Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์6 สิงหาคม 2550
ค่ายใหญ่แมกกาซีน ฮึดสู้ ปรับแผนลุยฝ่าวิกฤตสื่อนิตยสาร             
 


   
search resources

Magazine
วิลักษณ์ โหลทอง




- ปัจจัยลบรุมเร้า การแข่งขันรุนแรง เศรษฐกิจซบเซา บ้านเมืองวุ่น พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยน ฉุดตลาดนิตยสารทรุด
- ยักษ์ใหญ่อมรินทร์ฯ - อินสไพร์ รับสภาพประคองตัว ลดความเสี่ยง ลดการเพิ่มหัวนิตยสารใหม่ ดึงอีเวนท์บีโลว์เดอะไลน์ ช่วยรักษาเป้ารายได้
- นายกฯ นิตยสาร เตือนเจ้าของนิตยสารเตรียมพร้อมมือดิจิตอล พับลิชชิ่ง

ระทึก! ตลาดนิตยสารครึ่งปีแรกทรุดหนักต่อเนื่อง หลากปัจจัยรุมเร้า การแข่งขันรุนแรงท่ามกลางสภาวะเศรษฐกิจซบเซา สถานการณ์การเมืองวุ่นวาย พฤติกรรมผู้บริโภคปรับเปลี่ยน ส่งผลให้เม็ดเงินโฆษณาหดหาย บ้างกระจายเข้าสู่สื่ออื่น ทำเอาค่ายนิตยสารยักษ์ใหญ่ตั้งรับกันวุ่น อินสไพร์ย้ำสิ่งสำคัญต้องสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง พร้อมต่อยอดคอนเท้นต์แบบ 360 องศา ด้านอมรินทร์ฯ รับสภาพตลาดนิตยสารไม่หมูตามปี เป้าไม่โต ต้องหันพึ่งบีโลว์เดอะไลน์ จัดกิจกรรมทัวร์ เทรนนิ่ง งานแฟร์ ในขณะที่นายกสมาคมนิตยสารแห่งประเทศไทยระบุ ผู้ผลิตนิตยสารไทยต้องปรับตัวรับกระแสดิจิทัล พับลิชชิ่งที่มาแรงในตลาดโลก แม้ยอดผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศจะยังน้อย แต่ไม่ควรประมาท ประกาศรับมือด้วยการดึงเอแบคสำรวจการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้อ่าน จับตาเพื่อหาแนวทางมาพัฒนาสื่อวิ่งตามเทรนด์

ความจริงแล้วตลาดสื่อนิตยสารน่าจะเป็นสื่อลำดับแรก ๆ ที่ออกอาการกราฟการเติบโตหันหัวปักลงดิน สัญญาณความตกต่ำเริ่มแสดงให้เห็นมาตั้งแต่ปีต้นปี 2006 การใช้จ่ายงบโฆษณาผ่านสื่อนิตยสารในเดือนมีนาคม ติดลบ 3.82% เมื่อเทียบกับมีนาคมปีก่อนหน้า นับจากนั้นตัวเลขเปรียบเทียบการใช้เงินเดือนต่อเดือนของสื่อนิตยสารก็ติดลบสีแดงมาโดยตลอด จบสิ้นปี 2006 สื่อนิตยสารก็ไม่สามารถเชิดหัวกราฟขึ้น ติดลบ 0.13% ด้วยมูลค่า 6,140 ล้านบาท ต่ำกว่าการใช้งบประมาณในปี 2005 อยู่ราว 8 ล้านบาท

ข้ามมาถึงปีนี้ นีลเส็น มีเดีย รีเสิร์ช บริษัทผู้ทำการสำรวจการใช้งบโฆษณาผ่านสื่อ ยังคงแสดงตัวเลขติดลบของการใช้สื่อนิตยสารต่อเนื่องและมากขึ้น เพราะในขณะที่สื่อหนังสือพิมพ์ที่เคยควงคู่ติดลบกันมาตลอด ได้รับอานิสงค์ จากองค์จตุคามรามเทพ โปรดักส์ที่มีการใช้งบโฆษณาสูงสุดในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา เทงบส่วนใหญ่มาที่สื่อหนังสือพิมพ์ แต่สำหรับสื่อนิตยสารไม่มีสิ่งปาฏิหาริย์เช่นนั้น

มกราคม 2007 สื่อนิตยสารติดลบไปถึง 2 หลัก งบประมาณหายไปจากปี 2006 ถึง -12.05% จนถึงเดือนมีนาคมที่เหมือนเป็นเดือนอันตรายของสื่อนิตยสาร เพราะจากการตกต่ำติดลบเป็นเดือนแรกเมื่อปี 2006 มาถึงมีนาคม 2007 ตัวเลขติดลบทำสถิตินิวโลว์ ดิ่งลึกลงถึง -14.97% กระเตื้องขึ้นเป็นลำดับในเดือนเมษายน ที่ -14.49 และขยับมาอยู่ที่ -8% ใน 2 เดือนล่าสุด แต่แนวโน้มครึ่งปีหลังก็ยังเป็นที่หวาดหวั่นของเจ้าของหัวนิตยสารในตลาด

ค่ายยักษ์หืดจับ รายได้ทรงกับทรุด พับแผนขยายหัวหนังสือ รอดูสถานการณ์

วิลักษณ์ โหลทอง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท อินสไพร์ เอนเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด กล่าวยอมรับว่า การแข่งขันของตลาดนิตยสารภายภายในประเทศในปีนี้ค่อนข้างยากลำบาก จากเดิมที่มีการคาดการณ์กันว่าจะมีการเปิดตัวหัวนิตยสารใหม่ราว 80 ฉบับ กลับลดลงเหลือเพียง 30 - 40 ฉบับเท่านั้น อีกทั้งในส่วนของเม็ดเงินโฆษณาที่ไหลเข้าสู่สื่อนิตยสารเมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมาก็ลดลงกว่า 8 % อย่างไรก็ตาม หากมองในมุมรายได้จากยอดขายนิตยสาร คาดว่าตลาดนิตยสารในประเทศไทยยังคงมีแนวโน้มที่จะโตเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆทั่วโลก ที่มียอดขายเป็นล้านฉบับ ในขณะที่ประเทศไทยมียอดขายอยู่เพียงหลักหมื่นถึงหลักแสนเท่านั้น ดังนั้นจึงเชื่อว่าโอกาสเติบโตของนิตยสารหน้าใหม่จะยังมีอยู่ โดยแนวทางที่จะสามารถสร้างการเติบโตให้ได้นั้นอาจจะเป็นในรูปแบบของการสร้างเซ็กเม้นต์นิตยสารเฉพาะกลุ่ม อาทิ นิตยสารสำหรับกลุ่มผู้หญิงอายุไม่เกิน 25 ปี ที่คาดว่ายังมีโอกาสสูง ในขณะที่นิตยสารในกลุ่มผู้ชายซึ่งแต่เดิมมีเพียงไม่กี่หัว แม้การสำรวจตลาดล่าสุดจะพบว่ามีนิตยสารหัวใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นมาถึง 6-7 ฉบับต่อปี ก็ยังถือได้ว่าพอจะมีช่องว่างให้รายใหม่ ๆ เข้าไปได้เช่นเดียวกัน

ในส่วนของ อินสไพร์ เอนเตอร์เทนเม้นต์ วิลักษณ์กล่าวว่า จากเดิมที่ตั้งเป้าหมายจะทำการเปิดตัวนิตยสารใหม่จำนวน 2 เล่มในปีนี้ ก็มีเหตุต้องสะดุดนับตั้งแต่มาตรการห้ามโฆษณาเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เนื่องจากนิตยสารส่วนใหญ่ของบริษัทล้วนมีกลุ่มเป้าหมายเป็นกลุ่มผู้ชาย จึงรับผลกระทบไปอย่างเต็มที่ ประกอบกับสภาพเศรษฐกิจซบเซาที่กระทบทั้งในส่วนยอดขายนิตยสาร และยอดขายโฆษณา ส่งผลให้ปีนี้ อินสไพร์คงจะทำการเปิดตัวนิตยสารใหม่เพียง 1 เล่ม ในช่วงไตรมาส 4 ที่จะถึงนี้

ปัจจุบันอินสไพร์มีนิตยสารอยู่ในมือจำนวน 12 เล่ม ได้แก่ นิตยสารในกลุ่มผู้ชายคือ FHM, ARENA, Stuff, CAR ,นิตยสารผู้หญิง คือ คาวาอิ ,Ray ,นิตยสารในกลุ่มบันเทิง ได้แก่ เอนเตอร์เทน ,มิวสิค เอ็กเพรส,CASAVIVA, ฮิ ,สยามบันเทิง และ Adventure & Travel โดยนิตยสารหัวนอก ที่เตรียมเปิดตัวอีก 1 เล่มในช่วงไตรมาส 4 จะมุ่งเจาะกลุ่มผู้อ่านที่เป็นผู้ชายเป็นหลัก ส่วนอีกหนึ่งเล่มที่มีแผนที่จะเปิดตัวในปีนี้ ก็มีการพับแผนไว้ คาดว่าหากสถานการณ์ดีขึ้นจะสามารถทำการเปิดตัวในปีหน้า ซึ่งจะเป็นนิตยสารสำหรับผู้หญิงโดยเฉพาะ อย่างไรก็ตาม หลังการเปิดตัวนิตยสารเล่มใหม่ จะช่วยสนับสนุนให้รายได้โฆษณาของอินสไพร์เติบโตขึ้นจากครึ่งปีแรก และคาดว่าเมื่อถึงสิ้นปียอดรายได้รวมทั้งหมดจะเป็นไปตามเป้าที่ได้วางไว้คือ 400 ล้านบาท

"ในครึ่งปีแรกรายได้จากโฆษณาดร้อปลงไป ซึ่งถือเป็นเรื่องธรรมดา เพราะเมื่อมีปัจจัยความไม่แน่นอนเข้ามา เม็ดเงินก็จะไหลไปสู่สื่อทีวีเพราะสามารถกระจายสู่ลูกค้าในมุมกว้าง ในส่วนของเราเมื่อตอนต้นปี ตั้งเป้าเติบโต 10 % แต่ปรากฏว่าทำได้ต่ำกว่าเป้าเล็กน้อยเพราะโดนผลกระทบจากเรื่องแอลกอฮอล์ อย่างไรก็ตามเรายังคงมั่นใจในศักยภาพการเติบโตของสื่อนิตยสารในประเทศไทย โดยเฉพาะหลังจากการเลือกตั้ง ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคน่าจะกลับมาและส่งผลให้ตลาดกลับมาคึกคักเหมือนเดิม "

ด้านระริน อุทกะพันธุ์ กรรมการผู้จัดการสายธุรกิจสำนักพิมพ์ บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ในช่วงครึ่งปีที่ผ่านมา รายได้ของนิตยสารในเครือโดยรวมถือว่าคงที่ โดยนิตยสารในเครืออมรินทร์ฯ ไม่ได้รับผลกระทบด้านยอดขาย รวมถึงยอดสมาชิก แต่ในส่วนของรายได้จากโฆษณามีนิตยสารในกลุ่มผู้หญิง เช่น แพรว สุดสัปดาห์ ลดลงไปบ้าง เนื่องจากเป็นตลาดที่มีการแข่งขันสูง มีนิตยสารในกลุ่มนี้อยู่ในตลาดหลายหัว อีกทั้งสินค้าที่ซื้อโฆษณาซึ่งเป็นสินค้าฟุ่มเฟือยมีการใช้งบโฆษณาน้อยลง แต่สำหรับนิตยสารในด้านสุขภาพ อาทิ ชีวจิต เฮลท์ และนิตยสารเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย รูม บ้านและสวน กลับมียอดขายนิตยสาร และยอดขายโฆษณาเติบโตขึ้นกว่าปีก่อน

"นิตยสารที่เพิ่งเปิดตัวไป คือ อินสไตล์ นำเข้ามาจาก สหรัฐอเมริกา ก็ได้รับการตอบรับที่ดี แต่อาจจะมีการปรับการขายโฆษณาเพื่อให้เป็นไปตามเป้า แต่ภาพรวมยังถือว่าน่าจะไปได้ดี สำหรับเล่มใหม่นี้ ส่วนครึ่งปีหลังที่เหลือ จะไม่มีการเปิดตัวหนังสือใหม่แต่อย่างใด โดยคาดว่าทั้งเครือจะมีอัตราการเติบโตของรายได้อยู่ที่ 10 % ซึ่งตัวเลขเม็ดเงินที่วางไว้อาจจะไม่ได้ตามเป้า แต่น่าจะทรงตัวเมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา"

ดึงบีโลว์เดอะไลน์สร้างแบรนด์ให้นิตยสาร

วิลักษณ์ โหลทอง ผู้บริหาร อินสไพร์ กล่าวถึงแนวทางที่จะสร้างการเติบโตให้กับธุรกิจของตนว่า สิ่งที่อินสไพร์เชื่อมั่นว่าตลาดนิตยสารจะกลับมาบูมเหมือนเดิม เนื่องมาจากกลยุทธ์ของการสร้างแบรนด์ โดยกลยุทธ์หลักที่มุ่งดำเนินการนั้น คือ การทำให้คนรู้จักนิตยสารแต่ละหัว โดยการนำเสนอผ่านกิจกรรมทั้ง การใช้สื่อหลัก หรือ อะโบพเดอะไลน์ และกิจกรรมอีเวนท์ หรือ บีโลว์เดอะไลน์ หรือเรียกโดยรวมว่า ทรูเดอะไลน์ ระดมทุกกลยุทธ์เพื่อสร้างการรับรู้กับผู้อ่าน ซึ่งในส่วนนิตยสารของอินสไพร์ส่วนใหญ่มีข้อได้เปรียบประกาศหนึ่งคือ เป็นหนังสือที่เป็นหัวนอก มีชื่อเสียงและได้รับการยอมรับ มีผู้อ่านทั่วโลก ดังนั้นปัจจัยที่สำคัญของการสร้างแบรนด์ ก็คือ ตัวคอนเท้นต์ หากนิตยสารเหล่านี้นำเสนอคอนเท้นต์ที่ดี เป็นที่สนใจของผู้อ่าน ก็สามารถต่อยอดได้ในอนาคตได้

" การมีแบรนด์อยู่ในมือถือว่าได้เปรียบ เพราะในแต่ละแบรนด์จะมีคอนเท้นต์ที่สามารถนำมาต่อยอดได้อีกเป็นจำนวนมาก อาทิ นิตยสารหนึ่งเล่มสามารถขายคอนเท้นต์ให้กับ โทรศัพท์มือถือ , การจัดกิจกรรมต่างๆในส่วนของอินสไพร์ได้มีการตั้งแผนกที่เรียกว่า Strategy Solution ที่มิใช่ตั้งขึ้นมาเพื่อวางแผนสื่อในหน้านิตยสารเท่านั้น แต่แผนกดังกล่าวจะตั้งขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่แบบ 360 องศา ซึ่งอาจมีหน้าที่กำหนดกลยุทธ์ต่างๆอาทิ การจัดอีเว้นต์ การเสนอขายคอนเท้นต์ และในอนาคตอินสไพร์ได้ทำการรองรับกับกระแสของดิจิทัล พับลิชชิ่ง ด้วยการมุ่งพัฒนาเว็บไซต์มากยิ่งขึ้น "

ด้านระริน อุทกพันธ์ กล่าวว่า แผนการตลาดต่อจากนี้ของนิตยสารในเครืออมรินทร์ฯ จะเป็นการวางแผนเดือนต่อเดือน ประเมินสถานการณ์เพื่อกำหนดแผนงานในแต่ละเดือน เนื่องจากปัจจุบันลูกค้าที่ลงโฆษณามีการวางแผนใช้เงินโฆษณาระยะสั้น ทำให้ยอดรายได้ในแต่ละเดือนไม่คงที่ แนวโน้มเดือนใดที่มีแนวโน้มการใช้งบโฆษณาน้อย ก็อาจมีการปรับรูปแบบการขายเป็นแพ็คเกจ มีการจัดกิจกรรมสนับสนุนให้กับสินค้าที่ลงโฆษณาควบคู่ไปด้วย ก็เชื่อว่าจะช่วยให้รายได้จากการโฆษณาของนิตยสารในเครืออมรินทร์ฯ มั่นคงขึ้น แต่ระรินก็คาดหมายว่า การทำธุรกิจนิตยสารในปีนี้นั้นต้องทำใจ หากสามารถทำรายได้ไม่หลุดไปจากเป้าหมายได้ ก็น่าพอใจมากแล้ว

อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจากการหารายได้จากธุรกิจนิตยสาร อมรินทร์ ยังมีธุรกิจใหม่ ๆ ที่เกิดจากแบรนดิ้งอันแข็งแกร่งของตัวบริษัท และหัวนิตยสาร เช่น ธุรกิจทัวร์ เทรนนิ่ง และงานแฟร์" ที่เป็นธุรกิจที่ไม่ได้รับผลกระทบจากสภาพเศรษฐกิจเท่าไรนัก

สมาคมนิตยสาร เตือนภัยคนในวงการเตรียมรับมือกระแสดิจิตอลพับลิชชิ่ง

ในส่วนของการสัมมนา World Magazine Trends 2007 ที่จัดขึ้นโดยสมาคมนิตยสารแห่งประเทศไทยได้ออกมาระบุถึงแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภค ที่กระแสความนิยมของ ดิจิตอล มีเดีย ที่กำลังก้าวคืบเข้ามาในวงการนิตยสาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มประเทศที่มีอัตราการใช้อินเทอร์เน็ตสูง จะมีอัตราการเติบโตของสื่อดิจิตอล พับลิชชิ่ง ที่สูงตามติดด้วย ในส่วนของประเทศไทย แม้จะมีสัดส่วนของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ แต่ก็ไม่ควรประมาท เพราะเม็ดเงินที่จะไหลไปสู่สื่อดิจิตอล พับลิชชิ่ง ก็มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน

ธนาชัย ธีรพัฒนวงศ์ นายกสมาคมนิตยสารแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ปัจจุบันสื่ออินเทอร์เน็ตทั่วโลกเข้ามาแย่งเม็ดเงินโฆษณาจากสื่อนิตยสาร แม้จะมีอัตราส่วนที่ต่ำ แต่ก็ไม่ควรประมาท เพราะจากตัวเลขของต่างประเทศ พบว่า เม็ดเงินโฆษณาที่เคยอยู่กับนิตยสารถูกโยกเข้าไปอยู่กลุ่มอินเทอร์เน็ตกว่า 10 % ดังนั้นสื่อนิตยสารในประเทศไทยควรมีการปรับตัว ดังจะเห็นว่าวันนี้เริ่มมีนิตยสารบางหัวมีการพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคอนเท้นต์ต่างๆเพิ่มขึ้นมา เช่น เบื้องหลังการถ่ายทำมานำเสนอเป็นคลิปปิ้ง รวมไปถึงการนำวีดีโอ รูปภาพ ที่ลูกค้าสามารถดาว์นโหลดผ่านเวปไซต์มาเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการต่อยอดธุรกิจ หรือ การจับมือของผู้ผลิตนิตยสารบางรายกับค่ายทรู ที่เปิดโอกาสให้มี อี -แมกกาซีนบนหน้าเว็บไซต์ ซึ่งลูกค้าสามารถคลิกเข้าไปดาว์นโหลดและอ่านเนื้อหา และ คอนเท้นต์โฆษณาต่างๆได้

"แนวโน้มของนิตยสารในปี 2007 ทั่วโลกกำลังจับตามองการเติบโตของสื่อดิจิตอล มีเดีย หรือ ดิจิตอล พับลิชชิ่ง ในส่วนของประเทศไทยเราได้มีการพูดถึงเรื่องนี้มาหลายครั้ง แต่คาดว่ายังไม่กระทบ เพราะยังมีอัตราการใช้อินเตอร์เน็ตต่อหัวน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ อย่างไรก็ตามเราไม่ควรประมาท ผู้ผลิตนิตยสารทุกเจ้าตอนนี้ต้องทำการปรับตัว "

ขณะที่ วิลักษณ์ โหลทอง แสดงความเห็นว่า ศักยภาพของสื่อนิตยสารยังคงได้รับความเชื่อมั่นจากผู้อ่าน โดยมีการยกตัวอย่างจากผลการสำรวจจากต่างประเทศ ที่ระบุว่า อุตสาหกรรมนิตยสารยังคงเป็นสื่อที่สำนักพิมพ์ทั่วโลกเชื่อมั่นและมั่นใจ ในแง่ของการโฆษณาเอง ก็พบว่า การโฆษณาในหน้านิตยสารมีประสิทธิภาพในการสร้างความน่าเชื่อถือ และทำให้ลูกค้าส่วนใหญ่ตัดสินใจซื้อสินค้าอย่างรวดเร็วเหมือนเช่นเดิม เพราะการโฆษณาสินค้าหรือบริการต่างๆ สามารถสื่อให้เห็นภาพลักษณ์ของตัวสินค้าหรือการบริการได้อย่างชัดเจน และ มีกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนมากกว่าสื่อประเภทอื่นๆ อย่างไรก็ตามก็ไม่ได้ปฏิเสธว่า การมีดิจิตอล มีเดีย เป็นเรื่องที่ดี แต่น่าจะเป็นส่วนที่มาเสริมกับตัวสื่อที่เป็นสิ่งพิมพ์มากกว่า

ดึงเอแบคสำรวจพฤติกรรมผู้อ่าน หวังตามติดกระแสดิจิตอล พับลิชชิ่ง

ธนาชัย กล่าวเพิ่มเติมว่า เพื่อเป็นการรับมือกับกระแสของดิจิตอล พับลิชชิ่ง ที่กำลังจะเติบโต สมาคมนิตยสารฯจึงได้ร่วมมือเอแบคโพลล์ ในการวิจัยเชิงลึกเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลของผู้อ่านนิตยสารในประเทศไทย เพราะในอดีตที่ผ่านมาข้อมูลเหล่านี้มีไม่มากพอ และไม่มีความชัดเจน จึงไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์หรืออ้างอิงได้ โดยการสำรวจในครั้งนี้จะทำการวิจัยทั้งหมดจำนวน 5 แสนชุด และจะทำการแนบไปกับนิตยสารกว่า 100 ฉบับ ฉบับละ 5,000 ชุด คาดว่าจะเริ่มทำการสำรวจได้ในเดือนสิงหาคม และสรุปผลได้ในอีก 2 - 3 เดือนข้างหน้า

" เราต้องการรับทราบข้อมูลของผู้อ่านนิตยสารว่ามีกลุ่มอายุเท่าไร ชอบอ่านหนังสือประเภทไหน พฤติกรรมการอ่าน ใช้ระยะเวลาเท่าใด และมองว่านิตยสารนั้นมีศักยภาพเทียบเท่ากับสื่อทีวี และ อินเทอร์เน็ตหรือไม่อย่างไร ซึ่งผลวิจัยที่ได้มาจะทำให้เหล่าผู้จัดทำนิตยสารได้รับทราบถึงข้อมูลในเชิงลึก และ กว้าง ทำให้ทุกคนมีแนวทางในการรับมือกับพฤติกรรมของผู้บริโภคในอนาคตได้ "   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us