- 2491 สำนักงานตัวแทนของไอบีเอ็ม คอร์ปอเรชั่น เริ่มดำเนินการ และเป็นปีที่ไอบีเอ็มได้รับเลือกให้เป็นผู้ให้บริการอุปกรณ์และวิทยาการ
สำหรับสำรวจสำมะโนประชากร และสำมะโนเกษตรกรเป็นครั้งแรก
- 2495 บริษัทไอบีเอ็ม ประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม ตั้งอยู่ถนนดินสอ
จำหน่ายเครื่องคอมพิวเตอร์ให้กับกรมศุลกากร สำนักงานสำรวจสำมะโนประชากรแห่งชาติ
และบริษัทปูนซิเมนต์ไทย สายผลิตภัณฑ์ที่วางขาย ระบบหน่วยบันทึกข้อมูล เครื่องพิมพ์ดีดไฟฟ้า
และเครื่องบันทึกเวลา
- 2507 เปิดตัว System/36 ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์ชุดแรกที่มาแทนหน่วยบันทึกข้อมูล
- 2508 เปิดตัวเครื่องพิมพ์ดีดภาษาไทยเครื่องแรก
- 2515 ไอบีเอ็ม System 3 คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กเปิดตัวสู่ตลาด
- 2522 ติดตั้งอุปกรณ์การคำนวณ IBM 3031 ที่ธนาคารกรุงเทพ และการบินไทย
- 2524 พีซีคอมพิวเตอร์ เครื่องแรกของไอบีเอ็มออกวางตลาด
- 2529 ได้รับพระราชทานสัญลักษณ์ตราครุฑ
- 2530 ย้ายสำนักงานจากสีลม ไปยังสำนักงานถนนพหลโยธิน
- 2531
- ไอบีเอ็ม ญี่ปุ่น ไอบีเอ็ม ประเทศไทย และกลุ่มสหยูเนี่ยนทำข้อตกลงร่วมผลิตดิสก์ไดรฟ์
เครื่องพีซี
- เปิดตัว AS/400 รุ่นแรก
- 2532 เปิดตัวเครื่องตระกูล IBM S/390 IBM RISC System/6000 และ Personal
System 1 สำหรับลูกค้าบ้านและสำนักงาน
- 2535
- เปิดตัว ThinkPad คอมพิวเตอร์โน๊ตบุ้คใหม่
- ก่อตั้ง IBM Consulting Group ให้บริการคำปรึกษาด้านธุรกิจ และ IT
- 2536 IBM Global Network ก่อตั้งขึ้น และดำเนินธุรกิจเครือข่าย ส่งผ่านเสียงและข้อมูลความเร็วสูง
- 2538
- หลุยส์ เกิร์สเนอร์ ประธานไอบีเอ็ม แสดงวิสัยทัศน์ เรื่องการคำนวณจากศูนย์กลางเครือข่าย
- ซื้อกิจการ Lotus Development
- 2539 ซื้อกิจการ Tivoli Systems ซอฟต์แวร์บริหารจัดการระบบ
- 2540
- ประกาศเปิดตัวแคมเปญ eBusiness
- ลงทุน 560 ล้านเหรียญสหรัฐ สร้างโรงงานผลิตดิสก์ไดรฟ์แห่งแรกของไอบีเอ็มในไทย
ตั้งอยู่ปราจีนบุรี
- 2541 เอทีแอนด์ทีซื้อกิจการ IBM Global Network
- 2542
- เป็นปีที่ไอบีเอ็ม สนับสนุนอุปกรณ์ให้กับสถาบันการศึกษา 2-3 โครงการ
- เปิดตัวเว็บไซต์ IBM PC Shop ให้ลูกค้าสั่งซื้ออุปกรณ์ทางอินเทอร์เน็ต
- 2543
- ให้บริการโซลูชั่น eBusiness ให้บริษัทขนาดเล็กที่ต้องการเข้าสู่ eBusiness
ภายใต้โครงการ eSociety ร่วมกับโนมูระ จาฟโก้ สนับสนุนเงินลงทุน (venture
capital) ได้บริษัทที่เข้าข่ายสนับสนุนเพียงรายเดียว
- ร่วมมือซอฟต์แวร์ปาร์ค จัดตั้ง e-Infrastructure Center ที่ซอฟต์แวร์ปาร์ค
- ลงนามติดตั้งโซลูชั่น eBusiness ครบวงจร มูลค่า 100 ล้านบาท ให้กับ Thailand.com
- re-brand คอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์ เปิดตัว IBM eServer สำหรับ eBusiness
- 2544
- รวมทีมโลตัส ประเทศไทยเข้ากับ IBM Software Group
- รวมกิจการ Informix ประเทศไทย เข้ากับทีมจัดการข้อมูล IBM Software Group
- ไทยธนาคารให้ไอบีเอ็ม ประเทศไทย เป็นที่ปรึกษาด้านไอที สร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านไอที
มูลค่า 194 ล้านบาท
- ปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานในองค์กรตามโครงการ Mobility ด้วยการสร้างสำนักงานรูปแบบ
Mobile Office ชั้น 13
- จัดตั้งหน่วยงานดูแลตลาดองค์กรธุรกิจขนาดย่อมและผู้ซื้อรายย่อย และประกาศ
IBM Value Partner Program ในการรุกตลาดองค์กร ธุรกิจรายย่อย
- 2545
- ร่วมกับเพาเวอร์บาย เป็นพันธมิตรรุกตลาดค้าปลีกกลุ่มสินค้าคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
เพื่อให้เป็นจุดรับซ่อมเครื่องพีซีทุกสาขาทั่วประเทศ
- รวมกิจการกับไพรซ์วอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส คอนซัลติ้ง จัดตั้งหน่วยธุรกิจไอบีเอ็ม
บิสิเนส คอนซัลติ้ง เซอร์วิสเซส (BSC) เป็นหน่วยงานหนึ่งในไอบีเอ็ม โกลบอล
เซอร์วิส เพื่อให้บริการด้านไอทีครบวงจรกับธุรกิจทุกสาขา
- ก่อตั้งบริษัท IBM Solutions Delivery ให้บริการด้านไอทีแก่ลูกค้าไอบีเอ็ม
เริ่มจากธนาคารกสิกรไทย และธนาคารไทยทนุ
- ได้งานโปรเจ็กต์ Outsource จากธนาคารกสิกรไทย โดยไอบีเอ็มรับผิดชอบบริการโครงสร้างพื้นฐานและระบบปฏิบัติการด้านไอทีให้กับ
ธนาคารเป็นเวลา 10 ปี มีมูลค่า 10,000 ล้านบาท หรือ 230 ล้านเหรียญสหรัฐ
- 2546
- รวมกิจการบริษัท ซอฟต์แวร์ เนชั่นแนล เข้ามาเป็นซอฟต์แวร์กลุ่มที่ 5
- เปิดศูนย์จำหน่าย และบริการ (IBM Center) ในหัวเมือง 5 แห่ง เชียงใหม่
พัทยา ชลบุรี หาดใหญ่ และนครราชสีมา เป็นศูนย์จำหน่ายและบริการหลังการขายให้กับโน้ตบุ๊ค
และพีซี และอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล
- ประกาศโครงการ "เรารักลูกค้า" สร้างวัฒนธรรมการทำงาน มุ่งสู่ความพึงพอใจให้ลูกค้า
โดยคัดเลือกและให้รางวัลพนักงานที่สร้างความประทับใจให้ลูกค้า
- ประกาศวิสัยทัศน์ด้าน eBusiness on demand และเปิดตัว eServer iSeries
รุ่นใหม่ และเป็นรุ่นแรกที่มีฟีเจอร์ On-demand
- ปิโตรเคมีแห่งชาติ เลือกไอบีเอ็มเป็นที่ปรึกษาโครงการพัฒนาระบบงาน
- ไอบีเอ็ม คอร์ปอเรชั่น ขายหุ้นส่วนใหญ่ในกิจการผลิตดิสก์ไดรฟ์ ที่มีอยู่ใน
3 ประเทศ
ซึ่งโรงงานผลิตดิสก์ไดรฟ์ที่จังหวัดปราจีนบุรีเป็น 1 ในโรงงานดังกล่าว