Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์30 กรกฎาคม 2550
เรียนรู้ผ่าน "บ้านปู สปิริต" สร้าง "คน" ด้วย "วัฒนธรรมองค์กร"             
 


   
www resources

โฮมเพจ บ้านปู

   
search resources

บ้านปู, บมจ.
Knowledge and Theory




- เกาะติดกระแส HR สร้างวัฒนธรรมองค์กรแบบสากล ผ่านโมเดล"บ้านปู สปิริต"
- เจาะหนทางคัดเลือกคนเก่ง เสริมเขี้ยวเล็บการสื่อสาร ต้องเปิดใจกว้างปลดล็อกความคิดยึดติด
- "นวัตกรรม ยึดมั่นความถูกต้อง ห่วงใยเอาใจใส่ และพลังร่วม" 4 แนวคิดสำคัญที่ต้องทำให้เห็นผล
- จับทางก้าวสู่ตำแหน่งระดับสูง ปรับแนวคิดใหม่พัฒนาทักษะเฉพาะทางเท่าที่ใช้จริง ชี้แบบเก่าทำมากเกิน

ในแวดวง HR ในต่างประเทศ ขณะนี้กระแสที่มาแรงและหลายองค์กรต่างให้ความสนใจ คือแนวทางการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เป็นมาตรฐานในระดับสากล ไม่ว่า HR Manager จะอยู่ส่วนใดของมุมโลกสามารถติดต่อสื่อสารในวิสัยทัศน์เดียวกันที่เป็นมาตรฐานร่วมกันทางกระบวนการคิดและการปฏิบัติ

สำหรับประเทศไทยคาดว่าแนวคิดการสร้างวัฒนธรรมองค์กรสากลของ HR จะเป็นกระแสที่หลายหน่วยงานต้องให้ความสนใจในต้นปี พ.ศ. 2551 เพราะขณะนี้บริษัทที่ปรึกษาหลายแห่งในประเทศกำลังนำเข้าเครื่องมือการพัฒนาวัฒนธรรมองค์กรจากต่างประเทศ

แต่สถานการณ์องค์กรไทยในขณะนี้หลายบริษัทขนาดใหญ่ที่เริ่มเบนเข็มการลงทุนไปต่างประเทศ ต่างให้ความสนใจบริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) องค์กรไทยที่ถือเป็นต้นแบบในการสร้างวัฒนธรรมองค์กร ด้วยการนำวิสัยทัศน์เดิมที่มีอยู่มาปรับใช้จนเป็นกระบวนการทำงานและค่านิยมร่วมขององค์กร ภายใต้โมเดล "บ้านปู สปิริต"

บทพิสูจน์ความสำเร็จที่เริ่มต้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2548 ภายใต้บุคลากรกว่า 3,600 คนในปัจจุบัน ที่ประกอบไปด้วยคนไทย, จีน และอินโดนีเซีย และในอนาคตจะมีบุคลากรในต่างประเทศเพิ่มอีกถึง 2,400 คน

ถอดรหัสโมเดลใหม่

ชัยพร นาคะสาทิศ ผู้อำนวยการสายอาวุโส ทรัพยากรมนุษย์ บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตถ่านหินในอุตสาหกรรมพลังงาน กล่าวว่า แนวคิด"บ้านปู สปิริต" เกิดจากกลไกทางธุรกิจ โดยมีสาเหตุสำคัญมาจากแหล่งวัตถุดิบหลักในการผลิตคือถ่านหินที่มีในบางพื้นที่ เป็นข้อจำกัดที่ส่งผลให้บริษัทต้องสร้างกลไกในการบริหารทรัพยากรบุคคลในแต่ละประเทศที่บริษัทเข้าไปลงทุน

แนวทาง "บ้านปู สปิริต" เป็นการสร้างค่านิยมร่วมขององค์กร และเนื่องจากภาษาที่ใช้ในการสื่อสารเป็นเรื่องสำคัญเมื่อองค์กรก้าวไปสู่ระดับสากล การสื่อสารระหว่างสาขาย่อยในแต่ละประเทศต้องใช้ภาษาอังกฤษไม่ว่าจะเป็นการส่ง อีเมล์ หรือติดต่อทางโทรศัพท์ เพราะฉะนั้น สำหรับการคัดเลือกพนักงาน ในระดับปริญญาตรีจำเป็นจะต้องมีคะแนน TOIEC ไม่ต่ำกว่า 500 คะแนน ส่วนระดับปริญญาโทขึ้นไปต้องมีคะแนน TOIEC ไม่ต่ำกว่า 700 คะแนน

สิ่งสำคัญต่อมาคือ ต้องไม่ยึดติดกับแนวคิดของตนเอง เพราะจะเป็นตัวทำลายกระบวนการสร้างทีมงานเนื่องจากพนักงานต้องมีความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมท้องถิ่น ซึ่งเป็นวิสัยทัศน์ตามแนวทางการทำงานของ "บ้านปู สปิริต" ที่ HR ต้องมีบทบาทในการสร้าง 4 แนวคิดให้เกิดกับบุคลากร ซึ่งประกอบไปด้วย 1.นวัตกรรม 2.ยึดมั่นความถูกต้อง 3.ห่วงใยเอาใจใส่ และ4.พลังร่วม

นวัตกรรม (Innovation) หมายถึงการที่บุคลากรต้องใฝ่หาความรู้และริเริ่มแนวคิดใหม่ ๆ หรือร่วมกันค้นคว้าวิธีการทำงานใหม่ๆ เพื่อนำมาปรับใช้ พร้อมทั้งต้องยึดมั่นในความถูกต้อง (Integrity) ปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์ มีระเบียบวินัยอย่าเคร่งครัดและบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม และการห่วงใยเอาใจใส่ (Care) โดยต้องเปิดใจรับฟังความคิดเห็นหรือคำแนะนำอย่างให้เกียรติ แม้จะมีความแตกต่างของความคิดในการทำงานวัฒนธรรม ชนชาติ และศาสนา

สุดท้าย เป็นแนวคิดในการสร้างพลังร่วม (Synergy) โดยประสานแนวคิดที่แตกต่างให้ได้ข้อยุติหรือลดความขัดแย้ง เพื่อประโยชน์ร่วมกันขององค์กร ขณะเดียวกันต้องมีการสื่อสารแลกเปลี่ยนความรู้ ข้อมูลข่าวสารภายในองค์กรกับหน่วยงานภายนอก

กะเทาะบทบาท HR

ชัยพร ยังกล่าวถึงบทบาทของ HR ในการเสริมสร้างความสามารถของผู้บริหารในระดับต่างๆ ตามแนวทาง "บ้านปู สปิริต" ที่ต้องประเมินปัจจัยการทำงานในแต่ละตำแหน่งที่แตกต่างกัน ซึ่งบริษัทได้วางกรอบแนวทางปฏิบัติในตำแหน่งต่างๆ เช่น Technical และ Professional Leader ที่ต้องมุ่งเน้นกระบวนการคิดวิเคราะห์ในการทำงานหรือมอบหมายงานได้อย่างเหมาะสมกับความสามารถ ตลอดจนคอยส่งเสริมกระบวนการทำงานในการแก้ปัญหาให้กับทีมงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งในกระบวนการพัฒนาจะต้องใช้บริษัทที่ปรึกษาด้านทรัพยากรบุคคลที่มีมาตรฐานความเป็นสากลในการวางระบบงาน

ด้านผู้บริหารระดับ BU Leader ต้องมุ่งเน้นคุณสมบัติตรวจสอบดูแลเหมือนกับการสวมวิญญาณ เถ้าแก่ในการดูแลลูกน้องในรายละเอียดปลีกย่อยต่างๆ ควบคู่กับภาวะผู้นำในการมอบหมายและการอำนวยช่วยเหลือเมื่อเกิดปัญหา ขณะเดียวกันต้องมีแนวทางในการสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่นที่สามารถปรับเข้าได้กับบุคคลที่ต่างด้านเชื้อชาติ โดย HR ของบริษัทต้องมีบทบาทร่วมกับบริษัทที่ปรึกษาเพื่อเสริมสร้างความรู้ให้ HR มีแนวทางปฏิบัติ

สำหรับบุคลากรที่อยู่ในตำแหน่ง Project Manager Leader จะมุ่งเน้นทักษะด้านการบริหารในโครงการที่มีสภาพแวดล้อมหรือการปฏิบัติงานเฉพาะของหน่วยงานในการวิเคราะห์กระบวนการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่ง HR จะเข้าไปมีบทบาทในการจัดการบุคลากรทั้งหมด

"ทักษะต่างๆ ที่ถูกกำหนดในการทำงานของผู้บริหารในแต่ละตำแหน่งจะไม่มีหลักการทำงานที่มากเกินความเป็นจริง เนื่องจากบริษัทที่กำหนดแนวทางการพัฒนาทักษะหลายอย่าง จะทำให้คนทำงานสับสนในแนวทางปฏิบัติ ขณะที่ HR ไม่มีกระบวนการประเมินการทำงานที่ซับซ้อน"

ทั้งนี้ โมเดลที่เป็นตัวกำหนดการเลื่อนตำแหน่งในแต่ละสายงานตามกระบวนการสร้างวัฒนธรรมองค์กรของ "บ้านปู สปิริต" ซึ่ง HR ในแต่ละประเทศที่บริษัทเข้าไปลงทุนใช้จะเป็นโมเดลเดียวกันในการประเมินกระบวนการทำงานตามทักษะที่กำหนดไว้ เช่น ทักษะในการโน้มน้าวใจ การตัดสินใจแก้ปัญหา และการจัดการความเสี่ยง ซึ่งเมื่อมีการกำหนดแนวทางการประเมินที่ชัดเจน พนักงานจะสามารถพัฒนาทักษะเฉพาะในตำแหน่งที่ตนต้องการโดยไม่ไขว้เขวกับปัจจัยอื่นๆ

ขณะเดียวกัน การประเมินผลงานเพื่อเลื่อนตำแหน่งของ HR จะใช้ตัวชี้วัดในการประเมินผลการทำงาน 50% เพื่อตัดปัญหาการคัดเลือกคนไม่ตรงกับสายงาน ซึ่งบริษัทจะให้ HR ประเมินพนักงานเดิมก่อนบุคลากรภายนอกที่เพิ่งจะเข้ามาสมัครงาน เพราะได้ผ่านการพัฒนาทักษะตามแนวทาง"บ้านปู สปิริต" มาแล้ว

"จากกระบวนการทำงานที่มีกระบวนการสร้างบุคลากรรุ่นใหม่เพื่อมาแทนผู้บริหารเดิมในระดับสูงอยู่ตลอด เป็นผลให้บริษัทสามารถย้ายบุคลากรที่มีความสามารถจากประเทศหนึ่งไปทำงานอีกประเทศหนึ่ง โดยไม่ประสบกับปัญหาขาดแคลนบุคลากรที่จะมาทำงานแทน"

ด้านรายได้ของบุคลากรท้องถิ่นที่ทำงานในแต่ละประเทศ บริษัทจะจ้างทีมวิจัยเงินเดือนในแต่ละประเทศเพื่อหาค่าจ้างที่เหมาะสมกับ Positioning ขององค์กรเมื่อเทียบกับคู่แข่งขันในประเทศนั้นๆ

ขณะที่การประเมินค่าจ้างของพนักงานที่ไปทำงานต่างประเทศให้กับบริษัทจะคิดอัตราเงินเดือนตามความยากลำบากในการเข้าถึงพื้นที่ของการทำงาน เนื่องจากเหมืองถ่านหินบางแห่งมีความเป็นอยู่ที่ยากลำบาก เพราะฉะนั้นบริษัทต้องตอบแทนเงินเดือนให้เหมาะสมกับค่าเหนื่อย หากเป็นระดับผู้บริหาร บริษัทจะให้กลับบ้านทุก 3 เดือน โดยจะออกค่าใช่จ่ายในการเดินทางให้ทั้งหมด

ชัยพร บอกถึงเป้าหมายในอนาคตของการสร้างวัฒนธรรมองค์กรตามแนวทาง "บ้านปู สปิริต" ที่จะต้องสร้างความยั่งยืนในกระบวนการทำงาน ซึ่งเป้าหมายต่อไป HR ต้องสร้างความเชื่อตามแนวทางดังกล่าวให้เกิดกับผู้บริหารในสายงานประมาณ 10% ของบุคลากรทั้งหมด จึงจะสามารถขับเคลื่อนองค์กรตามแนวทางของผู้บริหารเพื่อก้าวสู่วิสัยทัศน์สูงสุดที่ต้องการสร้างองค์กรเป็น"โฉมหน้าพลังงานแห่งเอเชีย"

"บ้านปู สปิริต" ทำให้เห็นว่า การสร้างวัฒนธรรมองค์กรในระดับสากลใช่ว่าจะต้องเปลี่ยนแนวทางการทำงานเดิมเสียหมด แต่ควรนำสิ่งดีๆ ที่มีอยู่เดิมมาปรับใช้   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us