปได้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น เนื่องจากเป็น แบรนด์ที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคและร้านทำผมระดับสูง ประกอบกับตลาดน้ำหอมที่มีแบรนด์สร้างรายได้อย่าง Gabriela Sabatini อีกทั้งยังได้รับการต่อสัญญาให้ทำตลาดน้ำหอมให้กับ Gucci ไปอีก 30 ปี

"Wella จะเข้ามาทำให้ธุรกิจน้ำหอมของ P&G ที่มีแบรนด์ Hugo Boss แข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น" นักวิเคราะห์กล่าว "โดยภาพรวมแล้ว Wella จะสนับสนุนให้พวกเขาเข้าสู่ตลาดยุโรปตะวันตกและตะวันออก ละตินอเมริกา และญี่ปุ่น ซึ่งเป็น ตลาดที่ P&G ไม่มีศักยภาพมากนัก"

ดังนั้น นี่จึงเป็นยุทธศาสตร์การดำเนินธุรกิจใหม่ของ P&G เพื่อก้าวขึ้นเป็น ผู้นำอย่างแท้จริงแทน O'Lreal "ปัจจุบัน Wella มีส่วนแบ่งตลาด 24% เป็นรองO'Lreal ที่มีส่วนแบ่งสูงถึง 29%" นักวิเคราะห์แห่งโกลด์แมน แซคส์ กล่าว

"ปีแรกรายได้ของ Wella มีเพียงเล็กน้อย แต่ตัวเลขนี้จะค่อยเติบโตขึ้น โดย ปีถัดไปจะเริ่มมีกำไรต่อหุ้น และชัดเจนอย่างมากในปีที่ 3" ผู้บริหารระดับสูง P&G เปิดเผย

ดีลที่สมบูรณ์

"เป็นการรวมกิจการที่ดีสำหรับทั้งสองฝ่าย" Susanne Seibel นักวิเคราะห์แห่ง UBS Warburg ในกรุงลอนดอนกล่าว "Wella ไม่มีความแข็งแกร่งทางการตลาดนอกยุโรป ที่พวกเขาสามารถกระจายผลิตภัณฑ์ และขยายตัวผ่าน P&G"

ด้าน Jennifer Fisher นักวิเคราะห์ แห่ง Cazenove ในยุโรปบอกว่า เป็นดีลที่มีความเหมาะสมอย่างมาก เพราะทั้งสองฝ่ายจะช่วยกันผลักดันให้ผลิตภัณฑ์ต่างๆ กระจายได้กว้างมากขึ้น นั่นหมายถึงการขยายของตัวเลขยอดขาย

Wella เป็นที่รู้จักของผู้เชี่ยวชาญและนักออกแบบทรงผม (Stylists) และช่างทำผม (Beauticians) ขณะที่ P&G แข็งแกร่งด้านแชมพูและครีมนวดผม และเป็นผู้นำในตลาดแถบอเมริกา ส่วนอีกฝ่าย ได้รับความนิยมในยุโรป

ดังนั้น ในฐานะผู้ครองตลาดอันดับ 2 ของ Wella ย่อมมีความสำคัญโดยตรงที่ P&G จะนำผลิตภัณฑ์เข้ามาได้ทันที บวกกับส่วนแบ่งตลาดของ Clairol และการเติบโตของตลาดยุโรปประมาณ 4-5% ส่งผลให้สามารถมีส่วนแบ่งตลาดถึง 30% แซงหน้า L'Oreal

ปัจจุบันตลาดผลิตภัณฑ์บำรุงเส้นผมสำหรับรายย่อยทั่วโลกมีตัวเลขอยู่ที่ประมาณ 34 พันล้านเหรียญสหรัฐ และ P&G มียอดขายธุรกิจนี้กว่า 4.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่ Wella มียอดขายปีล่าสุด 3.62 พันล้านเหรียญสหรัฐ

ส่วนผลิตภัณฑ์บำรุงเส้นผมสำหรับมืออาชีพมียอดขายทั่วโลก 10 พันล้านเหรียญสหรัฐ และตลาดน้ำหอมโลกคาดว่า มียอดขายใกล้ 20 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดย P&G และ Wella มียอดขายรวมกันมากกว่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ

"Wella ช่วยให้บริษัทเติบโตได้ในอัตราตัวเลขสองหลัก" Clayton Daley เจ้าหน้าที่บริหารการเงิน P&G บอก "P&G ในระยะยาวไม่เปลี่ยนแปลง โดยยอดขายเติบโตต่อเนื่องประมาณ 4-6% ขณะที่ผลตอบแทนต่อหุ้นเติบโตในอัตราตัวเลขสองหลัก"

สิ้นยุคตระกูล Stroeher

หลังการรวมกิจการครั้งนี้สิ้นสุดลง Wella ได้ออกมาเปิดเผยว่า ไม่คาดหวังถึงปัญหาการผูกขาดในการบริหารงาน คำถาม ก็คือ P&G จะเข้ามาล้วงลูกมากน้อยแค่ไหนในการควบคุมอำนาจฝ่ายบริหาร

ปี 1880 ช่างทำผมหนุ่มอายุ 26 ปี Franz Stroeher สร้าง Wella ขึ้นมาบริเวณหัวมุมถนนเพื่อให้บริการผมปลอม ถักเปีย และต่อผม ในช่วงปี 1900 เขาสามารถสร้างรายได้สูงสุดในอุปกรณ์ผมปลอม จนกระทั่งปี 1904 เขาสร้างโรงงาน แห่งแรกขึ้นในเยอรมนีตะวันออก ที่ Rothenkirchen

ปี 1927 Wella ประสบความสำเร็จอย่างสูงโดยมีผลิตภัณฑ์ครอบคลุม โดยเฉพาะการมีร้านทำผมและผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ยิ่งไปกว่านั้น Wella เป็นเครื่องหมายการค้าที่ได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคอย่างกว้างขวาง

ทศวรรษที่ 1930 Franz Stroeher สามารถนำผลิตภัณฑ์ของตัวเองกระจายเข้าสู่ตลาดอเมริกาได้เป็นผลสำเร็จ อีกทั้งยังทำตลาดในยุโรปอีกด้วย และในทศวรรษ 1950 สามารถสร้างตลาดในแอฟริกาใต้ ออสเตรเลีย และบราซิล จนเป็นที่นิยมของลูกค้า ที่สำคัญสร้างห้องปฏิบัติการพัฒนาและวิจัยขึ้นเป็นผลสำเร็จ

ผลิตภัณฑ์กระจายไปทั่วโลก หลังจากรุกตลาดญี่ปุ่นได้เป็นครั้งแรกในปี 1965 พร้อมกับรุกคืบเข้าสู่นิวซีแลนด์ เม็กซิโก อิหร่าน และ 6 ประเทศในยุโรปในลักษณะ ร่วมกิจการกับนักลงทุนท้องถิ่น และในปี 1983 เข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้น พร้อมกับรุกตลาดฮ่องกงและเกาหลีใต้ ถัดมาอีก 4 ปีประสบความสำเร็จในการทำตลาดน้ำหอมด้วยการรวมกิจการกับ Parfum Rahas แห่งฝรั่งเศส

ปี 1993 เทกโอเวอร์ผู้เชี่ยวชาญด้านออกแบบของ Sebastian และปีถัดมา รุกกิจการเครื่องสำอางและน้ำหอมครั้งใหญ่ ด้วยการรวมกิจการกับ Muehlens เจ้าของ ผลิตภัณฑ์ 4711 และในปี 1997 ควบ รวมกับฝ่ายเครื่องสำอางและน้ำหอมกับ Cosmopolitan Cosmetics และล่าสุดธุรกิจเครื่องสำอางสร้างยอดขายได้ถึง 3.4 พันล้านเหรียญยูโร

ปัจจุบัน Wella ยังคงเน้นการบริหารงานในลักษณะอิสระ แต่ยังคงมีผู้สืบทอดของครอบครัว Stroeher บางคนไม่ให้ความสนใจที่จะดำเนินธุรกิจนี้ต่อไปเท่าไร ดังนั้นเมื่อ P&G ยื่นข้อเสนอด้วยราคาที่น่าสนใจก็เป็นเหตุผลเพียงพอในการขายหุ้นออกไปของครอบครัวนี้

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us