Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤษภาคม 2546








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2546
Cost Saving             
 


   
search resources

Reuters Software Thailand
Software




การเคลื่อนย้ายศูนย์พัฒนาซอฟต์แวร์ของ Reuters มา ยังกรุงเทพฯ พร้อมกับการขยายการลงทุนในช่วงปีที่ผ่านมา เป็น ปรากฏการณ์ที่น่าจับตามอง หลังจากที่ Reuters ต้องเผชิญกับปัญหาขาดทุนมากถึง 493 ล้านปอนด์ ในช่วงปี 2002 ซึ่งนับเป็นการรายงานผลประกอบการขาดทุนครั้งแรกในประวัติการก่อตั้งของ Reuters เลยทีเดียว

แม้ว่า Reuters Software Thailand จะเปิดดำเนินการในประเทศไทยมานานกว่า 1 ปี แต่ภารกิจหลักของศูนย์พัฒนาซอฟต์แวร์กรุงเทพฯ (Software Development Centre) แห่งนี้ ดูเหมือนจะมีความชัดเจน และกำลังเป็นกลไกหลักในการประกอบ ธุรกิจของ Reuters ท่ามกลางความพยายามที่จะลดทอนค่าใช้จ่าย และปรับปรุงระบบการบริหารขององค์กรผู้ให้บริการด้านข่าวสาร ข้อมูลระดับโลกที่มีอายุยืนยาวมากกว่า 150 ปีแห่งนี้

"ศูนย์พัฒนาซอฟต์แวร์แห่งนี้ จะทำหน้าที่เป็นประหนึ่งศูนย์วิจัยและพัฒนา ขณะเดียวกันก็จะมีบทบาทในลักษณะของหน่วยบริการลูกค้า ซึ่งแม้ว่าศูนย์พัฒนาแห่งนี้จะมีสถานะเป็น cost centre แต่สำหรับ Reuters การขยายการลงทุนในศูนย์ แห่งนี้ เป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ว่าด้วยการย้ายการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เชิงกลยุทธ์ของ Reuters" Ronald Dale ประธานฝ่ายพัฒนาธุรกิจของ Reuters ประจำภูมิภาคเอเชียระบุ

บทบาทหลักของ Reuters Software ในประเทศไทย อยู่ที่การรับผิดชอบดูแล บำรุงรักษาผลิตภัณฑ์และบริการต่างๆ ทดสอบและรวบรวมระบบธุรกรรม Reuters premium 3000 Xtra ชนิดต่างๆ ตลอดจนพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงกลยุทธ์

ผลิตภัณฑ์ที่เรียกว่า Reuters Market Data Solutions ซึ่ง Reuters มีส่วนแบ่งทางการตลาดจากธุรกิจระบบห้องค้าหลักทรัพย์ถึง 80% เป็นผลิตภัณฑ์เชิงกลยุทธ์ลำดับแรกๆ ที่ศูนย์พัฒนาซอฟต์แวร์กรุงเทพฯ เข้ารับผิดชอบทั้งในส่วนของการสนับสนุนและพัฒนา โดยคาดว่าภายในสิ้นปี 2003 ธุรกิจระบบห้องค้าหลักทรัพย์ของ Reuters ที่รวมถึง TIB Classic และ Triach จะดำเนินไปโดยมีศูนย์พัฒนาซอฟต์แวร์กรุงเทพฯ แห่งนี้เป็นจักรกลสำคัญ

"การลงทุนที่มีต้นทุนต่ำในประเทศไทยอาจเป็นปัจจัยหนึ่ง ที่ทำให้ Reuters เลือกกรุงเทพฯ เป็นที่ตั้งของศูนย์พัฒนาซอฟต์แวร์ แต่ประเด็นสำคัญอยู่ที่ประสิทธิภาพของบุคลากร และทำเลที่ตั้งของกรุงเทพฯ ที่มีศักยภาพและแนวโน้มที่ดีในระยะยาวมากกว่า"

ภายใต้แผนว่าด้วยการ re-focusing ในธุรกิจหลัก ส่งผล ให้ Reuters ปิดการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาซอฟต์แวร์อย่างน้อยสามแห่งในสหรัฐอเมริกา ไม่ว่าจะเป็นศูนย์พัฒนาซอฟต์แวร์ ที่ New York, Chicago หรือในมลรัฐ California และหันมาเน้นความสำคัญของศูนย์พัฒนาซอฟต์แวร์หลักให้ครอบคลุมธุรกรรมในแต่ละภูมิภาคมากขึ้น

ทั้งนี้ นอกจากศูนย์พัฒนาซอฟต์แวร์ในกรุงเทพฯ แล้ว Reuters ยังมีศูนย์พัฒนาซอฟต์แวร์หลักอยู่ในเซ็นหลุยส์, ปารีส และลอนดอน ควบคู่กับการปฏิบัติงานของหน่วยพัฒนาย่อยที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ซึ่งกระจายอยู่ทั้งในสหรัฐอเมริกา, ยุโรป และเอเชีย รวมอีก 6 แห่งด้วย

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us