Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน3 สิงหาคม 2550
ธปท.สั่งสอบทุจริตปล่อยกู้"เพรซิเดนท์"             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารไทยธนาคาร

   
search resources

ธนาคารไทยธนาคาร, บมจ.
เพรซิเดนท์ อะกริเทรดดิ้ง, บจก.




"ไทยธนาคาร"โดนหางเลข กองทุนฟื้นฟูฯสั่งตั้งคณะกรรมการสอบกรณีปล่อยกู้"เพรซิเดนท์ อะกริ เทรดดิ้ง กรุ๊ป"ขาดจรรยาบรรณในการดำเนินการ เร่งสรุปผลให้ได้ภายใน 30 วัน ยันหากพบผิดปกติต้องมีผู้รับผิดชอบ พร้อมเตรียมให้ตั้งสำรองอีกรอบในไตรมาส 3 ด้านไทยธนาคาร ยันเดินหน้าติดตามแก้ไขปัญหาลูกหนี้อย่างใกล้ชิด

นายสาทร โตโพธิ์ไทย ผู้อำนวยการสำนักกฏหมายและติดตามหนี้ ฝ่ายจัดการกองทุน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) กล่าวว่า กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ ธนาคารไทยธนาคาร จำกัด (มหาชน)(BT) ได้สั่งให้ฝ่ายบริหารธนาคารตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบการปล่อยสินเชื่อให้แก่ บริษัท เพรซิเดนท์ อะกริ เทรดดิ้ง กรุ๊ป รวมถึงการเข้าลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศ ในประเด็นของการลงทุนเป็นไปตามกระบวนการพิจารณาหรือขาดจรรยาบรรณในการดำเนินการหรือไม่ โดยกองทุนฟื้นฟูฯได้ให้เวลาคณะกรรมการฯ ดำเนินการตรวจสอบภายใน 30 วัน นับจากวันที่แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบ จึงคาดว่าจะรู้ผลตรวจสอบภายในเดือนกันยายนที่จะถึงนี้

อย่างไรก็ตาม ในส่วนของกองทุนฟื้นฟูฯซึ่งอยู่ในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่เอง ก็จะต้องดำเนินการเข้าตรวจสอบด้วยอีกทางหนึ่งด้วย เพื่อให้เป็นเกิดความชัดเจน และหากพบว่ามีความผิดปกติจะต้องมีผู้รับผิดชอบต่อกรณีดังกล่าวด้วย

นายสาทร กล่าวอีกว่า ในส่วนของหนี้ของบริษัทบริษัท เพรซิเดนท์ อะกริฯนั้น มีผลทำให้ธนาคารไทยธนาคารจะต้องตั้งสำรองเพิ่มขึ้นในไตรมาส 3 ปี 2550 จากก่อนหน้านี้ในไตรมาส 2 ที่ธนาคารได้กันสำรองกรณีดังกล่าวไปแล้วจำนวน 695 ล้านบาท

นอกจากธนาคารไทยธนาคารแล้ว บริษัทเพรซิเดนท์ อะกริ เทรดดิ้ง จำกัด มีวงเงินสินเชื่อยู่ในสถาบันการเงินหลายแห่ง โดยในส่วนของธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) บริษัทเพรซิเดนท์ อะกริฯ มีมูลหนี้หลาย 100 ล้านบาทที่ถูกจัดชั้นเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) และทางธนาคารได้ทำการกันสำรองไว้แล้ว แต่จะต้องสำรองเพิ่มหรือไม่ขึ้นอยู่กับการชำระหนี้ของลูกหนี้ในช่วงต่อไป

ขณะที่ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) เจ้าหนี้อีกรายของกลุ่มเพรซิเดนท์ฯ ระบุว่าบริษัทดังกล่าวเป็นลูกหนี้ที่เป็นปัญหามานาน ซึ่งธนาคารกสิกรไทยเองมีสิทธิที่จะฟ้องคดีได้ เพราะหลักประกันบางส่วนเป็นสต็อกข้าว และได้ดำเนินการในเรื่องของการกันสำรองฯไว้แล้ว

และในส่วนของธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ระบุว่า กรณีลูกหนี้กลุ่มเพรซิเดนท์ฯนั้น เป็นหนี้เก่าที่มีมูลหนี้กว่า 1,000 ล้านบาท แต่ในส่วนของธนาคารได้รับความเสียหายไม่มาก เพราะมีโกดัง ไซโล และสต็อกข้าวบางส่วนเป็นหลักประกัน ด้านฝ่ายกำกับสถาบันการเงิน ธปท. ได้ปฏิเสธข่าวที่ว่า ธปท.ได้สั่งให้ธนาคารพาณิชย์จัดชั้นลูกหนี้รายได้หรือจับตามองพิเศษกรณีของบริษัทเพรสซิเด้นส์ อะกริ เทรดดิ้ง จำกัด บริษัทคิงพาวเวอร์ จำกัด บริษัทแคปปิตอล โอเค จำกัด หรือบริษัทชิน แซลเทิลไลท์ จำกัด (มหาชน) โดยเป็นการดำเนินการตามความเห็นของธนาคารแต่ละแห่งที่สอบถามมายังธปท.เอง แต่อย่างไรก็ตาม ธปท.จะดำเนินตรวจสอบการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ต่อไป และหากเจ้าหน้าที่ตรวจสอบพบว่ายังมีลูกหนี้ที่มีฐานะอ่อนแอ หรือต้องจับตาเป็นพิเศษเพิ่มอีก ก็จะมีการสั่งให้ธนาคารพาณิชย์กันสำรองเพิ่มอีก

ไทยธนาคารยืนยันเดินหน้าติดตามแก้ไขปัญหาลูกหนี้อย่างใกล้ชิด

นายฐาภพ คลี่สุวรรณ ผู้อำนวยการอาวุโส สำนักกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคาร ไทย ธนาคาร จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหาลูกหนี้กลุ่มเพรซิเดนท์ อะกริ เทรดดิ้ง กรุ๊ป ซึ่งมีวงเงินกับธนาคารในประเทศและต่างประเทศรวมถึงธนาคารรัฐทุกแห่ง รวม 9 แห่ง ประมาณ 12,000 ล้านบาทว่า ขณะนี้ธนาคารได้ติดตามถึงความคืบหน้าอย่างใกล้ชิด และต่อเนื่อง โดยเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคมที่ผ่านมา ธนาคารได้ทำการยื่นหนังสือร้องทุกข์กล่าวโทษต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) เรียบร้อยแล้ว ซึ่งถือเป็นธนาคารแห่งแรกที่ดำเนินการในลักษณะดังกล่าว นอกเหนือจากนี้ ทางไทยธนาคารยังได้ยื่นฟ้องคดีเช็คต่อศาล และดำเนินการเพื่อฟ้องร้องในทางแพ่งต่อบริษัทฯควบคู่กันไปด้วย

สำหรับลูกหนี้กลุ่มเพรซิเดนท์ อะกริ เทรดดิ้ง กรุ๊ป ได้ใช้วงเงินกับธนาคารมาตั้งแต่ปี 2545 ซึ่งขณะนั้นถือเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ของโลก โดยมีกลุ่มสหพัฒน์ฯ เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่และมีผลการดำเนินงานที่เติบโตมาโดยตลอด จนในปี 2548 ได้มีการเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นใหญ่ ซึ่งในส่วนของไทยธนาคารมิได้นิ่งนอนใจ ได้มีการดูแลอย่างใกล้ชิด โดยได้ทยอยลดวงเงินการให้สินเชื่อแก่บริษัทฯ มาอย่างต่อเนื่อง จนเหลือรวม 1,760 ล้านบาท ณ 30 มิ.ย. 2550 ซึ่งแบ่งเป็นสินเชื่อ Cash ประมาณ 1,300 ล้านบาท ที่เหลือเป็นภาระค้ำประกัน ซึ่งปัจจุบันเนื่องจากลูกหนี้เริ่มค้างชำระ 1 เดือน เมื่อเดือนพ.ค.ที่ผ่านมา กลุ่มธนาคารจึงได้แต่งตั้งให้บริษัทเคพีเอ็มจี ภูมิชัย ที่ปรึกษาธุรกิจ เข้าตรวจสอบสินทรัพย์ และได้ข้อสรุปว่าธนาคารอาจจะไม่ได้รับการชำระหนี้บางส่วน ไทยธนาคารจึงได้ทำการตั้งสำรองจำนวน 695 ล้านบาท และพร้อมจะทำการตั้งสำรองเพิ่มเติมในครึ่งปีหลัง

ทั้งนี้ ในเรื่องดังกล่าว ที่ผ่านมาคณะกรรมการและผู้บริหารระดับสูงของธนาคารก็ได้มีการหารือเพื่อแก้ไขปัญหามาเป็นระยะ นอกจากนี้ทางธนาคารก็ได้รายงานต่อผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย และเจ้าหน้าที่ระดับสูง ฝ่ายกำกับและตรวจสอบของธปท. รวมถึงเจ้าหน้าที่ระดับสูงของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ เป็นที่เรียบร้อยแล้วตั้งแต่ในระยะแรกที่ธนาคารทราบถึงปัญหา

ส่วนในกรณีที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ได้มีความประสงค์ที่จะให้คณะกรรมการของไทย ธนาคารแต่งตั้งกรรมการตรวจสอบขึ้นมาชุดหนึ่งเพื่อดูแลและตรวจสอบนั้น ขณะนี้ธนาคารอยู่ระหว่างการดำเนินการตามขั้นตอนเพื่อแต่งตั้งกรรมการตรวจสอบดังกล่าวแล้ว โดยจะนำผลที่ได้ดำเนินการตรวจสอบตั้งแต่ในระยะแรกถึงปัจจุบันเข้ามาประกอบในการดำเนินการด้วย

อย่างไรก็ตาม สำหรับการติดตามและแก้ไขปัญหาลูกหนี้กลุ่มเพรซิเดนท์ อะกริ เทรดดิ้ง กรุ๊ป นั้น ธนาคารถือเป็นประเด็นสำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องรับผิดชอบและดูแลแก้ไขด้วยความใกล้ชิด รอบคอบ และระมัดระวังเป็นพิเศษ

อนึ่ง สำหรับการตั้งสำรองค่าเผื่อการด้อยค่าในเงินลงทุนตราสารหนี้ต่างประเทศ ประเภท CDO ชื่อ Coriolanus Series 39 จำนวน 276 ล้านบาทนั้น เป็นการตั้งสำรองเผื่อไว้ถึงแม้ว่าการลงทุนดังกล่าวยังมีอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ที่ระดับการลงทุน (BBB-) อยู่ และยังไม่มีการผิดนัดชำระหนี้ของตราสาร RMBS ใน CDO นั้นแต่อย่างใด   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us