Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤษภาคม 2546








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2546
กำลังใจที่ได้รับในช่วงวิกฤติ             
 

   
related stories

The Key of Success
องค์ประกอบสำคัญของการฟื้นตัว
Deming Prize
Total Quality Management : TQM
Hybird Maintenance สุขภาพเครื่องจักรคือหัวใจสำคัญ

   
search resources

สมใจ อารีพงษ์
สุดารัตน์ ชนะคช




ในก้นบึ้งของความรู้สึก สมใจ อารีพงษ์ ไม่เคยนึกมาก่อนว่า สถานการณ์เช่นนี้จะเกิดขึ้นกับองค์กรที่เขารัก และร่วมงานมาด้วยเป็นเวลาเกือบ 20 ปี

เขาเป็นคนนครศรีธรรมราช เข้าทำงานกับโรงงานปูนซิเมนต์ทุ่งสง ตั้งแต่ปี 2521 ในชีวิตการทำงานของเขา เคยผ่านประสบการณ์ของการปรับลดค่าเงินมาแล้วถึง 2 ครั้ง แต่ไม่มีครั้งไหนรุนแรงเท่ากับครั้งนี้

เขาเพิ่งมีอายุครบ 40 ปี ในวันที่รัฐบาลประกาศลอยตัวค่าเงินบาท หน้าที่ของเขาขณะนั้น เป็นพนักงานชุมชนสัมพันธ์

"ชาวบ้านแถวนี้เขาเห็นความเปลี่ยนแปลงได้อย่างชัดเจน เพราะเมื่อก่อนตอนปูนขายดี จะมีรถขนปูนมารอรับปูนจากโรงงานเป็นแถว นับร้อยคันต่อคิวกันยาวเหยียด ชาวบ้านก็ได้อาศัยค้าขายกับพวกรถปูนแถวนี้ แต่หลังจากวิกฤติ ลานจอดรถรับปูนว่างโล่งไปหมด เพราะปูนขายไม่ได้ เขาก็เป็นห่วง เพราะชาวบ้านส่วนใหญ่ ก็ให้ลูกหลานเข้ามาทำงานกับโรงปูนที่นี่กันทั้งนั้น"

ความรู้สึกของสมใจ ก็ไม่แตกต่างจากสุดารัตน์ ชนะคช เธอเป็นคนทุ่งสงโดยตรง เข้าทำงานที่โรงงานแห่งนี้ มาตั้งแต่ปี 2523 มีหน้าที่ดูแลเรื่องเงินเดือนของพนักงาน ประจำส่วนการบุคคล

"ตอนนั้นรู้สึกตกใจ และห่อเหี่ยว เพราะไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรกับเราหรือเปล่า มีเพื่อนหลายคนที่ทำงานแบงก์ถูกให้ออกจากงาน พนักงานทุกคนก็หวั่นไหว ก็เข้ามาสอบถามจากเราตลอดเวลาว่าต่อไปจะเป็นอย่างไร เพราะเราจะเป็นคนดูแลเรื่องเงินเดือนให้กับเขา"

ความรู้สึกของสมใจ และสุดารัตน์ สะท้อนให้เห็นถึงบรรยากาศและความรู้สึกของพนักงานทุกคนในโรงงานทุ่งสงช่วงเริ่มต้นวิกฤติได้อย่างดี เพราะแม้จะอยู่ในเครือซิเมนต์ไทย องค์กรอุตสาหกรรมยักษ์ใหญ่ และเป็นโรงงานปูนซิเมนต์เพียงแห่งเดียวในภาคใต้ แต่ความรุนแรงของวิกฤติที่เกิดขึ้นกลางปี 2540 ก็สร้างความหวั่นไหวให้เกิดขึ้นไปทั่ว

จุดเปลี่ยนสำคัญ ที่ดึงกำลังใจของพนักงาน ให้กลับคืนมา คือการที่ได้มีโอกาสพบปะ และพูดคุยผู้บริหารระดับสูงของโรงงานโดยตรง

ก่อนหน้าวิกฤติ โอกาสที่พนักงานระดับปฏิบัติการ อย่างเช่น สมใจ หรือสุดารัตน์ จะได้พบ และพูดคุยกับผู้อำนวยการโรงงาน ซึ่งเป็นผู้บริหารสูงสุดมีน้อยมาก เนื่องจากธุรกิจที่กำลังเดินไปด้วยดี ทำให้ผู้บริหารไม่มีเวลา

แต่หลังเกิดวิกฤติ ศิระ ศรีศุกรี ผู้อำนวยการได้เรียกประชุมพนักงานระดับปฏิบัติการ ซึ่งขณะนั้นมีอยู่ประมาณ 600 คน โดยเขาเป็นผู้มาชี้แจงด้วยตนเองถึงแนวทางที่จะทำเพื่อให้โรงงานทุ่งสงผ่านพ้นสถานการณ์ที่กำลังเผชิญอยู่

การประชุมจัดแบ่งเป็นกลุ่มย่อย กลุ่มละประมาณ 150 คน โดยมีการจัดประชุมกัน 3 ครั้ง เพื่อให้ศิระได้มีการชี้แจงแนวทางกับพนักงานได้อย่างทั่วถึง

"เราได้มีโอกาสพบกับท่าน ทำให้พนักงานทุกคนเข้าใจ ขวัญ และกำลังใจดีขึ้น พนักงานทุกคนได้รู้ว่าสถานการณ์ขณะนั้นเป็นอย่างไร และเราจะสามารถช่วยบริษัทได้อย่างไร ทุกคนพร้อมที่จะเดินหน้าร่วมแก้ไขปัญหากับบริษัท โดยช่วยกันประหยัด" สุดารัตน์บอก

การสื่อสารโดยตรงระหว่างผู้บริหารลงไปถึงพนักงานระดับล่าง นับเป็นหัวใจสำคัญอย่างหนึ่งในการแก้ไขวิกฤติของโรงงานทุ่งสง

แม้ทุกวันนี้ สถานการณ์ของโรงงานจะดีขึ้น และตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ เปลี่ยนตัวบุคคลจากศิระ มาเป็น สันติ แต่การสื่อสารโดยตรงจากระดับกรรมการถึงพนักงานก็ยังคงมีการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง

ช่วงวิกฤติ ปูนซิเมนต์ไทย (ทุ่งสง) ได้นำเทคโนโลยีพัฒนาอินทราเน็ตสำหรับใช้เป็นการภายใน และยังคงใช้ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

ภายในอินทราเน็ต นอกจากการรวบรวมข้อมูลของทุกส่วนงานเพื่อประกอบการวิเคราะห์และตัดสินใจแล้ว ยังเปิดห้องสนทนาระหว่างพนักงาน และกรรมการผู้จัดการขึ้น

ห้องสนทนานี้ เป็นช่องทางการสื่อสารระหว่างผู้บริหารกับพนักงาน ในภาวะที่ธุรกิจเริ่มดีขึ้น และโอกาสในการลงไปพบปะกับพนักงานระดับล่างของกรรมการผู้จัดการ มีน้อยลงอย่างในปัจจุบัน

ในห้องนี้ พนักงานทุกคนสามารถที่จะตั้งคำถามโดยตรงส่งไปถึงกรรมการผู้จัดการ และกรรมการผู้จัดการ ก็จะตอบคำถามที่ส่งมาทุกคำถาม ไม่ว่าคำถามนั้นจะใช้ชื่อจริงหรือนามแฝง

พนักงานของโรงงานทุ่งสง จึงไม่มีใครที่ไม่เข้าใจถึงนโยบาย หรือทิศทางที่ฝ่ายบริหารกำหนด ทุกคนยังพร้อมรับ และยินดีที่จะปฏิบัติตามอย่างเต็มที่

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us