Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤษภาคม 2546








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2546
MD ที่ลำบากที่สุด             
โดย ไพเราะ เลิศวิราม
 

   
related stories

iron lady
MD ที่ลำบากที่สุด
ที่มาของตำแหน่ง CGM
Culture Change
eBusiness on demand
หนึ่งเดียวในไอทีไทย

   
search resources

วนารักษ์ เอกชัย




วนารักษ์ เอกชัย เป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ ที่อยู่ในตำแหน่งยาวนานที่สุดถึง 6 ปีเต็ม และเป็นผู้นำองค์กรที่ต้องผ่านช่วงเวลายากลำบากที่สุดช่วงหนึ่งของไอบีเอ็ม

"ชีวิตผมเจอแต่ของยาก" วนารักษ์บอกสั้นๆ ในช่วงพบกับ "ผู้จัดการ" ครั้งล่าสุด หลังจากรับตำแหน่งรองกรรมการผู้จัดการ ที่ธนาคารกสิกรไทย ต้องดูแลงานทรัพยากรบุคคล เป็นประสบการณ์เดิมที่เขามีมากว่า 10 ปี

วนารักษ์เป็นลูกหม้อไอบีเอ็ม เริ่มงานในไอบีเอ็ม ประเทศไทย มาตั้งแต่เรียนจบปริญญาตรี Madison, Wisconsin, USA ในปี 2524 เริ่มจากเป็นพนักงานขายพิมพ์ดีด จนมาขายเครื่องเมนเฟรม และได้ดูแลลูกค้าองค์กรขนาดใหญ่ เริ่มจากดูแลลูกค้าราชการ 3-4 ปี จากนั้นทำตลาดลูกค้าธนาคารยาวนาน 10 ปีเต็ม

ลูกค้ารายสำคัญที่มีความต่อเนื่องยาวนาน และมีบทบาทมากที่สุดของเขา ก็คือ ธนาคารกสิกรไทย ที่เขาดูแลลูกค้ารายนี้มาถึง 24 ปีเต็ม เริ่มตั้งแต่เป็น Account Advisory จนกระทั่งย้ายมาทำงานที่นี่อย่างเต็มตัว

วนารักษ์ถูกเลือกให้เป็นกรรมการผู้จัดการแทนชาญชัย จารุวัสตร์ ในปี 2538 นอกจากช่วงเวลาที่ไอบีเอ็มกำลังตกที่นั่งลำบาก ทั้งจากการยกเครื่ององค์กรภายใน เพื่อขยายเข้าสู่ธุรกิจบริการ แก้ปัญหาการลดต่ำของรายได้ ที่ยังต้องอาศัยความต่อเนื่อง

แต่ที่หนักที่สุดคือ โครงการติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์ให้กรมสรรพากร ที่ตกเป็นข่าวครึกโครมถึงขั้นลุกลามที่สองฝ่ายเตรียมฟ้องร้อง มีผลให้ไอบีเอ็ม คอร์ปอเรชั่น ถึงกับมีความคิดที่จะปิดสำนักงานในไทย ยังไม่รวมปัญหาการติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์ให้กับธนาคารแห่งหนึ่ง ครั้งนั้นไอบีเอ็มต้องควักเงินจ่ายค่าเสียหาย 300 ล้านบาท

วนารักษ์ เป็นลูกชายของสนิท และเสริมศรี เอกชัย เจ้าของนามปากกา "สนทะเล" และมีพี่สาวและน้องสาวอยู่ในแวดวงหนังสือพิมพ์ สนิทสุดา เอกชัย เขียนคอลัมน์อยู่ในบางกอกโพสต์ และสนิทพิมพ์ เอกชัย เขียนคอลัมน์สังคมอยู่ที่หนังสือพิมพ์มติชน นอกจากเป็นครอบครัวตระกูลนักหนังสือพิมพ์ ที่ได้รับความนับหน้าถือตาจากสังคมไทย ส่วนตัวเขายังมีความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนรุ่นพี่ ที่อยู่ในแวดวงหนังสือพิมพ์ค่ายต่างๆ บุคลิกที่ประนีประนอม และสายสัมพันธ์ของเขาจึงมีความลงตัวพอดีในภาวะที่ไอบีเอ็มต้องถูกหนังสือพิมพ์โจมตีอย่างหนัก

แม้ปัญหาคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น แต่ไอบีเอ็มต้องมาเจอกับมรสุมวิกฤติเศรษฐกิจ ลูกค้าไม่มีเงินจ่าย ยอดขายตกลงฮวบฮาบเป็นครั้งแรก และยังต้องเจอกับคู่แข่งใหม่ๆ ที่เข้ามาในตลาด เป็นช่วงเวลาที่เขาต้องแก้ปัญหาอย่างหนัก

หลังจากแก้ปัญหาจนฐานะการเงินเริ่มกระเตื้องขึ้น วนารักษ์ได้รับข้อเสนอจากบริษัทแม่ให้ไปทำงานที่อาเซียน แต่ด้วยเงื่อนไขเรื่องครอบครัว เขาตัดสินใจยุติชีวิตการทำงานในไอบีเอ็ม และมาเริ่มต้นงานใหม่ในตำแหน่งที่ปรึกษาให้กับธนาคารกสิกรไทย ด้วยความผูกพันยาวนานต่อเนื่องมาถึง 24 ปีเต็ม มีส่วนร่วมในการ re-engineering ของธนาคารกสิกรไทย ในฐานะของผู้ติดตั้งระบบไอทีที่ใช้ในการปรับปรุงสาขาทั้งหมด

"พอดีมาลาคุณบัณฑูร ล่ำซำ ก็เลยชวนให้มาช่วย เพราะตอนนั้นกสิกรกำลังทำโปรเจ็กต์ outsource ที่ไอบีเอ็มให้บริการโครงสร้างพื้นฐานและปฏิบัติการด้านไอทีให้กับธนาคาร เวลานั้นเขาทำกันไปได้ 20-30% ผมก็เข้ามาช่วยประกอบ deal ให้มันเร็วขึ้น" วนารักษ์บอกสาเหตุการเข้ามาร่วมงานกับธนาคารกสิกรไทย

หลังจากโปรเจ็กต์ outsource ที่ทำกับธนาคารกสิกรไทยเสร็จสิ้นลง วนารักษ์ ได้รับแต่งตั้งให้ดูแล Human Resource เป็นครั้งแรกของการเข้ามาเป็นผู้บริหารเต็มตัวในธนาคารกสิกรไทย

"เรามาในมุมของ TFB is a people in the building คนในตึกเป็นทรัพย์สิน เป็นเรื่องที่ธนาคารให้ความสนใจอยู่ก่อนหน้านี้แล้ว" วนารักษ์บอกถึงงานล่าสุด ในการเข้ามาบริหารทรัพยากรมนุษย์ แทนผู้บริหารต่างชาติ ที่เป็นงานที่เขาถนัดที่สุดงานหนึ่ง

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us