Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤษภาคม 2546








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2546
Hybird Maintenance สุขภาพเครื่องจักรคือหัวใจสำคัญ             
 

   
related stories

The Key of Success
องค์ประกอบสำคัญของการฟื้นตัว
Deming Prize
Total Quality Management : TQM
กำลังใจที่ได้รับในช่วงวิกฤติ

   
search resources

ชนะ ภูมี




โดยส่วนตัวแล้ว ชนะ ภูมี จะมีความผูกพันกับหม้อเผาที่ 5 และ 6 ซึ่งเป็นหม้อเผาใหม่ล่าสุดของโรงงานทุ่งสงเป็นพิเศษ

เพราะเขาเป็นนายช่างที่อยู่ในกระบวนการตรวจสอบเทคนิคจัดซื้อ และมีส่วนสำคัญในการติดตั้งหม้อเผาปูนทั้ง 2 หม้อด้วยตัวเอง

ชนะ มาอยู่ที่โรงงานทุ่งสง ตั้งแต่ปี 2538 เขาเห็นความเป็นไปของโรงงานตั้งแต่ยุครุ่งเรืองจนถึงช่วงวิกฤติ

ชนะจบปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตร์ สาขาไฟฟ้า จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือเริ่มทำงานกับปูนซิเมนต์ไทยตั้งแต่ปี 2533

ภารกิจในปูนซิเมนต์ไทยของชนะส่วนใหญ่เป็นเรื่องของการบุกเบิก งานแรกของเขาคือการร่วมวางระบบ Building Automation System เพื่อให้อาคารสำนักงานใหญ่ ที่บางซื่อ เป็นอาคารอัตโนมัติแห่งแรกในประเทศไทย

หลังจากนั้นเขาก็มีส่วนในการก่อสร้างโรงงาน และติดตั้งเครื่องจักร ที่โรงงานปูนซิเมนต์เขาวง จังหวัดลพบุรี ซึ่งเป็นโรงงานปูนซีเมนต์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก

ในส่วนของโรงงานที่ลำปาง ซึ่งเป็นโรงงานล่าสุด เขาก็มีส่วนในการร่วมวางโครงสร้างพื้นฐาน และวางระบบไฟฟ้า

เขาตัดสินใจอยู่ประจำที่โรงงานทุ่งสง เพราะเห็นว่าหลังจากติดตั้งหม้อเผาที่ 6 เสร็จสิ้นลงแล้ว ปูนซิเมนต์ไทย ไม่มีโครงการใหม่ๆ เหลือให้เขาต้องไปบุกเบิกอีก

ภาระรับผิดชอบของเขาที่ทุ่งสงคือ การดูแลและบำรุงรักษาเครื่องจักร ที่มีมูลค่ารวมนับหมื่นล้านบาท โดยเฉพาะหม้อเผาที่ 5 และ 6

"โดยธรรมชาติหม้อเผาปูนจะต้องมีการปิดเพื่อซ่อมบำรุงใหญ่ ปีละ 2 ครั้ง งบประมาณในการซ่อมบำรุงแต่ละครั้งตกประมาณ 20-30 ล้านบาทต่อ 1 หม้อ" เขาบอก

ก่อนเกิดวิกฤติ การบำรุงรักษาเครื่องจักรของโรงงานทุ่งสง เป็นแบบ Periodic Maintenance : PM อุปกรณ์ชิ้นใดที่ครบอายุการใช้งาน จะเปลี่ยนทันที แม้ว่าโดยสภาพของอุปกรณ์นั้นจะยังสามารถใช้ต่อไปได้อีกหลายเดือน

โครงสร้างของส่วนซ่อมบำรุง จะประกอบด้วยพนักงานบำรุงรักษา ประมาณ 8 คน ที่จะคอยเดินตรวจตราเครื่องจักร หากพบว่ามีอุปกรณ์ชิ้นใดชำรุด ก็จะแจ้งให้กับพนักงานที่เป็นช่างเครื่องกล และไฟฟ้าที่มีอยู่ประมาณ 100 คน ไปซ่อม

ทั้งระบบ PM และโครงสร้างของพนักงานรูปแบบนี้ เป็นสิ่งที่ดีในภาวะที่บริษัทมีกำไร เพราะแม้ต้นทุนค่าบำรุงรักษาจะสูง แต่ก็สามารถรับประกันได้ว่าเครื่องจักรจะสามารถเดินได้อย่างต่อเนื่องไม่มีสะดุด

"หม้อเผาหากต้องหยุดบ่อยก็ไม่ดี เพราะในการเดินเครื่องใหม่แต่ละครั้ง ต้องใช้ต้นทุนเชื้อเพลิงในการวอร์มหม้อเผาถึงครั้งละ 3 แสนบาท"

ช่วงวิกฤติ ซึ่งโรงงานทุ่งสงจำเป็นต้องลดต้นทุนลงมาให้เหลือน้อยที่สุด รูปแบบการทำงานอย่างเดิมไม่สามารถใช้ต่อไปได้ เพราะต้นทุนสูง

จากระบบ PM เดิม ได้ถูกเปลี่ยนมาเป็น PLM (Plan Maintenance) คืออุปกรณ์ชิ้นใด หากครบอายุการใช้งานแล้ว แต่สภาพยังใช้ต่อไปได้ ก็ใช้ไปจนหมดสภาพ เพื่อลดต้นทุนลงมาให้เหลือน้อยที่สุด

มีการเปรียบเทียบรูปแบบการบำรุงรักษาเครื่องจักรของโรงงานทุ่งสง ในช่วงก่อนและหลังวิกฤติว่าเหมือนกับเจ้าของรถยนต์ที่เมื่อก่อนเอารถเข้าเช็กในศูนย์ตามระยะ แต่พอมีปัญหา ก็ต้องเปลี่ยนไปซ่อมตามอู่ เมื่อรถเสีย

ทั้ง PM และ PLM มีข้อดี และข้อเสียต่างกัน

"PM สามารถรับประกันการเดินของเครื่องจักรได้มากกว่า แต่ต้นทุนสูงกว่า แต่ PLM การเดินของเครื่องจักรอาจสะดุดลงบ้างเป็นบางครั้ง แต่ก็ใช้เงินในการบำรุงรักษาต่ำกว่า"

หลังวิกฤติ โรงงานทุ่งสงต้องใช้ระบบ PLM ในการดูแลรักษาเครื่องจักรอยู่เกือบ 3 ปี แต่หลังจากสถานการณ์ทุกอย่างคลี่คลายลง เมื่อโรงงานนี้สามารถส่งออกปูนซีเมนต์ไปขายต่างประเทศได้ รูปแบบการบำรุงรักษาก็ถูกปรับปรุงใหม่อีกครั้ง

ชนะและทีมงาน ได้นำข้อดีของทั้งระบบ PM และ PLM มาผสมผสานกันเพื่อวางรูปแบบการทำงานใหม่ ที่เรียกว่า Hybrid Maintenance

รูปแบบนี้ ได้เปลี่ยนให้พนักงานซึ่งเคยเป็นช่างซ่อมเครื่องกล และไฟฟ้าที่มีเหลืออยู่ประมาณ 90 คน ออกไปเฝ้าเครื่องจักรตามหน้างาน เพื่อคอยดูสุขภาพของอุปกรณ์แต่ละชิ้นว่าเป็นอย่างไร หากเห็นว่าอุปกรณ์ชิ้นใดที่เริ่มมีอาการไม่ดี ก็จะแจ้งให้ฝ่ายบำรุงรักษา นำเครื่องมือมาตรวจสอบ และซ่อมเมื่อเห็นว่ามีความจำเป็น

พนักงานเหล่านี้ จะถูกปลูกฝังทัศนคติในเชิงที่ว่าเขาก็คือเจ้าของเครื่องจักรคนหนึ่ง ดังนั้นจึงจำเป็นต้องคอยดูแลเครื่องจักรเหล่านั้นให้มีสุขภาพที่ดี ให้สามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง

รูปแบบการทำงานใหม่นี้ นอกจากจะช่วยให้ต้นทุนในการบำรุงรักษาไม่เพิ่มสูงขึ้นแล้ว ยังทำให้เครื่องสามารถทำงานอย่างต่อเนื่องได้นานขึ้น

ทุกวันนี้ หม้อเผาที่ 5 และ 6 ซึ่งเขาเห็นมันมาตั้งแต่เป็นเพียงส่วนประกอบอยู่บนรถคอนเทนเนอร์ สามารถเดินเครื่องผลิตได้อย่างเต็มที่ โดยที่มีทีมงานของเขาเกือบ 100 คน คอยเฝ้าดูแลอยู่อย่างใกล้ชิด

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us