Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤษภาคม 2546








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2546
eBusiness on demand             
โดย ไพเราะ เลิศวิราม
 

   
related stories

iron lady
MD ที่ลำบากที่สุด
50 ปี ไอบีเอ็ม ประเทศไทย
ที่มาของตำแหน่ง CGM
Culture Change
หนึ่งเดียวในไอทีไทย

   
www resources

โฮมเพจ ไอบีเอ็ม (ประเทศไทย)

   
search resources

ไอบีเอ็ม ประเทศไทย, บจก.
วิษณุ ชัยวานิชศิริ
Computer




ในขณะที่ Sam Palmisano CEO ไอบีเอ็ม คอร์ปอเรชั่น ประกาศให้ eBusiness on demand เป็นยุทธศาสตร์ที่จะทำให้ไอบีเอ็มหวนคืนสู่ความยิ่งใหญ่ได้อีกครั้ง จากการที่ให้ลูกค้าใช้ระบบไอทีไม่ต่างไปจากการใช้ไฟฟ้าหรือน้ำประปา โดยลูกค้าจะมีทางเลือกใหม่ สามารถประหยัดต้นทุนในเรื่องไอที และหันมาลงทุนธุรกิจของตนเพียงอย่างเดียวไม่ต้องกังวลกับระบบคอมพิวเตอร์ โดยที่ไอบีเอ็มจะรับหน้าที่เหล่านี้เอง

ธนาคารกสิกรไทย และธนาคารดีบีเอสไทยทนุ เป็นลูกค้า 2 รายแรกที่ตอบรับข้อเสนอเหล่านี้ จากการใช้บริการ Outsourcing ซึ่งเป็นการบริการโครงสร้างพื้นฐานและปฏิบัติการด้านไอทีให้กับธนาคาร ซึ่งเป็นหนึ่งในบริการตามสั่ง eBusiness on demand อีกรูปแบบหนึ่งที่ลูกค้าได้รับความยืดหยุ่น ลดต้นทุน โดยที่ทั้งสององค์กรสามารถโฟกัสธุรกิจหลักของตัวเอง

แม้ว่า ไอบีเอ็มจะได้ธนาคารทั้งสองเป็นใบเบิกทางขั้นต้น และยังมีอเมริกันเอ็กซ์เพส และเจพี มอร์แกน แต่เป็นลักษณะของ Global Account แต่ยังไม่สามารถรับประกันได้ว่า จะมีลูกค้ารายใดมาใช้บริการเหล่านี้เป็นรายถัดไป ที่อาจต้องใช้เวลา

"บริการ eBusiness on demand ที่เป็น full stream ตั้งแต่ต้นจนจบ ถามว่าบ้านเราพร้อมหรือไม่ ยังไม่มีใครพร้อมเท่าไร เพราะเวลานี้องค์กรอย่างโทรคมนาคม ธนาคาร ยังเลือกพัฒนาไอทีในส่วนที่เป็น core application ที่ตอบสนองที่เป็นส่วนหลักของธุรกิจ" วิษณุ ชัยวานิชศิริ Country Manager, Enterprise Systems Group บริษัทไอบีเอ็ม ประเทศไทย ลูกหม้ออีกคนของไอบีเอ็ม ที่ทำความเข้าใจเรื่อง eBusiness on demand มากที่สุดคนหนึ่ง

ระบบ eBusiness on demand ที่สมบูรณ์แบบตามความหมายของไอบีเอ็ม ก็คือระบบไอทีขององค์กรแห่งนั้น จะต้องเชื่อมโยงกับระบบไอทีของคู่ค้า ไม่ว่าจะเป็นฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ เข้ากับระบบไอทีของบริษัทลูกค้า และคู่ค้า และหน่วยงานอื่นๆ ได้อย่างราบรื่น ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของความแตกต่างด้านฮาร์ดแวร์ หรือซอฟต์แวร์มาขวางกั้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องใช้เวลา และอาจต้องเริ่มองค์กรขนาดใหญ่

นอกจากวิษณุ จะเป็น Country Manager ต้องรับผิดชอบทำตลาดเครื่อง server อุปกรณ์เก็บข้อมูล storage พรินเตอร์ สำหรับลูกค้าองค์กรธุรกิจ ที่ต้องรักษาความสมดุลยอดขาย กำไร และความพึงพอใจของลูกค้า เขายังมีหน้าที่ในการผลักดันแนวคิด eBusiness on demand ให้กับลูกค้าองค์กรที่เป็นลูกค้ากลุ่มหลัก

ลูกค้ากลุ่มนี้จะมีทางเลือกใช้บริการหน่วยประมวลผล ได้เฉพาะเมื่อต้องการ ในลักษณะเดียวกับการซื้อไฟฟ้าหรือน้ำประปา เป็นรูปแบบของการให้บริการ eBusiness on demand ในอีกลักษณะหนึ่ง ที่จะตอบสนองในเรื่องของความยืดหยุ่นของการลงทุน ที่ลูกค้าไม่ต้องลงทุนซื้อฮาร์ดแวร์ หรือซอฟต์แวร์ แต่ซื้อเฉพาะกำลังประมวลผลที่ต้องการใช้ในระดับหนึ่งเท่านั้น

"ไอบีเอ็มเป็นรายเดียวที่มีโครงสร้างพื้นฐานของ business on demand ในขณะที่ของคนอื่นเขาเป็นในแง่ของข้อเสนอทางการเงินมากกว่า" วิษณุบอก

เมื่อเร็วๆ นี้ไอบีเอ็ม เริ่มปล่อยเครื่อง Server ที่เพิ่มคุณสมบัติรองรับกับ eBusiness จะบรรจุคุณสมบัติที่ตอบสนอง on demand เทคโนโลยี On/Off Capacity Upgrade on Demand ที่ให้ลูกค้า "เปิด" หน่วยประมวลผลเมื่อต้องการทำงาน และ "ปิด"เมื่อไม่ต้องการใช้งาน

บรรจุ Webshere Application Server หรือมิดเดิลแวร์ ซอฟต์แวร์ตัวกลางเชื่อมระบบงาน หรือ application software ให้ทำงานร่วมกัน ไอบีเอ็มตั้งความหวังว่า คุณสมบัติที่เพิ่มเติมของเครื่อง server จะตอบสนองการใช้งานลูกค้าในกลุ่มองค์กร ในแง่ของ on demand ได้อย่างดี

"ยุทธศาสตร์ของไอบีเอ็มในปีนี้ ที่จะเน้นชัดมาก คือ การที่เราจะมีสินค้าและบริการ ด้าน eBusiness on demand ออกมา"

ด้วยคุณสมบัติของบริการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของบริการ Outsourcing ที่โอนงานระบบไอทีมาให้ไอบีเอ็มมาเป็นผู้ดำเนินการแทน ไม่ต้องลงทุนซื้อระบบไอที ทำให้ไอบีเอ็มต้องสร้างความเข้าใจกับ business partner ที่เป็นตัวแทนขายที่ไอบีเอ็มยังต้องพึ่งพาทำธุรกิจอยู่มากขึ้นกว่าเดิม

"เราต้องทำความเข้าใจว่า ไอบีเอ็มไม่ได้ไปแย่งธุรกิจเขาทั้งหมด เรายังมีบริการบางอย่างที่ให้ business partner ทำได้ เพราะเราไม่มีคนไปสนับสนุนได้ทั้งหมด" วิษณุบอก

นับจากนี้วิษณุคงต้องพูดและผลักดันเรื่อง eBusiness on demand มากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเป็น "ส่วนหนึ่ง" ของเครือข่ายไอบีเอ็ม และเป็นยุทธศาสตร์รวมของไอบีเอ็ม ที่ใช้ขับเคลื่อนธุรกิจครั้งสำคัญที่สุดอีกครั้ง หลังจากไอบีเอ็มเคยผลักดัน eBusiness มาเมื่อ 4 ปีที่แล้ว

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us