|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
"เอส เอ็น ซี ฟอร์เมอร์" เตรียมเซ็นสัญญาพันธมิตรร่วมทุนญี่ปุ่นหวังพัฒนาแม่พิมพ์-ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ต.ค.50นี้ ขณะที่รอลุ้นออเดอร์ลูกค้ารายใหญ่ 3 รายคาดได้ข้อสรุป ก.ย.นี้ ระบุหากได้รับออเดอร์หนุนยอดขายปีหน้าแตะ 6 พันล้านบาท ขณะที่เป้ารายได้ปีนี้อยู่ที่ 4-5พันล้านบาท แย้มปีหน้าอาจพิจารณาการเพิ่มทุนรองรับการขยายธุรกิจ
นายสมชัย ไทยสงวนวรกุล ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอส เอ็น ซี ฟอร์เมอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ SNC เปิดเผยถึงแผนการดำเนินงานในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ว่าภายในเดือนตุลาคม 2550 นี้บริษัทเตรียมแผนที่จะเซ็นสัญญาร่วมทุนกับบริษัท SANTECH ซึ่งเป็นพันธมิตรจากประเทศญี่ปุ่น เพื่อ ร่วม กันพัฒนาทางด้านแม่พิมพ์และการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น
ทั้งนี้ การเซ็นสัญญาในครั้งนี้จะสอดรับการเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนประกอบเครื่องปรับอากาศภายในบ้าน(OEM) ให้กับพันธมิตรรายใหญ่จำนวน 3 ราย ซึ่งประกอบด้วย สหรัฐ ญี่ปุ่น และเกาหลี โดยคาดว่าจะเซ็นสัญญาในเดือนกันยายนนี้ ซึ่งหากมีการสั่งสินค้าเพิ่มจากลูกค้าดังกล่าวจะส่งผลให้ยอดขายในปี2551 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็น 6,000 ล้านบาทได้
ในส่วนปีนี้บริษัทยังคงเป้ารายได้เติบโตอยู่ที่ 4,000-5,000 ล้านบาท หรือเติบโตเพิ่มขึ้นประมาณ 40% จากปี 2549 ที่มีรายได้อยู่ที่ประมาณ 2,052 ล้านบาท โดยบริษัทจะพยายามรักษาอัตรากำไรขั้นต้น (Gross Profit Margin) ปีนี้ให้อยู่ในระดับประมาณ 17-18% ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับปี 2549 ขณะที่อัตรากำไรสุทธิ(Net Profit Margin) ปีนี้คาดว่าจะอยู่ที่ 7-8% ใกล้เคียงปีที่ผ่านมาขณะเดียวกันหากบริษัทได้รับงานดังกล่าวบริษัทคาดว่าอาจจะมีการเพิ่มทุนภายในปี 2551 เนื่องจากปัจจุบันบริษัทได้เงินกู้มาจากสถาบันการเงินจำนวน 600 ล้านบาท เพื่อใช้ปรับปรุงโรงงานและซื้อเครื่องจักรจำนวน 200 ล้านบาท และอีก 400 ล้านบาท จะใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนเพื่อรองรับการสั่งซื้อจากลูกค้าทั้ง 3 ราย
"หากลูกค้ารายใหญ่มีการสั่งออเดอร์เพิ่มขึ้นอาจจะทำให้บริษัทมีเม็ดเงินไม่พอในการรองรับการขยายงาน บริษัทอาจจะมีการพิจารณาและปรึกษากับที่ปรักษาทางการเงินในการเพิ่มทุนเพราะว่าหากมีการใช้เงินเพิ่มขึ้นบริษัทคงไม่สามารถกู้เงินได้อีก จากที่ขณะนี้บริษัทมีอัตราหนี้สินต่อทุนหรือดีอีสูงถึง 3 เท่า ซึ่งถือว่าเป็นอัตราที่สูง" นายสมชัยกล่าว
นายสมชัย กล่าวอีกว่า ความคืบหน้าในการนำบริษัทบริษัท เอสเอ็นซี ไพยองซาน ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ SNC เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์นั้น ขณะนี้คงต้องชะลอแผนออกไปก่อน เนื่องจากที่ปรึกษาทางการเงินได้ให้คำแนะนำว่าควรจะรอให้บริษัท เอสเอ็นซี ไพยองซาน มีธุรกิจใหม่และสามารถสร้างรายได้ที่มีความแตกต่างจากSNC ก่อนที่จะมีการพิจารณาแนวทางอีกครั้ง
สำหรับปัญหาค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น นายสมชัยกล่าวว่า บริษัทไม่ได้รับผลกระทบมากนัก แม้ว่าบริษัทจะเป็นบริษัทประเภทผลิตชิ้นส่วนเพื่อนำมาประกอบสินค้าเหมือนบริษัทอื่นๆ ที่ส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบจากการแข็งค่าของเงินบาท เนื่องจากบริษัทผลิตสินค้าและใช้วัตถุดิบที่เป็นสินค้าเฉพาะที่ต้องมีการควบคุม ซึ่งแตกต่างจำกสินค้าประเภทรองเท้าและสิ่งทอที่ประเทศอื่นเช่น เวียดนาม จีน อินเดีย ที่สามารถผลิตได้ ขณะเดียวกันการขายสินค้าให้กับลูกค้าแถบยุโรปบริษัทจะขายเป็นเงินยูโรเพื่อลดความเสี่ยง
|
|
|
|
|