Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤษภาคม 2546








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2546
Blue Team             
โดย ไพเราะ เลิศวิราม
 

   
related stories

iron lady
New Model
Rising Star
เลือดสีฟ้า
ยักษ์สีฟ้าตื่นทวงบัลลังก์แชมป์
ใครบอกว่าช้างตัวอ้วนเต้นรำไม่เป็น

   
www resources

โฮมเพจ ไอบีเอ็ม (ประเทศไทย)

   
search resources

ไอบีเอ็ม ประเทศไทย, บจก.
Computer




หนุ่มสาววัยใส อายุ 20 ต้นๆ ที่กาวพ้นรั้วมหาวิทยาลัยมาหมาดๆ เหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของความคิดริเริ่มของ ทรงธรรม เพียรพัฒนาวิทย์ ที่ต้องการสร้าง "เลือดสีฟ้า" ที่เป็นวัฒนธรรมดั้งเดิมของไอบีเอ็มกลับมาใช้อีกครั้ง

ใครที่เคยเป็นพนักงานไอบีเอ็มในช่วง 10 กว่าปีที่แล้วต้องเคยผ่านชีวิตการเป็น trainee ต้องเข้าห้องเรียน บินไปนั่งฟังอบรมที่เมืองนอก กับเพื่อนๆ ร่วมรุ่นที่เข้ามาทำงานพร้อมๆ กันถึง 1 ปีเต็ม ก่อน ที่พวกเขาจะเริ่มทำงานได้จริง

"เมื่อก่อนไอบีเอ็ม เชื่อเรื่องการลงทุนจากคนเยอะมาก พนักงานที่เข้ามาใหม่กว่าจะไปพบลูกค้าได้ ต้องผ่านการ training ไม่ต่ำกว่า 9 เดือน ผ่านหลักสูตร 3 คอร์ส ยังไม่ได้พบลูกค้าเลย ต้องตามรุ่นพี่ไปก่อน" ผู้บริหารของไอบีเอ็มย้อนความหลังในอดีต

สภาพแวดล้อมทางธุรกิจของ ไอบีเอ็ม ไม่ว่าจะเป็นลูกค้าองค์กรขนาดใหญ่ที่ต้องใช้ทีมงานจำนวนมากดูแล และเทคโนโลยีที่เป็นระบบเฉพาะตัวอย่างเมนเฟรมหรือ AS/400 ทำให้ไอบีเอ็มจำเป็นต้องลงทุนฝึกฝน สร้างบุคลากร ให้มีทักษะและความรู้ เป็นขีดความสามารถเฉพาะตัวที่ไอบีเอ็มจำเป็นต้องสร้างขึ้น

แต่เมื่ออุตสาหกรรมเปลี่ยน สินค้าเปลี่ยน ตลาดที่เคยเป็นขีดความสามารถเฉพาะ อย่างเมนเฟรม หรือมินิคอมพิวเตอร์ ไม่ใช่จุดแข็งของไอบีเอ็มอีกต่อไป ต้องเปลี่ยนเป็นระดับ mass ไปสู่ตลาดเซิร์ฟเวอร์ พีซี โน้ตบุ๊ค เพื่อตอบสนองลูกค้าในกลุ่มที่กว้างขึ้น เป็นลูกค้า องค์กรขนาดกลางและย่อม ซึ่งเป็นตลาดที่มีรูปแบบและวิธีการทำตลาดที่แตกต่างกันไปจากอดีต

ไอบีเอ็มต้องเปลี่ยนวีธีคิด วิธีการทำตลาดในรูปแบบใหม่ เพื่อให้เท่าทันกับคู่แข่งในตลาด แรงบีบคั้นที่ต้องบุกตะลุยข้างหน้า ไอบีเอ็มไม่มีเวลาและไม่มีเงินทุนมากพอสำหรับการสร้างเลือดใหม่เหมือนในอดีต

นโยบายที่เปลี่ยนแปลงไปคือ การรับพนักงานของไอบีเอ็มในช่วง 10 ปีให้หลังนี้ จึงเป็นมืออาชีพที่เคยผ่านประสบการณ์ทำงานมาแล้ว เริ่มต้นทำงานได้ทันทีในวันแรกที่ทำงาน

แต่มืออาชีพเหล่านี้ ก็มีข้อจำกัดที่ต้องปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมองค์กรของไอบีเอ็ม ที่มีแบบแผน และกฎเกณฑ์ในการสร้างบุคลากรที่เป็นแบบอย่างเฉพาะของไอบีเอ็ม และความภักดีในองค์กรน้อยกว่า เลือดใหม่ ไฟแรงเข้ามาเสริม นักศึกษาจบใหม่เหล่านี้ ยังไม่มีกรอบกติกาและประสบการณ์เดิมมาเป็นข้อจำกัดในการเรียนรู้ ที่จะเปิดรับวัฒนธรรมองค์กรของไอบีเอ็ม ที่ต้องสร้างบุคลากรที่ทุ่มเท ทำงานภายใต้ข้อเรียกร้องที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ

"เราต้องมีทั้งมืออาชีพ และเด็กจบใหม่ที่เอามาฝึก ผมยังจำได้ ตอนเป็น trainee มันจะมีความรักใคร่กลมเกลียว เหมือนพี่น้อง มีความสัมพันธ์กัน แต่ทุกวันนี้ธรรมเนียมเหล่านี้หายไปหมด" ทรงธรรม บอกถึงแรงบันดาลใจริเริ่ม Blue Team ที่ถือเป็นผลงานหนึ่งในยุคของเขา

แม้ว่าทีมผู้บริหารระดับรองกรรมการผู้จัดการจะเห็นด้วย แต่แนวคิดของเขาไม่ได้ รับความเห็นชอบจากผู้บริหารของบริษัทแม่ ทรงธรรมตัดสินใจเลือกวิธีเฉือนค่าใช้จ่ายในส่วนของสำนักกรรมการผู้จัดการ ที่มีเขาเป็นคนรับผิดชอบ มาใช้สร้าง Blue Team รับสมัครเด็กจบใหม่ตามมหาวิทยาลัย และนำมาฝึก แต่ลดเวลาฝึกเหลือเพียงแค่ 6 เดือน

"ผมยอมเสี่ยงเอง ยอมแบกต้นทุนนี้เอง จ้างมา 16 คน มาฝึก แต่ก็มีเงื่อนไขว่า หลังจาก 6 เดือนแล้ว ส่วนงานไหนมาดึงตัวเอาไปก็ต้องจ่ายผมเป็นค่า training กลับคืนมา 6 เดือน รองกรรมการผู้จัดการทุกคนก็ตกลง"

ทุกวันนี้ไอบีเอ็มรับ Blue Team มาแล้ว 2 รุ่น 2 ปี มีทีมงาน 20 กว่าคน ที่แยกย้ายไปตามส่วนงานต่างๆ หลังจากฝึกมาได้ 6 เดือน และพร้อมภายใต้แรงกดดันที่แตกต่างกัน ภายใต้วิธีคิดในการทำธุรกิจที่แตกต่างไปจากอดีต

"เด็กพวกนี้ไฟแรง ถ้าเขารู้สึกว่าได้รับเกียรติ องค์กรให้ความสำคัญกับเขาก็จะทำ เต็มที่ และมี loyalty กับองค์กร อย่างให้ขึ้นพูดขายของในงานคอมมาร์ทเขาทำได้ บางคน ทำงานมา 15 ปี ยังไม่กล้า แต่ถ้าเราฝึกเขา เขาก็ทำได้ เวลานี้ทุกกลุ่มธุรกิจบอกอยากได้อีก ต้องแย่งกัน" ทรงธรรมกล่าวด้วยความภูมิใจ "ผมก็หวังว่าคุณศุภจี เขาจะสานต่อ"

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us