Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤษภาคม 2546








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2546
ที่มาของตำแหน่ง CGM             
โดย ไพเราะ เลิศวิราม
 

   
related stories

iron lady
MD ที่ลำบากที่สุด
50 ปี ไอบีเอ็ม ประเทศไทย
Culture Change
eBusiness on demand
หนึ่งเดียวในไอทีไทย

   
www resources

IBM Homepage
โฮมเพจ ไอบีเอ็ม (ประเทศไทย)

   
search resources

ไอบีเอ็ม ประเทศไทย, บจก.
Computer
IBM




นับตั้งแต่การปรับโครงสร้างองค์กรไอบีเอ็ม ส่งผลให้ชื่อตำแหน่งของผู้นำองค์กรแห่งนี้ต้องเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย

ตำแหน่ง Managing Director หรือกรรมการผู้จัดการ เป็นการสะท้อนถึงโครงสร้างในอดีตของไอบีเอ็ม การบริหารงานแบบเอกเทศ มีการกำหนดนโยบายที่ใช้ดำเนินธุรกิจที่เป็นรูปแบบเฉพาะของตัวเอง เป็นส่วนหนึ่งของสำนักงานภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กรุ๊ป (APG) ตั้งอยู่ในประเทศญี่ปุ่น

ผู้นำองค์กรใช้ตำแหน่ง Managing Director สมภพ อมาตยกุล และชาญชัย จารุวัสตร์ ต่อเนื่องมาถึงวนารักษ์ เอกชัย ที่ใช้ตำแหน่งนี้ได้พักเดียว ก็ต้องเปลี่ยนแปลง

เมื่อหลุยส์ เกิร์สเนอร์ ได้ผ่าตัดองค์กร สร้างยุทธศาสตร์ใหม่ของการมุ่งไปสู่ธุรกิจบริการ เพื่อหากำไรมาทดแทนธุรกิจฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ที่ลดต่ำลงเรื่อยๆ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ อันมีผลให้ไอบีเอ็มทุกสาขาจะต้องมีนโยบายเดียวกันทั่วโลก

ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จึงต้องขึ้นตรงกับสำนักงานอาเซียน ที่จะมี Asian Country Manager ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในสิงคโปร์ เป็นคนกำกับดูแลประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากไทย มีมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย อินเดีย ศรีลังกา บังกลาเทศ เวียดนาม กัมพูชา โดยมีสำนักงานภูมิภาค (APG) ที่เป็น Head Quarter ดูแลประเทศทั้งหมดในเอเชียแปซิฟิก

โครงสร้างองค์กรในระดับบริหาร เปลี่ยนไปใช้รูปแบบการบริหารในแนวดิ่ง Vertical Organization

ส่งผลให้ตำแหน่ง Managing Director เปลี่ยนไปใช้ตำแหน่ง Country General Manager (CGM) ผู้นำของไอบีเอ็มคนแรกดำรงตำแหน่งนี้ในช่วงเวลานั้น ก็คือ วนารักษ์ เอกชัย ตามมาด้วยทรงธรรม และศุภจี

Country General Manager จะขึ้นตรงกับ General Manager IBM ASEAM/s Asia ซึ่งปัจจุบัน คือ Satish Khatu ล่าสุดการอนุมัติแต่งตั้งศุภจีขึ้นดำรงตำแหน่ง CGM นอกจากจะได้รับความเห็นชอบ จาก CGM ในไทยแล้ว ยังต้องได้รับความเห็นชอบ และแต่งตั้งโดย Satish Khatu

ในขณะที่ผู้บริหารระดับรองจาก Managing Director ที่แต่เดิมจะอยู่ในตำแหน่ง Marketing Manager เปลี่ยนมาอยู่ในตำแหน่ง Country Manager ซึ่งปัจจุบันมี Country Manager ที่ดูแล แบ่งตามกลุ่มลูกค้า และแบ่งตามสินค้า และบริการ และสนับสนุน รวม 15 คน

Country Manager แต่ละราย นอกจากขึ้นตรงกับ Co Country General Manager ในไทยแล้วยังต้องขึ้นตรงกับ Asian Country Manager ที่ดูแลสายงานนั้นๆ การทำงานประสานเป็นเนื้อเดียวกันในทุกประเทศอาเซียน

ผลที่เกิดขึ้นคือ การใช้ทรัพยากรบุคคลร่วมกับไอบีเอ็มที่อยู่ในอาเซียนด้วยกันเข้ามาทำงานได้ทันที เช่นกรณีของโครงการบริหารระบบงานไอทีให้กับธนาคารกสิกรไทย ที่ได้ดึงเอาทีมงานของ Strategic Outsourcings จากประเทศออสเตรเลีย ซึ่งมีประสบการณ์มาหลายสิบปี ให้เข้ามาช่วยงานในไทย

ขณะเดียวกัน Country Manager ของทุกประเทศจะมีโอกาสไปทำงานในระดับอาเซียน ดูแลประเทศอื่นๆ ได้เช่นกัน ซึ่งผู้บริหารของไอบีเอ็มในไทย มีหลายคนที่ได้ขึ้นไปดูแลงานในระดับเหล่านี้

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us