|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
ตลาดหุ้นไทยรูดไม่หยุดห่วงปัญหาซับไพร์มลามกระทบเศรษฐกิจสหรัฐฯ โดยตลาดหุ้นไทยปิดร่วงอีก 21 จุด ฝรั่งขายต่อ 2.7 พันล้านบาท แค่ 6 วันหุ้นรูดเกือบ 70 จุด “อาจดนัย” แนะจับตาสัญญาณแก้ปัญหาซับไพรม์ ชี้หากมีแนวทางที่ชัดเจนจะช่วยบรรเทาปัญหา ด้าน บล.เคจีไอ เชื่อเดือนนี้ ตปท.จ่อขายสุทธิ 5 หมื่นล้าน ขณะที่ “ศิริวัฒน์” ไม่เชื่อหลังเลือกตั้งตลาดหุ้นจะดีขึ้น ระบุนักลงทุนไทยพึ่งพิงการซื้อขายของต่างประเทศมากเกินไป โบรกฯชี้หลุดแนวรับ 820 จุดอาจไหลรูดแตะ 780 จุด
ภาวะการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์วานนี้ (6 ส.ค.) ดัชนียังปรับตัวลดลงอย่างรุนแรงต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่ผ่านมาหลังนักลงทุนต่างชาติยังเทขายสุทธิออกมาอย่างต่อเนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับปัญหาสินเชื่อด้อยคุณภาพ (Sub-prime) ในสหรัฐฯ ซึ่งทำให้มีการโยกเงินเพื่อไปลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงน้อยลง และกระแสการปรับพอร์ตลงทุนในตลาดหุ้นทั่วเอเชียหลังมีการเข้ามาซื้อขายสุทธิต่อเนื่องในช่วงปลายเดือนที่ผ่านมา โดยดัชนีปรับตัวลดลงต่ำกว่าแนวรับสำคัญที่ 820 จุดนักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าอาจจะปรับตัวลดลงมาที่ระดับ 780 จุด โดยดัชนีวานนี้ปิดที่ 815.87 จุด ลดลง 21.86 จุด หรือ 2.61% ขณะที่จุดสูงสุดของวันอยู่ที่ 821.79 จุด และจุดต่ำสุดที่ 813.14 จุด มูลค่าการซื้อขาย 18,165.20 ล้านบาท โดยเพียง 6 วันทำการดัชนีปรับตัวลดลงมาแล้ว 68.29 จุด หรือ 7.72%
ทั้งนี้ นักงทุนต่างชาติยังขายสุทธิต่อเนื่องอีก 2,693.57 ล้านบาท นักลงทุนสถาบันซื้อสุทธิ 65.93 ล้านบาท นักลงทุนรายย่อยซื้อสุทธิ 2,627.64 ล้านบาท
นายอาจดนัย สุจริตกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เจ.พี.มอร์แกน (ประเทศไทย) จำกัด และประธานชมรมโบรกเกอร์ต่างประเทศ เปิดเผยว่า ตลาดหุ้นไทยจะผันผวนไปจนว่าประเทศสหรัฐจะส่งสัญญาณที่ชัดเจนเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาการปล่อยกู้สินเชื่ออสังหาด้อยคุณภาพ (ซับไพรม์) เนื่องจากเป็นปัญหาหลักที่ทำให้เงินทุนจากต่างประเทศถอนการลงทุนออกไปจากตลาดหุ้นทั่วภูมิภาคเอเชีย โดยตลาดหุ้นไต้หวันปรับตัวลดลง 3.5% ตลาดหุ้นอินโดนีเซียลดลง 3.5% ตลาดหุ้นเกาหลีลดลง 1.6% ตลาดหุ้นฮ่องกงลดลง 2.6%
ทั้งนี้ สิ่งที่จะต้องพิจารณาในตอนนี้คือ ปัญหาเกี่ยวกับซับไพรม์มันสามารถควบคุมได้หรือไม่ เพราะหากปัญหาฝั่งรากลึกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ต้องหาคำตอบรวมถึงแนวทางในการแก้ไขให้ได้
“ตลาดหุ้นเรามีขนาดเล็กมาก ถ้ามีการถอนเงินลงทุนเราก็เลี่ยงไม่ได้ที่จะโดน ตอนนี้แม้ว่าปัจจัยพื้นฐานของเราจะยังดีแต่ก็ไม่ได้ช่วยอะไรมากมาย กองทุนที่ลงทุนในเมืองไทยจำเป็นที่จะต้องถอนเงินลงทุนเพื่อไปจ่ายเงินให้ลูกค้าที่มีถอนเงินลงทุนไปก่อนหน้านี้” นายอาจดนัยกล่าว
สำหรับการขายต่อเนื่องของนักลงทุนต่างชาติในช่วงที่ผ่านมา การจะตอบคำถามว่าในรอบนี้จะมีการถอนออกไปมากหรือไม่ หรือมากหรือยังยังเป็นเรื่องที่บอกได้ยาก เพราะเมื่อเทียบกับสัดส่วนของเงินทุนที่ขายกับเงินทุนที่ซื้อสุทธิมาก่อนหน้านี้ยังถือว่าน้อยมาก
อย่างไรก็ตาม หากปัญหาซับไพร์มสามารถแก้ไขให้ชัดเจนได้มากขึ้น เชื่อว่านักลงทุนต่างชาติจะกลับเข้ามาลงทุนได้อีก โดยเชื่อว่าจะยังคงเน้นลงทุนในหุ้นขนาดใหญ่
ห่วงต่างชาติขาย 5 หมื่นล้าน
นายอดิศักดิ์ คำมูล ผู้อำนวยการอาวุโส บริษัทหลักทรัพย์ บล.เคจีไอ (ประเทศไทย) เปิดเผยว่า ในช่วงไตรมาส 3/50 ตลาดหุ้นทั่วโลกจะมีการปรับตัวลดลง หลังตลาดหุ้นในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาเฉลี่ยเพิ่มขึ้นประมาณปีละ 30% โดยคาดว่าจะมีการย้ายเงินลงทุนจากตลาดหุ้นไทยยังตลาดตราสารหนี้และตลาดเงิน
ทั้งนี้ นักลงทุนต่างชาติไม่ค่อยให้ความสนใจผลการประชุมของคณะกรรมการธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา (เฟด) ที่จะมีการประชุมในวันที่ 7 ส.ค. แต่หากเฟดปรับลดอัตราดอกเบี้ย อาจจะมีผลดีแค่เพียงระยะสั้นแต่จะสะท้อนว่าเศรษฐกิจของสหรัฐฯไม่ดี แต่หากมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะทำให้เม็ดเงินไหลเข้าไปลงทุนในตลาดเงินและตลาดตราสารหนี้ เพราะอัตราดอกเบี้ยสูงจึงเป็นแรงจูงใจให้เม็ดเงินไหลเข้าไปลงทุนโดย บล.เคจีไอ คาดว่าเฟดน่าจะมีปรับลดอัตราดอกเบี้ยลดลง 0.25%
“งบการเงินไตรมาส 2/50 ทั่วโลกออกมาแล้วสะท้อนว่าเศรษฐกิจยุโรปมีการชะลอตัว ขณะที่สหรัฐมีการว่างงานสูงขึ้น แต่อัตราดอกเบี้ยไม่มีการปรับตัวลดลงทรงตัวอยู่ที่ระดับ 5.25% มานาน จึงคาดว่าตลาดหุ้นทั่วโลกจะมีการปรับฐานในช่วงไตรมาส 2” นายอดิศักดิ์ กล่าวว่า
สำหรับในช่วง 2 ปีที่ผ่านมานักลงทุนต่างประเทศเข้ามาซื้อสุทธิตลาดหุ้นไทยปีละ1 แสนล้านบาท ขณะที่ต้นปีถึงปัจจุบันมีการซื้อสุทธิอีก 1.3 แสนล้านบาท ดังนั้น เชื่อว่าเดือนสิงหาคมนี้นักลงทุนต่างประเทศจะยังคงขายหุ้นไทยออกมาอย่างต่อเนื่องรวมประมาณ 50,000 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้มีการขายออกมาประมาณ 1 หมื่นล้านบาท ซึ่งยังมีการขายออกมาได้อีก
ขาใหญ่ไม่เชื่อ ศก.ดีขึ้น
นายศิริวัฒน์ วรเวทวุฒิคุณ อดีตนักลงทุนรายใหญ่ กล่าวว่า การเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นไทยในช่วงที่ผ่านไม่ได้เกิดขึ้นจากความเปลี่ยนแปลงทางด้านพื้นฐานของเศรษฐกิจประเทศ เนื่องจากเศรษฐกิจในปัจจุบันยังไม่อยู่ในแนวโน้มที่ดีแต่การปรับขึ้นของดัชนีตลาดหุ้นไทยเป็นเพราะแรงซื้อขายของนักลงทุนต่างชาติเป็นหลักเมื่อมีการเข้ามาซื้อสุทธิหุ้นก็ขึ้น เมื่อมีการขายสุทธิหุ้นก็ปรับตัวลดลง
ทั้งนี้ ความเชื่อว่าของหลายฝ่ายเกี่ยวกับความชัดเจนภายหลังการเลือกตั้งส่วนตัวยังเชื่อว่าหลังการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นก็ไม่น่าจะส่งผลในเชิงบวกกับตลาดหุ้นไทยมากนัก เพราะปัญหาทางการเมืองไม่ว่าจะเป็นความไม่มีเสถียรภาพของพรรครัฐบาล ปัญหาภายในประเทศ ปัญหาเศรษฐกิจ ฯลฯ ยังเป็นปัจจัยที่น่าจะกดดันการลงทุนไปอีกระยะหนึ่ง
“ผมเชื่อว่าตอนนี้ฝรั่งเค้าติดหุ้นนะ เพราะตอนที่เค้าซื้อสุทธิ 4 -5 พันล้านบาทต่อวันหุ้นก็ขึ้นวันละปีประมาณ 10 จุด แต่เค้าขายสุทธิวันละ 1-2 พันล้านบาท หุ้นลดลงไปประมาณ 20 จุด แต่แม้ว่าเค้าจะขาดทุนไปบางก็ไม่น่าจะมีปัญหาเพราะยังมีกำไรจากค่าเงินบาท” นายศิริวัฒน์กล่าว
ในเรื่องปัญหาการแข็งค่าของค่าเงินบาท มองว่าคำตอบของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ระบุว่า ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นเพราะนักลงทุนต่างชาตินำเงินเข้ามาลงทุนซึ่งหากพิจารณาในสัดส่วนเมื่อเทียบกับทุนสำรองคิดเป็นประมาณ 5% ซึ่งไม่น่าจะมีผลมากนักต่อการแข็งค่าของเงิน โดยในช่วง 1-2 เดือนหลังจากนี้เชื่อว่าค่าเงินบาทจะอ่อนค่าไปที่ 34-35 บาทแต่เมื่ออ่อนค่าราคาน้ำมันในประเทศก็จะปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นแทน
แนะซื้อฟิวเจอร์ลดเสี่ยง
นายธนวัฒน์ พาณิชเกษม ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายธุรกิจตัวแทนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า บล.เคจีไอ (ประเทศไทย) กล่าวว่า ขณะนี้ราคาฟิวเจอร์มีส่วนต่างกับ SET50 อยู่ประมาณ 20 จุด เนื่องจากที่ผ่านมาต่างชาติเริ่มขายออกโดยมีส่วนลด (Discount) ส่งผลให้ราคากว้างมากขึ้นทำให้มีความห่างกันมากผิดปกติต่างจากทฤษฎีที่ราคาฟิวเจอร์และSET50 จะต้องอยู่ในทิศทางเดียวกันและราคาใกล้เคียงกัน ซึ่งเมื่อไรที่ระดับความห่างของราคาฟิวเจอร์และSET50 มีความห่าง 5-6 จุด ก็เป็นสัญญาณให้นักลงทุนเข้ามาซื้อหุ้นได้
สำหรับในวันนี้ (7 ส.ค.) ทางชมรมผู้ประกอบการซื้อขายสัญญาล่วงหน้าจะมีการหารือในเรื่องการคิดค่าธรรมเนียมการซื้อขายออปชัน และการวางหลักประกันออปชั่น ซึ่งในเบื้องต้นทางชมรมผู้ประกอบการของตลาดอนุพันธ์คาดว่าจะอยู่ที่ 1 หมื่นบาทต่อสัญญา โดยวันนี้ทางสมาคมจะมีการประชุมเพื่อหาข้อสรุปถึงค่า Initial Margin : IM, Maintenance Margin : MM และ Force Close อย่างเป็นทางการ
เฮดจ์ฟันด์ขายไม่หยุด
นายกวี ชูกิจเกษม ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บล.กสิกรไทย กล่าวว่า ปัญหาสินเชื่ออสังหาด้อยคุณภาพ (ซับไพรม์) ของสหรัฐอเมริกาที่หลายฝ่ายเชื่อว่าอาจจะเป็นจุดกำเนิด และเกิดการกระจายไปยังเศรษฐกิจส่วนอื่นๆ และกลายเป็นปัญหาเศรษฐกิจฟองสบู่แตกได้ ส่วนตัวยังไม่เชื่อว่าขณะนี้ปัญหาดังกล่าวจะนำไปสู่ปัญหาอื่นๆ จริงเพราะยังไม่มีความแน่ชัดเกี่ยวกับตัวเลขสินเชื่อที่เกิดปัญหาแท้จริงออกมาจากทางภาครัฐ
ทั้งนี้ เม็ดเงินของนักลงทุนต่างชาติที่ทำการการเทขายออกไปจากตลาดหุ้นภูมิภาคขณะนี้นั้น ส่วนใหญ่ก็ยังคงเป็นพวกเฮดจ์ฟันด์มากกว่านักลงทุนระยะยาว เพราะถ้าเปรียบเทียบจำนวนเม็ดเงินที่ขายไปตั้งแต่ต้นเดือนเป็นจำนวนที่น้อยมาก เมื่อเทียบกับเม็ดเงินของนักลงทุนที่ซื้อต่อเนื่องมาตลอด ดังนั้นเชื่อว่าในส่วนของนักลงทุนต่างชาติ ซึ่งเป็นนักลงทุนระยะยาวคงจะแค่ลดพอร์ตการลงทุนเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม มีความเป็นไปได้ที่ดัชนีอาจจะเกิดการปรับตัวลดลงต่ำกว่าแนวต้านที่ 800 จุด โดยคาดการณ์แนวรับที่ระดับประมาณ 770-790 จุด
แหล่งข่าวจากบริษัทหลักทรัพย์แห่งหนึ่ง กล่าวว่า การปรับตัวลดลงในช่วงนี้เกิดมาจากการปรับตัวตามตลาดต่างประเทศโดยเฉพาะตลาดหุ้นดาวโจนส์ จากความกังวลเรื่องปัญหาซับไพรม์ของสหรัฐ แต่หลังจากที่มีการผ่านร่างรัฐธรรมนูญ อาจจะทำให้ดัชนีปรับตัวดีขึ้น แต่ทั้งนี้ถ้าปัญหาความกังวลจากซับไพรม์ของสหรัฐฯ ยังไม่หมด อาจจะส่งทำให้ผลดีที่คาดว่าจะได้รับจากการผ่านร่างประชามติลดน้อยลง
อย่างไรก็ตาม หากดัชนีจะปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องน่าจะลดลงไม่เกิน 5% โดยให้แนวรับที่ 793-800 จุด และแนวต้านที่ 820 จุด เนื่องมาจากคาดการณ์ว่าดัชนีสหรัฐฯ น่าจะลดงอีกไม่เกิน 500 จุด มาอยู่ที่ระดับดัชนีประมาณ 12,800 จุด หลังจากที่ก่อนหน้านี้ดัชนีปรับตัวลดลงมากว่า 800 จุดแล้ว
ลุ้นหุ้นรีบาวนด์ยืน 800 จุด
นางสาวปองรัตน์ รัตนะตวณานนท์ ผู้จัดการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.บัวหลวง กล่าวว่า ต้องติดตามปัจจัยบวกใหม่ที่จะเข้ามาสนับสนุนการลงทุนซึ่งหากดัชนียังคงยืนเหนือระดับ 800 จุดได้ คาดว่าจะเห็นดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นได้จากการประกาศผลประกอบการไตรมาสที่2/2550ของบริษัทจดทะเบียนโดยเฉพาะกลุ่มพลังงานที่คาดว่าจะออกมาดี ประกอบกับจะมีการลงประชามติการร่างรัฐธรรมนูญในวันที่ 19 สิงหาคม 2550 นี้ ซึ่งน่าจะส่งผลต่อจิตวิทยาการลงทุน
“ขณะนี้เราคงยังประเมินไม่ได้ว่าดัชนีตลาดหุ้นจะปรับตัวลดลงหลุด 800 จุดหรือไม่ ซึ่งคงต้องติดตามต่อไปภายใน 2-3 วันนี้ว่าดัชนีตลาดหุ้นจะสามารถยืนเหนือ 800 จุดได้หรือไม่ ซึ่งหากยืนอยู่ได้ก็น่าจะเห็นการรีบาวน์ได้” นางสาวปองรัตน์กล่าว
|
|
 |
|
|