Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์6 สิงหาคม 2550
วัดมาตรฐาน"จีอี"สร้าง"แบงก์กรุงศรีฯ"จุดสตาร์ทสงครามการเงินเพิ่งเริ่มต้น             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
โฮมเพจ บริษัท จีอี แคปปิตอล (ประเทศไทย) จำกัด

   
search resources

จีอี แคปปิตอล - GE Capital
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
Banking and Finance




ถือเป็นช่วงรอยต่อของการผสมผสาน 2 แผ่นดิน ระหว่าง"จีอี แคปปิตอล" และ "แบงก์กรุงศรีฯ" ให้เป็นปึกแผ่นหนึ่งเดียว ด้วยการกำจัดจุดอ่อน เสริมจุดแข็งที่นำไปสู่การสร้างฐานรากความมั่นคง ก่อนประกาศความพรั่งพร้อมในแสยานุภาพและกำลังพลที่พร้อมสู้ศึกในสนามรบธุรกิจการเงินอย่างแท้จริง

เพราะ "จีอี" เป็นแบงก์ต่างชาติที่เข้ามาดำเนินธุรกิจในไทยเป็นเวลานาน จึงรู้ตื้นลึกหนาบางของวงการการเงินนี้เป็นอย่างดีว่ากำลังตกอยู่ในสถานการณ์ไหน ทำให้รู้วิธีเดินแผนการปฏิบัติตัวได้ถูกกาลเวลา และเรื่องนี้น่าจะเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ "จีอี"ไม่ใช้กลยุทธ์เชิงรุกในทันทีที่รับ"แบงก์กรุงศรีฯ"เข้ามาอ้อมกอด แต่เลือกที่จะสร้างฐานที่แข็งแกร่งให้แบงก์แห่งนี้ก่อน

ธุรกิจการเงินได้เข้าสู่ยุคของการปรับตัวครั้งใหญ่ เพื่อรับสถานการณ์โลกที่เปลี่ยน การไร้ซึ่งพรมแดนขวางกันนำมาสู่การเคลื่อนย้ายทุนจำนวนมหาศาลอย่างเป็นอิสระ อันหมายถึงเมื่อทุนมากมายไหลบ่าเข้ามาสู่ธุรกิจการเงิน แบงก์คือหนึ่งในหลายผู้ประกอบการที่จะได้รับผลกระทบอย่างแรงหากไม่มีรากฐานที่มั่นคง...

ซึ่งเมื่อเวลานั้นได้เข้ามาเยือนอย่างแท้จริง...แบงก์ที่อ่อนแอย่อมถูกกลืนกินไปโดยปริยาย...ไม่ต่างจากกฎธรรมชาติ...ที่ปลาใหญ่ไล่กินปลาเล็ก

จริงอยู่ที่ "แบงก์กรุงศรีฯ" ในความดูแลของ "จีอี แคปปิตอล" คงถูกกลืนกินไม่ได้ง่ายๆ เพราะทุนทางฝาก "จีอี"ที่มีมหาศาล สามารถหนุน"แบงก์กรุงศรีฯ"ได้ไม่ยาก

แต่ถึงกระนั้น "จีอี แคปปิตอล" ก็อยากให้"แบงก์กรุงศรีฯ" มีภาพสวยงามโดยเฉพาะด้านความมั่นคงแข็งแรง ซึ่งนักวิเคราะห์ มองว่าจะไปได้สวยในครึ่งปีหลัง

นั่นเพราะ ผู้ถือหุ้นใหญ่อย่างจีอี ต้องการแก้ปัญหาคุณภาพสินทรัพย์ ถึงกับยอมแลกด้วยผลการดำเนินงานที่ขาดทุนถึง 7,600 ล้านบาทในครึ่งปีแรก โดยนำเงินไปตั้งสำรองเผื่อหนี้สงสัยจะสูญของแบงก์ให้อยู่ในระดับเดียวกับ ค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรมที่ 60% งานนี้ "กรุงศรีฯ" ใช้เงินถึง 11,500 ล้านบาท

ส่งผลให้อัตราส่วนสำรองหนี้ต่อเงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพ เพิ่มขึ้นจาก 46% ในสิ้นปี 2549 มาอยู่ที่ 56.52% สินเชื่อด้อยคุณภาพ (เอ็นพีแอล)เพิ่ม 5.7 หมื่นล้านบาท คิดเป็น12.6% ของสินเชื่อรวม หรือเพิ่มขึ้น 1.1 หมื่นล้านบาทเมื่อเทียบกับไตรมาสแรกปีนี้ที่มียอดเอ็นพีแอลอยู่ประมาณ 4.6 หมื่นล้านบาท หรือราว 9.9% ของสินเชื่อรวม แต่การตั้งสำรองเผื่อหนี้สงสัยจะสูญหนนี้ นักวิเคราะห์กับมองว่าเป็นผลดีต่อตัว"แบงก์กรุงศรีฯ" เพราะเป็นการแสดงจุดยืนที่ชัดเจนของผู้ถือหุ้นใหญ่ว่าไม่ต้องการให้แบงก์แห่งนี้มีภาระกันสำรองหนี้เพิ่มอีก ดังนั้น ณ เวลานี้ แบงก์แห่งนี้ได้หมดภาระเรื่องกันสำรองแล้ว และในทางเดียวกันยังมองเห็นผลกำไรที่จะเกิดขึ้นในปี 2551อีกด้วย

ตัน คอง คูน กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร แบงก์กรุงศรีฯ บอกว่า ช่วง 6 เดือนตั้งแต่เข้ามาบริหาร ก็มีเป้าหมายที่จะทำให้โครงสร้างพื้นฐานของแบงก์แห่งนี้แข็งแกร่งรองรับการเติบโตในอนาคต ดังนั้นจึงตัดสินใจตั้งสำรองเผื่อหนี้สงสัยจะสูญให้ครบทั้งจำนวนตามเกณฑ์ IAS 39 ทันทีก่อนที่จะถึงกำหนด

"รวมถึงการลงทุนในเทคโนโลยีสารสนเทศ เพิ่มการฝึกอบรมพนักงาน ลดขั้นตอนการปฏิบัติงานให้กระชับเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงาน ดังนั้นหลังจากพ้นไตรมาส 2 ขึ้นไตรมาส 3 ภาพลักษณ์และผลงานก็จะเริ่มเห็นเป็นที่ประจักษ์ชัดขึ้นว่า เรากำลังวิ่งไปข้างหน้า และไปในทิศทางที่ดีขึ้น เพียงแต่ตอนนี้ที่เห็นว่าเราขาดทุน เพราะเราอยู่ระหว่างการสร้างความแข็งแกร่งให้องค์กร"

ตัน ยังบอกด้วยว่า ที่ผ่านมา เป็นช่วงแห่งการผสมผสานกันจุดอ่อน จุดแข็ง แต่หลังจากนี้ไปคือช่วงของการวิ่งไปข้างหน้า โดยเน้นให้ลูกค้าเป็นจุดศูนย์กลางของการให้บริการจากธนาคาร ตั้งแต่ลูกค้าขนาดใหญ่อย่างองค์กรต่าง ๆ ขนาดกลางและย่อม เช่น เอสเอ็มอี ลูกค้าระดับย่อยรายบุคคล รวมถึงลูกค้าที่มาจากกลุ่มพันธมิตร กลุ่มต่าง ๆ นี้ แบงก์จะมุ่งเน้นกระจายบริการให้ได้อย่างทั่วถึง

สำหรับ "แบงก์กรุงศรีฯ" ที่มี "จีอี แคปปิตอล" เป็นพี่เลี้ยงดูแล นับว่าไม่ใช่เรื่องยากที่จะทำ เพราะด้วยเทคโนโลยีและความเชี่ยวชาญในธุรกิจการเงินที่มีมายาวนานน่าจะทำให้ แบงก์แห่งนี้วิ่งไปข้างหน้าได้เร็วขึ้นหลังจากที่สร้างฐานขององค์กรได้มั่นคง

" ไม่ว่าจะเรื่องการนำกรรมวิธีบริหารความเสี่ยงมาใช้ โปรแกรมอบรมพนักงานซึ่งถือเป็นทรัพย์สินที่มีค่ายิ่งของบริษัท ผลิตภัณฑ์ทางการเงิน ซึ่งเป็นสิ่งที่ จีอี แคปปิตอล มีพร้อม และจะนำมาใช้เพิ่มศักยภาพ รวมถึงประสิทธิภาพให้แบงก์กรุงศรีฯ"

อาจกล่าวได้ว่าจุดสตาร์ทการแข่งขันทางการเงินที่แท้จริงของ"แบงก์กรุงศรีฯ"ภายใต้อำนาจบริหารโดย"จีอี แคปปิตอล" กำลังเริ่มอย่างต้นอย่างจริงจังนับแต่นี้   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us