Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤษภาคม 2546








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2546
"กองทัพส่วนตัว" ของกองทัพสหรัฐฯ             
 





เบื้องหลังกองทหารอเมริกันในสงครามอิรัก ภาค 2 คือ ทัพบริษัทเอกชนที่คอยทำงานบริการทหารอเมริกัน ในสงครามอ่าวเปอร์เซียภาค 2 นี้ บริษัทเอกชนของสหรัฐฯ จะมีบทบาทสำคัญยิ่งกว่าในสงครามครั้งใดๆ ที่ผ่านมา แม้แต่เมื่อครั้งสงครามอ่าวฯ ภาคแรก ทั้งนี้เพราะในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา กองทัพ อเมริกันเกิดการเปลี่ยนแปลงมากมาย มีการปลดกำลังพลออกไปแล้วถึงเกือบ 1 ใน 3

การที่รัฐบาลอเมริกันมีนโยบายสนับสนุนให้ภาครัฐถ่ายโอนงานให้แก่ภาคเอกชนมากขึ้น และการที่อาวุธยุทโธปกรณ์ของกองทัพ มีเทคโนโลยีที่ซับซ้อนยิ่งขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลให้กองทัพต้องพึ่งพาความสามารถของบริษัทเอกชนจากภายนอกมากขึ้นทุกที ผลสุดท้ายคือ ขณะนี้กระทรวงกลาโหมอเมริกันหรือ Pentagon กำลังแจกจ่ายงานที่ตนเคยทำเองไปให้บริษัทเอกชนทำแทนให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ทั้งนี้เพื่อให้กองทัพหันมาจดจ่อเอาใจใส่แต่เฉพาะงานที่ตนถนัดเท่านั้น ซึ่งก็คือ การสู้รบ

งานพื้นๆ อย่างการหุงหาอาหาร และซักรีด และแม้กระทั่งการรับสมัครทหาร ล้วนแต่ถูกถ่ายโอนไปสู่มือของบริษัทเอกชนอเมริกันแล้วทั้งสิ้น คุณอาจจะไม่เคยได้ยินชื่อบริษัทอย่าง Cubic, DynCorp, ITT และ MPRI แต่ Pentagon อาจถึงกับอยู่ไม่ได้หากขาดบริษัทเหล่านี้ เพราะกองทัพต้องเดินด้วยท้อง

ในปี 2002 รายได้ของ DynCorp เพิ่มขึ้นถึง 18% สู่ระดับ 2.3 พันล้านดอลลาร์ และเพิ่งถูก Computer Sciences Corp บริษัทที่ปรึกษา IT ยักษ์ใหญ่ซื้อไปในราคาเกือบ 1 พันล้านดอลลาร์เมื่อปีกลาย ในขณะที่ MPRI ถูก L-3 Communications ซื้อไปในราคา 35 ล้านดอลลาร์ ผลกำไรของ Cubic Corp พุ่งขึ้น 41% ใน ปี 2002 และราคาหุ้นของบริษัทเพิ่มขึ้น 3 เท่าตลอด 4 ปีที่ผ่านมา

มีการประเมินว่า ในปีนี้ Pentagon จะต้องจ่ายเงินอย่างน้อย 30 พันล้านดอลลาร์ หรือ 8% ของงบประมาณทั้งหมดของกระทรวงฯ ให้แก่บริษัทเอกชนต่างๆ ที่ทำงานบริการในด้านต่างๆ ให้แก่กองทัพ ไม่ว่าสหรัฐฯ จะบุกอิรักหรือไม่ก็ตาม บริษัทที่รับงานจากกองทัพมาทำแทนเหล่านี้เรียกว่า "private military companies" หรือ PMC

แม้ว่าผู้บริหารของ DynCorp และบริษัท PMC อื่นๆ จะพยายามยืนยันว่า งานที่พวกเขารับทำแทนกองทัพนั้น จะเป็นงานประเภทที่ไม่เกี่ยวกับการสู้รบ อย่างเช่น งานบำรุงรักษาเครื่องบินและเฮลิคอปเตอร์ งานติดตั้งซอฟต์แวร์ งานตัดหญ้าในบริเวณฐานทัพ และงานกำจัดขยะ แต่ยังมีงานอีกหลายอย่างที่ดูจะคาบเกี่ยวกันอยู่ เช่น การที่ DynCorp รับงานคุ้มครองความปลอดภัยให้แก่ Hamid Kharzai ผู้นำอัฟกานิสถานซึ่งรอดชีวิตจากการถูกลอบสังหารเมื่อปีกลาย

พนักงานของ DynCorp ซึ่งเคยเป็นทหารในหน่วยรบชั้นหัวกะทิอย่าง Delta Force และหน่วยรบพิเศษอื่นๆ ผู้รับผิดชอบงานบอดี้การ์ดในครั้งนั้น ต้องถือปืนและปฏิบัติหน้าที่เคียงบ่าเคียงไหล่กับทหารของหน่วยปฏิบัติการพิเศษ Special Forces ส่วน MPRI ก็รับงานฝึกรบให้แก่กองทัพต่างชาติในประเทศโครเอเชีย และบอสเนีย

แต่งานชิ้นใหญ่ที่สุดที่บริษัท PMC เคยทำให้แก่กองทัพสหรัฐฯ เห็น จะไม่มีงานใดเกินสงครามปราบยาเสพติด ในโคลัมเบียมีบริษัท PMC เกี่ยวข้องกับงานนี้ไม่ต่ำกว่าครึ่งโหล ในจำนวนนี้มี Airscan, Northrop Grumman และ DynCorp ทั้งหมด รับเงินค่าจ้างจากกระทรวงกลาโหมและกระทรวงต่างประเทศไปรวมทั้งสิ้น 1.2 พันล้านดอลลาร์ต่อปี งานที่ต้องทำคือ ขับเครื่องบินไปฉีดพ่นสารเคมีทำลายไร่โคคา และคอยจับ ตาดูขบวนการลักลอบขนถ่ายยาเสพติดจากจอเรดาร์

การมีบทบาทโดดเด่นขึ้นเรื่อยๆ ของบริษัท PMC ทั้งหลาย ในพื้นที่ที่มีความขัดแย้งต่างๆ ทำให้หลายฝ่ายเริ่มจับตามองบริษัทเหล่านี้อย่างระแวงระวัง ยิ่งเมื่อเกิดเหตุการณ์เครื่องบินของพนักงาน บริษัท Northrop Grumman ตกในเขตยึดครองของฝ่ายกบฏในโคลัมเบีย เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา และมีพนักงานคนหนึ่งเสียชีวิต ส่วนอีก 3 คนยังคงถูกพวกกบฏจับเป็นเชลย

Jan Schakowsky ส.ส.พรรค Democrat รัฐ Illinois ซึ่งไม่เห็นด้วยมาตั้งแต่ต้น ที่รัฐบาลยอมให้บริษัทเอกชนเข้าไปยุ่งเกี่ยวในสงครามปราบยาเสพติดในโคลัมเบีย กล่าวว่า การจ่ายงานให้บริษัท เอกชนทำแทนของกองทัพนั้น ยังขาดความโปร่งใสอีกเป็นอันมาก นอกจากนี้เมื่อเกิดเหตุการณ์อย่างข้างต้น กองทัพก็ต้องส่งทหารเข้าไปช่วยเหลือพนักงานของบริษัทเหล่านั้น ทำให้ต้องเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับความขัดแย้งครั้งใหม่

ด้าน P.W.Singer นักวิชาการจากสถาบัน Brookings Institution ชี้ว่า การรับทำงานให้แก่กองทัพ กำลังกลายเป็นอุตสาห-กรรมขนาดใหญ่ที่มีมูลค่ามหาศาลและกำลังเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว คงจะเป็นการยากที่จะขัดขวางแนวโน้มดังกล่าว "เราเคยคิดว่า ภาครัฐผูกขาดการมีและใช้กองกำลัง แต่ขณะนี้ไม่เป็นเช่นนั้นอีก ต่อไปแล้ว" Singer กล่าว

แม้จะมีเสียงท้วงติงด้วยความคลางแคลงใจในบริษัท PMC จากคองเกรส และอีกหลายฝ่าย แต่ดูเหมือน Pentagon จะไม่มีทางเลือกอื่น เนื่องจากสหรัฐฯ กำลังดำเนินการปรับปรุงกองทัพให้มีความทันสมัยและมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น

ทั้งนี้ ผลการศึกษาของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ซึ่งจัดทำขึ้นเป็นการภายในหลังเหตุการณ์ก่อการร้าย 11 กันยายน 2001 เพียง เล็กน้อย สรุปว่า กระทรวงกลาโหมควรจะมุ่งเน้นทำงานเฉพาะที่เป็น หน้าที่ของกระทรวงกลาโหมเท่านั้น งานใดก็ตามที่พอจะถ่ายโอนไปให้เอกชนทำแทนได้ ถือว่าไม่ใช่งานหลักของกระทรวงกลาโหม

ความจริงแล้ว บริษัท PMC หาใช่คนแปลกหน้าในสมรภูมิรบแต่อย่างใด ไม่ต่างอะไรกับการเข้าไปช่วยติดตั้งเครือข่ายการสื่อสาร ไฮเทคแก่กองทัพในวันนี้ บริษัท PMC เมื่อวันวานก็เคยช่วยรับส่งโทรเลขในยุคสงครามกลางเมือง (Civil War) ในสหรัฐฯ มาแล้ว นอกจากนี้ยังรับงานลากรถและจัดหาอาหารเลี้ยงทหาร 100 ปีต่อมา บริษัท DynCorp ช่วยลำเลียงพลทางอากาศไปยังเกาหลี และส่งพนักงานจำนวนถึง 3,000 คนไปประจำในเวียดนามเพื่อทำหน้าที่ดูแลบำรุงรักษาเฮลิคอปเตอร์ Huey และเครื่องบินอื่นๆ

สิ่งที่แตกต่างระหว่างบริษัท PMC รุ่นบุกเบิกกับรุ่นนี้คือ ขนาด และขอบเขตของงานที่บริษัท PMC ยุคนี้เสนอแก่กองทัพทุกวันนี้ ใน ช่วงปลายทศวรรษ 1990 บริษัท KBR ซึ่งเป็นบริษัท PMC ในเครือบริษัท Halliburton เป็นผู้จัดหาอาหาร น้ำ ให้บริการซักรีด รับส่งไปรษณีย์ และจัดหาอุปกรณ์หนักให้แก่ทหารอเมริกันจำนวนถึง 20,000 คน ที่กระจัดกระจายอยู่ในคาบสมุทร Balkans ซึ่งเป็นงานที่มีขนาดใหญ่มาก โดยตั้งแต่ปี 1999 เป็นต้นมา KBR ได้จัดหาอาหาร ให้แก่กองทัพไปแล้วถึง 42 ล้านมื้อ และซักรีดเสื้อผ้าไปแล้วเป็นจำนวนถึง 3.6 ล้านกระสอบ KBR ได้ค่าเหนื่อยจากงานนี้ถึง 3 พันล้านดอลลาร์ (CEO ของ Halliburton ในช่วงปลายทศวรรษ 1990 ไม่ใช่ใครที่ไหนแต่คือรองประธานาธิบดี Dick Cheney ซึ่งเคยเป็นรัฐมนตรีกลาโหมในยุครัฐบาลบุชผู้พ่อ) เมื่อคิดถึงจำนวนทหารอเมริกันที่ประจำการในตะวันออกกลางขณะนี้ ซึ่งมีจำนวนมากกว่าครั้ง Balkans ถึง 10 เท่า คุณคงพอจะนึกออกว่า คราวนี้ KBR เจองานช้างขนาด ไหน ในการให้บริการแก่ทหารอเมริกันที่ประจำการอยู่ในฐานทัพในตะวันออก กลางและคูเวต

เมื่อกองทัพลดขนาดและถ่ายโอนงานให้เอกชนทำแทนมากขึ้น ส่งผลให้มีบริษัท PMC รายใหม่ๆ ผุดขึ้นเป็นจำนวนมาก ในปี 1991 คราวสงครามอ่าวฯ ครั้งแรก กองทัพบกสหรัฐฯ มีทหาร ประจำการ 711,000 นาย แต่วันนี้เหลือเพียง 487,000 นาย หรือลดลง 32% กองทัพเรือและกองทัพอากาศก็ลดขนาด ลงอย่างมากไม่แพ้กัน (กองกำลังนาวิกโยธินโชคดีหน่อยถูกลดกำลังพลลงเพียง 10% เท่านั้นตลอด 10 ปีที่ผ่านมา) เป็นโอกาสให้บริษัท PMC ทั้งหลายสามารถแทรกตัวเข้ามามีบทบาทในกองทัพและการศึกสงครามมากขึ้น

Singer จาก Brookings ประเมิน ว่า ในช่วงเวลาสงครามอ่าวฯ ครั้งที่ แล้ว บริษัท PMC แห่งหนึ่งรับใช้ทหารประมาณ 50-100 คน แต่การเปิดศึกกับ ประธานาธิบดี Saddam Hussein คราว นี้ อัตราส่วนดังกล่าวได้เพิ่มขึ้นเป็นหนึ่งบริษัทต่อทหาร 10 คน SAIC บริษัท PMC รายหนึ่ง ซึ่งเชี่ยวชาญด้านวิศวกรรม ซอฟต์แวร์และ IT และมีรายได้ถึง 6.1 พันล้านดอลลาร์ต่อปี ได้ส่งพนักงานถึง 150 คนไปยังตะวันออกกลางในสงคราม อ่าวฯ คราวนี้ จากที่เคยมีเพียง 5 คน ในคราวปฏิบัติการ "พายุทะเลทราย"

การขยายตัวอย่างรวดเร็วของบริษัท PMC กำลังก่อให้เกิดคำถามที่ยังไม่มีคำตอบมากมาย เช่น พนักงานของบริษัทเหล่านี้มีสิทธิพกพาอาวุธหรือไม่? หากพวกเขาหนีออกไปจากฐานทัพขณะถูกข้าศึกโจมตีจะถือเป็นความผิดเหมือนทหารหนีทัพหรือไม่? และถ้าหากพวกเขาถูกจับเป็นเชลย จะถือว่าเป็นเชลยสงคราม (POW) ซึ่งจะต้องได้รับการปฏิบัติตามหลักในอนุสัญญา Geneva Convention หรือไม่? Pentagon ยังคงไม่มีคำตอบให้แก่คำถามเหล่านี้

DynCorp นับเป็นบริษัท PMC ชั้นนำอันดับหนึ่งของประเทศ แม้ว่าพนักงานส่วนใหญ่ของบริษัทจำนวน 23,000 คน จะเป็นอดีตทหาร แต่ Paul Lombardi CEO ของบริษัทกลับเป็นพลเรือน Lombardi คร่ำหวอดในธุรกิจ IT และเคยทำงานให้แก่กองทัพเรือและกระทรวงพลังงานของสหรัฐฯ

รายได้ส่วนใหญ่ของรายได้ทั้งหมดจำนวน 2.3 พันล้านดอลลาร์ของ DynCorp เมื่อปีกลาย ได้มาจากงานดูแลจัดการสนาม ซ้อมระเบิดในแคลิฟอร์เนีย บำรุงรักษาเครื่องบินของกองทัพใน Oklahoma และติดตั้งเครือข่ายสื่อสารให้แก่กองทหารที่ประจำการ ในต่างประเทศ นอกจากจะมีรัฐบาลกลางเป็นลูกค้ารายใหญ่ที่สุดแล้ว DynCorp ยังมีลูกค้ารายใหญ่อย่างตลาดหุ้นนิวยอร์กด้วย เมื่อรับงานติดตั้งเครือข่ายไร้สายให้ในปี 1994 และยังมีลูกค้าในต่างประเทศ อีกหลายราย จนส่งให้ DynCorp International ก็พลอยมีรายได้พุ่งขึ้นจากเพียงไม่กี่ล้านดอลลาร์ เป็น 700 ล้านหรือคิดเป็นสัดส่วนราว 25% ของรายได้ทั้งหมด

รากฐานของ DynCorp มาจากธุรกิจการบิน เมื่อแรกตั้งใน ปี 1946 นั้นบริษัทมีชื่อว่า California Eastern Airways ธุรกิจบำรุงรักษาเครื่องบินของบริษัทเจริญรุ่งเรืองอย่างมากในช่วง 2-3 ปี นี้ ด้วยแรงส่งจากกระแสถ่ายโอนงานให้เอกชนทำแทนของกองทัพอากาศ ราว 2 ปีครึ่งก่อนหน้านี้ DynCorp ได้รับสัญญามูลค่า 280 ล้านดอลลาร์จากกองทัพอากาศสหรัฐฯ ให้ทำหน้าที่ดูแลบำรุงรักษาเครื่องบินประจำตำแหน่งของรองประธานาธิบดีสหรัฐฯ และเฮลิคอปเตอร์ประจำตำแหน่งประธานาธิบดี รวมถึงเครื่องบินประจำ ตำแหน่งผู้บริหารอื่นๆ ในคณะรัฐบาล (ส่วนเครื่อง Air Force One ซึ่งเป็นเครื่องบินประจำตำแหน่งของประธานาธิบดีสหรัฐฯ นั้น กองทัพยังคงดูแลเอง)

การเจริญเติบโตอย่างน่าทึ่งของ DynCorp (รายได้พุ่งขึ้นถึง 3 เท่านับจากปี 1994 เป็นต้นมา) และความสัมพันธ์แนบแน่นกับ Pentagon คงจะอธิบายการที่ Computer Sciences Corps (CSC) ยอมทุ่มทุนถึง 950 ล้านดอลลาร์ซื้อ DynCorp ได้เป็นอย่างดี Singer จาก Brookings ทำนายว่า หลังจากกระบวนการซื้อกิจการครั้งนี้เสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้ว ซึ่งคงจะใช้เวลาราว 1 ปี CSC คงจะตัดสินใจ เลิกรับงานที่เสี่ยงภัยอย่างคราวสงครามปราบยาเสพติดในโคลัมเบีย และการคุ้มกันผู้นำอัฟกานิสถาน และหันไปมุ่งเน้นรับแต่งานที่ปลอดภัย อย่างงาน IT และการบำรุงรักษาเครื่องบิน

อย่างไรก็ตาม DynCorp ยังคงมองหาโอกาสใหม่ๆ ในการเสนอตัวรับใช้งานของกองทัพให้มากขึ้น นอกจากนี้ยังมี MPRI ซึ่งต่างก็เป็นผู้ให้บริการแก่กองทัพอย่างกว้างขวาง ตั้งแต่การฝึกอบรมผู้นำไปจนถึงการจัดทำหลักเกณฑ์ต่างๆ ของกองทัพ รวมถึงการร่างคู่มือการติดต่อกับบริษัท PMC เอง ซึ่ง MPRI เป็นผู้ร่าง MPRI และอีกบริษัทหนึ่งคือ RCI ยังรุกคืบเข้าไปในงานรับสมัครบุคลากรของกองทัพ โดยทั้งสองบริษัทร่วมกันได้รับสัญญามูลค่า 171 ล้านดอลลาร์ จากกองทัพ ให้ไปปฏิบัติงานด้านบุคลากรใน 10 มลรัฐ

การที่ทหารอเมริกันสามารถเกษียณอายุได้ตั้งแต่ในวัยเพียง 40 ปีขึ้นไป โดยได้รับบำเหน็จบำนาญและสวัสดิการ ทุกอย่างเต็มที่ และการที่กองทัพมีนโยบายมุ่งเน้นทำงานที่เป็นหน้าที่โดยตรงของกองทัพอันได้แก่ การสู้รบในสนามรบเท่านั้น ทำให้งานจำลองสถานการณ์รบ งานฝึกอบรม และการซ้อมรบ ถูกถ่ายโอนไปยังบริษัทอย่าง DynCorp, MPRI และ Cubic

Pentagon จ่ายเงินให้แก่บริษัท PMC เหล่านี้ เป็นค่าจัดการเรื่องการซ้อมรบและงานฝึกอบรมถึงปีละ 4 พันล้านดอลลาร์ แม้จะดูเหมือนเป็นตัวเลขที่สูง แต่งานของ บริษัท PMC เหล่านี้ ไม่ได้หมู แค่จัดหาปืนติดเลเซอร์หรือระเบิดควันแล้วจบ Cubic ถึงกับต้องกว้านหาตัวผู้อพยพชาว บอสเนียที่อาศัยกระจัดกระจายอยู่ในสหรัฐฯ ให้มาถ่ายทอดประสบการณ์ของพวกเขาในสงคราม เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาออกแบบการซ้อมรบที่จัดขึ้นในเดือนมกราคมที่ผ่านมา และต้องใช้พนักงานถึงกว่า 600 คนในการจัดเตรียมและจัดการการซ้อมรบแก่ทหารจำนวน 6,500 คน

ขณะนี้บริษัท PMC ยังกำลังขยายธุรกิจไปต่างประเทศอีกด้วย MPRI คือบริษัทที่ให้คำปรึกษาแก่ กองทัพโครเอเชีย ก่อนที่จะเปิดฉากทำสงครามขั้นแตกหักกับกองทัพ Serb ในสงครามบอสเนีย ในปี 1995 และไม่นานมานี้ MPRI ก็ยังเป็นที่ปรึกษาให้แก่กระทรวงกลาโหมของโคลัมเบีย

ส่วน Cubic ได้รับการว่าจ้างจาก Pentagon และกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ ให้ไปฝึกสอนกองทัพของชาติสมาชิกใหม่ขององค์กร NATO อย่างประเทศโรมาเนีย, ฮังการี และ Czech Republic งานนี้เปิดทางให้ Cubic มีหวังจะได้ประเทศเหล่านั้นเป็นลูกค้าระยะยาวต่อไปในอนาคต ด้าน DynCorp เคยไปช่วยฝึกสอนให้แก่ตำรวจในประเทศไฮติ และขณะนี้ กำลังฝึกสอนตำรวจใหม่ของประเทศอัฟกานิสถาน

สำหรับสงครามอ่าวฯ ภาค 2 ในคราวนี้ บริษัท PMC ซึ่งเป็นประดุจ "กองทัพส่วนตัว" ของกองทัพสหรัฐฯ จะมีบทบาทโดดเด่นยิ่งกว่าในสงครามครั้งไหนๆ โดยจะมีบทบาททั้งในด้านการสนับสนุนกองทัพในช่วงที่สงครามดำเนินอยู่ ไปจนถึงภารกิจรักษาสันติภาพ และฟื้นฟูบูรณะหลังสงครามยุติ เป็นไปได้ว่า แม้หลังกองทัพสหรัฐฯ เลิกทัพกลับบ้านกันไปแล้ว บริษัท PMC อย่าง MPRI และ DynCorp ยังคง จะต้องรั้งอยู่ในอิรักต่อไป เพื่อทำหน้าที่ฝึกสอน กองทหาร และกองกำลังตำรวจที่คงจะต้องมีการจัดตั้งขึ้นใหม่ในอิรัก ยุคหลังประธานาธิบดี Saddam หมดอำนาจ

สงครามอิรักระเบิดแล้ว แต่ผู้ที่เสี่ยงเป็นเสี่ยงตายอยู่ในสนามรบ มิได้มีเพียงทหารของ คู่สงครามทั้งสองฝ่าย หากยังมีพนักงานของบริษัทเอกชนอเมริกัน ผู้คอยทำงานบริการอยู่เบื้องหลังกองทัพอเมริกันรวมอยู่ด้วย

แปลและเรียบเรียงจาก Fortune March 17, 2003
โดย เสาวนีย์ พิสิฐานุสรณ์
linpeishan@excite.com

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us