ช่วงต้นทศวรรษ 1980 เมื่อสตีเฟน เคส (Stephen Case) เป็นผู้ดูแลเรื่อง การคิดค้นพิซซ่าสูตรใหม่ๆ
ให้กับ "พิซซ่า ฮัท" (Pizza Hut) เขาพบว่าบริการ สั่งสินค้าระบบออนไลน์ ที่ชื่อ
"Source" ในขณะนั้น เป็นเทคโนโลยี ที่ไม่ค่อย อำนวยความสะดวกกับลูกค้าเท่า ที่ควร
แต่เชื่อมั่นว่าสามารถปรับปรุงให้ดีขึ้นได้ ในปี 1983 เขาจึงหันไปทำงานด้านการตลาดให้กับ
"คอนโทรล วิดีโอ" (Control Video) ซึ่งให้บริการออนไลน์กับลูกค้าเกมคอมพิวเตอร์
"อาตาริ" (Atari)
ต่อมา คอนโทรล วิดีโอ เริ่มมีปัญหา เคสได้ช่วยจิม คิมซีย์ (Jim Kimsey) ซึ่งเพิ่งรับตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
(CEO) หาเงินทุนกอบกู้กิจ การขึ้นมาได้ ปี 1985 บริษัทก็เปลี่ยนชื่อเป็น "ควอนตัม
คอมพิวเตอร์ เซอร์วิส" (Quantum Computer Services) ให้บริการออนไลน์
"Q-Link" สี่ปีให้ หลังกิจการก็สามารถให้บริการครอบคลุมทั่วสหรัฐฯ
ในชื่อ "อเมริกัน ออนไลน์" และ เปลี่ยนชื่อบริษัทตามชื่อบริการในปี
1991
ปี 1992 เอโอแอลเข้าตลาดหลักทรัพย์ เคสเข้ารับตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารในปีถัดมา
โดยมีมาร์ค เซริฟ (Marc Seriff) ซึ่งสำเร็จการ ศึกษาจากเอ็มไอที และเป็นผู้ร่วมก่อตั้งกิจการที่ค่อนข้างเก็บตัว
เป็นผู้บุกเบิกในด้านเทคโนโลยีให้กับบริษัท เอโอแอลทุ่มเงินจำนวนมากด้านการตลาด เพื่อ ที่
จะเอาชนะคู่แข่งอย่าง "โพรดิจี" (Prodigy) และ "คอมพิวเซิร์ฟ"
(CompuServe) และยังดึงลูกค้าได้เพิ่มขึ้นเมื่อเริ่มให้บริการผ่านวินโดว์สในปี
1993
ปี 1994 พอล อัลเลน (Paul Allen) ผู้ร่วมก่อตั้งกิจการไมโครซอฟท์ ขายหุ้น
24.9% ในเอโอแอลหลังจาก ที่บริษัทไม่ยกตำแหน่งให้เขา ในคณะกรรมการของบริษัท
ปีนั้น เอง เอโอแอลได้ซื้อกิจการด้านบราวเซอร์ ซอฟต์แวร์ "บุคลิงค์ เทคโนโลยี"
(Booklink Technologies) จาก CMGI ทำให้ฐาน สมาชิกขยายเป็นกว่าหนึ่งล้านราย
ปี 1995 เอโอแอลร่วมมือกับธุรกิจด้านสื่อของเยอรมนีคือ "เบอร์เทลส์
มาน" (Bertelsmann) ให้บริการออนไลน์ในยุโรป แต่ปีถัดมาเมื่อธุรกิจแข่งขันกันมากขึ้น
เอโอแอลจำต้องเรียกเก็บค่าบริการจากสมาชิกในอัตรารวด ทำให้ สมาชิกใช้บริการเป็นเวลานานขึ้นมาก
เซริฟจึงตัดสินใจลาออกไป
ปี 1997 บ๊อบ พิทแมน (Bob Pittman) ผู้บริหารคนใหม่ ซึ่งเป็นผู้ก่อ ตั้งเอ็มทีวี
เข้ามาปรับทิศทางด้านการตลาดเสียใหม่ และมุ่งแก้ปัญหา ที่เกิดใน ขณะที่มีการใช้บริการเครือข่ายพร้อมกันเป็นจำนวนมาก
บริษัทถูกฟ้องเรียก ค่าเสียหาย และตกลงจ่ายเงินชดเชยให้กับลูกค้า ที่ประสบปัญหายุ่งยากในขณะที่ใช้บริการออนไลน์ ปีต่อมา บริษัทก็ได้ขายธุรกิจในส่วนบริการเครือข่ายให้
กับ "เวิลด์คอม" (WorldCom หรือ MCI WorldCom ในปัจจุบัน) โดยแลกกับ
ธุรกิจบริการออนไลน์ "คอมพิวเซิร์ฟ" กับเงินสดอีก 147 ล้านดอลลาร์
เอโอ แอลยังซื้อ "เน็ตแชนเนล" (NetChannel) ทำให้มีฐานทางด้านโทรทัศน์อินเตอร์
แอคทีฟเพิ่ม
ปีที่แล้ว เอโอแอลซื้อกิจการ "มูวีโฟน" (ปัจจุบันคือ เอโอแอล
มูวีโฟน (AOL Moviefone)) และซื้อกิจการ "เน็ตสเคป ค€มมิวนิเคชันส์"
เป็นมูลค่า ราว 10,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งช่วยขยายฐานธุรกิจให้กับบริษัทได้อย่างดี และ
จะเอื้อประโยชน์ในธุรกิจ ที่เอโอแอล และซัน ไมโครซิสเต็มส์ ตกลงร่วมกัน พัฒนาซอฟต์แวร์ด้านอี-คอมเมิร์ซในชื่อ
"iPlanet" ตั้งแต่เมื่อสองปีก่อนด้วย
ปีที่แล้วเช่นกัน เอโอแอลร่วมมือกับ "ฮิวจ์ อิเล็กทรอนิกส์" (Hughes
Electronics) ลงทุนเป็นมูลค่า 1,500 ล้านดอลลาร์ พัฒนาบริการอิน เตอร์เน็ต และบันเทิงระบบดิจิตอล
ส่งผลให้ "ไดเร็ค ทีวี" (Direct TV) และ "เอโอ แอล ทีวี"
(AOL TV) ก้าวขึ้นมาอยู่แถวหน้าของธุรกิจ อีกทั้งยังร่วมมือกับ "ไดเร็คพีซี"
(DirectPC) ให้บริการด้านอินเตอร์เน็ตผ่านดาวเทียมอีกด้วย
ผลประกอบการของคอมพิวเซิร์ฟกระเตื้องขึ้นเมื่อปีที่แล้ว หลังจาก ที่เอ โอแอลเสนอส่วนลดการซื้อคอมพิวเตอร์ให้กับลูกค้า ที่ใช้บริการ
โดยจับมือ กับผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ "เกตเวย์" (Gateway) ทำตลาดบริการของเอโอแอล
ภายใต้ชื่อ "เกตเวย์พีซี" (Gateway PCs) และเอโอแอลได ้เข้าดำเนินการใน
"Gateway.net" ทั้งนี้เอโอแอลตกลงลงทุน 800 ล้านดอลลาร์ในกิจการ
"เกตเวย์" นอกจากนั้น เอโอแอลยังรุกเข้าตลาดค้าปลีก โดยร่วมมือกับวอลมาร์ต
ให้บริการอินเตอร์เน็ต เอโอแอลยังได้ซื้อกิจการเกี่ยวกับแผนที่ระบบ ออนไลน์
"แมปเควสต์" (MapQuest) อีกด้วย