Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์30 กรกฎาคม 2550
สำรวจตลาดคอนโดครึ่งปีแรก“สาทร-ตากสิน”เสี่ยงโฮเวอร์ ซัปพลาย             
 


   
search resources

อธิป พีชานนท์
Real Estate




ส.อาคารชุดไทยชี้ตลาดคอนโดครึ่งปีแรกยังสดใส แนวรถไฟฟ้าและส่วนต่อขยายยังบูม วอนแบงก์เป็นกลไกลดความเสี่ยงพิจารณาปล่อยกู้โครงการให้ถี่ถ้วน หวั่นซ้ำรอยวิกฤตฟองสบู่แตก ฮาริสันเตือนคอยจับตาทำเล “ส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสาทร-ตากสิน” แข่งเดือด ชี้ซัปพลายมากบวกตั้งราคาขายสูงจากต้นทุนราคาที่ดินพุ่งขึ้น กำลังซื้อมีไม่ถึง มีโอกาสเข้าขั้นโอเวอร์ซัปพลาย

ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมากระแสคอนโดมิเนียมที่มาแรงอย่างต่อเนื่อง ทำให้หลายฝ่ายแสดงความเป็นห่วงว่า ประวัติศาสตร์จะซ้ำรอยเมื่อปี 2540 ที่เกิดวิกฤตฟองสบู่แตกหรือไม่ เพราะเวลานั้นการเก็งกำไรอย่างมโหฬารในอสังหาริมทรัพย์เป็นต้นเหตุที่ทำให้ระบบเศรษฐกิจล้มครืนทันที ดีเวลลอปเปอร์ต้องล้มหายตายจาก หลังจากธนาคารไม่ปล่อยสินเชื่อโครงการให้ต่อ หลังจากพบว่ามียอดขายที่ได้เป็นเพียงดีมานด์เทียม ทำให้เกิดภาพของตึกร้างไปทั่วเมือง เป็นอนุสรณ์ตอกย้ำความผิดพลาดของดีเวลลอปเปอร์ในอดีต

ตลาดคอนโดยังเติบโต

อธิป พีชานนท์ นายกสมาคมอาคารชุดไทย กล่าวว่า ในช่วงก่อนวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 คอนโดมิเนียมมีส่วนแบ่งตลาดเกิน 30% ของซัปพลายที่อยู่อาศัยรวม แต่เมื่อเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว คอนโดมิเนียมยังเป็นสินค้าที่ฟื้นตัวได้ช้ากว่าโครงการแนวราบ เนื่องจากต้องใช้เงินลงทุนสูง สถาบันการเงินมีความระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น จนเมื่อเวลาผ่านไปเศรษฐกิจเริ่มเติบโตขึ้น ทำให้ส่วนแบ่งของตลาดคอนโดมิเนียมเริ่มไต่ระดับจากที่ต่ำกว่า 10% ในปี 2544 ขยับขึ้นเป็น 20% จนปัจจุบันเข้าใกล้ 30% และการเติบโตอย่างต่อเนื่องของยอดขายคอนโดมิเนียมในปีนี้น่าจะผลักดันให้เกิดการลงทุนต่อเนื่อง ทำให้ในปีหน้าคาดว่า คอนโดมิเนียมจะมีส่วนแบ่งตลาดอยู่ที่ 30% เท่าช่วงก่อนวิกฤตปี 2540 อีกครั้ง

อธิป มองว่า ตลาดคอนโดมิเนียมยังคงมีแนวโน้มที่จะเติบโตได้ดี ยอดขายยังไปได้ดีนับตั้งแต่เดือน พ.ค. ที่ผ่านมา โดยคาดว่าในปีนี้จะเติบโตประมาณ 20% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว อยู่ที่ประมาณ 25,000 ยูนิต จากซัปพลายที่อยู่อาศัยรวม 75,000-78,000 ยูนิต เห็นได้จากโครงการใหม่ๆ ที่เปิดตัวส่วนใหญ่มักประสบความสำเร็จด้านยอดขาย สะท้อนได้ว่าดีมานด์ของตลาดยังมีอยู่

โดยสัดส่วนของการซื้อพบว่า เป็นการอยู่อาศัยจริง 60% ซื้อเพื่อปล่อยเช่า 20-30% และซื้อเพื่อเก็งกำไรไม่ถึง 10% ซึ่งในกลุ่มเก็งกำไร ดีเวลลอปเปอร์มีการตั้งเงื่อนไขป้องกันที่รัดกุมขึ้น ทำให้เปลี่ยนมือได้ยากขึ้น ประกอบกับเมื่อมีการนำใบจองไปขายต่อในตลาดรอง มีการตั้งราคาที่สูงจนเกินไปจนตลาดยอมรับไม่ได้ นักเก็งกำไรจึงต้องคืนให้ดีเวลลอปเปอร์แทน ซึ่งการนำมาขายซ้ำยังไม่เป็นปัญหาของดีเวลลอปเปอร์มากนัก เพราะยังเป็นสินค้าที่ตลาดให้ความสนใจอยู่มาก

ส่วนการซื้อเพื่อปล่อยเช่าของนักลงทุนยังมีแนวโน้มที่ดี เพราะปัจจุบันมี Occupancy Rate สูงถึง 90% รวมทั้งให้อัตราผลตอบแทนสูงถึง 7% ในขณะที่ราคาคอนโดมิเนียมในประเทศใกล้เคียง เช่น ฮ่องกง สิงคโปร์ สูงกว่าประเทศไทย 4-5 เท่า ให้อัตราผลตอบแทนเพียง 3-4% อีกทั้งอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่อยู่ในระดับต่ำจะยิ่งผลักให้สัดส่วนของนักลงทุนเพิ่มมากขึ้นอีกในอนาคต

เร่งเจาะต่างชาติกำลังซื้อสูง

วิชัย พูลวรลักษณ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท วรลักษณ์ พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด กล่าวว่า “ปัจจุบันโครงการเลอรัก คอนโดมิเนียม บน ถ.สุขุมวิท ใกล้สถานีรถไฟฟ้าพระโขนง เฟสแรก มียอดขายแล้ว 800 ล้านบาท หรือ 75% ภายในระยะเวลา 2 เดือน แต่ยังมองว่าสัดส่วนลูกค้าต่างชาติยังมีน้อยเกินไปเพียง 10% จึงจะนำโครงการไปโรดโชว์ที่ฮ่องกงในเดือน ส.ค. นี้ เพื่อเจาะกลุ่มลูกค้าที่มีกำลังซื้อสูงกว่าคนไทยทั้งอยู่อาศัยเอง และซื้อเพื่อลงทุน และสำหรับจุดยืนของบริษัทฯ ในการพัฒนาโครงการเพื่อจับกลุ่มเป้าหมายระดับ B ขึ้นไป กับยอดขายโครงการที่ผ่านมาถือว่าเป็นที่น่าพอใจ กำลังซื้อของกลุ่มคนระดับนี้ไม่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ ทำให้มั่นใจว่าเราเดินมาถูกทาง”

ชี้แบงก์เป็นกลไกลดความเสี่ยง

อธิป วิเคราะห์ว่า ในภาวะนี้อาจจะมีดีเวลลอปเปอร์บางรายที่วางแผนโครงการผิดพลาด จับลูกค้าผิดเซกเมนต์อยู่บ้าง เนื่องจากศึกษาข้อมูลไม่ลึกซึ้ง ความผิดพลาดนี้จะไม่ถึงขั้นต้องล้มหายตายจาก เพียงแต่ยอดขายจะไปได้ช้ากว่าคู่แข่ง ซึ่งอาจต้องใช้เวลาเป็นปีกว่าจะปิดโครงการได้ ส่วนสัญญาณภาวะโอเวอร์ซัปพลายต้องรอดูสถานการณ์และตัวเลขซัปพลายในสิ้นปีอีกครั้ง ซึ่งโดยปกติเมื่อสิ้นปีซัปพลายคอนโดมิเนียมจะเหลือประมาณ 20% จากซัปพลายที่เข้ามาใหม่ประมาณ 8,000 ยูนิต หากตัวเลข ณ สิ้นปียังไม่ถึง 10,000 ยูนิต ก็ยังไม่น่าเป็นห่วง ทั้งนี้การพัฒนาคอนโดมิเนียมความแข็งแกร่งด้านการเงินของดีเวลลอปเปอร์เป็นเรื่องสำคัญ จึงอยากให้สถาบันการเงินที่ปล่อยสินเชื่อโครงการเป็นกลไกที่จะป้องกันไม่ให้ภาวะโอเวอร์ซัปพลายเกิดขึ้นอีกครั้ง

“ สาทร-ตากสิน” ส่อแววโอเวอร์ซัปพลาย

ทำเลของการพัฒนาคอนโดมิเนียมที่อยู่ในอันดับต้นๆ ของดีเวลลอปเปอร์ ได้แก่ แนวรถไฟฟ้าที่มีอยู่ในปัจจุบัน แต่ด้วยราคาที่ดินที่ปรับตัวสูงขึ้นมากตามศักยภาพของทำเลหลังจากรถไฟฟ้าตัดผ่าน รวมทั้งที่ดินที่เริ่มหาได้ยากขึ้น ทำให้ทำเลส่วนต่อขยายรถไฟฟ้า เช่น สุขุมวิทตอนปลาย (ส่วนต่อขยายอ่อนนุช) ถ.กรุงธนบุรี (ส่วนต่อขยายตากสิน) กลายเป็นทำเลฮอต นอกเหนือจากทำเลที่อยู่ในแนวรถไฟฟ้าปัจจุบัน เพราะถือเป็นการลงทุนเพื่อรออนาคตที่โครงการรถไฟฟ้าจะตัดผ่านหน้าโครงการ

แต่ทั้งนี้ก็ผลักให้ราคาที่ดินปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นเดียวกัน เช่น ลาดพร้าว ปัจจุบันราคา 150,000-180,000 บาท ต่อ ตร.วา โดยเป็นราคาที่ขยับขึ้น 20-30% จากราคาเดิมภายใน 6 เดือน ซึ่ง กิตติศักดิ์ จำปาทิพย์พงศ์ รองประธานกรรมการบริหาร บริษัท ฮาริสัน จำกัด (มหาชน) เห็นว่า ทำเลนี้มีการแข่งขันอย่างรุนแรง มีซัปพลายออกมามาก ต้องจับตาอย่างใกล้ชิด ในขณะที่ทำเล ถ.รัชดาภิเษก ซึ่งอยู่ในแนวรถไฟฟ้าใต้ดิน อธิป ได้เตือนว่า ดีเวลลอปเปอร์ไม่ควรเข้าไปทำตลาดพร้อมๆ กัน

กิตติศักดิ์ กล่าวว่า ราคาที่ดินที่ปรับตัวสูงขึ้น จะส่งผลกระทบต่อต้นทุนการพัฒนาโครงการ ทำให้ดีเวลลอปเปอร์ต้องตั้งราคาขายสูงขึ้น ซึ่งจะมีผลทำให้การขายไปได้ช้า มีโอกาสที่จะเกิดภาวะโอเวอร์ซัปพลายมากขึ้น เช่น ทำเลสาทร-ตากสิน จากเดิมราคา 80,000 บาทต่อ ตร.วา เพิ่มขึ้นเป็นราคาสูงสุด 300,000 บาทต่อ ตร.วา โดยก่อนหน้านี้มีดีเวลลอปเปอร์เข้าไปพัฒนาในย่านนั้นแล้วประมาณ 1,000 ยูนิต เช่น แอล.พี.เอ็นฯ, พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค, เอพี ฯลฯ รวมทั้งบน ถ.เจริญนคร ซึ่งอยู่ใกล้เคียงอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งที่น่าเป็นห่วง คือ ขณะนี้มีโครงการที่ยังไม่เปิดขายเป็นซัปพลายใหม่ที่จะเข้ามาอีกไม่ต่ำกว่า 2,500 ยูนิต มูลค่ารวมกว่า 15,000 ล้านบาท เช่น ที.ซี.ซี แคปปิตอลแลนด์, แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์, ควอลิตี้เฮ้าส์, รสา พร็อพเพอร์ตี้ฯ, พลัสฯ และอนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ฯ เป็นต้น ซึ่งผู้เล่นจำนวนมากรายจะทำให้ทำเลนี้มีการแข่งขันรุนแรง ดีมานด์มีน้อยกว่าที่ซัปพลายออกมา อีกทั้งราคาขายที่สูงมากไม่ต่ำกว่า 60,000 บาท ต่อ ตร.ม. จะทำให้อัตราการขายไม่หวือหวานัก สอดคล้องกับที่แหล่งข่าวในแวดวงดีเวลลอปเปอร์เคยบอกไว้ว่า ทำเลดังกล่าวอยู่ในฝั่งธนบุรี ซึ่งกำลังซื้อจะจำกัดวงอยู่เฉพาะคนในพื้นที่เท่านั้น   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us