|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
ความฝันผวน การแข่งขันที่สูงของตลาดยางรถยนต์เมืองไทย นอกจากจะทำให้เกิดการแข่งขันระหว่างแบรนด์แล้ว ในบางครั้งก็ทำให้เกิดการแข่งขันกันเองภายในแบรนด์ ซึ่งถือเป็นดาบสองคมสำหรับเจ้าของแบรนด์หากสามารถควบคุมทิศทางการทำตลาดของผู้จำหน่ายก็น่าจะทำให้ผลักดันแบรนด์ขึ้นมาชิ่งส่วนแบ่งจากผู้นำตลาดได้ แต่หากปล่อยให้ผู้แทนจำหน่ายแข่งกันเองโดยไร้แผนงาน การแข่งขันระหว่างผู้แทนจำหน่ายอาจเป็นตัวฉุดภาพลักษณ์ให้แบรนด์ตกต่ำลงได้เช่นกัน
ปัจจุบันเจ้าของแบรนด์ยางรถยนต์หลายๆ รายเริ่มปรับเปลี่ยนนโยบายการทำตลาด ด้วยการเพิ่มผู้ทำหน่ายในแต่ละประเทศที่เข้าไปทำตลาดเป็นแบบ Multi Distributor เนื่องจากมองว่าการเพิ่มผู้แทนจำหน่ายน่าจะทำให้เกิดปริมาณยอดขายเพิ่มขึ้น โดยล่าสุด พีแรลลี่ แบรนด์ยางรถยนต์จากอิตลาลี่ก็หันมาใช้นโยบายดังกล่าว
ก่อนหน้านี้ พีแรลลี่ ได้ตั้ง อิตัสสยาม มอเตอร์ จำกัดเป็นผู้นำเจ้าและผู้แทนจำหน่ายในประเทศไทย และตั้งแต่ต้นปี 2550 ที่ผ่านมาบริษัทแม่ของยางพีแรลลี่ในต่างประเทศ ก็เริ่มนำนโยบาย Multi Distributor มาใช้ โดยเริ่มดำเนินการไปแล้วกับทาง มาเลเซีย อินโดนีเซีย และไต้หวัน ซึ่งไทยจะเป็นประเทศต่อไปที่ใช้นโยบายดังกล่าว และผู้ที่จำเข้ามาทำหน้าที่ผู้นำเข้าและผู้แทนจำหน่ายแข่งกับ อิตัสสยาม มอเตอร์ คือ ต. สยามคอมเมอร์เชียล ผู้จำหน่ายยางแบรนด์โยโกฮามา ในประเทศไทย
ชยพร พรประภา กรรมการผู้จัดการ บริษัท อิตัลสยาม มอเตอร์ส จำกัด มองว่า นโยบาย Multi Distributor ของเจ้าของแบรนด์ เป็นสิ่งที่ทางผู้แทนจำหน่ายของแต่ละพื้นที่ต้องปฏิบัติตาม แม้ว่าช่วงที่ผ่านมาทางอิตัลสยาม จะไม่สามารถทำยอดขายได้ตามเป้าที่ทางพิแรลลี่ตั้งไว้คือ 80,000 เส้นต่อปี โดยทางบริษัทฯทำยอดขายอยู่ที่ราวๆ เดือนละ 5,000 เส้น หรือปีละราวๆ 60,000 เส้นต่อปี แต่ส่วนหนึ่งมาจากสภพตลาดยางที่หดตัวตามสภาวะเศรษฐกิจ อย่างไรก็ดีการเพิ่มผู้แทนจำหน่ายในเวลานี้ อาจไม่เป็นผลต่อกับการสร้างยอดขายและการเติบโตของแบรนด์พิแรลลี่ในประเทศไทย
ทั้งนี้เนื่องจากนโนบาย Multi Distributor ดังกล่าว อาจทำให้เกิดการทำตลาดซ้ำซ้อนกันเองระหว่างผู้แทนจำหน่าย ทั้งตัวผลิตภัณฑ์ และพื้นที่การทำตลาด จนอาจเกิดการตัดราคากันเอง ซึ่งในอนาคตอาจจส่งผลต่อภาพลักษณ์ของแบรนด์พิแรลลี่ในเมืองไทย อย่างไรก็ตามนโยบายดังกล่าวหากมีการจัดระบบ และแผนงานที่ชัดเจนระหว่างผู้แทนจำหน่าย เช่น การแบ่งโซนทำตลาด การว่างตำแหน่งและตัวผลิตภัณฑ์ให้แตกต่างกัน รวมถึงการวางกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกัน ก็น่าจะส่งผลดีต่อทั้งยอดขาย และภาพลักษณ์แบรนด์ในอนาคตได้เช่นกัน
“เราทำตลาดยางพีแรลลี่ในประเทศไทยมาถึง 8 ปีเต็มด้วยสัญญาแบบปีต่อปี และตลอดเวลาที่ผ่านมาก็สามารถสร้างยอดขายในระดับที่น่าพอใจ แม้ว่าจะไม่ถึงเป้าที่บริษัทแม่กำหนดไว้คือ 80,000 เส้นต่อปี แต่ก็ทำได้เฉลี่ยเดือนละ 5,000 เส้น ซึ่งถือว่าไม่น้อยในภาวะเศรษฐกิจและการแข่งขันในตลาดยางรถยนต์ที่มีความรุนแรงเช่นนี้” ชยพร กล่าว
ขณะที่ ต.สยามคอมเมอร์เชียลนั้น ในปัจจุบันถือว่ามีผลงานค่อนข้างดีในการทำตลาดยางรถยนต์แบรนด์โยโกฮามา และการที่สามารถคว้าสิทธิ์ในการทำตลาดยางรถยนต์ พิแรลลี่ อีกแบรนด์หนึ่ง จะทำให้ต.สยามมีความแข็งแกร่งมากขึ้น โดยเฉพาะอำนาจในการต่อรองกับตัวแทนจำหน่ายรายย่อย อย่างไรก็ดีสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญที่สุดคือการวางตำแหน่งของผลิตภัณฑ์ ราคา และกลุ่มเป้าหมาย ไม่ให้เกิดการซ้ำซ้อนกันเอง
ขณะที่ ชยพร มองว่า แม้ทั้ง อิตัลสยาม มอเตอร์ส และ ต.สยามคอมเมอร์เชียล จะกลายเป็นผู้แทนำจำหน่าย พร้อมๆ กัน แม้ว่าการทำตลาดอาจเกิดความซ้ำซ้อนกันบ้าง แต่ช่องทางการทำตลาดของทั้ง 2 ยังเป็นคนละกลุ่มกัน โดยอิตัลสยาม มอเตอร์ส นั้น มีเครือข่ายของโชว์รูมรถยนต์ในกลุ่มสยามกลการ เป็นเครือข่ายหลัก และส่วนหนึ่งกระจายไปยังร้านค้ารายย่อย ขณะที่ต.สยามฯ จะเน้นการทำตลาดผ่านร้านค้ายางทั่วไปเป็นหลัก
อย่างไรก็ดี นโยบาย Multi Distributor ของเจ้าของแบรนด์ยางพิแรลลี่ กำลังถูกจับตามมองจากยางรถยนต์หลายๆ แบรนด์ทั้งใหญ่และเล็ก หากพิแรลลี่สามารถพิสูจน์ให้เห็นว่านโยบาย การแตกตัวของผู้แทนจำหน่ายสามารถผลักดันยอดขาย และสร้างความแข็งแกร่งให้กับแบรนด์แล้ว นโยบายดังกล่าว อาจถูกนำมาใช้กับแบรนด์อื่นๆ แต่หากผลออกมาในมุมที่กลับกัน ยางรถยนต์พิแรลลี่ในเมืองไทยก็อาจเข้าสู่ยุควิกฤติก็เป็นได้
|
|
 |
|
|